ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ผู้หญิง ถึง ผู้หญิง

    ลำดับตอนที่ #20 : ถนอมหัวใจไว้ให้แข็งแรง

    • อัปเดตล่าสุด 21 ก.ค. 49


    ในเมืองไทย สถิติบอกไว้ว่าผู้หญิงกับผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจจำนวนไล่เลี่ยกัน โดยผู้หญิงอาจจะน้อยกว่าผู้ชายก็เพีงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ผลสำรวจทั่วโลกนั้น ผู้หญิงที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองอุดตันในแต่ละปีมีจำนวนมากกว่าผู้ชาย เมื่อเทียบกันแล้วความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโคมะเร็งเต้านมนั้นอยู่ที่ 3% ขณะที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดอุดตันนั้นมีอยู่ประมาณ 50%
              ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตันนั้นจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากช่วงหมดประจำเดือน แต่โรคหัวใจอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Atherosclerosis ที่เกิดจากคราบพลัคและโคเลสเตอรอลก่อตัวเป็นชั้นหนาๆ ในผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก นำมาซึ่งอาการเจ็บหน้าอก หรือหัวใจวายนั้น สามารถเกิดได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัย 20 เศษๆ ด้วยซ้ำ ดังนั้นป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ ก็ไม่เสียหาย

    คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่?
              หากอยากรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ก็ควรตรวจสอบดู อย่างแรก คุณควรจะไปพบแพทย์ตรวจระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และระดับความดันเลือด หากระดับยิ่งสูง โอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวในหรือหัวใจวายก็ยิ่งมาก แพทย์จะดูจากผลระดับไลโปโปรตีนในเลือดที่จะแสดงถึงระดับไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลรวม โคเลสเตอรอลส่วนเลว (LDL) โคเลสเตอรอลส่วนดี (HDL) และระดับไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันในเส้นเลือดของเรา
              หากพบว่าระดับโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 200 มก./ดล. ระดับ LDL น้อยกว่า 100 มก./ดล. ระดับ HDL มากกว่า 40 มก./ดล. และระดับไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 150 มก./ดล. ก็ยังอ่นใจได้นิดหนึ่งว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อย
              และเมื่อวัดระดับความดันเลือดควรอยู่ที่ 120/80 หรือต่ำกว่านี้ ระดับ 130/85 ถือว่าค่อนข้างสูง และระดับที่สูงเกินปกตินั้นเริ่มต้นที่ 140/90 ขึ้นไป
              ระดับไลโปโปรตีนที่ว่ามานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะบอกว่าคุณเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือไม่ แพทย์ยังต้องซักประวัติคุณเพิ่มเติม เช่น ประวัติการเจ็บป่วย และมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือไม่ หากตรวจแต่เนิ่นๆ แล้วแพทย์เห็นว่าคุณควรจะลดระดับโคเลสเตอรอลลงเสียหน่อย ก็อาจจะสั่งให้คุณควบคุมอาหารหรือเปลี่ยนวิถีชีวิตเสียใหม่ และทดสอบวัดระดับต่างๆ อีกครั้งก่อนจะรักษาโดยการใช้ยา เพราะจริงๆ แล้วโรคหัวใจถึงจะร้ายแรงแต่ป้องกันได้ เพียงแค่ดำเนินชีวิตให้เหมาะสม ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคได้ไม่ยาก 
    ลดน้ำหนักลง คนที่น้ำหนักเกินมาตรฐานมักจะตามมาด้วยความดันเลือดสูงขึ้น รวมทั้งระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์เลือดก็สูงตามไปด้วย แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หากร่างกายคุณไม่สามารถใช้อินซูลินเพื่อเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานได้ ซึ่งโรคเบาหวานจะไปเพิ่มโอกาสในการเป็นหลอดเลือดอุดตันและหัวใจวาย ดังนั้นการลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับมาตรฐานจะช่วยคุมระดับโคเลสเตอรอลและความดันเลือด และยังทำให้ร่างกายใช้อินซูลินอย่างได้ผลด้วย
    เลิกบุหรี่ คนสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 2 เท่า เพราะพิษต่างๆ ในบุหรี่จะไปสะสมในหลอดเลือดทำให้ตีบลงเลือดไหลเวียนไม่สะดวกอุดตันได้ง่าย อันเป็นสาเหตุหลักของอัมพฤกษ์ อัมพาต
    ทำตัวกระฉับกระเฉง แจ่มใสอยู่เสมอ การได้ออกกำลังกายระดับปานกลางวันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง 3-4 วันต่อสัปดาห์ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยคุณเผาผลาญแคลอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ช่วยเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลดี (HDL) และลดโคเลสเตอรอลเสีย (LDL) ให้น้อยลง
    ควบคุมการรับประทานไขมัน ลองอดใจ เปลี่ยนอาหารจานโปรดที่คุณคุ้นเคยที่อุดมด้วยไขมัน แต่ไม่ใช่งดเสียล่ะ เพราะถึงอย่างไร ไขมันก็เป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการเพื่อสร้างพลังงานอยู่ดี
    รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยมากๆ หลายคนคงทราบดีว่า อาหารเช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท ข้าวซ้อมมือ หรือธัญพืช ล้วนเป็นอาหารที่มีกากใยสูง ซึ่งจะช่วยการขับถ่ายและลดระดับ LDL ในเลือดได้
    ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับคุณผู้หญิงอาจเลือกจิบไวน์สักวันละแก้ว (4 ออนซ์) ให้หัวใจได้สูบฉีดเลือดดีขึ้น แต่ไม่ควรมากเกินจากนี้
    คำเตือนสำหรับคนที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน สมัยก่อนแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้หญิงที่ถึงวัยหมดประจำเดือนรับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนเพื่อลดโอกาสเกิดโรคหัวใจ แต่จริงๆ แล้ว เอสโตรเจนไม่สามารถป้องกันโรคหัวใจได้หรอกนะคะ ผลการศึกษาสมัยใหม่พบว่า ผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนผสมกันระหว่างเอสโตรเจนกับโปรเจสโตเจนนั้นกลับเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งเต้านม ดังนั้นต้องปรึกษาแพทย์ถึงวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการป้องกันโรคจากสาเหตุเหล่านี้ค่ะ

               ที่สำคัญคือ ถึงแม้ว่าปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หากคุณรักษามาตรฐานเหล่านี้ได้แล้วจะทำให้ปลอดจากโรคหัวใจ 100% นะคะ เพียงแต่ระวังป้องกันเอาไว้ย่อมดีกว่าไปตามแก้ไขในภายหลัง
    ที่มาจาก http://www.pooyingnaka.com
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×