ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #2 : ซาลาดิน (ฉบับปรับปรุง)

    • อัปเดตล่าสุด 30 มิ.ย. 51


    ศอลาฮุดดีน(ซาลาดิน)

     

    ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ หรือที่ชาวตะวันตกเรียกกันติดปากว่า

    ซาลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบนุอัยยูบบางครั้งก็ถูก

    เรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ

    ประวัติ

     

    เขาเกิดเมื่อ ค.ศ.1137 ในตำบลติกรีต(ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และเสียชีวิตในวันที่

    4 มีนาคม ค.ศ.1193 ที่เมืองดามัสคัส เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ปกครองมุสลิมผู้มี

    ชื่อเสียงที่สุดและเป็นสุลต่านมุสลิมผู้ปกครองอียิปต์ ซีเรีย เยเมนและ

    ปาเลสไตน์และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อัยยูบีย์ ในสงครามต่อต้านการรุกรานของ

    พวกครูเสด ศอลาฮุดดีนประสบความสำเร็จในขั้นสุดท้ายด้วยการยึดเมือง

    เยรูซาเล็มกลับคืนมาได้ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1187 ซึ่งทำให้การยึดครอง

    ของพวกแฟรงค์เป็นเวลา 88 ปีต้องสิ้นสุดลง

     

    ศอลาฮุดดีนเกิดในครอบครัวชาวเคิร์ด ในคืนที่เขาเกิด นัจญ์มุดดีน อัยยูบ พ่อ

    ของเขาได้รวมคนในครอบครัวเดินทางไปยังเมืองอาเล็ปโปเพื่อไปรับใช้อิมา

    ดุดดีน ซางกี ผู้ปกครองชาวเติร์กที่มีอำนาจในซีเรียตอนเหนือ เขาเติบโตใน

    เมืองบะอัลบักและดามัีสคัส แต่ในตอนเริ่มแรกนั้นศอลาฮุดดีนให้ความสนใจใน

    เรื่องของศาสนามากกว่าการฝึกฝนทางทหาร เขาเริ่มต้นอาชีพอย่างเป็น

    ทางการเมื่อได้เข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ของ อะซัดดุดดีน ชิรกูห์ ลุงของเขาซึ่งเป็น

    ผู้บัญชาการทหารคนสำคัญของเจ้าชายนูรุดดีนลูกชายและทายาทผู้สืบอำนาจ

    ต่อจากซางกี ศอลาฮุดดีนได้ประสบการณ์ในการรบระหว่างการเดินทางออกศึก

    สามครั้งยังอียิปต์ภายใต้การนำของชิรกูห์เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกครูเสด

     

    เขาจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการเติบโตและแพร่ขยายสถาบันต่าง ๆ ของ

    มุสลิม เขาให้การอุปการะนักวิชาการและนักเผยแผ่คำสอนอิสลาม ก่อตั้ง

    วิทยาลัยและมัสญิดสำหรับคนเหล่านั้นและแนะนำให้บรรดานักวิชาการเขียน

    งานวิชาการออกมาโดยเฉพาะเรื่องการญิฮาด ฟื้นฟูขวัญกำลังใจและสร้าง

    ความเชื่อมั่นให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน

     

    ศอลาฮุดดีนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนดุลอำนาจทางทหารให้เขาเป็นฝ่าย

    ได้เปรียบ โดยการที่เขาสามารถรวบรวมและจัดระเบียบกองกำลังที่ไร้ระเบียบ

    วินัยมากกว่าการที่จะใช้เทคนิคใหม่ ๆ ทางทหาร ในที่สุด เมื่อกำลังทหารของ

    เขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับกองทัพครูเสดได้ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1187

    ศอลาฮุดดีนก็สามารถทำลายกองทัพของพวกครูเสดได้ที่ฮัตตีนใกล้กับ

    ทะเลสาปไทเบเรียในปาเลสไตน์ตอนเหนือ

     

    สงครามครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้แก่พวกครูเสดอย่างหนัก จนกองทัพ

    มุสลิมสามารถเข้ายึดอาณาจักรแห่งเยรูซาเล็มได้เกือบทั้งหมด เมืองอัคเร, โต

    รอน, เบรุต, ไซดอน, นาซาเร็ธ, ซีซาเรีย นะบลุส, ญัฟฟาและอัสคาลอนได้ตก

    เป็นของมุสลิมภายในสามเดือน

     

    วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1187 ศอลาฮุดดีนสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่

    พวกครูเสด เมื่อเมืองเยรูซาเล็มซึ่งเป็นเมืองสำคัญต่อทั้งมุสลิมและคริสเตียน

    ได้ยอมจำนนต่อกองทัพของเขา หลังจากที่ตกอยู่ในมือของพวกแฟรงค์มาเป็น

    เวลา 88 ปี ชาวเมืองเยรูซาเล็มได้รับการปฏิบัติจากกองทัพของศอลาฮุดดีนอ

    ย่างดีและมีอารยธรรม ผิดกับเมื่อตอนที่พวกแฟรงค์เข้ามายึดครองซึ่งทำให้

    ชาวเมืองต้องถูกสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหดทารุณนับหมื่น ๆ คน

     

    หลังจากที่กรำศึกมาเป็นเวลานาน ในที่สุด ศอลาฮุดดีนก็มาถึงจุดสุดท้ายของ

    ชีวิต ในขณะที่ญาติพี่น้องของเขากำลังแย่งส่วนต่าง ๆ ของอาณาจักรกันอยู่นั้น

    เพื่อนของเขาก็พบว่า ผู้ปกครองที่เป็นนักรบอัจฉริยะและมีคุณธรรมในโลก

    มุสลิมผู้นี้ไม่ได้ทิ้งเงินทองไว้มากมายพอที่จะทำหลุมฝังศพให้สมศักดิ์ศรีได้

    หลังจากนั้น ครอบครัวของศอลาฮุดดีนก็ยังปกครองอียิปต์และแผ่นดิน

    ใกล้เคียงต่อไปอีกไม่นานและในที่สุดก็ถูกพวกมัมลูกเข้ามายึดอำนาจต่อใน

    ค.ศ.1250

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ดึงข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AE%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%99

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×