ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคมศึกษา

    ลำดับตอนที่ #2 : กบฏแผ่นดิน ....

    • อัปเดตล่าสุด 6 ธ.ค. 50


     ๒ กบฏแผ่นดิน ..... “ ครั้นสมเด็จพระบรมราชาหน่อ พุทธางกูร สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ทรพิษ พระรัฏฐาธิราชกุมารพระโอรส วัย ๕ พรรษา อันประสูติจากพระอัครชายาวัย ๑๗ พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทนพระไชยราชาผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ระหว่างนั้นปีพศ.๒๐๗๓ บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริตคือพระยายมราชบิดาของอัครชายา พระไชยราชาจึงให้สำเร็จโทษพระรัฏฐาธิราชตามราชประเพณีโบราณ และขึ้นครองราชย์แทน ออกรบปราบปรามหัวเมืองอยู่ตลอดจึงทรงแต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้น เป็นพระอุปราชว่าราชการแทนพระองค์ที่กรุง อโยธยา

    ต่อมาพระมเหสีของพระไชยราชา คือท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์แบบชู้สาวกับขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ สมคบลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา จึงได้ขึ้นครองราชย์แทนขณะที่มีพระชนม์ ๑๐ พรรษา แต่ต่อมาก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนา ขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ขุน วรวงศา

    ระหว่างนั้นพระเฑียรราชาได้ทรงผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยทัยครองพระองค์อยู่ในวัง โดยมีขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเส่หานอกราชการ หลวงศรียศ คุ้มกันภัยให้ และต่อมาก็ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์
    (ขึ้นมามีอำนาจเหนือราชบัลลังก์อยุธยา เป็นเวลา ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๔๒ วัน )
    เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชาให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑

    ในปี ๒๐๙๑ นี่เอง ที่ทางพม่านำโดยกษัตริย์นามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายภายใน จึงฉวย โอกาสช่วงนี้คิดจะเข้าตี ได้จัดทัพทหาร ๓ หมื่น ช้างศึก ๓ ร้อย ม้าศึก ๒ พันตัว ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้าเมืองกาญจนบุรี จับกรมการเมืองมาสอบ ถามจึงทราบว่าหลังจากพระมหาจักรพรรดิได้ขึ้นครองราชย์บ้านเมืองก็สงบดี แต่ พระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาแล้วจะถอยกลับก็กะไรอยู่ จึงขอเข้าไปชานเมืองเพื่อ ให้ชาวอยุธยาได้เกรงขาม เดินทางเข้าป่าโมกแล้วตั้งค่ายหลวงที่ทุ่งลุมพลีอยู่ ๓ วัน จากนั้นจึงยกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี ”
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×