ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #19 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ม)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด ม 

    ม็องแม็ง  (ว.) มอมแมม   ( คำนี้ใช้ แสดงถึง กริยาท่าทางอิดโรย ไม่สดชื่น ก็ได้ )

    มักเงาะ (น.) สาระแหน่  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ Melissa officinalis L. วงศ์ Lamiaceae )
           
    มักเงาะ เป็นคำในภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ดั้งเดิม ที่ใช้เรียก  สาระแหน่
            ปัจจุบัน คนที่พูดคำนี้ คงมีเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ในเขตชนบทอายุ
    60, 70 ปี ขึ้นไป
            เท่านั้น ( เด็กใต้รุ่นใหม่ จะใช้คำว่า
    สาระแหน่  เช่นเดียวกับคนไทยภาคกลาง )

    มั่ง   (ว.)  บ้าง
            
    ยัง มั่งม่าย   มีบ้างมั้ย ?

    มันควาย, (ขาม)มันควาย  (ว.) ลักษณะของฝักมะขาม ที่แก่เต็มที่  เนื้อในมะขาม
            เริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเปลือกของฝักมะขาม จะล่อนออกจากเนื้อ  ภาษา
           ไทยถิ่นใต้(สงขลา)เรียกว่า
     " โหลกขาม มันควาย "

    มันทุ้ง  (น.มันสำปะหลัง ( ชื่อวิทยาศาสตร์  Manihot esculenta (L.) Crantz
          
    วงศ์  Euphorbiaceae )   มันสำปะหลัง ในถิ่นใต้จะมีชื่อเรียก แตกต่างกัน กล่าว
           คือ  ชาวคลองหอยโข่ง สงขลา เรียกว่า
    มันทุ้ง    ชาวควนลัง หาดใหญ่  สงขลา
           จะเรียกว่า 
    มันเทศ       ชาวพิปูน, ฉวาง (นครศรีธรรมราช) เรียกว่า  มันตาหนี
         
     (มันตานี)
        และ ในถิ่นใต้บางท้องที่ จะเรียกว่า  มันไม้

    มันหลา (น.) มันเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea batatas  วงศ์ Convolvulaceae)
            ภาษาสงขลา-คลองหอยโข่ง เรียกว่า มันหลา   บางท้องถิ่น ใช้เป็น มันล่า

    มันหม่า (น.) น้ำมันหม่อง ในอดีต(ก่อนปี ..2500 หรือก่อนกึ่งพุทธกาล) คนคลอง
           หอยโข่ง,และคนหาดใหญ่ซีกตะวันตกจะเรียกน้ำมันหม่องว่า
    มันหม่า ซึ่งมีความ
           หมายคือ มัน(น้ำมัน)ของคนพม่า  เช่น
      " มันหม่า ตราถ้วยทอง , มันหม่า ตรา
           ลิงถือลูกท้อ "

    มั่วตั้ว   (ว.)  วุ่นวาย, ยุ่งเหยิง (จนทำอะไรไม่ถูก)

    มายา,   ม่าย ยา   (น.)  ปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยคอก

    ม้าย   (ว.)  1.  ไม่,  ไหม (หรือไม่)
             
     มั่งม้าย ?   บ้างไหม ? ( บ้างมั้ย ?)
             
     โหร่ ม้าย ?    รู้ไหม ? (รู้มั้ย ?)
                    2. ไม่มี
              
    คนม้ายไหร  คนไม่มีอะไร , คนจน
             
     คนม้ายเมีย  =  คนไม่มีเมีย
              
    คนม้ายใจ    =  คนไร้น้ำใจ

    มิมัง   (ก.)   ห่วงใย   (ภาษาสงขลาตอนใน - นาทวี  เทพา และ สะบ้าย้อย)
            
    " เด็กๆอย่ากลับกลับบ้านมืด นะ แม่เฒ่า มิมัง "  -  เด็กๆ อย่ากลับบ้านมืดนะ
            ยายเป็นห่วง 
           (คำนี้ ในภาษาไทยเจ๊ะเห จะใช้เป็น
    " วิมัง "  ปัจจุบันในเขตสงขลามีคนพูดน้อย
            มาก จนบางครั้ง เด็กรุ่นหลังจะไม่เข้าใจ)

    มิด (สำเนียงใต้ ออกเสียงเป็น มิด) (น.) สำริด ( โลหะผสมที่เกิดจากการนำเอาแร่
         ทองแดง ที่ผ่านการถลุงแล้ว มาผสมกับ ดีบุก ตะกั่ว แร่พลวง สังกะสี หรือสารหนู
         เพื่อให้มีความแข็งตัว หล่อหลอมเป็นอาวุธหรือภาชนะใช้งานต่างๆ )
     
    เสียง ส และ
         เสียง ร ในคำว่า สำริด กร่อนหายไป  คงเหลือเสียง  ม (อำ) และ อิด เป็น  
    หมิด
      
       (ออกเสียงเป็น มิด)
          
        ในภาษาสงขลาดั่งเดิมจึงเรียก ขันสำริดว่า
    ขันหมิด (คั้นมิด)   แต่เนื่องจากคำว่า
       
    "หมิด"
      นี้ มีการใช้น้อยมาก จนบางครั้ง คนรุ่นหลังไม่เข้าใจ   ความหมายจึงเกิด
         ความผิดเพี้ยนในการใช้คำๆนี้
            
        ตัวอย่างเช่น"ควนมีด" ชื่อเป็นทางการของหมู่บ้านในตำบลจะโหน่ง  อำเภอจะนะ
        จังหวัดสงขลา  เดิมจะเรียกหมู่บ้านนี้ว่า
     "ควนหมิด"     เนื่องจากมีการขุดพบวัตถุ
        โบราณและภาชนะสำริด ตรงบริเวณ
    ควนที่ตั้งวัด    แต่เนื่องด้วยความสับสนเรื่อง
        ภาษา ชื่อที่เป็นทางการของหมู่บ้านเขียน เป็น "บ้านควนมีด" (ซึ่งมีความหมายที่
        คนทั่วไปเข้าใจว่า เป็นควนที่มีมีด มีดาบ) ในขณะที่วัดควนหมิดได้เขียนป้ายหน้า
        วัดเป็น  " วัดควนมิตร"   ซึ่งคำว่า " วัดควนมิตร " นี้  เมื่ออ่านเป็นสำเนียงใต้จะเป็น
        " วัดควนหมิด" แต่ความหมายจะกลายเป็น ควนแห่งมิตรภาพ ไป
         

           กรุณาเทียบเสียงจากประโยค  มดกินน้ำตาลหมด  ของภาษาไทยกรุงเทพ 
           ที่ออกเสียงสำเนียงไทยถิ่นใต้ เป็น   "หมด กินน้ำตาล มด"

    มึก   (ออกเสียงเป็น  "หมึก")  (ข.) (ก.)  ดื่ม 
           
    " มึกน้ำ " - ดื่มน้ำ
    (คำนี้เลือนมาจาก ปฺรมึก / ปฺรอเมิ้ก ในภาษาเขมรโบราณ
            ภาษาเขมรปัจจุบัน ใช้คำว่า เพิก )

    มุง   (ก.) ตั้งท้อง
           
    คำนี้ ใช้กับสัตว์เท่านั้น เช่  วัวมุง  ควายมุง   
          
    (ในบางถิ่น จะออกเสียงเป็น  มง,   ม็อง  ก็มีความหมายเป็นที่เข้าใจกัน)

    มุ้งมิ้ง  (ออกเสียงเป็น หมุ่งหมิ่ง) (ว.) โพล้เพล้   เวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังตกดิน
           หรืออยู่ในช่วงเปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน  ซึ่งยัง
    มีแสงสว่างอยู่บ้างแต่มอง
           อะไรไม่ชัด   โดยปกติ จะใช้คำนี้คู่กับ ตะวัน
    -
    หวัน
     เป็น หวันมุ้งมิ้ง (ออกเสียง
           สำเนียงใต้เป็น  วั่น หมุ่งหมิ่ง ) ในความหมาย   ตะวันโพล้เพล้

    มุตโต (.) การว่ากลอน หรือขับกลอนของโนรา ศิลปะประจำถิ่นใต้  หากโนรามีความ
            สามารถในเชิงกลอน สามารถว่ากลอนสดเกี่ยวกับบุคคล สถานที่หรือ เหตุการณ์
            เฉพาะหน้าได้จะเรียกว่า
    " ว่ามุดโต      
                   ตรงกันข้าม หากนำบทกลอนที่แต่งไว้ก่อนแล้ว  หรือนำกลอนที่มีมาตั้งแต่
           โบราณมาขับ จะเรียกว่า
    " ว่าคำพรัด " หรือ " ว่ากำพรัด "

    มูสังมุดสัง  (น.) ชะมด,อีเห็น

    มูสังแหย้ว,  สังแหย้ว  (น.)  คำเรียก สมมติตัวอะไรสักอย่างไว้หลอกเด็กเล็ก ว่า
            จะมาทำร้าย หรือจับตัวเอาไป ถ้าไม่หยุดร้อง
            
     " แน่งเสียต้ะ มูสังแหย้ว มาแล้วโด้ "  - นิ่งเสียนะจ้ะ มูสังแหย้ว มาแล้วโน่น

    เม่อใด(ว.)  เมื่อไหร่
           
    " พี่หลวงมาถึง เม่อใด "  =  พี่หลวงมาถึงเมื่อไหร่
            
    (ให้ดูคำอธิบายคำว่า   ปาใด    เพิ่มเติมด้วย)

    เมด , เบด    (น.)  มีด   
            สำเนียงสงขลา เสียง อี จะแปลงเป็น เสียง เอ
     ดังนั้น มีด จึงกลายเป็น เมด
               
    เมด ผล่า  =    มีดพร้า
              
      เมด โต้    =    มีดอีโต้
              
     เมด ฮับ   =   มีดพับ
               
    มด ไตร  =   กรรไกร
        
     ( บางครั้ง คำว่า
    เมด  จะออกเสียงเป็น  เบด   ก็เป็นที่เข้าใจกัน  )

    เมดหม้อ,  มีดหม้อ  (น.)  มินหม้อ ,  เขม่าดำที่ติดก้นหม้อ

    เมิดไม่ได้   (ก.)  เผลอไม่ได้    เช่น
         
    " เมิดไม่ได้จริง ไอ้โหมนี้ แลไม่ทัน เอาไปแล้วล่าว " = เผลอไม่ได้เลย ไอ้พวกนี้
            แอบเอาของไปอีกแล้ว

    แม่ปีก  (น.) นางพญามดแดง

    แมง  (น.)  ในภาษาไทยถิ่นใต้จะเรียกสัตว์จำพวกแมลงทุกชนิด ว่า แมง
            (คำว่า แมลง จะไม่มีในภาษาไทยถิ่นใต้)

    แมงเคย (น.)  แมงปอ   ( ภาษาไทยถิ่นใต้สงขลา - คลองหอยโข่ง )

    แมงบี้  (น.)  ผีเสื้อ   ( ภาษาไทยถิ่นใต้สงขลา - คลองหอยโข่ง )
            ในปักษ์ใต้บางถิ่น คำ
    แมงบี้ นี้  จะหมายถึง  แมงปอ 
            ( ข้อสังเกต - คนสุโขทัยจะเรียกผีเสื้อว่า แมงกะบี้  ในภาษาคำเมืองไทยล้านา
             จะเรียกผีเสื้อ ว่า  แมงกำเบ้อ )

    แมงแปะ (น.)  แมลงสาป
            คำนี้ใช้เรียกเฉพาะลูกแมลงสาบตัวโตๆแต่ยังไม่มีปีก ถ้ามีปีกชัดเจนแล้วก็เรียก
            ว่า แมงสาป 
    (คำว่า แมลง จะไม่มีในภาษาไทยถิ่นใต้)

    แมงฮัว (น.) แมงงัว   ด้วงมะพร้าว  ( ภาษาเหนือเรียกว่า  ด้วงกว่าง )

    แมงไฮ  (น.)  แมลงชนิดหนึ่ง  มีหัวแหลมเล็ก สามารถนำมาใส่ในแกงเลียงหน่อไม้
           เรียกว่า 
    แกงเลียงแมงไฮ จัดเป็นอาหารพื้นบ้านรสเลิศ ของคนไทยถิ่นใต้

    แมงหมาบ้า  (น.) แมงหมาร้า
             (แมงชนิดหนึ่งมักใช้ดินเหนียวทำรังเป็นก้อนกลมๆตามฝาบ้าน)

    แมวคราว  (ก.) แมวตัวผู้ที่ออกไปเที่ยวหาแมวสาว และมักจะหายไปนาน เมื่อหมด
            ฤทธิ์ก็จะกลับบ้านมาหาเจ้าของ ด้วยอาการที่อิดโรย 
    การเที่ยวเตร่ทิ้งบ้านไปจีบ
            แมวสาวของแมวตัวผู้ หรือ แมวคราว นี เรียกว่า
    ออกคราว
      

    แม่เฒ่า (น.)  ยาย (แม่ของแม่)
              
           
     คำว่า ยาย ในภาษาไทยถิ่น
    ใต้(สงขลา) จะมีความหมายเพียงเป็นญาติผู้น้องของ
             แม่เฒ่า  พ่อเฒ่า หรือ ญาติผู้น้องของ ปู่หรือของย่า เท่านั้น     ดังนั้น หากจะพูด
             ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ให้ถูกต้อง จะต้องเรียก ยาย(แม่ของแม่) ว่า   แม่เฒ่า
           
     เท่านั้น

    แม็ด   (ออกเสียงเป็น แหม็ด) (ว.) มิด มองไม่เห็น ( ภาษาสงขลา จะแผลงเสียงสระอิ
            เป็น เสียงสระ
    อะ )

    แหม็ด (ออกเสียงเป็น แม็ด)  1. ( ว.)  หมด        " แหม็ดแล้ว " = หมดแล้ว
           ( คำว่า หมด ในภาษาไทยภาคกลาง    ในสำเนียงใต้
    สามารถออกเสียงพูด ว่า
            มด  หรือ
    แม็ด  ก็ได้ ก็เป็นที่เข้าใจกัน )
            2. เสม็ด พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง พบมากตามป่าพรุ
                ต้นเสม็ด  ออกเสียงสำเนียงใต้เป็น  
    ต็อนแม็ด
                เห็ดเสม็ด ซึ่งพบตามป่าเสม็ด    ออกเสียงสำเนียงใต้เป็น  
    แฮ็ดแม็ด

            กรุณาเทียบเสียงจากประโยค  มดกินน้ำตาลหมด ของภาษาไทยกรุงเทพ ที่ออก
            เสียงสำเนียงไทยถิ่นใต้  เป็น   "หมด กินน้ำตาล มด"

    แม่ไฟ   (น.) ที่วางก้อนเส้า(หินสามก้อน)สำหรับหุงข้าวต้มแกง
         
    โดยปกติ "แม่ไฟ" จะเป็นกระบะสี่เหลี่ยม ใส่ดินเหนียวอัดแน่นให้เรียบใช้เป็นที่วาง
          ก้อนเส้า ขนาดของ "แม่ไฟ"จะต้องมีพื้นที่พอจะวางดุ้นฟืนได้ กรณีไฟไหม้ดุ้นฟืน
          จนหมด จะต้องไม่ลามมาถึงขอบของแม่ไฟ )

    แม่แรง
     1. (น.)  อุปกรณ์ที่ใช้ในการยก,ดีด,งัด ของที่มีน้ำหนักมาก
           ในภาษาไทยถิ่นใต้ อาจใช้คำว่า  แย๊ก  (
    Jack ในภาษาอังกฤษ) ในความหมาย
          
    " แม่แรง " ก็ได้        
              
    2. (น.) ใช้เรียกตัวพยาธิที่อยูในกระเพาะวัว ควาย เกาะอยู่ตามส่วนที่เรียกว่า
           
    "ผ้าร้ายวัว" หรือ ผ้าขี้ริ้ววัว 

    โม่, โบ่     (ว.)  โง่   (โมห์ โมหะ - ความโง่, ความหลง)
          
    " ถ้าฉาน โหร่ ว่าตัว โม่พันนี้   ฉานไม่เอาทำผัว ผึด "
          
      ถ้าฉัน รู้ ว่าพี่ โง่ อย่างนี้   ฉันไม่เอาทำผัว แน่นอน

    โหมฺ  (ออกเสียงเป็น โม้)  (น.)  หมู่, พวก, ตระกูล  ( เสียง "สระอู" แปลงเป็นเสียง
           
    "สระโอ"   
    หมู่ = โหมฺ )
     
        
       "โหมฺ บก"   คำนี้หมายถึง ชาวสงขลาริมทะเล  นับรวมเฉพาะชาวระโนด สะทิง
            พระ  และ สิงหนคร

          
      "โหมฺ เหนือ"
    คำนี้หมายถึง ชาวสงขลาตอนใน ที่อยู่ห่างจากทะเล คือ ชาวสะเดา
            
    นาทวี  หาดใหญ่ และคลองหอยโข่ง
           
    "ไอ โหมฺ เบล่อ"  ความหมายคือ ไอ้พวกบ้า
            
    "โหมฺ ป่า"  
    คำนี้หมายถึง ทหารกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยของ
           
    พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  ที่เข้าไปส้องสุมกองกำลัง  อยู่ในเขตป่าเขา
            ช่วงระหว่าง พ
    .. 2509 - 2523  ในสมัยนั้น
    "โหม่ ป่า"กระจายอยู่ในเขตป่าเขา
            ทั่วทั้งภาคใต้ 
    (คำว่า
    "โหมฺ ป่า" นี้อาจใช้ว่า "โหมฺ คอม" แทนก็ได้)
          ( คำว่า
    โหมฺ นี้  บางครั้งอาจใช้  โบ้ แทน ก็ได้ )
           
    โหมฺ หญิง,  โบ้หญิง   
    พวกผู้หญิง
          
     โหมฺ ชาย,   โบ้ชาย    =   พวกผู้ชาย

    โมง  (น.)   ก้น   ( "โมง" ถือเป็นคำหยาบ )
          
    " โมงกูเด้ " วลีนี้มีความหมายในเชิง " เรื่องแค่นี้ (แค่นั้น )ไม่กระเทือนก้นกูหรอก "
          " บายโมง " - อาการสบายเนื้อสบายตัว ที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้ถ่ายของเสียออก
          จนหมดไส้หมดพุง

    โมบ (ออกเสียงเป็น  โหมฺบ) (ก.) โลภ, ละโมบ  อยากได้ไม่รู้จักพอ

    ไม่รู้สา (ว.)  ไร้เดียงสา  ( มักใช้ในแง่ลบ เช่น เป็นผู้ใหญ่แต่ทำตัวเป็นเด็ก )

    ไม่สาไหร (ว.)  ไม่มีรสชาติ   ไมสะดุ้งสะเทิอน
           
    " คนไม่สาไหร "
      - คนขี้ขลาด ไม่สู้คน ไม่เอาถ่าน
            ( อ่านความหมายคำว่า สา เพิ่มเติม )

    ไม้หมก (ออกเสียงเป็น  ม่าย-ม็อก) (น.)  ไม้เรียว  (ใช้เฆี่ยนเด็กๆที่ซุกซน)

    หมัง 1. (ก.)  ประมาณการ,   ใคร่ครวญก่อนทำ
               
     " หมังแล้ว  ว่าน่าจะมีปํญหา..  กะ ไม่ต้องทำ "
                  คิดใคร่ควญแล้ว  ว่าน่าจะมีปํญหา..   ก็ ไม่ต้องทำซิ
             
    2. (น.เสือชนิดหนึ่ง ,  เสือหมัง  
              3.
    (ว.)  เวลา, ขณะ, ช่วง   
            
     " หมังนี้ "   - ในช่วงนี้
              "
    หมังนี้ พระมายืนบาตร แต่เช้า "  - ในช่วงนี้ พระมาบิณฑบาตร แต่เช้า

    หมก   (ออกเสียงเป็น  ม็อก) (ก.) เอาสิ่งของ (เช่น หัวมันหลา มันทุ้ง )ไว้ใต้ขี้เถ้าร้อนๆ
              หรือถ่านไฟใกล้มอด เพื่อให้สุก

    หมูก  (น.) จมูก
          
    " หมูกแตกเข็ม " - เลือดออกทางจมูก, เลือดกำเดา

    หมวน   (น.)  ตะกอน          
              "อย่ากวน หมวน"
      
    อย่ากวนน้ำให้ขุ่น  (น.) ผักชนิดต่างๆที่นำมาหั่นปนเข้าด้วยกัน เช่น  ปลีกล้วย กระถิน ถั่วฝักยาว
              ใบชะพลู  ยอดแซะ ยอดขรี ฯลฯ    เพื่อรับประทานคู่กับอาหาร
              (
    หมวดข้าวยำ - ผักที่ใส่ข้าวยำ,  หมวดหนมจีน - ผักใช้ทานคู่กับขนมจีน )

    หมวด

    หมอดั้น,  หมอบิดั้น, หมอไบทาน,  หมอแม่ทาน   (น.)  หมอตำแย,  หมอทำคลอด
              แผนโบราณ  เฉพาะภาษาไทยถิ่นใต้ สงขลา-คลองหอยโข่ง จะใช้ว่า
    หมอดั้น
             
    หรือ หมอบิดั้น

    หม้อควง (น.)  หม้อเคลือบ ชนิดมีหูหิ้ว

    หม้อตุก  (น.)  ภาชนะดินเผาขนาดเล็ก สำหรับเด็กเล่นขายของ หรือ ตั้งประดับเพื่อ
               ความสวยงาม

    หม็องแหม็ง (ว.) สกปรก ไม่ภูมิฐาน ไม่มีราศรี ( มักใช้กับเสื้อผ้าหรือการแต่งตัวของ
               บุคคลใด บุคคลหนึ่ง)

    หมัน 1. (ว.)  ใช่  ใช่แล้ว 
              
    " หมันแหละ " 
    -  ใช่แล้ว     ( แม่นแล้ว ในภาษาอีสาน )
              
    " หมันม้าย     ใช่มั๊ย ใช่รึเปล่า
            2.
    (น.)  มัน   (สรรพนามบุรุษที่ 3)
               
    " เบอะหมันไม่มา ใครอิบังคับได้เล่า " - ก็มันไม่มา ใครจะบังคับได้เล่า
              3. 
    (ว.)  หมัน,  เป็นหมัน 

    หมา, ติหมา, หมาตักน้ำ   ( หมา สำเนียงใต้ ออกเสียงเป็น ม้า)(น.) ถังตักน้ำ
            คนไทยถิ่นใต้ชายแดน  แต่เดิมจะใช้ถังตักน้ำที่ทำด้วย
    " เตาะหมาก " หรือ
           
    "
    เตาะหลาโอน " (กาบหมาก กาบหลาโอน) เย็บเป็นกระทงเรียกว่า
           
    " หมา (ออกเสียงเป็น - ม้า),   ติหมา(ออกเสียงเป็น - ติม้า) หรือ  หมาตักน้ำ
           
    (ออกเสียงเป็น - ม้าตักหน่าม) "
            ( คำนี้มาจากภาษามลายู ว่า 
    timba  )

    เหม่เม่,  เบ่  (ก.)  ส่งเสียงดัง   ตัวอย่างเช่น
          
    "เด็กๆ  อย่าเหม่  (เบ่)  อย่าฉาว  เดียวแมวคราวอิมากินตับ
           
    เด็กๆ อย่าส่งเสียงดัง เดี๋ยวแมวตัวใหญ่จะมากินตับ  

    เหม้งพร้าว (น.) มะพร้าวอ่อนที่ยังไม่มีเนื้อมะพร้าว เมื่อผ่าแล้ว ส่วนที่เป็นกะลายังอ่อน
            นิ่มพอจะกินแก้หิวได้ กะลาอ่อนๆนั่นแหละคือ 
    เหม้งพร้าว

    เหมีย   (ว.)   ตัวเมีย        
            หมาเหมีย"     -   หมาตัวเมีย

    โหมฺงตอ (น.) ดอกของสะตอ มีก้านยาว ดอกกลมเป็นตุ้มมีลักษณะคล้ายไม้ตีโหม่ง
            (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของหนังตลุง) จึงเรียกว่า
    โหมงตอ

     

    แมงหมาบ้า  (น.) แมงหมาร้า
             (แมงชนิดหนึ่งมักใช้ดินเหนียวทำรังเป็นก้อนกลมๆตามฝาบ้าน)

    แมวคราว  (ก.) แมวตัวผู้ที่ออกไปเที่ยวหาแมวสาว และมักจะหายไปนาน เมื่อหมด
            ฤทธิ์ก็จะกลับบ้านมาหาเจ้าของ ด้วยอาการที่อิดโรย 
    การเที่ยวเตร่ทิ้งบ้านไปจีบ
            แมวสาวของแมวตัวผู้ หรือ แมวคราว นี เรียกว่า
    ออกคราว
      

    แม่เฒ่า (น.)  ยาย (แม่ของแม่)
              
           
     คำว่า ยาย ในภาษาไทยถิ่น
    ใต้(สงขลา) จะมีความหมายเพียงเป็นญาติผู้น้องของ
             แม่เฒ่า  พ่อเฒ่า หรือ ญาติผู้น้องของ ปู่หรือของย่า เท่านั้น     ดังนั้น หากจะพูด
             ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา)ให้ถูกต้อง จะต้องเรียก ยาย(แม่ของแม่) ว่า   แม่เฒ่า
           
     เท่านั้น

    แม็ด   (ออกเสียงเป็น แหม็ด) (ว.) มิด มองไม่เห็น ( ภาษาสงขลา จะแผลงเสียงสระอิ
            เป็น เสียงสระ
    อะ )

    แหม็ด (ออกเสียงเป็น แม็ด)  1. ( ว.)  หมด        " แหม็ดแล้ว " = หมดแล้ว
           ( คำว่า หมด ในภาษาไทยภาคกลาง    ในสำเนียงใต้
    สามารถออกเสียงพูด ว่า
            มด  หรือ
    แม็ด  ก็ได้ ก็เป็นที่เข้าใจกัน )
            2. เสม็ด พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง พบมากตามป่าพรุ
                ต้นเสม็ด  ออกเสียงสำเนียงใต้เป็น  
    ต็อนแม็ด
                เห็ดเสม็ด ซึ่งพบตามป่าเสม็ด    ออกเสียงสำเนียงใต้เป็น  
    แฮ็ดแม็ด

            กรุณาเทียบเสียงจากประโยค  มดกินน้ำตาลหมด ของภาษาไทยกรุงเทพ ที่ออก
            เสียงสำเนียงไทยถิ่นใต้  เป็น   "หมด กินน้ำตาล มด"

    แม่ไฟ   (น.) ที่วางก้อนเส้า(หินสามก้อน)สำหรับหุงข้าวต้มแกง
         
    โดยปกติ "แม่ไฟ" จะเป็นกระบะสี่เหลี่ยม ใส่ดินเหนียวอัดแน่นให้เรียบใช้เป็นที่วาง
          ก้อนเส้า ขนาดของ "แม่ไฟ"จะต้องมีพื้นที่พอจะวางดุ้นฟืนได้ กรณีไฟไหม้ดุ้นฟืน
          จนหมด จะต้องไม่ลามมาถึงขอบของแม่ไฟ )

    แม่แรง
     1. (น.)  อุปกรณ์ที่ใช้ในการยก,ดีด,งัด ของที่มีน้ำหนักมาก
           ในภาษาไทยถิ่นใต้ อาจใช้คำว่า  แย๊ก  (
    Jack ในภาษาอังกฤษ) ในความหมาย
          
    " แม่แรง " ก็ได้        
              
    2. (น.) ใช้เรียกตัวพยาธิที่อยูในกระเพาะวัว ควาย เกาะอยู่ตามส่วนที่เรียกว่า
           
    "ผ้าร้ายวัว" หรือ ผ้าขี้ริ้ววัว 

    โม่, โบ่     (ว.)  โง่   (โมห์ โมหะ - ความโง่, ความหลง)
          
    " ถ้าฉาน โหร่ ว่าตัว โม่พันนี้   ฉานไม่เอาทำผัว ผึด "
          
      ถ้าฉัน รู้ ว่าพี่ โง่ อย่างนี้   ฉันไม่เอาทำผัว แน่นอน

    โหมฺ  (ออกเสียงเป็น โม้)  (น.)  หมู่, พวก, ตระกูล  ( เสียง "สระอู" แปลงเป็นเสียง
           
    "สระโอ"   
    หมู่ = โหมฺ )
     
        
       "โหมฺ บก"   คำนี้หมายถึง ชาวสงขลาริมทะเล  นับรวมเฉพาะชาวระโนด สะทิง
            พระ  และ สิงหนคร

          
      "โหมฺ เหนือ"
    คำนี้หมายถึง ชาวสงขลาตอนใน ที่อยู่ห่างจากทะเล คือ ชาวสะเดา
            
    นาทวี  หาดใหญ่ และคลองหอยโข่ง
           
    "ไอ โหมฺ เบล่อ"  ความหมายคือ ไอ้พวกบ้า
            
    "โหมฺ ป่า"  
    คำนี้หมายถึง ทหารกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยของ
           
    พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย  ที่เข้าไปส้องสุมกองกำลัง  อยู่ในเขตป่าเขา
            ช่วงระหว่าง พ
    .. 2509 - 2523  ในสมัยนั้น
    "โหม่ ป่า"กระจายอยู่ในเขตป่าเขา
            ทั่วทั้งภาคใต้ 
    (คำว่า
    "โหมฺ ป่า" นี้อาจใช้ว่า "โหมฺ คอม" แทนก็ได้)
          ( คำว่า
    โหมฺ นี้  บางครั้งอาจใช้  โบ้ แทน ก็ได้ )
           
    โหมฺ หญิง,  โบ้หญิง   
    พวกผู้หญิง
          
     โหมฺ ชาย,   โบ้ชาย    =   พวกผู้ชาย

    โมง  (น.)   ก้น   ( "โมง" ถือเป็นคำหยาบ )
          
    " โมงกูเด้ " วลีนี้มีความหมายในเชิง " เรื่องแค่นี้ (แค่นั้น )ไม่กระเทือนก้นกูหรอก "
          " บายโมง " - อาการสบายเนื้อสบายตัว ที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้ถ่ายของเสียออก
          จนหมดไส้หมดพุง

    โมบ (ออกเสียงเป็น  โหมฺบ) (ก.) โลภ, ละโมบ  อยากได้ไม่รู้จักพอ

    ไม่รู้สา (ว.)  ไร้เดียงสา  ( มักใช้ในแง่ลบ เช่น เป็นผู้ใหญ่แต่ทำตัวเป็นเด็ก )

    ไม่สาไหร (ว.)  ไม่มีรสชาติ   ไมสะดุ้งสะเทิอน
           
    " คนไม่สาไหร "
      - คนขี้ขลาด ไม่สู้คน ไม่เอาถ่าน
            ( อ่านความหมายคำว่า สา เพิ่มเติม )

    ไม้หมก (ออกเสียงเป็น  ม่าย-ม็อก) (น.)  ไม้เรียว  (ใช้เฆี่ยนเด็กๆที่ซุกซน)

    หมัง 1. (ก.)  ประมาณการ,   ใคร่ครวญก่อนทำ
               
     " หมังแล้ว  ว่าน่าจะมีปํญหา..  กะ ไม่ต้องทำ "
                  คิดใคร่ควญแล้ว  ว่าน่าจะมีปํญหา..   ก็ ไม่ต้องทำซิ
             
    2. (น.เสือชนิดหนึ่ง ,  เสือหมัง  
              3.
    (ว.)  เวลา, ขณะ, ช่วง   
            
     " หมังนี้ "   - ในช่วงนี้
              "
    หมังนี้ พระมายืนบาตร แต่เช้า "  - ในช่วงนี้ พระมาบิณฑบาตร แต่เช้า

    หมก   (ออกเสียงเป็น  ม็อก) (ก.) เอาสิ่งของ (เช่น หัวมันหลา มันทุ้ง )ไว้ใต้ขี้เถ้าร้อนๆ
              หรือถ่านไฟใกล้มอด เพื่อให้สุก

    หมูก  (น.) จมูก
          
    " หมูกแตกเข็ม " - เลือดออกทางจมูก, เลือดกำเดา

    หมวน   (น.)  ตะกอน          
              "อย่ากวน หมวน"
      
    อย่ากวนน้ำให้ขุ่น  (น.) ผักชนิดต่างๆที่นำมาหั่นปนเข้าด้วยกัน เช่น  ปลีกล้วย กระถิน ถั่วฝักยาว
              ใบชะพลู  ยอดแซะ ยอดขรี ฯลฯ    เพื่อรับประทานคู่กับอาหาร
              (
    หมวดข้าวยำ - ผักที่ใส่ข้าวยำ,  หมวดหนมจีน - ผักใช้ทานคู่กับขนมจีน )

    หมวด

    หมอดั้น,  หมอบิดั้น, หมอไบทาน,  หมอแม่ทาน   (น.)  หมอตำแย,  หมอทำคลอด
              แผนโบราณ  เฉพาะภาษาไทยถิ่นใต้ สงขลา-คลองหอยโข่ง จะใช้ว่า
    หมอดั้น
             
    หรือ หมอบิดั้น

    หม้อควง (น.)  หม้อเคลือบ ชนิดมีหูหิ้ว

    หม้อตุก  (น.)  ภาชนะดินเผาขนาดเล็ก สำหรับเด็กเล่นขายของ หรือ ตั้งประดับเพื่อ
               ความสวยงาม

    หม็องแหม็ง (ว.) สกปรก ไม่ภูมิฐาน ไม่มีราศรี ( มักใช้กับเสื้อผ้าหรือการแต่งตัวของ
               บุคคลใด บุคคลหนึ่ง)

    หมัน 1. (ว.)  ใช่  ใช่แล้ว 
              
    " หมันแหละ " 
    -  ใช่แล้ว     ( แม่นแล้ว ในภาษาอีสาน )
              
    " หมันม้าย     ใช่มั๊ย ใช่รึเปล่า
            2.
    (น.)  มัน   (สรรพนามบุรุษที่ 3)
               
    " เบอะหมันไม่มา ใครอิบังคับได้เล่า " - ก็มันไม่มา ใครจะบังคับได้เล่า
              3. 
    (ว.)  หมัน,  เป็นหมัน 

    หมา, ติหมา, หมาตักน้ำ   ( หมา สำเนียงใต้ ออกเสียงเป็น ม้า)(น.) ถังตักน้ำ
            คนไทยถิ่นใต้ชายแดน  แต่เดิมจะใช้ถังตักน้ำที่ทำด้วย
    " เตาะหมาก " หรือ
           
    "
    เตาะหลาโอน " (กาบหมาก กาบหลาโอน) เย็บเป็นกระทงเรียกว่า
           
    " หมา (ออกเสียงเป็น - ม้า),   ติหมา(ออกเสียงเป็น - ติม้า) หรือ  หมาตักน้ำ
           
    (ออกเสียงเป็น - ม้าตักหน่าม) "
            ( คำนี้มาจากภาษามลายู ว่า 
    timba  )

    เหม่เม่,  เบ่  (ก.)  ส่งเสียงดัง   ตัวอย่างเช่น
          
    "เด็กๆ  อย่าเหม่  (เบ่)  อย่าฉาว  เดียวแมวคราวอิมากินตับ
           
    เด็กๆ อย่าส่งเสียงดัง เดี๋ยวแมวตัวใหญ่จะมากินตับ  

    เหม้งพร้าว (น.) มะพร้าวอ่อนที่ยังไม่มีเนื้อมะพร้าว เมื่อผ่าแล้ว ส่วนที่เป็นกะลายังอ่อน
            นิ่มพอจะกินแก้หิวได้ กะลาอ่อนๆนั่นแหละคือ 
    เหม้งพร้าว

    เหมีย   (ว.)   ตัวเมีย        
            หมาเหมีย"     -   หมาตัวเมีย

    โหมฺงตอ (น.) ดอกของสะตอ มีก้านยาว ดอกกลมเป็นตุ้มมีลักษณะคล้ายไม้ตีโหม่ง
            (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของหนังตลุง) จึงเรียกว่า
    โหมงตอ

        หมายเหตุ  : ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา) สำเนียงดั้งเดิม จะมีคำในกลุ่มเสียง ม. หลายคำ ที่มีเสียง  ร  และ  ล  ผสมอยู่  คือ    มฺร,      มฺล

     
    มฺร,      มฺล

     มฺร (มฺร + อน )  (ก.)  คำรณ (คำราม) การส่งเสียงขู่ขวัญของสัตว์ ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ 
              
      " แม่หมา
    มฺร ไม่ให้ใครเข้า แค่ ลูก " 
                
    " เสียงเสือ
    มฺร อยู่ในป่าหลังหมู่บ้าน "
            (คำว่า คำรณในสำเนียงถิ่นใต้ เสียง ค
    . จะหายไป คงเหลือเสียง อำ และ รณ
            เมื่อออกเสียงควบเป็นพยางค์เดียว จืงเป็น  
    มฺร)

    มฺรับ (มฺร + อับ )  (น.)  สำรับ, ภาชนะที่เป็นชุด ประกอบด้วย ถ้วย จาน ชาม ใช้ใส่
            อาหาร และยกมารับรองแขกเป็นชุด   ภาษาไทยถิ่นใต้ เรียกว่า  
    มฺรับ  

            
    คำว่า สำรับ ในสำเนียงถิ่นใต้ เสียง ส. จะหายไปคงเหลือเสียง อำ และ รับ เมื่อ
             ออกเสียงพยางค์เดียว จืงเป็น 
    มฺรับ   ปัจจุบันในครัวเรือนปักษ์ใต้ จะไม่ใช้คำนี้
             เรียก สำรับ แล้ว  คงมีเฉพาะในพิธีทางศาสนาคือ พิธียก มฺรับ หรือยกสำรับให้
             แก่ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเท่านั้น

    มฺลัก,    มฺรัก (มฺล, มฺร + อัก )  (ก.)  สำลัก
            ( เสียง ส. จะหายไปคงเหลือเสียง อำ และ ลัก   เมื่อออกเสียงพยางค์เดียว จึง
            เป็น 
    มฺลั

    เมลิน ตา,    เบลิน ตา (มฺล, บฺล + เอิน )  (ก.)  ลืมตา

    แมฺล้   (มฺล + สระแอ ) (น)   แผลตกสะเก็ด, แผลที่ยังไม่หาย(เกือบหาย)

    มฺร้างๆ , มฺล้างๆ  (มฺล, มฺร + อา  +  ) (ว.) หมาดๆ , วนจะแห้ง     คำนี้ ใช้อธิบาย
            ถึงสิ่งของที่เปียก และกำลังจะแห้ง  
    เช่น ผ้าที่ซักไว้เกือบๆ จะแห้ง หรือ พนังปูน
            ที่ฉาบไว้ จวนจะแห้งแล้ว  เรียกว่า    
    พอ มล้างๆ

    มฺล่าย , ม่าย (ก.)  เลียบๆ เคียงๆ  แต่ไม่กล้าทำ ไม่กล้าลงมือ 
           เหมือนกับปลากัดที่วนไป วนมารอบๆคู่ แต่ไม่ได้กัดกันเสียที่   หรือเปรียบได้กับ
           การที่หนุ่มหลงรักสาว  ที่เฝ้าแต่เลียบๆ เคียงๆ  แต่ไม่กล้าบอกรัก
          (ปกติ คำนี้มักใช้กับสัตว์ เช่นปลากัด หรือวัวชน ถ้าเปรียบเปรยเรื่องหนุ่มเกี้ยวสาว
           ก็จะเป็นคำที่เพื่อนๆ หยอกล้อเท่านั้น)

    โมฺรง,  สำโมฺรง  (มฺร + สระโอ ) (น.) สำโรง (ต้นไม้ชนิดหนึ่ง) 
           คำนี้
    ในภาษาไทยถิ่นใต้ (สงขลา)เสียง ส จะกร่อนหายไปคงเหลือ เสียง อำและ
          โรง แต่จะออกเสียงควบเป็นพยางค์เดียว เป็น  " โมฺรง "
     ตัวอย่าง การใช้คำนี้ คือ
          สามแยกสำโรงและคลองสำโรง  คนสงขลาดั่งเดิมจะเรียกว่า สามแยกโมรง และ
          คลองโมรง

    โมฺละ,  โบฺละ (มฺล, บฺล+ สระโอะ ) (ว.)  ไม่หล่อ ไม่น่าดู ไม่สวย

    เมฺล่อ,  เบร่อ (มลฺ, บรฺ + สระเออ ) (ว.) ที่ไม่ถูกต้อง, ที่ค่อนข้างจะเพี้ยนๆ , ทะลึง, 
           
    บ๊อง ไม่เต็มเต็ง หรือ โง่
          "ไอ้ เมล่ ไหนวะ มาลักเปิดลมรถ"  ไอ้บ้า ไหนวะ มาแอบเปิดลมรถ
         
    " เมล่อ ไม่ปันเพื่อน " =  
    เพี้ยน ทะลึง  เอามากๆ (ไม่เหมือนคนอื่น)

    ลฺะ  (มฺล+ สระอะ )(ว.) บวม  อ้วนฉุ ( เป็นอาการอ้วนของคนที่อมโรค )

    เมฺละ ,  เบฺละ  (มฺล, บฺล + สระเอะ ) 1. (น.)  มะลิ   
          ในสำเนียงไทยถิ่นใต้(สงขลา -คลองหอยโข่ง) เสียง อิ  จะออกเสียงเป็น เอะ และ
          จะรวบคำ เป็น
    ออกเสียงพยางค์เดียว  มะลิ จึงกลายเป็น
       ̣มลฺะ 
     
         ( ปัจจุบัน คำว่า ̣̣ละ นี้  คงมีใช้เฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น   เด็กรุ่นใหม่ จะใช้
          มะลิ ตามภาษาไทยมาตรฐาน แต่ออกเสียงตามสำเนียงใต้ เป็น หมะ
    -หลิ )
          
     2. (น)
    ปลาแห้งตัวเล็กๆ(ปลากะตัก)ภาษาไทยถิ่นใต้เรียกว่า "ลูก̣ม̣ละ"

    แมล้ะ    (มฺล + สระแอะ ) (ก.)  ชำแหละ  สีย ง ช. หายไปคงเหลือเสียง อำ และเมื่อ
           ออกเสียงพยางค์เดียว จืงเป็น
      "แมล้ะ"   
             
    " แมล้ะ หมู "     -   ชำแหละหมู
             
    " แมล้ะ โหลกหนุน "    -   ชำแหละลูกขนุน

    ไมร้    (มฺร + สระไอ )  (น.)    กำไร               

    ไมล้    (มฺล+ สระไอ )  (น.)    กำไล

    เมฺร้ย,   เหมฺรยเมฺล้ย,   เหมฺลย (มฺร, มฺล, + เสียง เอย )    (น.)  พันธะสัญญา
         ที่ลูกหลานได้ให้ไว้(ที่เคยบนบานไว้)แก่ครูหมอโนรา
    หรือ ตายายโนรา  ซึ่งถือเป็น
         ธรรมเนียมที่ลูกหลาน จะต้อง 
    ตัด เหฺมรย (แก้ เหฺมรย) ด้วยการเล่น โนราโรงครู
             "ทำงานพอ แก้ เหฺมรย"   -  การทำงาน ที่เพียงให้งานเสร็จสิ้น  ให้พ้นภาระ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×