ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สังคมศึกษา

    ลำดับตอนที่ #18 : ไอยคุปต์

    • อัปเดตล่าสุด 16 ก.ย. 53


    ไอยคุปต์

    image

    อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช   โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี  ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรใหม่" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่น้อยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์พ่ายแพ้ต่อการทำสงครามจากอำนาจของชาติอื่น จนกระทั่งเมื่อ 31 ปีก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน

    อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจาก ศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่ง แก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

    ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 3,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติ ความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป

    ประวัติ

    ช่วงปลายสมัยยุคหินเก่า แอฟริกาตอนเหนือมีสภาพอากาศที่ร้อนมาก และแห้งแล้ง ทำให้คนจำนวนมากลงมาอาศัยอยู่รอบๆบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ และกลุ่มชนล่าสัตว์,เก็บพืชผลเร่ร่อนเริ่มอาศัยเป็นหลักแหล่งเมื่อประมาณ 1.8 ล้านปีที่แล้ว แม่น้ำไนล์จึงเป็นแม่น้ำสายชีวิตของชาวอียิปต์มาช้านาน  ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบแม่น้ำไนล์ เสมือนหนึ่งที่ธรรมชาติหยิบยื่นโอกาสให้แก่มนุษย์ที่จะตั้งถิ่นฐาน พัฒนาการเกษตรกรรม, เศรษฐกิจ และสังคม และนับเป็นศูนย์กลางทางสังคมสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมของมนุษยชาติ

    ไอยคุปต์ เป็นคำศัพท์ที่คนไทยใช้เรียก อียิปต์สมัยโบราณ มีความหมายรวมถึง ชนชาติ ภาษา และวัฒนธรรม กล่าวโดยย่อคือ ใช้ทั้งในฐานะของคำนามและคุณศัพท์ ส่วนอียิปต์หลังยุคฟาโรห์ นิยมใช้คำว่า "อียิปต์" ตามปกติ

    image

    ที่มาของคำว่า "ไอยคุปต์" น่าจะมาจากการทับศัพท์คำภาษากรีก ว่า ไอกึปตอส (Aigyptos) ซึ่งเป็นชื่อที่คล้ายคลึงกับเทพเจ้าในตำนานปรัมปราของกรีก สององค์ด้วยกัน นั่นคือ "ไอกือปิออส" (Aigypios) และ "ไอกึปตอส" (Aigyptos) แต่ที่มีความสำคัญเกี่ยวโยงกับอียิปต์ก็คือ ไอกึปตอส

    ตามตำนานของกรีก กล่าวว่า ไอกีปตอส เป็นผู้ตั้งชื่อแผ่นดินอียิปต์ ว่า ไอกึปตอส เทพองค์นี้เป็นโอรสของเบลอส และอันฆินอย ฝ่ายบิดานั้นสืบตระกูลจากโปเซย์ดอน ส่วนฝ่ายมารดาสืบตระกูลจากเนย์ลอส เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำไนล์ ไอกึปตอสได้ครอบครองดินแดนอาระเบีย ซึ่งเรียกว่า เมลัมโปเดส (Melampodes = เท้าสีดำ) ครั้นภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นไอกึปตอส

    นอกจากแนวทางการวิเคราะห์ดังกล่าว ยังมีผู้วิเคราะห์ศัพท์ ไอกึปตอส ว่ามาจากศัพท์สองคำ คือ ไอกฺษ, ไอกอส (aix, aigos) เป็นคำนาม หมายถึง แพะ กับคำว่า ปตอส (ptoss) เป็นกริยา หมายถึง นอบน้อม หรือหวั่นกลัว แต่รวมความหมายแล้ว ไม่ชัดเจนนักว่าจะแปลอย่างไร

    ในมหากาพย์โอดิสซี ของโฮเมอร์ เล่มที่ 18 มีกล่าวถึงแม่น้ำไอกึปตอส เมื่อโอดิสเซอุส เดินทางไปถึงแผ่นดินอียิปต์ แม่น้ำดังกล่าวก็คือ แม่น้ำไนล์นั่นเอง

    ในภาษากรีกยังมีการใช้คำว่า ไอกึปตอส หมายถึงคนอียิปต์ และแผ่นดินอียิปต์ด้วย ส่วนวิชาอียิปต์วิทยา (หรือ ไอยคุปต์วิทยา) มีในภาษากรีกมานานแล้ว โดยใช้คำว่า ไอกึปติออลอเกีย (Αιγυπτιολογία = Aigyptiologia) ภาษาละตินใช้ว่า ไอกึปโตโลเกีย ( Ægyptologia) และในภาษาอังกฤษถอดโดยตรง ว่า Egyptology

    ในภาษาละตินยังมีคำศัพท์เรียกอียิปต์ว่า ไอกึปตุส, ไอกึปตี (Ægypt-us, Ægypt-i) ซึ่งนอกจากหมายถึงแผ่นดินอียิปต์แล้ว ยังหมายถึงกษัตริย์อียิปต์ในตำนานพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์เชื่อมโยง กล่าวถึงภาษาอียิปต์ไว้ว่า "ลิงกัว ไอกึปติอาคา" (Lingua Ægyptiaca)

    นักภาษาโบราณเสนอว่าคำว่า "ไอกึปตอส" น่าจะได้เค้ามาจากภาษาอียิปต์โบราณ จากคำว่า ฮิ-คุป-ตาฮ (Hi-kup-tah) หรือ ฮา-คา-ปตาฮ (Ha-ka-ptah) ซึ่งถอดจากอักษรภาพ มีความหมายว่า เทพเจ้า คา แห่งปตาฮ์ อันเป็นอีกชื่อหนึ่งของเมืองเมมฟิส คำดังกล่าวมีปรากฏในศิลาจารึกโรเซ็ตตาสโตน (Rosetta Stone) ที่พบ ณ เมืองโรเซ็ตตาด้วย
    ไอยคุปต์ในภาษาไทย

    ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการใช้คำ "ไอยคุปต์" ในภาษาไทยมาช้านานเพียงใด แต่ที่มีการกล่าวถึงชัดเจน คือพจนานุกรมไทย ของ มานิต มานิตเจริญ อธิบายไว้ว่า "ไอยคุปต์ หมายถึง อียิปต์"

    อย่างไรก็ตาม ที่ชัดเจนที่สุด น่าจะเป็นข้อทักท้วงและเสนอแนะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่แสดงพระราชนิยมเกี่ยวกับการใช้คำศัพท์เรียกชื่อทางภูมิศาสตร์ เมื่อราว พ.ศ. 2465 ดังนี้

    "นามประเทศ อิยิปต์ รักให้เรียก ไอยคุปต์ ตามแบบหนังสือสันสกฤต"

    ข้อความดังกล่าว แสดงว่าทรงนิยมให้ใช้ "ไอยคุปต์" แต่ประเด็นที่ว่าตามแบบหนังสือสันสกฤตนั้น ไม่ชัดเจน ว่าหมายถึงอย่างไร เนื่องจากในพจนานุกรมภาษาสันสกฤต เท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน ระบุชื่อ อียิปต์ว่า "มิสรเทศ" (สอดคล้องกับคำที่ภาษาอื่นๆ ในตระกูลภาษาอาหรับใช้เรียกชื่อประเทศอียิปต์) อย่างไรก็ตาม ก็อาจมองได้ว่า "ตามแบบหนังสือสันสกฤต" ในที่นี้หมายถึง "รูปลักษณ์ของคำ" นั่นคือ "หนังสือ" ในประโยค ก็คือ "ตัวหนังสือไทยที่เขียนแล้วดูเหมือนคำสันสกฤต" เป็นไปได้ว่า พระองค์ ทรงเห็นว่า การเขียน "ไอยคุปต์" จะทำให้มีรูปลักษณ์ที่คล้ายๆ กับคำสันสกฤต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×