ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #15 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด บ)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด บ

    หมายเหตุเสียง บ. - อักษรกลางในสำเนียงใต้(สงขลา)  จะมีฐานเสียงเป็นเสียง
                     จัตวา เช่น
            บาน   (ดอกไม้บาน)     จะออกเสียง เป็น  บ๋าน
                     บาม ( อุปกรณ์จับปลาชนิดหนึ่ง )    จะออกเสียง เป็น  บ๋าม
                     กรุณาเทียบเสียงด้วย

    บด, บถ  (ก.)  สบถ,  สาบาน, อ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ลงโทษ หากไม่เป็นอย่างที่พูด

    บอกยน   (น.) ตะบันหมาก

    บอง,  บองหลา  (น.) งูจงอาง   
             (ภาษาสงขลา
    - คลองหอยโข่ง  จะออกเสียงว่า
    ฮู บ๋อง  หมายถึง งูจงอาง )

    บอง หนาบทีง,  งูบอง หนาบทีง,  งูหนาบทีง (น.) งูชนิดหนึ่ง มีขนาดและลำตัวยาว
            คล้ายงูจงอาง แต่แตกต่างจากงูจงอาง ตรงที่
    งูบองหนาบทีง ตลอดลำตัวจะมีลาย
            พาด สีดำ สีเหลือง  สีน้ำตาลและสันหลังจะเป็นเหลี่ยม  
    งูบองหนาบทีง เป็นงูไม่
            มีพิษ อำพรางตัวได้เก่ง  เมื่อจวนตัว จะเลื้อยหนีอย่างรวดเร็ว
           (ชาวนครศรีฯเรียกงูชนิดนี้ว่า งูหนาบควาย ปัจจุบันจะพบเห็น
    งูบองหนาบทีงหรือ
           งูหนาบควาย
    ได้ยากมาก )

    บัดสี  (ก.)   อับอาย 
        
    " เรื่องแรกวา  ตัว อย่าแหลงกับใครนะ ฉาน บัดสี "
           เรื่องเมื่อวานนี้  พี่อย่าพูดกับใครนะ  ฉันอาย

         
     (คำว่า  ตัว  ในภาษาสงขลา เป็นคำที่ใช้พูดกับผู้อาวุโส หรือแก่กว่า เท่านั้น
           ห้ามใช้กับผู้ที่อายุน้อยกว่า
    )

    บากร้าย  (ว.) (อุปกรณ์,เครื่องใช้) ที่เก่า ชำรุด ไม่สมประกอบ,  (ชีวิต,บุคคล)
             ที่ลำบากยากร้าย, รันทด แร้นแค้น

    บาดลวก, บาทว์ลวก (ว.) โรคระบาดที่(คน หรือ สัตว์)ล้มตายเป็นเบือ, อุบาทว์อัปรีย์
            
    คำนี้ในภาษาไทยถิ่นใต้ ถือเป็นคำหยาบ มักใช้เป็นคำแช่งด่า  เช่น
             "ไอ้บาดลวก"

    บาน   1.  (ก.)   บาน เบ่งบาน   (ดอกไม้)บาน 
            
    2.  
    (ก.)   ตัดญาติขาดมิตร,   ประกาศเลิกคบค้าสมาคม

    บาบ๋า , จีนบาบ๋า   (น.)  ลูกครึ่งจีน-มลายู

    บาม   (น.) อุปกรณ์จับปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้าย ยอ มีขนาดใหญ่เวลายก บาม จะ
          ต้องใช้รอกหมุนเป็นอุปกรณ์ทุ่นแรง  ชาวสงขลาริมทะเล จะใช้
    บาม ดักปลาโดย
          ติดตั้งขวางทางน้ำเพื่อจับปลาเวลาน้ำทะเลขึ้น
    ปลาที่จับได้มักจะเป็นปลากระบอก

    บ่าว(สำเนียงสงขลาออกเสียงเป็น บ๋าว) 
             
    1.
     (น.) ชายหนุ่ม     ทำบ่าว = อวดทำเป็นหนุ่ม  
              2.
    (น.) ผู้ชายที่ยังไม่ได้บวชเรียน
           ผู้ชายที่ยังไม่ได้บวช
    แม้ว่าจะมีอายุมากเพียงใดก็ตาม เวลาเรียกขาน  จะต้องมี
           คำว่า
    "บ่าว"นำหน้าเสมอ เช่น พ่อเฒ่าพรหมมีอายุถึง
    80 ปีแล้ว แต่เนื่องจากพ่อ
           เฒ่าพรหม ยังไม่ได้บวชเรียน คนรุ่นเดียวกันหรือรุ่นน้องใกล้เคียงกัน  ก็จะเรียก
           พ่อเฒ่าพรหมว่า
    บ่าวพรหม

            ดังนั้น " บ่าววี " เจ้าของเพลง ใจจริงไม่ลอกอ จึงมีความหมายว่า นายวี นักร้อง
            คนนั้นยังไม่ได้บวชเรียน  แต่
     "หลวงไก่" เจ้าของเพลง ขวัญใจพี่หลวง เป็นคน
            ที่บวชเรียนมาแล้ว เพราะใช้คำว่า หลวง นำหน้าชื่อ

           (กรุณาดูความหมาย
    หลวง เพิ่มเติม)

    บ้าเหียก  (ว.) คำนี้ ใช้อธิบายลักษณะของ ผู้ชายที่หลงรักผู้หญิง  เฝ้าวนเวียนไปหา
            หรือจุ้นจ้าน เป็นเจ้ากี้เจ้าการให้ผู้หญิงคนนั้น ทั้ง ๆ ที่ ผู้หญิงไม่เล่นด้วย

              
    " หลวงไข่บ้าเหียก มาหลายเดือนแล้ว  สุดท้าย กะ ควัดด็องเปล่า "
            หลวงไข่บ้าผู้หญิง(รักเขาข้างเดียว)มาหลายเดือนแล้ว  สุดท้ายก็ฝัดกระด้ง
            เปล่าๆ ( ไม่ได้อะไรเลย เสียเวลาเปล่า )

    บิ้ง    (น.)  แปลงนาที่มีคันนาล้อมรอบ 
           ( บิ้งนาแต่ละบิ้ง  จะมีพื้นที่ไม่เท่ากัน นาดอนขนาดของบิ้งจะเล็ก  แต่นาที่ราบ
           จะมีขนาดใหญ่กว่า)

    บินจา,  เบญจา (น.)  เสา 4 เสา ข้างบนขึงด้วยผ้าขาว (เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ)
            ที่ใช้ในพิธีรดน้ำสระหัวผู้อาวุโส หรือ ผู้เป็นที่เคารพบูชาของคนทั่วไป ตามประ
            เพณีปักษ์ใต้

            วิธีรดน้ำสระหัว ผู้ที่จะรับการรดน้ำสระหัว จะนั่งอยู่ใต้ผ้าขาว แล้วให้ผู้รดน้ำ
            สระหัวรดน้ำผ่านผ้าขาวลงมา

    บินหลา,  นกบินหลา  (น.)   นกกางเขน
          
    " นกบินหลาขี้ควาย, นกบินหลาเฉด,
    นกบินหลาแจด " หมายถึง นกกางเขนบ้าน
          
    " นกบินหลาดง "  หมายถึง  นกกางเขนดง

    บิหลัง, ปลาบิหลัง  (น.) ปลาดุกทะเล

    บูดู (น.) อาหารพื้นเมืองของคนไทยถิ่นใต้ชายแดนได้มาจากการหมักปลากับเกลือ
          
    โดยอาศัยเอนไซม์และจุลินทรีย์จากปลาที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ  ใช้เวลาหมัก
           ประมาณหนึ่งปี จนปลาและเกลือแปรสภาพเป็นของเหลวขุ่น เรียกว่า
    น้ำบูดู คน
           ไทยถิ่น
    ใต้ในเขตสงขลา สตูล พัทลุง และ 3 จังหวัดชายแดนจะใช้ น้ำบูดู  เป็น
           เครื่องชูรสในการรับประทานอาหาร  และใช้การประกอบอาหารคาว ต่างๆ  เช่น
           ข้าวยำบูดู
    ..

    เบล่อ,  เมร่อ,  เมล่อ  (ว.) ที่ไม่ถูกต้อง, ที่ค่อนข้างจะเพี้ยนๆ,  บ๊อง,  ไม่เต็มเต็ง
           
    พูดจาไม่รู้เรื่อง, สอนไม่ฟัง,  นิสัยไม่ดี, โง่  ( เป็นคำหยาบ มักใช้เป็นคำดุ ด่า )

        
     "
    ฮ็อบ เมร่อ ไป่ " - วลีถิ่นใต้ วลีนี้ มีความหมาย ใกล้เคียงกับความหมายในภาษา
          ไทยมาตรฐาน คือ   เพี้ยนมาก ก็เลยโดนอย่างนี้ , อยากบ้าดีนัก เลยโดน(ตบ, ตี,
          กระทืบ ฯลฯ ) จนหายบ้าไปเลย


    เบอะ,  กะเบอะ,  (  เม่อ,  กะเม่อ )   (สัน.)   อันที่จริง,ในความจริง,   ก็,   ก็เพราะว่า 
            ตัวอย่างเช่น 
    "เบอะ มึงเสือกเอง",    " เสือกเอง เบอะ "
            
    ความหมายคือ   ก็มึงเสือกหาเรื่องเอง ,  ก็เพราะมึงเสือกเอง
           
    (คำว่า "เบอะ" หรือ "กะเบอะ" จะวางไว้หน้าหรือหลังคำที่ต้องการเน้น ก็ได้ )

    เบี้ย   (น.)  เงิน (ที่ใช้ซื้อสินค้า)    ชาวสงขลา จะใช้ "เบี้ย" ซื้อสิ่งของ  แต่ชาว
           นครศรีธรรมราชจะใช้
    "ตาง"  ( ซึ่งกร่อนมาจากคำว่า  สตางค์)
         
     "แตกเบี้ย"
    เอาเงินใหญ่ไปแลกเงินปลีก

    เบือ    (สัน.)  ถึงกับต้อง..  (มิฉะนั้นจะไม่สำเร็จ จะมีปัญหา )
           
    " หลวงไขถูกเมียผลัก ตกนอกชาน เบือต้องหามส่งโรงหมอ " - หลวงไขถูกเมีย
           ผลัก ตกนอกชาน    (เจ็บหนัก)ถึงกับต้องหามส่งโรงพยาบาล   
    คำว่า เบือ นี้ มี
           ปรากฎในสมุดข่อยเรื่อง พระสุธน ความว่า

           
    หมึงชันดีไปลอง   หมันมิถอง เบือ ย่างไฟ    ฉลาก พาจังไร   หมึงหลบไป
             ลองสักที

    เบื้อง  (น.) วัสดุสิ่งของที่เป็นแผ่น แข็ง
         
    " เบื้องหัว " -  กระโหลกศีรษะ
        
     " เบื้องมุงหลังคา " กระเบื้องมุงหลังคา
        
     " เบื้องขวด "- เศษแก้ว หรือเศษขวดที่แตก
              
     " ถ้าไม่ใส่เกือก กะเดินแลๆ ฮีด  เดี๋ยวเบื้องขวด อิบาดตีน "
                  ถ้าไม่สวมรองเท้า ก็ต้องเดินดูๆ หน่อยนะ  เดี๋ยวเศษขวดแตกจะ
    บาดเท้า

    แบนปาก   (ก.)  แสดงอาการเหยียดหยาม ดูถูก ด้วยการเบ้ปาก

    โบ่, โม่    (ว.)  โง่,  ไม่ฉลาด (คำนี้มาจากคำว่า โมหะ, โมห์  ไม่รู้ )

    โบ๊ะหลัง  (ก.) ทุบหลังด้วยกำปั้น
           ตัวอย่าง ประโยคต่อไปนี้
          
    " หลวงไข่  มฺลักโดกฮัวต้ม    ดีเท่ เมียแกไว  โบ๊ะหลัง ทีเดียว โดกฮัวหลุดออก
           มาเลย ถ้าเมียแกแช สักหีด  หลวงไข่ตายแน่นอน "
         

         
     ความหมายคือ
          
    พี่ไข่ (น้าไข่)  สำลักกระดูกวัวต้ม  ดีนะที่ เมียแกไว  ทุบหลังด้วยกำปั้น ทีเดียว
           กระดูกวัวหลุดออกมาเลย  ถ้าเมียแกช้ากว่านี่ สักนิด  หลวงไข่ตายแน่นอน "

          ( คำว่า "โบ๊ะหลัง" นี้ เป็นคำที่ใช้กันมากในเขตคลองหอยโข่ง และสะเดา )

    โบร๊ะ, โบล๊ะ   (ว.ไม่หล่อ, ไม่สวย,  ขี้เหร่  
              (
    เทียบกับภาษามลายู buruk  ซึ่งมีความหมายว่า    ม่สวย,  ไม่ดี,  แก่)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×