ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาษาตามโพร โอโห้...ปักษ์ใต้

    ลำดับตอนที่ #13 : มารู้จักคำศัพท์ภาษาตามโพรกันเถอะ ! (หมวด ท)

    • อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 54


    หมวด ท

    ทก ( ออกเสียงเป็น  ถ็อก )  (ก.) กระตุก,  ดึง, กระชาก, รั้งไว้

    ทราบ,  ซาบ     (ก.)    แอบฟัง

    ทวย  (น.) พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง   ยอดและใบอ่อนสีชมพู   มีรสเปรี้ยว กินได้

    ทวยยายมัน(น.) แมงชนิดหนึ่งคล้ายแมงป่องแต่เล็กกว่ามาก ในถิ่นใต้บางแห่งจะ
           เรียกแมงชนิดนี้ว่า
    ตัวใยมัน
          
    ( ทวย  มาจาก ขฺทวย ในภาษาเขมร แปลว่า แมงป่อง )

    ทวย อุด (น.) ก้นของสัตว์ปีก ตรงที่ขนหางงอกออกมา(บริเวณนี้จะมีต่อมน้ำมัน)
             เช่น 
    ทวยอุดไก่,   ทวยอุดเป็ด

    ทอ  (ก.  (วัว) ขวิด ,   ชนด้วยเขา
          
    " บ่าวไข่ โถกฮัวทอ
    =   บ่าวไข่ ถูกวัวขวิด
           ( ถ้าเป็น  ควาย  อาการแว้งด้วยเขาของควาย 
    ภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้คำว่า ฟัน
            ดังนั้น  ประโยคข้างต้น ก็จะเปลี่ยนเป็น   " บ่าวไข่ โถกควายฟัน ")

    ทอก  (ก.) กระทอก, กระแทกขึ้นกระแทกลง อย่างแรง  หลายๆครั้ง
         
       
    "ทอกเมดพร้า"  -  กระแทกมีดพร้าให้แน่น     ( ด้ามมีดพร้าหลวมจำเป็นต้อง
           กระแทกให้ด้ามแน่น เพื่อพร้อมใช้งาน)    
    "เมดพร้า" =  มีดพร้า
           คำว่า
    ทอก อาจใช้ในความหมาย  การร่วมเพศ จึงถือเป็น คำสองง่ามสองแง่

    ทอยตรอก (น.)   โยนหลุม   (การละเล่นของเด็ก)

    ทั้งเพ,  ทั้งเผิ่น    (ว.) ทั้งหมด,  ทั้งนั้น  
            
    "บ้าทั้งเพ"  - บ้ากันหมดแล้ว(บ้ากันทุกคน)

    ทับ  (น.)  ที่พักชั่วคราว,  ที่พักของชาวป่าซาไก

    ท่า     1. (ก.)  ( ออกเสียง  ท่า )   รอ, คอย      " ท่ามั้ง "  =    รอด้วย
             2. 
    (น.)  ( ออกเสียง  ถ่า )  ท่าน้ำ   ท่าเรือ   ท่ารถ

    ทางรง, ทางรั้วรง (น.)  เส้นทางจูงวัวจูงควาย  มักเป็นทางแคบๆอยู่ระหว่างแนวเขต
            ที่ดินที่เจ้าของที่ดินทั้งสองข้าง  เว้นไว้ ให้เป็นทางสาธารณะของหมู่บ้าน  พอที่
            จะใช้จูงวัวจูง
    ควาย ออกไปทุ่งนา หรือออกไปนอกหมู่บ้านได้
            คำนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้
    -สะกอม เรียกว่า  (มาจาก lorong ในภาษา
            มลายู 
    แปลว่า ตรอก , ซอย )
    ทางลุรง

    ท้ายด้น ( ออกเสียงเป็น  ท่ายด็อน ) (น.) ท้ายทอย, ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน
            ( ในตำราแพทย์แผนไทยและเอกสารโบราณ จะเรียกท้ายทอยว่า กำด้น  )

    ท่าว  (ว.) หยุดกิน,   อิ่มแล้ว  กินจนพอแล้ว 
             
    "พอแล้ว ท่าวแล้ว"  พอแล้ว อิ่มแล้ว

    ท่วมหัวยื่นมือ  (ว.) วลีนี้ ในภาษาไทยถิ่นใต้ใช้วัดระดับความลึกของน้ำ ความหมาย
             คือลึกขนาดลงไปยืนและชูแขนแล้วก็ยังจมอยู่   
            (  ตัวอย่างคำในภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้แยกตามระดับความลึกมีดังนี้ 
    แค่ตาตุ่ม,
             แค่เข่า,   แค่เอว,  แค่คอ,  ลึกพอท่วมหัว, ลึกท่วมหัวยื่นมือ
    )

    ท่าว คั้ว (น.) เต้าคั่ว   อาหารชนิดหนึ่ง ของ คนสงขลา

    ท่าว เถี่ยว  (น.)  เต้าเจี้ยว

    เท่  (น)  ที่
           (สำเนียงไทยถิ่นใต้ - สงขลา   คำว่า ที่    เสียง อี จะออกเสียงเป็น เอ )

    เท้ง (ออกเสียงเป็น  เถ่ง) (ก. ) ล้อเลียน หรือ เย้าแหย่  ด้วยอารมณ์ขัน
        
    " บังสะหม้อ วันๆ ดีแต่เท้งเพื่อน..  ฮานไม่ทำ "  ความหมายคือ
           บังสะหม้อ วันๆ ดีแต่พูดเล่น เย้าแหย่เพื่อนฝูง....งานการไม่ทำ

    เทศ (ออกเสียงเป็น  เถด) (น.) คนอินเดีย  ภาษาไทยถิ่นใต้(สงขลา) จะใช้คำว่า
             เทศ ในความหมาย คนอินเดีย  ซึ่งจะมีคำขยายความเพิ่มเติม เช่น
             
    " เทศขาว "  คนอินเดียภาคเหนือ / คนอินเดียทั่วไป  ที่มีผิวขาว
             
    " เทศ "       คนอินเดียที่มีผิวคล้ำ (ซึ่งส่วนมากจะเป็น อินเดียภาคใต้)
             
    " เทศขี้หนู "  - คนอินเดียภาคใต้ ผิวคล้ำ ตัวเล็ก (ชาวกลิงค์ )
             
    " เทศขายผ้า "  - คนอินเดียที่เร่ขายผ้าตามหมู่บ้าน (ปกติจะเป็นชาวซิกส์ มี
                                  ผ้าโพกศีรษะ)
             
    " เทศขายถั่ว "  - คนอินเดียที่เร่ขายถั่วตามงานวัด/ตามหมู่บ้าน มักเทิน
                                  อุปกรณ์ใส่ถั่วทอดที่มีลักษณะเป็นโต๊ะเล็กๆไว้บนศีรษะ เวลา
                                  จะขายถั่ว ก็ตั้งโต๊ะลงบนพื้น  ยืนขายถั่วได้เลย

    แทง  (ก.)  ทิ่ม, ปักเข้าไป
           คำนี้ในภาษาไทยถิ่นใต้ ใช้รวมทั้ง การแทงด้วยวัตถุที่แหลม หรือการพัดพาและ
           การกัดเซาะของน้ำที่ไหลแรง เช่น
         
     "น้ำแทงรถ ตกลงในคูข้างหนฺน"  ความหมายคือ น้ำ(ที่ไหลแรง)พัดพารถ ตกลง
           ไปในคูข้างถนน    (
    หนฺน  =  ถนน )
        
     
    "ดูพะ ปีนี้ บ้านข้างคลองที่หาดใหญ่ใน โถกน้ำแทง โหะลงคลองไปหลายหลัง"
           ความหมายคือ    ฤดูน้ำนอง ปีนี้ บ้านข้างคลองที่หาดใหญ่ใน  ถูกน้ำกัดเซาะพัง
           ลงคลองไปหลายหลัง
            (
     ดูพะ
     =  ฤดูน้ำนอง,ฤดูฝน,      โถก  =   ถูก  ,     โหะ   =   พัง ,ทรุด  )

    แทงศาสตรา(ก.)การเสี่ยงทายของคนไทยถิ่นใต้ดั่งเดิมโดยอธิษฐานแล้วใช้ไม้มี
            รูปร่างคล้ายพระขรรค์เล็กๆเสียบเข้าไปในหนังสือทำนายโชคชะตา เข้าไปหน้า
            ไหน ก็ให้อ่านคำทำนายหน้านั้น

    ทำเฒ่า  (ออกเสียงเป็น ทำถ้าว )  (ก.)   แส่,  ยุ่งเรื่องของคนอื่น, ทำตัวเป็นผู้ใหญ่
             อวดภูมิรู้ ทั้งที่ตัวเองอายุยังไม่มาก

    ทำแดก (ก.)  ประชด  แดกดัน
             "ตายทำแดกเปรว"  =   ตายประชดป่าช้า   สำนวนใต้ หมายถึง การแกล้งทำ
             หรือพูดแดก  ดันอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ผลที่ได้คือ ผู้ที่ทำหรือพูด กลับเป็นฝ่ายเสีย
             หาย     หรือจะใช้สำนวน  
    "ตายข่มเห็งเปรว" ก็ได้  มีความหมายเดียวกัน
             เปรว  = ป่าช้า )

    ทำแดง (ก.) สำออย , อ้อนพ่อแม่

    ทำเป็นหรอย ( ออกเสียงเป็น  ทำเป๋นร้อย ) (ว.) ทำเป็นเก่ง
              
    "
    น้องบ่าว  อย่าทำเป็นหรอย"  =    น้องชาย อย่าทำเป็นเก่ง

    ทำโผ้ (ว.) ทำเป็นคนเจ้าชู้ ที่วนเวียนจีบสาวจนเกินความพอดี  (เสมือนสัตว์ตัวผู้ที่
             เฝ้าตัวเมีย ) คำว่า "ทำโผ้" นี้ เป็นคำเก่า ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ ใช้ด่าว่า เด็กหนุ่มที่เป็น
             ลูกหลานของตัวเอง  ถือเป็นคำที่แรงมาก
       ปัจจุบัน จะไม่ค่อยได้ยินคำนี้แล้ว
             " ตัวโผ้ "  
    =   ตัวผู้

    ทำผรื่อ (ว.) ทำอย่างไร   
             คำว่า
    ผรื่อ นี้ สำเนียงสงขลาจะออกเสียง ผรื่อ  (เสียงเอก)   ถ้าเสียงสูงเป็น
             พรื้อ (เสียงโท) จะไม่ใช่สำเนียงสงขลา

    ทำเพท (ก.) เกิดอาเพท, แสดงอิทธิฤทธิ์ของสิ่งเหนือธรรมชาติที่ส่งผลในทางร้าย,
            แสดงพฤติกรรมที่ส่งผลในทางไม่ดี
     

    ทำเพิง  (ว.) (นั่ง)ทำเพิง ;  ลักษณะการนั่งของสาวๆที่นุ่งผ้าถุง แล้วไม่ระมัดระวัง
            ( เปิดหวอ ) จนคนผ่านไปผ่านมา เห็นของลับ

    ทำยศ,   ทำฤทธิ์  (ก.) พยศ  ขัดขืน ไม่ยอมทำตาม ไมยอมเชื่อฟัง
            ( เป็นคำที่ใช้กับ เด็กๆ)

    ทิ่น  (ว.) สงบ   ไม่มีความกังวลใจ  -  คำนี้มักใช้ในเชิงปฏิเสธ  คือ ไม่ทิ่น
          
     "คืนนี่ หลับไม่ ทิ่น เลย ข้องใจอยู่ว่าอี้ได้ตัดยางหม้าย ถ้าฝนตกหนักพันนี้"
           
     คืนนี่ หลับไม่สนิทเลย ข้องใจอยู่ว่าจะได้ตัดยางมั้ย ถ้าฝนตกหนักอย่างนี้

    ทิ่ม 1(ก. แทง       2. (ก.)  ตำ  ปักษ์ใต้มักจะใช้ คำว่า ทิ่ม แทนคำว่า ตำ
            
    " ทิ่มข้าว " =    ตำข้าว,
             
    " ทิ่มเม่า "  =    ตำข้าวเม่า
            
    " ทิ่มน้ำชุบ " =    ตำน้ำพริก
               ถ้าใช้สากตำลงในครก เอียงๆ  เบาๆ  ปักษ์ใต้จะเรียกว่า 
    เซ

    ทุ่ม   (ก.) ทิ้ง      พ่อหม้ายเมียทุ่ม =   พ่อหม้ายเมียทิ้ง
             
    " ไอ้บ่าว อย่าแล่นทุ่มน้อง นะ เดี๋ยวน้องอิหลบบ้านไม่ถูก "
    =  ไอ้บ่าว อย่าวิ่ง
            หนี ทิ้งน้องไว้ข้างหลัง นะ เดี๋ยวน้องจะกลับบ้านไม่ถูก

    ทูด   ( ออกเสียงเป็น  ถูด )   (ก.)  ตะเพิด
            
    " ทูดออกไป "  =  ไล่ตะเพิด ออกไป

            ( ดังนั้น คำว่า 
    "ทูดทักษิณ" ที่ปรากฏในแผ่นป้ายต่อต้านนายกทักษิณ เมื่อต้น
             ปี 2549 ก็คือ ไล่ตะเพิดให้นายกทักษิณออกไป )

    ทู่ที่  ( ออกเสียงเป็น  ถู่ถึ่ ) (ว.)  เสียงพูดคุยที่เบาๆ ฟังไม่ชัดเจนว่า คุยกันเรื่องอะไร

    โท้, ไม้โท้  (ออกเสียงเป็น  โถ่, ม่ายโถ่ ) (น.) กระทู้,  เสารั้ว, ไม้ที่ตัดมาทำเสารั้ว

         
     "ถ้าเด็กร้าย ให้เฆี่ยนกับม้หมก แต่ถ้าคนเฒ่าเบล่อ กะต้องทุบกับไม้โท้"
      
    ถ้าเด็กซน ให้เฆี่ยนด้วยไม้เรียว แต่ถ้าผู้ใหญ่บ้า(ทำอะไรผิดๆ)ก็ต้องตีด้วยไม้เสารั้ว

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×