การเผยแผ่ศาสนาพุทธในกัมพูชา - การเผยแผ่ศาสนาพุทธในกัมพูชา นิยาย การเผยแผ่ศาสนาพุทธในกัมพูชา : Dek-D.com - Writer

    การเผยแผ่ศาสนาพุทธในกัมพูชา

    การเผยแผ่ศาสนาพุทธในกัมพูชา ยินดีให้ทุกคนใช้ไปทำรายงานนะครับ^___^

    ผู้เข้าชมรวม

    24,598

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    37

    ผู้เข้าชมรวม


    24.59K

    ความคิดเห็น


    55

    คนติดตาม


    6
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 ธ.ค. 54 / 14:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    พอดีผมเคยทำรายงานเรื่องนี้เลย เอามาลง จะได้หากันง่ายๆ ยังไงก็ขอบคุณหนังสือพระพุทธศาสนาม.2+วิกกี้พีเดียมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      รายงานวิชาสังคมศึกษา

      การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา

      พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศกัมพูชา เมื่อราวพุทธศวรรษที่ 8 อันเป็นช่วงที่อาณาจักรฟูนันกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ทางทิศใต้ของดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน อาณาจักรฟูนันเป็นอาณาจักรใหญ่ซึ่งมีสัมพันธไมตรีอันดีกับประเทศจีนและอินเดีย ดังนั้นจึงพลอยได้รับอิทธิพลการนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานจากประเทศทั้ง 2 ด้วย อย่างไรก็ตาม ศาสนาที่เผยแผ่เข้ามายังอาณาจักรฟูนันในสมัยแรกๆคือ ศาสนาพราหมณ์ ส่วนพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาทีหลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อาณาจักรฟูนันมีการนับถือศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาปะปนกันอยู่ แต่ก่อนที่อาณาจักรฟูนันจะเสื่อมอำนาจลง พระพุทธศาสนานิกายมหายานก็ได้รับการเอาใจใส่ทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น

                      อาณาจักรที่เรืองอำนาจและเข้ามามีอิทธิพลสืบแทนอาณาจักรฟูนันก็คือ อาณาจักรเจนละ หลังจากสิ้นสมัยอาณาจักรเจนละแล้ว กัมพูชาก็เข้าสู่สมัยมหานครอันเป็นยุคที่อาณาจักรกัมพูชาหรือเขมรเรืองอำนาจสูงสุง เมื่อบ้านเมืองมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น กิจการทางด้านศาสนาก็พลอยเจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่7(พ.ศ.1724-1762)ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ พระพุทธศาสนาทั้งนิกายมหายานและนิกายเถรวาทได้รับการทำนุบำรุงเอาใจใส่อย่างดียิ่ง เช่น โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดอารามทั่วพระราชอาณาจักร ทรงสร้างนครธมขึ้นบริเวณใจกลางนครธม โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวิหารทางพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า”ปราสาทบายน”ซึ่งประกอบด้วยหมู่ปรางค์ใหญ่น้อยประมาณ50องค์ ส่วนบนของพระปราค์ทุกองค์จะแกะสลักเป็นรูปพระพักตร์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทรงสร้างพระพุทธรูป “ชัยพุทธมหานาถ”เป็นจำนวนทั้งสิ้น 23 องค์ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้นำไปประดิษฐานยังวิหารต่างๆทั่วพระราชอาณาจักร ทรงนิมนต์พระสงฆ์เข้าไปบิณฑบาตในพระราชวังทุกๆวัน วันละ 400 รูป นอกจากนี้ยังมีเหต์การณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอีกประการหนึ่งก็คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงส่งพระราชโอรสองค์หนึ่ง(นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าชื่อ “ตามลินทะ”) เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศลังกา ตอนเดินทางกลับพระภิกษุตามลินทะก็ได้นำเอาพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์เข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรกัมพูชาด้วย

                      ในช่วงสมัยหลังเมืองพระนคร อาณาจักรกัมพูชาได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ และต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านตลอดเวลา นอกจากนี้ บางครั้งราชวงศ์ของกัมพูชาก็เกิดการสู้รบแย่งชิงราชสมบัติกันเอง ดังนั้นจึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาพลอยเสื่อมโทรมลงไปด้วย

                      พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยของพระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี (นักองด้วง )ซึ่งขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.2384 โดยในรัชกาลของพระองค์พระภิกษุชาวกัมพูชา ซึ่งได้รับการศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาจากกรุงเทพฯ ได้ร่วมมือกันฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรมชั้นสูงในกรุงพนมเปญมีชื่อเรียกว่า”ศาลาบาลีชั้นสูง” และยังนำเอานิกายธรรมยุตจากเมืองไทยเข้ามาประดิษฐานที่ประเทศกัมพูชาเป็นครั้งแรกอีกด้วย

                      อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่สภาพทางการเมืองของเขมรหรือประเทศกัมพูชาไม่ใคร่มีความมั่นคงนัก โดยเฉพาะการสู้รบทำสงครามกลางเมืองระหว่างชาวเขมรด้วยกัน จึงทำให้พระพุทธศาสนาไม่เจริญถึงขั้นสูงสุด แม้ว่าโดยส่วนใหญ่ประเทศกัมพูชาจะได้รับอิทธิพลการนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่องก็ตาม

      ยุคฟูนัน (Funan, Founan)หรืออาณาจักรพนมหรือยุคก่อนเขมร (พ.ศ.600-1100)

      "ฟูนัน" เป็นภาษาจีน สันนิษฐานว่า เพี้ยนมาจากคำเขมรว่า พนม ซึ่งแปลว่า ภูเขา ในสมัยนี้ชาวเขมรส่วนใหญ่ นับถือตามความเชื่อดั้งเดิม คือ นับถือตามบรรพบุรุษ ได้แก่ ถือลัทธิโลกธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ และผีสางนางไม้ จดหมายเหตุของจีน เรียก ฟูนัน เขมรนับถือทั้งศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา แต่ในราชสำนัก และชนชั้นสูง นับถือศาสนาฮินดู นิกายไศวะ เป็นหลัก ลักษณะของฟูนันมีความคล้ายคลึงกับอินเดียมาก เพราะได้รับแบบแผนการปกครอง ศิลปะ การช่าง และวิทยาการต่าง ๆ จากชาวอินเดียในยุคฟูนันตอนปลายพระมหากษัตริย์ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ดังเอกสารฝ่ายจีนในราชวงศ์ชี้ทางภาคใต้ว่า กษัตริย์ฟูนันพระนามว่า เกาณฑินยะชัยวรมัน ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน ภายหลังทรงนับถือพุทธศาสนา ในรัชสมัยนี้ ได้มีพระภิกษุชาวอินเดียรูปหนึ่ง ชื่อ พระนาคาหรือ พระนาคเสน ได้เดินทางไปยังประเทศจีน ได้แวะที่ฟูนันก่อน และได้ทูลพระเจ้ากรุงจีนว่า ประเทศฟูนันนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะ แต่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มีภิกษุสามเณรมาก และสมัยนี้ ได้มีพระภิกษุชาวฟูนัน ชื่อ สังฆปาละ ( พ.ศ. 1002-1065) เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระอภิธรรม ได้เดินทางไปสู่ประเทศจีน และได้ศึกษาเพิ่มเติมจากพระภิกษุอินเดีย ชื่อ คุณภัทร มีความแตกฉานในพุทธศาสนา เป็นที่เคารพศรัทธาของพระเจ้าจักรพรรดิบู่ตี่ (ครองราชย์ พ.ศ. 1046-1092) ทรงอาราธนาให้ท่านแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเป็นภาษาจีน เช่นคัมภีร์ "วิมุตติมรรค" ซึ่งแต่งโดยพระอุปติสสะเถระ และยังได้รับนิมนต์จากพระเจ้าบู่ตี่ ให้เป็นผู้สอนธรรมในราชสำนัก นับว่าเป็นชาวฟูนัน ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง เป็นที่รู้จักในบรรดาประเทศต่าง ๆในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 พระเจ้าเกาณฑินยะวรมันได้ส่งพระมหาเถระเขมร 2 องค์ ไปช่วยแปลพระไตรปิฎกจีน พระมหาเถระ 2 องค์นี้เป็นนักปราชญ์รู้หลายภาษา โดยเฉพาะภาษาสันสกฤต องค์ที่เลิศมีเกียรติติดชื่ออยู่ในพระไตรปิฎกจีนนั่นคือ พระมหาเถระเสงโปโลสังฆปาละ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๐๖๗ ในประเทศจีน พระมหาเถระสังฆปาละได้แปลคัมภีร์วิมุตติมรรค อันเป็นคัมภีร์ของพระธัมมรุจิเถระ ในเกาะลังกา เป็นคัมภีร์คู่กับคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆสาจารย์ ซึ่งประเทศที่นับถือลัทธิมหายานต่างรู้จักชื่อท่านทั้งสองนี้ดีมาก พระเถระเขมรทั้งสองรูปได้ช่วยแปลพระไตรปิฎก ข้อความแห่งคำแปลนั้นมีผลงานเป็นภาษาจีนแท้ ใน พ.ศ. 1057 พระเจ้าอนุรุทธวรมันขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และได้ทรงประกาศถวายพระองค์เป็นอุบาสก ทรงมีพระเกศธาตุเส้นหนึ่งไว้เป็นที่สักการะบูชา พระเจ้าอนุรุทธวรมันเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ปรากฎนามในยุคฟูนัน ในระยะเวลานี้อาณาจักรเจนละซึ่งเป็นเมืองขึ้นของฟูนันได้มีอำนาจมากขึ้น ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ และต่อมาใน พ.ศ. 1170 ก็ได้ยกกองทัพมาโจมตีรวมฟูนันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละ

       

       

      สมัยเจนละ ( พ.ศ. 1100-1388)

      อาณาจักรเจนละตั้งอยู่ทางทิศเหนือของฟูนัน ถือว่าเป็นยุคของเขมรหรือกัมพูชาที่แท้จริง ซึ่งถือว่าได้เริ่มต้นในสมัยเจนละนี้ พระเจ้าวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกของสมัยเจนละ ราว พ.ศ. 1093 กษัตริย์ในยุคต้นยังคงนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะเป็นหลัก ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 13 ได้มีกษัตริย์ที่นับถือพระพุทธศาสนา คือสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1193 - 1256) มีหลักฐานแสดงว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ มีศิลาจารึกที่วัดไพรเวียร ใกล้เมืองวยาธปุระ เมื่อ พ.ศ. 1207 กล่าวถึงกษัตริย์สองพี่น้องที่บวชในพุทธศาสนา พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ได้โปรดให้สร้างวัดถวาย หลักฐานจากข้อบันทึกของหลวงจีนอี้จิง ที่เดินทางไปอินเดียและผ่านทะเลใต้ว่า สมัยนั้นพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีวัดทั่วไปทุกแห่ง มีศาสนาพราหมณ์และพุทธอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ประชาชนทั่วไปนิยมบวชในพุทธศาสนา แม้พวกเจ้านายก็นิยมบวชเช่นเดียวกัน

      ในพุทธศตวรรษที่ 14 พุทธศาสนาแบบมหายาน ได้เข้ามาเผยแพร่ในเอเซีย อาคเนย์แล้ว และเขมรก็ยังได้รับเอาพุทธศาสนามหายานเช่นกัน แต่ก็ไม่มีอิทธิพลมากนัก เหมือนเถรวาท ดังบันทึกของหลวงจีนอี้จิง กล่าวว่า ภาคพื้นนี้มีนิกายพุทธศาสนามาก มีทั้งนิกายมูลสรรวาสติวาทิน เป็นนิกายในเถรวาท ในภาษาสันสกฤต

      หลังรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันไม่นาน อาณาจักรเจนละก็แตกเป็น 2 ส่วน กลายเป็นเจนละบก หรือเจนละเหนือ กับเจนละน้ำ หรือเจนละใต้ ในตอนปลายยุคเจนละน้ำตกอยู่ในอิทธิพลของชวา หลังจากแยกกันประมาณ 1 ศตวรรษ ยุคเจนละก็สิ้นลงด้วยสาเหตุ ขัดแย้งกับอาณาจักรชวา กล่าวคือ ในตอนกลางพุทธศตวรรษที่ 14 กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร แห่งชวา ได้ยกทัพเรือมาตีเจนละ จับพระเจ้ามหิปติวรมันแห่งเจนละตัดพระเศียร ส่วนพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งขึ้นครองราชย์สืบมา ก็ได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งอาณาจักรใหม่ที่อื่น ยุคเจนละจึงสิ้นสุดลง

      สมัยมหานคร (พ.ศ. 1345 - 1975)

      ยุคมหานคร ได้แก่ยุคที่นครวัต นครธม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ทะเลสาป และอยู่ทางเหนือของเมืองเสียมราฐ เป็นเมืองหลวงของกัมพูชา เป็นยุคที่อารยธรรมของขอมเจริญรุ่งเรืองมาก มีศิลปะและสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ทางด้านศาสนา ปรากฏ ว่าพุทธ-ศาสนาฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ ส่วนพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทคงเป็นที่นับถืออยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป ส่วนทางชั้นสูง หรือในราชสำนักนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และถือลัทธิพราหมณ์ ในยุคนี้ได้มีธรรมเนียมถือศาสนาคนละอย่างระหว่างพระราชา กับ ปุโรหิต ถ้าพระราชาเป็นพุทธ ปุโรหิตเป็นพราหมณ์ หรือถ้าพระราชาถือพราหมณ์ ปุโรหิตถือพุทธ ถือเป็นประเพณีที่ยึดถือต่อกันมาหลายร้อยปี

      ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เริ่มแต่ปี พ.ศ. 1724 ทรงมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เขมร ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทรงย้ายราชธานีไปที่ใดก็จะสร้างวัดวาอารามด้วย พระองค์ทรงเอาใจใส่ในกิจการพระพุทธศาสนามาก ทรงสร้างปราสาท และพระพุทธรูปจำนวนมากมาย ทรงสถาปนาปราสาทตาพรม เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีพระมหาเถระเป็นศาตราจารย์ใหญ่อยู่ถึง 18 องค์ และอาจารย์รองลงมาถึง 2740 องค์ เป็นผู้สอน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังทรงให้ราชกุมารไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา แล้วทรงผนวชที่วัดมหาวิหารในปลายยุคมหานคร ศาสนาพราหมณ์ และมหายานเสื่อมถอยลง คงเหลือแต่เถรวาทที่เจริญรุ่งเรือง และได้รับการนับถือจากคนทุกระดับ ตั้งแต่กษัตริย์ลงไป

      ยุคหลังพระนคร (พ.ศ. 1975-ปัจจุบัน)

      ประเทศกัมพูชาในตอนต้นของยุคหลังพระนครได้สิ้นอำนาจลง เพราะได้เป็นเมืองขึ้นของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2137 ถึง พ.ศ.๒๑๖๑ พอได้รับเอกราชจากไทย ก็เกิดปัญหาสงครามกับเวียดนามบ้าง กับไทยบ้าง สงครามภายในบ้าง เป็นเมืองขึ้นของไทย และ เวียดนามด้วย จนกระทั่งใกล้ขึ้นศตวรรษที่ 24 ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในอินโดจีน และใน พ.ศ. 2410 กัมพูชาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้อิสรภาพคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่า พระราชอาณาจักรกัมพูชา มีเมืองหลวงชื่อ พนมเปญ มีกษัตริย์ครองราชย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2483 พระนามว่า พระเจ้านโรดมสีหนุ

      ในยุคหลังพระนครนี้ พุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมถอยลงไป คงเหลือแต่พุทธศาสนาเถรวาท และกษัตริย์ในยุคนี้จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาเรื่อยมา กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า

      ในปี พ.ศ. 2404จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง "ศาลาบาลีชั้นสูง" ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชา

      การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

      สถานภาพของประเทศกัมพูชาเมื่อประมาน 10 ปีเศษ ไม่แตกต่างไปจากประเทศลาวมากนัก พระพุทธศาสนาเถรวาททั้ง2นิกาย (ธรรมยุตกนิกายกับมหานิกาย) ซึ่งได้รับการนับถือสืบต่อกันมาแต่โบราณหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐและปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ พระพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมถอยลงตามลำดับ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

      1.หลังจากที่กองทักเขมรแดง(เป็นกลุ่มชาวเขมรที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์) ภายใต้การนำของนายพอลพตและนายเขียว สัมพัน ได้รับชัยชนะในการทำสงครามกลางเมือง ก็ได้ปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบการปกครองของพวกตน ซึ่งมีทั้งชาวพุทธทั่วไปและพระภิกษุเป็นจำนวนมาก วัดหลายแห่งถูกรื้อทำลายหรือไม่ก็ถูกดัดแปลงเป็นที่ตั้งของกองทหาร เป็นคุกคุมขังนักโทษทางการเมือง ศาสนสมบัตถูกปล้นสะดม ไม่ให้ประชาชนใส่บาตรและไม่ให้ร่วมชุมนุมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และให้พระสงฆ์หลายพันรูปลาสิกขาออกมาเป็นทหาร พระสงฆ์บางรูปที่มั่นคงในบวรพระพุทธศาสนาก็หาหนทางลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทย

      2.ถึงแม้เขมรแดงจะหมดอำนาจไปในปลายปี พ.ศ.2521 และรัฐบาลชุดใหม่ของประเทศกัมพูชาภายใต้การนำของนายเฮงสัมริน ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากเวียดนามจะขึ้นมามีอำนาจแทนที่ แต่สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาก็มิได้ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลเฮงสัมรินก็มีนโยบายไม่ให้ประชาชนนับถือศาสนา การเทศนาสั่งสอนประชาชนถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามทำบุญตักบาตร หนังสือและคัมภีร์ทางศาสนาถูกเผาทำลายทิ้ง นอกจากนี้ การที่วัดได้ถูกดัดแปลงให้เป็นสถานที่ตั้งกองทหารของกลุ่มเขมรฝ่ายต่างๆ ทำให้วัดวาอารามกลายเป็นเป้าหมายถูกโจมตีด้วย ส่งผมให้ พระอุโบสถ พระพุทธรูปเสียหายมาก ภายหลังสงครามกลางเมืองในกัมพูชาสงบลงในพ.ศ. 2534 เมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ความสงบ ทั้งรัฐบาลและประชาชนกัมพูชาต่างก็ช่วยกันฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับสู่ความเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง โดยรัฐบาลของสมเด็จฮุนเซนส่งเสริมให้ชาวกัมพูชาเข้ารับการอุปสมบท พิธีกรรมของทางราชการจะต้องมีพระสงฆ์เข้ามาร่วม มีการปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาซึ่งถือให้เป็นวันหยุดราชการ เร่งฟื้นฟูบูรณะวัดวาอารามสำคัญ ส่งพระภิกษุสงฆ์ชาวกัมพูชาเดินทางเข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยในประเทศไทย ฟื้นฟูมหาวิทยาลัยสงฆ์ “พุทธศาสนาพระสีหนุราช” ให้เป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัย

                      ปัจจุบันนี้ การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นไปอย่างแพร่หลายและด้วยเหตุที่สภาพบ้านเมืองกลับคืนความสงบ ชาวกัมพูชาจึงมีเวลาหันมาให้ความสำคัญกับการการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการทำบุญตักบาตรซึ่งจะพบเห็นได้ทั่วไป ปัจจุบัน(พ.ศ.2546) กัมพูชามีประชากรประมาณ 12.2 ล้านคน มนจำนวนนี้ร้อยละ 95 เป็นพุทธศาสนิกชน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×