ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทละครพูดร้อยแก้วภาษาไทย ที่ร. ๖ ทรงจินตนาการด้วยพระองค์เอง

    ลำดับตอนที่ #3 : ที่มาและความแพร่หลายของเรื่อง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 876
      1
      27 ก.พ. 48

    ที่มาและความแพร่หลายของเรื่อง

        เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำละครพูดมาสู่วงการวรรณกรรมไทยเป็นครั้งแรก ทั้งนี้เพราะทรงสนพระราชหฤทัยในบทละครของวิลเลียม เชคสเปียร์ และการแสดงละครของอังกฤษ จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูด ในการที่พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ บทละครพูดร้อยแก้วภาษาไทยจากจินตนาการของพระองค์ ไว้ถึง  ๒๑  เรื่อง  ทำให้สามารถทราบแนวพระราชดำริ   พระราชวิจารณ์  และพระราชอัธยาศัยของพระองค์ได้จากการวิเคราะห์บทละครทั้ง  ๒๑  เรื่องนั้น  อันได้แก่



    ๑.  กลแตก    ๒.  แก้แค้น    ๓.  ขนมสมกับน้ำยา    ๔.  ความดีมีไชย



    ๕.  จัดการรับเสด็จ    ๖.  “เจ้าข้า,สารวัด !”    ๗.  ฉวยอำนาจ    ๘.  น้อย  อินทเสน



    ๙.  บ่วงมาร    ๑๐. ผู้ร้ายแผลง    ๑๑.  โพงพาง    ๑๒. ฟอกไม่ขาว



    ๑๓. มหาตมะ    ๑๔. ไม่โกรธ    ๑๕. เสียสละ    ๑๖. หนังเสือ



    ๑๗. หมายน้ำบ่อหน้า      ๑๘. หมิ่นประมาทศาล      ๑๙. หัวใจนักรบ    ๒๐.  หาโล่ห์



    ๒๑. เห็นแก่ลูก



        หมายเหตุ :  เฉพาะเรื่องไม่โกรธ  มีลักษณะแตกต่างจากบทละครเรื่องอื่นๆ  เพราะไม่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ในลักษณะของบทละครที่มีบทเจรจาอย่างสมบูรณ์  แต่ทรงพระราชนิพนธ์เฉพาะเค้าโครงเรื่อง  แบ่งเป็นฉาก  มีบทเจรจาประกอบบ้าง  บางตอนทรงยกเพียงตัวอย่างให้ตัวละครแต่งบทเจรจาเอง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×