ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #84 : มัมมี่ฟาโรห์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.77K
      0
      15 ก.พ. 50

    มัมมี่ฟาโรห์

    มัมมีฟาโรห์เด็ดคาเร - ไอเซซิแห่งราชวงศ์ที่ 5
    มัมมี่ฟาโรห์พระองค์นี้ถูกขโมยไป และได้รับกลับคืนในสภาพมัมมี่โทรมมากที่สุด ประวัติของฟาโรห์องค์นี้มี น้อยมาก ทราบเพียงแต่ว่า พระองค์เคยเสด็จประพาสเมืองนูเบียครั้งหนึ่งมัมมี่ของพระองค์ถูกพบที่ห้องเก็บพระศพ ในพีระมิดแห่งหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงสั่งให้สร้างขึ้นที่เมืองซัคคารา ปรากฏว่าเหลือเพียงพระพักตร์และพระวรกายครึ่งซีกเท่านั้น ส่วนกระดูกหลาย ชิ้นหายไป นอกจากนี้ยังพบอวัยวะเก็บเครื่องใน ( คาโนปิค ) ของพระองค์ใต้หลุมเล็กๆ กลางห้องเก็บพระศพอีกด้วย

    มัมมีฟาโรห์อูนัส
    ฟาโรห์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่ 5 ซึ่งเก็บรักษาไว้ในห้องเก็บพระศพภายในพีระมิดเล็กๆแห่งหนึ่ง ที่เมืองซัคคารา พระศพถูกขโมยไปเช่นกัน เมื่อสำรวจแล้วพบว่ามัมมี่ของพระองค์เหลือเพียงพระนลาฎ พระหัตถ์ พระเศียรบางส่วน ที่ยังคงมีพระเกศาติดอยู่

    มัมมี่ของฟาโรห์ซีเควนเนนเรทา
    ฟาโรห์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่ 17 พระองค์ขึ้นครองราชย์ในสมัยที่อียิปต์ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ซึ่งต่องเผชิญกับ ปัญหาทางการเมืองซึง่เป็นครั้งที่รุนแรงครั้งหนึ้งในอียิปต์ นอกจากนั้นยังถูกพวกชนเผ่าฮิกซอสรุกรานชายแดนตลอด พระองค์ ทรงสวรรคตด้วยการถูกปลงพระชนม์ในสนามรบกับชนเผ่าฮิกซอสเมื่อมีพระชนมายุ 40 พรรษา พระศพของพระองค์ ได้รับการทำมัมมี่เช่นเดียวกันมัมมี่ของพระองค์ถูกทำโดยการแช่พระศพไว้ใน น้ำเกลือเฉยๆ ไม่มีการเอาอวัยวะภายในออก เมื่อนักไอยคุปต์วิยาแกะผ้าพันพระศพออกพบว่ามีกลิ่นเห็นมาก สภาพพระศพแตกออกเป็นส่วนๆสังเกตุได้ว่าที่พระพระพักตร์ มีรอยแผลลึกภึง 6 แผล มีรอยแตกร้าวตามขอบพระเนตร พระปรางค์ด้านขวา และพระนาสิก คล้ายถูกแทงด้วยทวน หรือหลาวอย่างรุนแรง จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในสนามรบจริง แต่ถึงแม้ว่าวันนั้น กองทัพ อียิปต์ขาดผู้นำ แต่ก็สามารถประสบชัยชนะอย่างแน่นอนเพราะสามารถกันเอาพระศพกลับมาทำพิธีมัมมี่ได้ในที่สุด

    มัมมี่ฟาโรห์อาห์โมซิส
    ฟาโรห์อาห์โมซิสเป็นพระอนุชาของฟาโรห์ซีเควนเนนเร - ทา ได้ทำสงครามกับผู้รุกรามต่างชาติต่อมา และในที่สุด พระองค์ก็ทรงกำจัดพวกฮิกซอสออกจากแผ่นดินไอยคุปต์สำเร็จหลังจากได้ยึดครองเมืองเอวาริสได้ นี่คือเหตุการณ์ที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่งของไอยคุปต์ ก่อนจะเข้าสู่ยุคอาณาจักรใหม่ ซึ่งทำให้ไอยคุปต์ตอนล่างและตอนบนรวมกัน ได้อีกครั้งหนึ่ง ฟาโรห์อาห์โมซิสอภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาของพระองค์เอง ทรงพระนามว่าเนฟเฟอตาริ มัมมี่ของฟาโรห์ อาห์โมซิสนั้น จากการตรวจสอบของนักวิชาการทำให้ทราบว่าพระองค์ได้รับความทรมานจากโรคกระดูกไขสันหลังอย่าง ร้ายแรง และยังเป็นโรคไขข้ออักเสบนั่นคือหลักฐานสำคัญที่ยืนยันได้ว่า พระองค์ไม่ได้เสียชีวิตในสนามรบแต่อย่างใด เมื่อพระวรกายของพระองค์ได้รับการทำพิธีอาบยาศพในการทำมัมมี่

    มัมมี่ฟาโรห์เอเมนโนพิส
    ฟาโรห์อาห์โมซิสและพระนางเนฟเฟอร์ตาริ ทรงมีพระโอรสพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า เอเมนโนพิส ต่อมาได้ขึ้น ครองราชย์เป็นฟาโรห์เอเมนโนพิสที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความสามารถสูงพระองค์หนึ่ง อำนาจและพระบารมีของ พระองค์เกรียงไกรแผ่ขยายไปอย่างไพศาล พระองค์ทรงขยายพรหมแดนไอยคุปต์ไกลออกไปกว่าสมัยพระบิดาเสียอีก คือนับตั้งแต่ดินแดนปาเลสไตนืไปจนถึงยูเฟรติส มีผู้ค้นพบมัมมี่ของพระองค์ในสมัยราชวงศ์ที่ 21 ซึ่งนักบวชแห่งอามัน เป็นผู้เก้บรักษาไว้ และในปัจจุบันนี้ยังรักษาไว้เป็นพิเศษ เนื่องจากการพันผ้าพันพระศพได้กระทำไว้อย่างดีเยี่ยม ทั้งสวยงาม ทั้งปราณีตหามัมมี่อื่นเทียบได้ยาก แต่เป็นที่สังเกตุได้ว่าพระพาหาขวาหายไปเนื่องจากถูกขโมยดึงออก พระเพลาแตกหัก และมีกระดูกบางชิ้นหายไปด้วย

    มัมมี่ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1
    เนื่องจากฟาโรห์เอเมนโนพิสและพระนางอาห์โมซิสเมอเย็ต - อมัน ไม่มีพระราชโอรส คงมีแต่พระราชธิดา และแต่ละพระองค์ก็ไม่ประสงค์จะนั่นบันลังก์ ดังนั้นจึงตกแก่บุตรบุญธรรมนามว่าทุตโมซิส ที่ 1 สืบทอดบันลังก์ต่อมา พระราชกรณียกิจของพระองค์คือ พระองค์ทรงขยายการก่อสร้างวิหารคาร์นัคออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เกี่ยวกับมัมมี่ ของพระองค์ ปรากฏว่ามัมมี่ที่มีป้ายชื่อติดอยู่ว่าทุตโมซิสที่ 1 ซึ่งค้นพบที่สุสานไดเยอร์ เอล บาห์ริ นั้น นักไอยคุปต์วิทยา ได้ตรวจสอบด้วยวิธีที่ทันสมัยแล้วปรากฏว่าไม่ใช่มัมมี่ของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 ที่แท้จริง ก็เป็นอันว่าเรื่องราวของ มัมมี่ฟาโรห์พระองค์นี้ยังคงเป็นปริศนาอยู่ทุกวันนี้

    มัมมี่ทุตโมสที่ 2
    ผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อจากทุตโมซิสที่ 1 คือ ทุตโมซิสที่ 2 โอรสบุญธรรมพระองค์หนึ่งมัมมี่ฟาโรห์พระองค์นี้ต่อมา มีคนพบว่าอยู่ในสภาพที่ถูกทำลายยับเยิน จากคมมีดและขวานของพวกขโมยนั่นเอง

    มัมมี่ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 3
    ทุตโมซิสที่ 3 นั้นหลังจากขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ก็ทรงขยายดินแดนไปอย่างกว้าขวางจนสามารถคลอบคลุม ดินแดนต่างๆของเอเชียไมเนอร์ได้ทั้งหมด ทำให้ไอยคุปต์ยิ่งใหญ่และมั่นคงขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1450 ก่อนคริสกาล ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไม่ได้ช่วยมัมมี่ของพระองค์ให้รอดจากพวกเงื้อมมือขโมยไปได้ พระศพถูก พวกขโมยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนจนยากที่จะนำมาต่อกัน แต่นักบวชยุคหลังได้ทำมัมมี่ของพระองค์ใหม่โดนใช้เผือกมาทำ เป็นอวัยวะที่ขาดหายไปส่วนพระพักษ์ก็ ใช้หน้ากากแทนทำให้มัมมี่ของพระองค์ดูผิดส่วนสัดไปมากที่เดียว

    มัมมี่ฟาโรห์เอเมนโนพิสที่ 2
    ฟาโรห์เอเมนโนพิสที่ 2 ปกครองไอยคุปตอจากพระราชบิดา ทุตโมซิสที่ 3 พระองค์ทรงมีพระวรกาย แข็งแรงผิด ปกติชำนานในการใช้อาวุธด้วยมือทุกชนิดมีความสามารถในการรบถึงขนาดขยายดินแดนไอยคุปต์ไปได้ กว้างใหญ่กว่าเดิม ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงแสดงพระปรีชาสามารถด้วยการสังหารนัดโทษจำนวนนับสิบด้วยกระบอง และสังหารหัวหน้า ก่อการกบฏซีเรียทั้งหกคนด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง และได้แบกศพขึ้นไปยังราชรถด้วยพระองค์เอง ซึ่งยังความ ประหลาดใจให้แก่ศัตรูอย่างมาก พระองค์ทรงปกครองไอยคุปต์ 25 ปี และทรงเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 45 พรรษา มัมมี่ของพระองค์มีคนพบในภายหลังปรากฏว่าสมบูรณ์แบบมากเลยทีเดียว

    มัมมี่ฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 4
    มัมมี่ของพระองค์ที่ค้นพบปรากฏว่าตัวหดลงมาผิดปกติบางทัอาจเป็นเพราะโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้พระองค์สวรรคต มีผลต่อเนื่องกัน จากการตรวจสอบมัมมี่ของพระองค์พบว่ามีลักษณะ พระพาหาวางบนพระอุระในท่าถือคฑากษัตริย์ พระนข ( เล็บ ) ขาวใสสะอาว สังเกตุได้ว่ามัมมี่ของพระองค์นั้นดูเหมือนจะกระทำด้วยความเร่งรีบ เนื่องจากพบว่ามีความไม่เรียบร้อย หลายแห่ง

    มัมมี่ฟาโรห์ตุตันคาเมนแห่งราชวงส์ที่ 18
    มัมมี่ของพระองค์ที่ค้นพบปรากฏว่ายังตงสภาพสมบูรณ์ที่สุดจนมาทั่งถึงปจจุบันนี้ และยังเก็บรักษาพระวรกายไว้ใน ห้องเก็บพระศพในวิหารบริเวณหุบผากษัตริย์ มัมมี่ของพระองค์จัดเป็นมัมมี่ที่แห้งสนิทที่สุด ผ้าพันพระศพแข็งและหนา ประมาณ 3 เซนติเมตร และเรียบเสมอกันตลอด พระเศียรโล้นเนื่องจากโกนพระเกศาออกหมด จากการตรวจสอบยังไม่มี ข้อมูลใดๆระบุว่าพระองค์ทรงสวรรคตเนื่อด้วยเหตุใด แต่พบรอยแผลเล็กๆบนพระปรางค์ด้านซ้าย

    มัมมี่ของฟาโรห์เรมเซสที่ 2
    มัมมี่ของพระองค์จัดได้ว่าเป็นมัมมี่ที่สวยงามมาก ยังคงสภาพสมบูรณ์แบบแทบทุกส่วน แต่ก็มีหลายแห่ง ที่สภาพเปลี่ยนไป เช่นพระทนต์แหกหักและมีโพรงลึก มีรอยบวมเป็นฝีหลายแห่งจากการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่า พระองค์ทรงได้รับความทรมาน จากโรคเจ็บปวดตามพระโสภี ( ตะโพก ) และพระอุรุ ( ต้นขา - ขาอ่อน ) เนื่องจากโรคไขข้อ อักเสบ

    http://www.kangwal.com/detail_travelwide_frame.asp?ID_Country=43

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×