ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #26 : ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.85K
      2
      22 เม.ย. 52

    ฮัตเชปซุต

    ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต ราชินีมีเครา ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต คือผู้ปกครองที่โดเด่นจากสมัยราชอาณาจักรใหม่ พระนางสร้างอียิปต์ให้มั่นคง แต่ทว่า ผู้ปกครองสมัยหลังกลับพยายามทำลายรูปสลักและพระนามจนเกือบหมดสิ้น


    ที่มา

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%95

    มาเพิ่มขอรับ ^^

    ฟาร์หญิงฮัปเซตซุส

     

                    ทุตโมสที่ 2  ผู้สืบบัลลังก์ได้ปกครองอียิปต์อยู่ 14  ปี  แต่ดูเหมือนว่าจะทรงป่วยออดๆ แอดๆ  อยู่ตลอด  ทุตโมสที่  2  จึงหาทางครองบัลลังก์อย่างมั่นคงด้วยการสมรสกับฮัปเชปซุต  น้องสาวร่วมบิดาและธิดาของทุตโมสที่  1  คงหวังจะได้สายเลือดของฟาโรห์ทุตโมสที่  1 เข้ามาช่วยเพิ่มสิทธิธรรมในการปกครอง 

     

    ราชินีฮัตเชปซุตนั้นนับเป็นบุคคลที่น่าสนใจที่สุด  และอาจจะทรงความสามารถด้านการปกครองยิ่งกว่าฟาโรห์บุรุษส่วนมาก  ทรงเชี้ยวชาญด้านการปกครองและแสดงความเป็นผู้นำจนข้าราชสำนักต่างประจักษ์ในความสามารถ

     

    ก่อนที่พระสวามีทุตโมสที่  2  สวรรคตในราวปี  1479  ก่อน ค.ศ.  ก็ได้หาทางจำกัดความทะเยอทะยานของพระนาง  โดนทรงแต่งตั้งทุตโมสที่  3  ซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์กับสนมอีกนางหนึ่ง  ให้ครองฐานะฟาโรห์องค์ต่อไป  กระนั้นทุตโมสที่  3  ซึ่งยังอ่อนเยาว์ก็ไม่สามารถปกครองราชอาณาจักรได้ด้วยตนเอง  ฮัตเชปซุตจึงได้อ้างเอาเรื่องวัยวุฒินี้เพื่อรั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนทุตโมสที่  3  ทว่าพระนางมีความมุ่งมั่นยิ่งกว่านั่น  และต้องการจะเป็นผู้ปกครองปฐพีอียิปต์  โดยมีตำแหน่งเป็นฟาโรห์เสียเอง

     

    ตลอดรัชสมัย  20  ปีที่ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุตเป็นใหญ่  พระนางได้ทุ่มเททรัพยากรไปกับการก่อสร้างต่างๆ  ทรงสร้างพระราชวังใหม่ของตนเอง  และเสริมโอเบลิสก์หินแกรนิตแดงขนาดยักศ์อีกสองแท่ง  ซึ่งขุดมาจากเหมืองหินที่เมืองอัสวานทางภาคใต้ก่อนจะลำเลียงล่องแพขึ้นเหนือไปที่วิหารคาร์นักในเขตเมืองธีบส์  พระนางยังมองการณ์ไกลไปถึงในยามที่จะทรงสวรรคตและตระเตรียมสุสานอันอลังการเพื่อเป็นที่พำนักในยามสิ้นลมเอาไว้ในแถบหุบผากษัตริย์    หน้าผาชื่อเดียร์เอลบาห์รีติดกับวิหารของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่  2  ผู้สถาปนาราชอาณาจักรกลางที่สร้างขึ้นก่อนหน้าสมัยของพระนางถึง  500  ปี  วิหารประกอบพิธีศพขนาดใหญ่ของฮัตเชปซุตนี้สร้างล้อกับหน้าผา  เป็นลานยกระดับสามชั้นแต่งด้วยทางลาด  และแนวเสาเสริมด้วยรูปสลักขนาดใหญ่ของเทพโอซิริส  ภายในวิหารมีทั้งภาพสลักและคำจารึกเฉลิมฉลองความสำเร็จในรัชสมัยของฟาโรห์หญิงทะเยอทะเยานพระองค์นี้

     

    ฮัตเชปซุตคงจะเป็นสีตรที่ทรงอำนาจที่สุดในโลกยุคนั้น  แต่ความสามารถเพียงอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ชาวไอยคุปต์หัวโบราณยอมรับสิทธิการปกครองของพระนาง  ฮัตเชปซุตจึงจัดการแต่งองค์ทรงเครื่องและสวมเคราปลอมให้ดูเหมือนฟาโรห์บุรุษ

    แม้แต่รูปสฟิงซ์หน้าละอ่อนของพระนางก็ต้องเสริมขนแผงคออย่างราชสีห์ตัวผู้  ฮัตเชปซุตผู้ทรงอำนาจยังอวดอ้างสิทธิธรรมของตน  โดยเรียกร้องเอาของกำนัลและบรรณาการจากทั่วทั้งเขตขัณฑ์  ไม่ว่าจะเป็นทองคำอัญมณี  และหินมีค่า  รวมถึงไม้หายากต่างหลั่งไหลเข้าสู่ท้องพระคลัง

     

    บางทีฉากภาพนูนต่ำที่น่าสนใจที่สุดอาจเป็นเรื่องการส่งคณะสำรวจออกไปแลกเปลี่ยนสินค้ากับดินแดนปุนต์อันห่างไกลของชาวแอฟริกา  ซึ่งมีภาพชาวไอยคุปต์ขนเอากล้าไม้หอมใส่ตระกร้า  กลับมาปลูกที่หน้าวิหาร์เดียร์เอลบาห์รี

     

    แต่ขณะที่ฮัตเชปซุตป่าวประกาศอำนาจของพระนางอยู่นั้น  ฝ่ายทุตโมสที่  3  ซึ่งถูกอาของตนจำกัดบทบาทเอาไว้เฝ้ามองด้วยความเคียดแค้น  และทรงใช้เวลาไปกับการล่าสัตว์และฝึกอบรมเพื่อระบายโทสะ  นักประวัติศาสตร์บางท่านยังสงสัยว่าทุตโมสที่  3  อาจเป็นผู้วางแผนสังหารฮัตเชปซุตเสียด้วยซ้ำ  ทว่าเราก็ยังไม่พบหลักฐานที่หนักแน่นสำหรับเรื่องนี้

     

    ที่แน่ๆ คือพอทุตโมสที่  3  ได้นั่งบัลลังก์เป็นฟาโรห์เรียบร้อยแล้วก็ทรงจัดแจงขูดทำลายพระนามและรูปสลักที่ฮัตเชปซุตอุตสาห์สร้างเอาไว้ทั่วแผ่นดิน  แม้แต่แท่งหินโอเบลิสก์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสุริเทพและศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าฟาโรห์จะไปทุบทำลายได้นั้นก็ทรงสู้อุตสาห์ให้ช่างก่อหินหุ้มส่วนฐานที่มีพระนามฮัตเชปซุตให้มิดชิด

     

    แม้แต่วิหารที่เดียร์เอลบาห์รีก็ไม่รอดพ้นการกวาดล้างนี้  ทั้งพระนามและรูปสลักของฮัตเชปซุตถูกทำลายราบแทบไม่เหลือหรอ  นี่ล่ะคือวิธีที่ฟาโรห์หนุ่มผู้คึกคะนองใช้ระบายความแค้นกับผู้ที่มาแย่งสิทธิการปกครองอันเป็นชอบธรรมของพระองค์

     

    อ้างอิง  จากหนังสือพงศาวารไอยคุปต์  โดย  รัฐ  มหาเล็ก  และทีมงานต่วยตูน

    *ขออนุญาติเจ้าของบทความด้านล่างนี้ด้วยขอรับ*

    ชื่อฟาโรห์หญิงฮัตเซปซุส 

     

    ฮัตเซปซุสเป็นธิดาองค์เดียวของฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 1 ตั้งแต่เล็กถูกพระบิดาหิ้วไปไหนต่อไหนด้วยนั่นหมายถึงพระนางถูกอบรมศาสตร์แห่งกษัตริย์ตั้งแต่เกิดทั้งๆ ที่ฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 1 เองก็มีลูกชายที่เกิดจากสนมคนอื่นแต่ฮัตเซปซุสก็ยังถูกตั้งให้เป็นรัชทายาทหรือผู้ร่วมว่าราชการกับพระบิดา

    แต่เมื่อพระบิดาสิ้น กฎมนเทียรบาลทำให้พระนางต้องแต่งงานกับน้องชายต่างมารดาซึ่งขึ้นมาเป็นฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 2 และเมื่อฟาโรห์ผู้เป็นสวามีอ่อนแอขี้โรคแน่นอนว่าฮัตเซปซุสเป็นผู้กุมอำนาจทั้งหมดอย่างเบ็ดเสร็จ แต่เมื่อสวามีสิ้นไปอีกตามกฎก็ต้องยกลูกชายที่เกิดจากสนมอื่นของฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 2 ตั้งขึ้นเป็นฟาโรห์องค์ใหม่คือ ฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3

    ฮัตเซปซุสใช้โอกาสนี้ยึดอำนาจจากฟาโรห์เด็กตั้งตนเองเป็นฟาโรห์โดยไร้คำขัดแย้ง และปกครองอียิปต์จนสิ้นอายุขัย แต่ฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3 เมื่อได้ครองราชย์ต่อจากพระนางก็ได้ทำลายชื่อและหลักฐานความรุ่งเรืองที่พระนางสร้างทั้งหมด

    รูปปั้นที่เหลือรอด

     

    ฮัตเซปซุสยิ่งใหญ่อย่างไร

    เพราะความเป็นผู้หญิงที่ทำให้สนใจเรื่องปากท้องของประชาชนมากกว่าเรื่องอำนาจหรือการขยายอาณาเขต ในยุคที่พระนางครองราชย์ พระนางสามารถขยายเส้นทางการค้าโดยทางน้ำไปสู่ดินแดนใหม่ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นอกเหนือจากด้านเกษตรกรรมและการชลประทานที่วางแผนอย่างดีทำให้เรียกว่าเป็นรัชสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งของอียิปต์

    ภาพแสดงตอนฟาโรห์ฮัตเซปซุสสวมมงกุฏอียิปต์บนและล่าง

     

    แต่ใช่ว่าพระนางจะอ่อนด้อยด้านการทหาร มีหลักฐานจารึกเรื่องราวของฟาโรห์ฮัตเซปซุสนำกองทัพชนะศึกที่นูเบียนั้นหมายถึงพระนางเป็นฟาโรห์อีกพระองค์ที่กล้าไปอยู่แนวหน้าด้วยพระองค์เอง คิดในมุมกลับกันแผ่นดินที่อ่อนแอเพื่อนบ้านก็ต้องการยึดครองแต่ในรัชสมัยที่พระนางครองราชย์มีศึกครั้งใหญ่ปรากฏเด่นชัดเพียงครั้งเดียวนั่นหมายถึง ประเทศเพื่อนบ้านในตอนนั้นต้องเกรงในเดชานุภาพถึงไม่กล้ายกทัพมาต่อกร

    ภาพฟาโรห์ฮัตเซปซุส (ขวา) บูชาเทพเจ้าโดยมีฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3 ร่วมในพิธีการด้วย

     

    การวางแผนบริหารแผ่นดินของฟาโรห์ฮัตเซปซุสเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3 พึ่งบารมีจนยิ่งใหญ่ได้ชื่อว่าเป็น “นโปเลียนแห่งอียิปต์โบราณ” ด้วยซ้ำไปเพราะการทำศึกของฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3 ต้องทำศึกติดกัน 17 ครั้งใน 20 ปี ถ้าการคลัง การพลเมืองไม่ถูกจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นไปไม่ได้เลยที่อียิปต์จะสามารถทำศึกกับประเทศต่างๆ ได้ยาวนานขนาดนี้ และคิดในมุมกลับกันทำไมเมื่อฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3 ขึ้นครองราชย์จึงเกิดสงครามติดๆ กันมากมาย

    เสาในวิหาร 

     

    วิหารดีร์ เอล บาฮารีเป็นสิ่งที่พิสูจน์การมองการณ์ไกลของพระนางได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากการออกแบบที่งดงามแข็งแรงทนทานกลมกลืนกับทัศนียภาพของเซนมุต วิหารแห่งนี้ยังสร้างโดยคำนึงถึงประชาชนที่หวังมาพึ่งการรักษาจากพระที่อยู่ในวิหาร เป็นสถานที่สนับสนุนทางการศึกษาของพลเมืองและวิหารแห่งนี้เหมือนสถาบันทดลองวิทยาศาสตร์ไปในตัวเพราะ ฟาโรห์ฮัตเซปซุสได้นำพืชจากต่างแดนมาทดลองปลูกเพาะพันธุ์ที่นี่

    ใบหน้าฟาโรห์หญิง 

    ความยิ่งใหญ่ของฟาโรห์หญิงพระองค์นี้มีมากมายจนต้องลองศึกษาประวัติของพระนางเองถึงจะรู้ว่า พระนางเก่งกาจแค่ไหน เก่งกาจจนผู้เป็นทั้งลูกเลี้ยงและหลาน ฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3 สั่งทำลายชื่อของพระนางทุกแห่งและสลักชื่อของตนเองไปแทนบ้าง สลักชื่อฟาโรห์องค์อื่นแทนบ้าง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถลบล้างความจริงทั้งหมดได้ ชื่อของพระนางก็ยังคงมาปรากฏมาถึงยุคสมัยนี้

    เซนมุตคือชู้รักของพระนางจริงหรือไม่

    เซนมุตกับพระธิดาเนเฟอร์อูเร

     

    เซนมุตคือใคร เซนมุตเป็นเสนาบดีที่เป็นที่โปรดปรานของฮัตเซปซุส และเป็นผู้ออกแบบวิหารดีร์ เอล บาฮารี และเป็นพระอภิบาลพระธิดาของฟาโรห์ฮัปเซตซุสเจ้าหญิงเนเฟอร์อูเร

    ภาพล้อเลียนที่พบให้ห้องพักช่างสลัก 

     

    ทำไมเชื่อว่าเซนมุตเป็นชู้รักของฟาโรห์ฮัตเซปซุสก็เพราะนักโบราณคดีค้นพบรูปวาดบนกำแพงบนบริเวณห้องพักของช่างผู้ที่ทำหน้าที่แกะสลักวิหารดีร์ เอล บา ฮารี ซึ่งเป็นรูปล้อเลียนพระนางฮัตเซปซุสกำลังมีเพศสัมพันธ์กับชายผู้หนึ่งที่นักวิชาการคาดว่าน่าจะหมายถึงเซนมุต นั่นหมายถึงอะไร นั่นหมายถึงในสายตาของผู้ที่วาดรูปนี้เขาเห็นความสัมพันธ์ที่น่าจะมากเกินกว่าปกติของฟาโรห์ฮัตเซปซุสกับเซนมุต และเนื่องจากอีกหนึ่งเหตุผลคือเซนมุตได้รับอนุญาตให้สร้างสุสานของตัวเองในวิหารดีร์ เอล บาฮารี ซึ่งมีแต่ราชวงศ์เท่านั้นที่สามารถจะทำได้

    เซนมุตกับพระธิดา 

     

    โดยส่วนตัวไม่คิดว่าเซนมุตเป็นชู้รัก แต่น่าจะเป็นบทบาทอื่นที่มีความสำคัญเทียบเท่าระดับเชื้อพระวงศ์ในสายตาของฟาโรห์ฮัตเซปซุส เพราะอะไร เพราะถ้าพระนางใฝ่ในด้านรักใคร่มีหรือที่เหล่าเสนาบดีอื่นๆ ในรัชสมัยจะไม่ลุกฮือต่อต้านเป็นปัญหากับบ้านเมือง ทำไมถึงเป็นปัญหาเรื่องนี้มีบทเรียนในประวัติศาสตร์ทุกชาติคงไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเรื่องรักๆ ใคร่ๆ อิจฉาริษยากันเองในกลุ่มขุนนางมีแต่นำหายนะมาสู้ผู้เป็นเจ้าแผ่นดินล้มบ้านล้มเมืองมากี่ยุคสมัยแล้ว การที่พระนางสามารถชนะใจคนหมู่มากได้ย่อมไม่นำเรื่องเล็กๆ มาทำให้เกิดปัญหากับตัวเองแน่ๆ

    ภาพรูปปั้นเซนมุต 

     

    การสร้างสุสานเซนมุตในวิหารดีร์ เอล บา ฮารี ถ้าขุนนางทั้งหมดไม่ยินยอมเป็นการยากที่ฟาโรห์จะยืนยันด้วยทิฐิของตนเองเพราะสุสานไม่ได้สร้างขึ้นได้ในวันเดียว ต้องใช้แรงงานและทรัพยากรเพื่อมาสร้าง นั้นหมายถึงเซนมุตน่าจะเป็นที่ยอมรับบางประการที่ทำให้ได้รับยกย่องเทียบเท่าราชวงศ์สุสานมันถึงสร้างเสร็จ (ถึงจะไม่ได้ตกแต่งเพราะไม่ได้ใช้ก็เถอะ) เพราะนอกจากสุสานแล้วยังพบรูปปั้นของเซนมุตมากมายตามวิหารใหญ่ๆ ที่อื่นซึ่งรูปปั้นเหล่านั้นมีแต่ฟาโรห์ราชวงศ์เท่านั้นที่จะสั่งปั้นได้ไปวางในตำแหน่งของเชื้อพระวงศ์เท่านั้นที่จะวางได้ ทำไมถึงมีรูปปั้นเซนมุตถึงมีอภิสิทธิ์แบบนั้นล่ะ

    รูปปั้นเซนมุต 

     

    แล้วภาพสลักล้อเลียนล่ะ เอาตรงๆ ง่ายๆ ลมปากคนมันเชื่อได้แค่ไหน ประวัติศาสตร์ยังถูกจารึกจากผู้ชนะเลย ข่าวลือจากปากต่อปาก ข่าวใส่ไฟซุบซิบนินทาจากคนที่เกลียดฟาโรห์หญิงฮัตเซปซุสเอง (จะมีใครนอกจากฟาโรห์ทุสโมสที่ 3 ซึ่งตอนนั้นไร้อำนาจ) หรือแม้กระทั่งความคิดหยาบโลนจากชนชั้นแรงงานก็เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดรูปสลักบนกำแพงรูปนี้ ดีไม่ดี รูปนั้นใช่รูปของฟาโรห์ฮัปเซปซุสเองจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ ดูเอาจากสังคมใกล้ตัวเราทุกวันนี้เทียบเคียงดูสิ มีใครบ้างเกิดมาไม่เคยเจอคำนินทาหรือใส่ร้ายใส่ความแม้แต่ครั้งเดียว ข่าวดารามีมูลนิดเดียวเอาไปเขียนใส่ไฟจนคู่แตกหย่าร้างกันก็มีมาแล้ว

    ทุกอย่างเป็นการวิเคราะห์ตีความจากนักโบราณคดีที่พบ และ หลายครั้งที่เมื่อมีหลักฐานใหม่ๆ เข้ามาก็มีการชำระความทางประวัติศาสตร์ใหม่ก็หลายครั้ง นักโบราณคดีหลายคนก็ช่างจิตนาการเก่งกว่านักเขียนนิยายน้ำเน่า กว่าความจริงจะถูกค้นพบเพิ่มเจ้าของความคิดตายไปแล้วก็มี

    ภาพเซนมุตกับพระธิดา (ความคิดส่วนตัวเหมือนอุ้มฟาโรห์ฮัตเซปซุสมากกว่า) 

     

    ที่แน่ๆ อย่างหนึ่งคือตอนฟาโรห์ฮัตเซปซุสสิ้นแล้ว เซนมุตได้หายตัวไปด้วยอย่างไร้ร่องรอย คิดในแง่โรแมนติกคือยอมตายตามเจ้านายหรือได้รับหน้าที่ให้นำพระศพไปซ่อนจากการทำลายจากฟาโรห์ทุสโมซิสที่ 3 แต่ความคิดส่วนตัวคือ เคยเป็นคนโปรดของกษัตริย์องค์เก่าเจ้านายสิ้นหมดอำนาจวาสนาแล้ว แถมเจ้านายใหม่ยังไม่ถูกกับเจ้านายเก่า ใครมันจะโง่อยู่ชูคอให้โดนฆ่าล่ะ ...จริงหรือเปล่า...เป็นตูตูก็หนี ...นักโบราณคดีนี่ก็แปลก ง่ายมากเลยนะเรื่องนี้ไม่มีใครเสนอความคิดเห็นเรื่องนี้ซักคน

    ใบหน้าที่ยิ้มตลอดเวลาของฮัตเซปซุส

     

     รูปปั้นฮัตเซปซุส 

     

    พอดีมีคนทัก (ลิลลี่เบอร์ 1 อ่ะแหล่ะ) เลยได้ไปรวบรวมรูปรูปปั้นของฟาโรห์ฮัตเซปซุสเท่าที่หาได้มาดู สังเกตกันหรือเปล่าใบหน้าของพระนางเป็นใบหน้าที่ยิ้มน้อยๆ ตลอดเวลา

    ทำให้นึกถึงเรื่องการปั้นพระพุทธรูปของไทยเลยที่ได้ยินว่าผลงานของช่างจะบอกความเป็นอยู่และอารมณ์ของช่างตอนนั้น อย่างฝีมือของช่างสุโขทัยบ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขพระพุทธรูปจะยิ้มอ่อนโยน แต่พอสมัยอยุธยารบกันบ่อยรูปปั้นจะออกเครียดๆ (อารมณ์ตอนมองนะไม่ใช่ฝีมือช่าง)

    สมัยนั้นก็คงเหมือนๆ กันเหล่าช่างมีความสุขที่จะทำงานถวายฟาโรห์หญิงองค์นี้ รูปใบหน้าที่ออกมาจึงเป็นใบหน้าที่ยิ้มตลอดแบบบ้านเมืองเป็นสุข ช่างปั้นทั้งหลายก็เต็มใจทำงาน กับอีกอย่างที่ทำให้คิดก็คือใบหน้าของฟาโรห์ฮัตเซปซุสที่ช่างปั้นช่างสลักทุกคนเห็นคือใบหน้าที่ยิ้มแย้มตลอด พระนางคงจะอารมณ์ดีจริงๆ ล่ะมั้งเพราะเห็นมีบางบทของผู้เขียนหนังสือบอกว่าพระนางฮัตเซปทุสเป็นผู้อ่อนน้อมรู้จักวางตัว คนอ่อนน้อมคงไม่ทำหน้ายักษ์ให้คนอื่นเห็นหรอก

    ความจริงเบื้องหลังรอยยิ้มจะเป็นแบบไหนก็ไม่รู้หรือทั้งสองอย่างก็ชวนให้คิดเพิ่มดีเหมือนกัน

    แล้วทำไมพระนางฮัตเซปซุสถึงต้องการขึ้นเป็นฟาโรห์แทนที่จะเป็นราชินี

    รูปปั้นฟาโรห์ฮัตเซปซุสถวายเครื่องหอมเทพเจ้า  



    หนังสือที่ท่านเจ้าของบทความนี้แนะนำให้ไปซื้อขอรับ

    และขอขอบคุณ http://iyakoop.exteen.com/20080917/hatshepsut  เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ขอรับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×