น้ำอัดลม - น้ำอัดลม นิยาย น้ำอัดลม : Dek-D.com - Writer

    น้ำอัดลม

    โดย partyparty

    เอามาให้อ่านกัน เกี่ยวกับส่วนประกอบของน้ำอัดลมฮับ

    ผู้เข้าชมรวม

    952

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    952

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มี.ค. 50 / 10:46 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      1612 น้ำอัดลม

      น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมประเภทหนึ่ง ส่วนประกอบหลักของน้ำอัดลม แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นน้ำ แต่น้ำที่ว่านี้จะต้องเป็นน้ำที่สะอาด อาจจะใช้น้ำประปา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน จากนั้นก็เติม ส่วนประกอบที่สำคัญตัวที่ 2 ลงไปคือสารให้รสหวาน สารให้รสหวานที่ว่านี้ก็คือน้ำตาลทรายคาย (ซูโครส) นั่นเอง ในอดีตการผลิตน้ำอัดลมชนิดธรรมดา (คือไม่ใช่แบบจำกัดพลังงาน ที่เรียกกันว่าแบบไอเอท) จะใช้น้ำตาลทรายเพียงอย่างเดียว นำมาผสมน้ำ แล้วต้มทำเป็นน้ำเชื่อมและกรอง ปัจจุบันมีการใช้สารให้ความหวานตัวอื่น เพิ่มมา เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn syrup) น้ำเชื่อมข้าวโพดแบบฟรุคโตสสูง (High fructose corn syrup- HFCS) เป็นต้น

      น้ำอัดลมยังมีส่วนประกอบที่สำคัญอีก ตัวที่ 3 คือ สารปรุงแต่ที่เรียกกันว่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งจะเป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี กับกรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว หัวน้ำเชื้อจะนำมาผสมในน้ำเชื่อม จากนั้นก็ทำให้ของผสมทั้งหมดเย็นลงเพื่อการเติมส่วนประกอบที่ 4 ซึ่งเป็นตัวทำให้น้ำอัดลมจริงดังชื่อคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะนำมาอัดลงในน้ำหวานที่ผสมไว้

      น้ำอัดลมบรรจุขวดหรือกระป๋องที่มีจำหน่ายกันทั่วไปนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ตามลักษณะเฉพาะของกลิ่นรสและสีของผลิตภัณฑ์

      ประเภทที่ 1 น้ำอัดลมรสโคล่า หรือน้ำดำ น้ำอัดลมประเภทนี้ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อโคล่าซึ่งมีคาเฟอีนที่สกัดจากส่วนใบของต้นโคคาอยู่ด้วยปริมาณของคาเฟอีนในน้ำอัดลมชนิดโคล่าแต่ละยี่ห้อก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่สูตรลับเฉพาะของแต่ละบริษัท สำหรับสีน้ำตาลเข้มที่เป็นที่มาของสีน้ำดำนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากสีผสมอาหารที่เป็นสีของน้ำตาลเคี่ยวไหม้

      ประเภทที่ 2 น้ำอัดลมไม่ใช่โคล่า ได้แก่น้ำอัดลมสีขาวใสที่ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อเลมอน-ไลม์ น้ำอัดลมที่ปรุงแต่งกลุ่นรสเลียนแบบน้ำผลไม้ เช่น ส้ม องุ่น มะนาว ลิ้นจี่ น้ำหวานอัดลม พวกน้ำเขียว น้ำแดง และน้ำอัดลมที่สีเหมือนโคล่าแต่ไม่ใช่คือรู้ทเบียร์ เป็นต้น น้ำอัดลมเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีคาเฟอีน เนื่องจากไม่ได้ปรุงแต่ด้วยหัวน้ำเชื้อชนิดโคล่า อย่างไรก็ตามอาจมีการเติมคาเฟอีนสกัดเล็กน้อยในส่วนผสม เพื่อให้ได้ฤทธิ์กระตุ้นของคาเฟอีน ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปล่าเมื่อดื่ม ตามแต่สูตรของผู้ผลิตซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศด้วย

      คุณค่าทางโภชนาการของน้ำอัดลมอยู่ที่น้ำตาลซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่จุดอ่อนของน้ำ อัดลมอยู่ที่ผู้ดื่มได้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีก เรียกว่าพลังงานที่ว่างเปล่า หรือ Empty calories ดังนั้นถ้าดื่มน้ำอัดลมมากและรับประทานอาหารอื่นน้อย ก็อาจขาดสมดุลทางโภชนาการ ที่สำคัญคือในเด็กยิ่งเด็กเล็ก ๆ ยิ่งน่าเป็นห่วง ถ้าปล่อยให้ดื่มแต่น้ำอัดลม ไม่ได้ดูแลให้รับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการอาจขาดสารอาหารได้ บางครั้งก็ให้ดื่มในเวลาที่ใกล้จะถึงหรือในระหว่างรับประทานอาหารมื้อหลัก ทำให้อิ่มและกินอาหารได้น้อยลง ข้อเสียอีกประการหนึ่งเนื่องจากน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก และมีสภาวะเป็นกรดด้วย อาจเป็นเหตุให้ฟันผุ นอกจากนี้น้ำอัดลมยังอาจทำให้ท้องอืดเพราะเกิดก๊าซในกระเพราะอาหาร และสภาวะที่เป็นกรดของน้ำอัดลมก็ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคกระเพราะอาหารด้วย

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×