ละครพันทาง (ละครรำนำผสมละครพูด) - ละครพันทาง (ละครรำนำผสมละครพูด) นิยาย ละครพันทาง (ละครรำนำผสมละครพูด) : Dek-D.com - Writer

    ละครพันทาง (ละครรำนำผสมละครพูด)

    ผู้เข้าชมรวม

    13,874

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    17

    ผู้เข้าชมรวม


    13.87K

    ความคิดเห็น


    9

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ม.ค. 50 / 21:41 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ละครพันทาง (ละครรำนำผสมละครพูด)

      ประวัติความเป็นมา เป็นละครแบบผสม ละครพันทางเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕ เช่นเดียวกันกับละครดึกดำบรรพ์  อันเป็นยุคที่วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาและมีอิทธิพลการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการละครดั้งเดิม

      ละครพันทางคิดค้นขึ้นโดยเจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ท่านเป็นเจ้าของคณะละครมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แต่เพิ่งมาเป็นหลักฐานมั่นคงในรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปรับปรุงแนวทางละครรำให้มีความแปลกใหม่

      การแสดง ในชั้นแรกได้นำเอาเค้าโครงเรื่องมาจากพงศาวดารของต่างชาติต่างๆ มาดัดแปลงเป็นบทละคร  ผูกเป็นเรื่อง แล้วผสมผสานรูปแบบของละครพูดเข้ากับละครรำ  คือมีท่ารำตามเนื้อเรื่องและจังหวะเพลง  เดินเรื่องตามคำร้อง บางครั้งมีต้นเสียง และลูกคู่ร้องทั้งหมดอย่างตามแบบแผนละครนอก คือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว ไม่เคร่งครัดในระเบียบประเพณี และแทรกตลกได้ตามความเหมาะสมบางครั้งต้นเสียงร้องบรรยาย ส่วนที่เป็นคำพูดตัวละครร้องเอง ความสำคัญอยู่ที่ถ้อยคำ ทั้งบทร้องและบทเจรจา ประกอบเพื่อให้การเดินเรื่องชัดเจนสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ท่ารำ เพลงร้องบรรเลงดนตรี จึงมีลีลาของต่างภาษาตามท้องเรื่อง

      พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ทรงเผยแพร่ละครพันทางจากแบบแผนที่เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง  ได้ประดิษฐ์ไว้ 

      บทละครพันทาง เป็นบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ทุกเรื่อง มีความยาวใกล้เคียงกับบทละครนอก และบทละครใน

      การบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการแสดง ใช้เพลงภาษาต่างๆ ซึ่งปรมาจารย์ทางดนตรีไทยได้ประดิษฐ์ทำนองให้เป็นเพลงไทย แต่มีสำเนียงบอกภาษา ทั้งเพลงหน้าพาทย์และเพลงขับร้อง  นอกจากนี้ได้เพิ่มดนตรีประกอบขึ้นร่วมกับวงปี่พาทย์ด้วย

      การขับร้องและบรรเลง ใช้เพลงร้องและบรรเลงที่มีทำนองออกสำเนียงเป็นเพลงภาษาต่างๆ แต่ยังคงใช้เพลงร่ายนอกของละครนอกมาเป็นเพลงดำเนินเรื่อง ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม ใช้ขลุ่ยแทนปี่ เพิ่มซออู้  และมีเครื่องภาษาเข้าประสม เช่น กลองจีน ปี่มอญ เปิงมาง ฯลฯ

      ผู้แสดง มักนิยมใช้ผู้แสดงชายและหญิงแสดงตามบทบาทตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง

      การแต่งกาย ไม่แต่งกายตามแบบละครรำโดยทั่วไป แต่จะแต่งแบบพันทาง คือ ให้เปลี่ยนรูปแบบจากการแต่งองค์ทรงเครื่อง มีลักษณะผสม เป็นแต่งตามเชื้อชาติ สภาพฐานะของตัวละคร และธรรมเนียมของต่างชาติตามท้องเรื่อง

      สถานที่แสดง แสดงในโรงบนเวที มีการเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่องอย่างละครดึกดำบรรพ์
          
               ละครพันทางจะนิยมเล่นเรื่องที่เกี่ยวกับต่างชาติ เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน พระลอ และราชาธิราช ละครพันทางที่ได้รับความนิยมแสดงติดต่อกันมากกว่าศตวรรษ คือ เรื่องพระลอ บทพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเรื่องราชาธิราช ของคณะเจ้าพระยามหินทรศักด์ธำรง (เพ็ง  เพ็ญกุล) ซึ่งเชื่อกันว่า หลวงพัฒน์พงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) เป็นผู้จัดทำบท ปัจจุบันมีละครพันทางที่รู้จักกันแพร่หลายคือ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ บทประพันธ์ของยาขอบและนายเสรี หวังในธรรม ได้ถอดความมาประพันธ์เป็นบทละครพันทาง

      ละครพันทางทุกเรื่อง จะเลือกตอนมาแสดงให้ได้เวลาตามความต้องการของมหาชน คือ  ภายในเวลา ๒-๓ ชั่วโมง โดยจัด ณ โรงละครแห่งชาติ สังคีตศาลา และในงานมหกรรมเช่นกัน  การแสดงละครพันทางนี้รวมศิลปะหลากหลาย  ดังนั้นจึงได้รับความชื่นชมจากผู้เข้าชมการแสดงมากกว่าละครชนิดอื่นๆ

      ละครพันทางนี้ ถ้าเล่นดำเนินเรื่องด้วยการขับเสภา แทนการร้องร่ายนอก เรียกว่า ละครเสภา ได้แก่ ขุนช้างขุนแผน และไกรทอง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×