7 สหชาติ - 7 สหชาติ นิยาย 7 สหชาติ : Dek-D.com - Writer

7 สหชาติ

โดย lนยสด

ความรู้เกี่ยวกับ 7 สหชาติ

ผู้เข้าชมรวม

929

ผู้เข้าชมเดือนนี้

5

ผู้เข้าชมรวม


929

ความคิดเห็น


4

คนติดตาม


1
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  4 ส.ค. 49 / 15:27 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ


                 7 สหชาติ

    "๗ สหชาติ ของพระพุทธเจ้า"

    ครั้น พระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ถึงกำหนดพระประสูติกาล ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา) เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางประชวรพระครรภ์ บรรดาข้าราชบริพาลก็รีบจัดที่ประสูติถวายภายใต้ต้นสาละใหญ่

    กาลเวลานั้นแดดอ่อน ดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญเดือน ๖ พระจันทร์จักโคจรเต็มดวงในยามเที่ยงคืน ชมพูทวีปเริ่มมีฝนอากาศโปร่ง ต้นไม้ในอุทยานป่าสาละกำลังผลิดอกออกใบอ่อน ดอกสาละ ดอกจำปาป่า ดอกอโศก และดอกไม้นานาพรรณกำลังเบ่งบานส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ พระหัตถ์ซ้ายปล่อยตก ประสูติพระโอรสโดยสะดวก

    ในวันเพ็ญเดือน ๖ วันที่พระกุมารประสูตินั้น มีมนุษย์และสัตว์กับสิ่งซึ่งเป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมถึง ๗ อัน "สหชาติ" นั้นหมายถึงผู้เกิดร่วมด้วย ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ

    ๑. พระนางพิมพา
    หรือพระนางยโสธรา เป็นพระราชบุตรีของประเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเมื่อมีประชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา

    ๒. พระอานนท์
    เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธศาสนาและได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลายด้าน ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนาท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ

    ๓. นายฉันนะ
    เป็นอำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไปฟังเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ๔. อำมาตย์กาฬุทายี
    เป็นพระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

    ๕. ม้ากัณฐกะ
    ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง ๑๘ ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตายเนื่อง จากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"

    ๖. ต้นมหาโพธิ์
    เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ ๓๐๕ ปี (ต้นโพธิ์ตรัสต้นที่ ๒ มีอายุ ๘๙๑ ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ ๑,๒๒๗ ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ ๔ ปลูกราว พ.ศ. ๒๔๓๔)

    ๗. ขุมทรัพย์ทั้งสี่
    ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ หรือนิธิกุมภี คือขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธ

                                  
    ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น

    ×