คำผวนร้อน ๆ จ้า - คำผวนร้อน ๆ จ้า นิยาย คำผวนร้อน ๆ จ้า : Dek-D.com - Writer

    คำผวนร้อน ๆ จ้า

    คำผวน ผวนคำ นะ คำผวน

    ผู้เข้าชมรวม

    3,082

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    3.08K

    ความคิดเห็น


    13

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 ก.ค. 46 / 15:45 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      อันว่าคำผวนนี้นักภาษาศาสตร์ท่านกล่าวว่าเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย หากพูดให้ชัดต้องบอกว่าภาษาไทยในประเทศไทยด้วย ภาษาไทยนอกประเทศอย่างไทพ่าเก ไทอาหม ไทอ้ายลาว ไทสิบสองปันนา ไทใหญ่ ฯลฯ ไม่ปรากฏว่ามีคำผวนเหมือนไทยในประเทศไทย

      คนไทยสามารถพูดอะไรเป็นคำผวนได้ทุกอย่างไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องน้อย แต่โดยมากมักพูดกันเรื่องทะลึ่งมากกว่า

      ตำราคำผวนที่แต่งกันเป็นเล่มชื่อเสียงโด่งดัง คือ “สรรพลี้หวน” (สรรพล้วน…) อันเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านของปักษ์ใต้ เริ่มตั้งแต่ “นครังหนึ่งกว้างเท่าผีแหน” ไอ้ผีแหนนี้ถ้าคนภาคกลางผวนคงได้แค่ แผน… ยังไม่เข้า Concept ที่ถูกต้องของคำนี้ แต่ถ้าคนปักษ์ใต้อ่านด้วยสำเนียงปักษ์ใต้ คำ        “ผีแหน” จะได้เป็น “แผ่น…” ทันที ทั้งนี้เพราะโทนวรรณยุกต์ของภาคใต้ โทน A และโทน B จะออกเสียงเหมือนกัน คนปักษ์ใต้จะใช้วิธีสับราง เช่น สี กับ สี่ ออกเสียงวรรณยุกต์เดียวกันเป๊ะ สับเสียงสระ เป็น สี และ เส ตามลำดับ ดังนั้น     คำว่า “แผน” กับ “แผ่น” คนใต้จึงออกเสียงเหมือนกัน ต้องอาศัยบริบทเพื่อดูความหมาย

      คนเก่งคำผวนท่านว่าต้องเป็นอัจฉริยะทางภาษาค่อนข้างมาก ดั่งตำนานหนังสือสรรพลี้หวนนี้นัยว่าผู้แต่งต้องอาศัยสมาธิในการแต่งอย่างสูง จึงปีนขึ้นไปแต่งบนต้นตาล เมื่อแต่งเสร็จเส้นเลือดในสมองแตกตกลงมาตายพอดี แพทย์นิติเวชผ่าศพพิสูจน์แล้วลงความเห็นว่าตายเพราะเส้นเลือดในสมองแตก ไม่ได้ตายเพราะตกต้นตาล

      สมัยนี้มีผู้แต่งหนังสือล้อสรรพลี้หวน โดยตั้งชื่อว่า “สรรพล้อดวน” นัยว่าเล่มนี้ทั้งเล่ม “ล้อมีแต่ ดวน” ไม่มี “ลี้มีแต่หวน” มาเจือปนเลย
      ประโยชน์ของคำผวนเท่าที่ผู้เขียนนึกออกตอนนี้เห็นทีจะมีอยู่ ๒ ข้อ คือ ทำให้ตลกขบขัน และฝึกทักษะโครงสร้างคำ (พยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย เสียงสระ วรรณยุกต์) ข้อ ๒ ไม่ค่อยมีใครนึกถึง เพราะแต่ละคนเมื่อพูดคำผวนมักนึกถึงข้อแรกมากกว่า

      มีเรื่องเล่าทางปักษ์ใต้ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่ง ไม่มีดวงทางเสี่ยงโชคเสี่ยงหวยเอาเสียเลย แต่เธอก็เพียรหาวิธีขอหวยทุกวิถีทาง จะไหว้ไอ้โน่น กราบไอ้นี่ ขูดไอ้นั่น (ที่ไม่ได้หมายถึง “ไอ้นั่น”) เธอทำทุกอย่าง จนกระทั่งมีพระดังรูปหนึ่ง คือ หลวงพ่อคล้าย (ทางใต้เรียกว่า “พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์”) ชาวบ้านร้านตลาดร่ำลือกันหนาหูว่าพ่อท่านคล้ายให้หวยแม่นนัก ผู้หญิงคนนี้อุตส่าห์ดั้นด้นไปขอหวยกับเขาเหมือนกัน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ถูกสักที ในที่สุดพ่อท่านคล้ายเลยด่าว่า “มึงโง่พรรค์นี้ ให้เอากกห้าว ๆ มาต้มกินแล้วจะฉลาดขึ้น”

      เธอได้ยินดังนี้จึงไม่พอใจ กลับบ้านแล้วโพนทะนาทั่วบางว่าพ่อท่านคล้ายด่ากู หาว่ากูโง่ ให้เอากกห้าว ๆ มาต้มกิน ชาวบ้านได้ยินแล้วรีบจดกันทั้งบาง เมื่อถึงวาระก็ได้เฮกันถ้วนหน้า ยกเว้นแต่ผู้หญิงคนนี้คนเดียว

      หวยงวดนั้นออก “966” !!!

      ดังนั้น ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของคำผวนเท่าที่ผู้เขียนนึกได้ คือ ใบ้หวย !!!

      เมื่อผู้เขียนร่ำเรียนระดับปริญญาตรี เพื่อนนิสิตหญิงมักชอบล้อผู้เขียนด้วยคำผวน เช่น ชวนไปทำงานโรงหนัง หน้าที่ที่ต้องทำคือเอา “กระดานพาดจอ” ผู้เขียนงงอยู่หลายนาทีว่าทำไมต้องเอากระดานไปพาดจอ ช่วยเปิดม่านหรือไงวะ โรงหนังที่ไหนซอมซ่อจัง กว่าจะรู้ว่าต้องเอา “อะไร” ไปพาดจาน พวกสาว ๆ ชาวเอกไทยก็หัวเราะกันกลิ้งแล้ว

      บางทีสาว ๆ เหล่านั้นนึกอยากใจดี เอ่ยปากชวนผู้เขียนไปเที่ยว “ดอยหมึง” ผู้เขียนเคยได้ยินแต่ดอยอินทนนท์ จึงถามอย่างงง ๆ ว่าไปทางไหน อยู่ที่ไหน สาวเอกไทยตอบข้อข้องใจว่าต้องขับรถผ่าน  “โค้งงวย” เท่านี้ผู้เขียนก็ถึงบางอ้อว่ายัยพวกนี้คิดมิซื่อกับเราอีกแล้ว



      สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
      ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×