Admission VS Entrance - Admission VS Entrance นิยาย Admission VS Entrance : Dek-D.com - Writer

    Admission VS Entrance

    เราลองมาดูกันดีกว่าระหว่างสองระบบการศึกษานี้อันไหนจะดีกว่า

    ผู้เข้าชมรวม

    2,135

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    2.13K

    ความคิดเห็น


    8

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  16 เม.ย. 49 / 19:11 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
         ทุกคนที่ไม่ใช่นักเรียนม.6 รุ่น2548 ฉบับทักษิณ คงยังไม่รู้ถึงปัญหาที่พวกเขากำลังกระทบอยู่ ยกเว้นว่าเป็นญาติพี่น้องของพวกเขา แต่ถึงอย่างนั้นเด็กบางกลุ่มที่ประสบอยู่ขณะนี้เองก็ยังไม่เข้าใจปัญหา(รวมทั้งกลุ่มผู้ใหญ่บางคนที่ได้รับผลประโยชน์) นั้นคือปัญหา Admission ที่กำลังประสบในขณะนี้ คนหลายกลุ่มต้องการปฏิรูปAdmission ให้เข้าที่เข้าทางมากยิ่งขึ้น บางคนต้องการโอกาสและความถูกต้องกับสิ่งที่เขาสมควรได้รับคืน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ ต้องการให้ประทรวงศึกษาธิการปรับให้มาระบบEntranceเช่นเดิม ทำไมถึงเป็นเช่นกัน เราลองมาวิเคราะห์ Admission กับ Entrance แบบจุดต่อจุดดีกว่า

      หัวข้อเปรียบเทียบ

      Admission

      Entrance

      องค์ประกอบในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

      -          คะแนน GPAX (เกรดเฉลี่ยม.ปลาย) เก็บ 10%

      -          คะแนน GPA (เกรดเฉลี่ย ม.ปลาย ตามวิชาชีพที่เข้าเรียน) เก็บเพิ่มขึ้นปีละ 10%จนถึง 40%

      -          คะแนน O-NET (สอบขั้นพื้นฐานที่ควรมี ซึ่งประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ

      -          คะแนน A-NET (สอบขั้นสูงที่ในสายวิชาชีพที่มี) ทั้งO-NETและ A-NET เก็บรวมกันเป็นที่เหลือ (ประมาณ 50% - 60%

      -          คะแนน GPA+PR (เกรดเฉลี่ยม.ปลาย เก็บ10%

      -          ผลสอบวิชาหลักและวิชาเฉพาะ เก็บ 90%

      จำนวนครั้งที่สามารถสอบได้

      -          O-NET สอบได้แค่ครั้งเดียวในชีวิต (พลาดแล้วพลาดเลย)

      -          A-NET เมื่อสอบไปแล้วจะสอบใหม่ได้ใน 3 ปีถัดไป

      -          โดยทั้ง 2 อย่างนี้จะสามารถขอสอบใหม่ได้ หากมีเหตุผล สมควรทดสอบ เช่น เข้าโรงพยาบาล เป็นต้น

      -          สอบได้ปีละ 2 ครั้ง โดยเลือกเอาคะแนนมากสุด

      -          ถ้าสอบตกก็สามารถมาสอบใหม่ได้อีกเรื่อยๆจนกว่าจะพอใจ

      ค่านิยมในการเรียนกวดวิชา

      -          เรียนทุกคอร์สตั้งแต่ ม.4 ถึง ม.6 (เพื่อจะได้มีคะแนนเฉลี่ย(GPA กับGPAX) มากๆ)

      -          เรียนคอร์ส O-NET ทั้งหมด (ซึ่งมีอยู่มากถึง 5 วิชา)

      -          เรียนคอร์ส A-NET ที่จะเข้าคณะนั้น

      เรียนเฉพาะคอร์สEntrance วิชาที่จะสอบเข้า

      การแข่งขันในชั้นเรียนที่สังเกตได้

      เริ่มตั้งแต่ชั้น ม.4 จนเข้ามหาวิทยาลัย

      เริ่มตั้งแต่ ม.6 จนจบการสอบEntrance

      การโกงและฉ้อฉลเพื่อให้ได้คะแนนมากๆในการเข้ามหาวิทยาลัย

      -          การเล่นเส้นกับอาจารย์ที่สอน การลอกการบ้าน การลอกในห้องสอบ (ทำให้ได้คะแนนGPAX+GPAมาก)

      -          การโกงข้อสอบ O-NET A-NET

      -  เมื่อสอบEntrance จะได้เมื่อ ทำข้อสอบEntrance

      การเริ่มก่อตั้งและจุดจบ

      เข้ามาในระบอบรัฐบาลทักษิณ ในปีพ.ศ.2547 และเริ่มปฏิบัติในปี พ.ศ.2549 ซึ่งล้มเหลวไม่เป็นท่า

      มีมานานกว่า 40 ปี มาแล้ว ซึ่งนักเรียนก็ยอมรับ และถูกยุบเมื่อมีระบบAdmissionเข้ามา

      นักเรียน(บางคน)ที่ฆ่าตัวตายที่ปรากฏให้เห็นเป็นข่าว

      เมื่อทราบผลเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 4 เทอมขึ้นไปแล้วไม่เป็นดังหวัง ก็จะ...

      เมื่อสอบแล้วทราบผลEntranceว่าสอบตก ก็จะ...

      • ]






      •   












      • จะเห็นได้ว่า
        Admission จะเหนือกว่า Entrance ด้วยรายละเอียด(ความยุ่งยาก)อยู่หลายประการ ซึ่งทำให้มันดูดีและเชื่อถือได้มากว่า แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับมีช่องโหว่อยู่หลายประการให้เห็นเช่นกัน โดยเฉพาะที่ถกเถียงคือ GPAและGPAX ที่แต่ละโรงเรียนจะมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ในโรงเรียนเดียวด้วยกันก็เหอะบางทีก็ให้คะแนนที่มีมาตรฐานไม่เท่ากันเลย ดังหัวข้อ การโกงและฉ้อฉลเพื่อให้ได้คะแนนมากๆในการเข้ามหาวิทยาลัย (อย่ามาเถียงผมเรื่องนี้ เพราะผมใช้วิธีนี้แหละเลยทำให้ได้คะแนนเฉลี่ยสูงๆครั้งหนึ่งมาแล้ว) จึงเป็นที่มาของคำว่า เกรดเฟ้อ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×