คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : อวัยวะภายนอกของปลา
อวัยวะภายนอกของปลา
อวัยวะที่ตั้งอยู่บนส่วนหัว
เนื่องจากหัวเป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญนอกจากสมองและเหงือกแล้วยังประกอบไปด้วยปาก หนวด จมูก ตา หู
และฟัน ดังนี้
จะงอยปาก(Snout) - คือส่วนหัวบริเวณเหนือขากรรไกรบน ซึ่งกินบริเวณตั้งแต่ขอบหน้าตาไปจนสุดปลายปากหรือ
ปลายสุดด้านหน้า บางชนิดยื่นยาวออกไปเรียก รอสทรัม (Rostrum) เช่น ปลาฉนาก ระหว่างจะงอยปากมีรูจมูก 1- 2 คู่
จาก : http://student.wrk.ac.th/work2r51/18956/html/sawfish.html
ครีบ
ชนิดและหน้าที่ของครีบ
รยางค์ของปลาได้แก่ครีบ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนไหวและทรงตัวของปลา ครีบประกอบด้วยก้านครีบ
(Fin Ray) และเยื่อยึดก้านครีบ (Fin Membrane) ก้านครีบมีอยู่ 2 พวกคือ ก้านครีบแข็ง (Spiny หรือ Single Fin Ray)
มีลักษณะแข็งเป็นท่อนเดียวปลายแหลม สันด้านหน้าหรือหลังอาจมีฟันเลื่อย (Serrate) และก้านครีบอ่อน (Soft หรือ
Segmented หรือ Branched Fin Ray) จะมีลักษณะเป็นปล้องหรือข้อสั้นๆ ต่อกันเป็นก้านครีบ ก้านครีบอ่อนนี้ส่วนมาก
จะแตกแขนงย่อยๆ 2 - 3 แขนง
ครีบของปลามี 2 พวก คือ ครีบเดี่ยวและครีบคู่
ครีบเดี่ยว มีชื่อตามตำแหน่งที่ตั้งของครีบ หน้าที่ช่วยพยุงลำตัวให้ตั้งอยู่ในแนวตรงไม่เอียงซ้ายหรือขวา
ก. ครีบหลัง (Dorsal Fin, D) มีลักษณะแตกต่างกันไป สั้นบ้าง ยาวบ้าง บางชนิดมี 2 ตอน ซึ่งอาจอยู่แยก
กันหรือมีเยื่อบางๆ ยึดอยู่ก็ได้ บางชนิดตอนที่สองเป็นครีบไขมัน เช่น ปลากด ปลาแขยง ปลาสวาย ปลาบึก ปลาเทโพ
เป็นต้น บางชนิดเป็นครีบฝอย เช่น ปลาทู ปลาอินทรี บางชนิดครีบหลังตอนแรกเปลี่ยนรูป เช่น ในปลาติตเปลี่ยนเป็นอวัยวะ
เกาะติด ในปลาแองเกลอร์ (Angler Fish) เปลี่ยนเป็นที่ล่อเหยื่อ เป็นต้น ลักษณะก้านครีบอาจเป็นก้านครีบแข็งหรือก้าน
ครีบอ่อน โดยอาจเป็นก้านครีบอ่อนยาวตลอดครีบ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน หรือส่วนหน้าของครีบเป็นก้านครีบแข็งตอนหลัง
เป็นก้านครีบอ่อน เช่น ปลานิล หรือส่วนหน้าของครีบตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ครีบตอนที่สองเป็นครีบไขมัน เช่น
ปลาสวาย หรือมีครีบสองตอน ตอนแรกมีก้านครีบแข็งยาวตลอดครีบ ครีบตอนที่สองส่วนต้นๆ เป็นก้านครีบแข็ง ส่วนท้ายๆ
เป็นก้านครีบอ่อน เช่น ปลากะรัง
ข. ครีบก้น (Anal Fin, A) ตั้งอยู่หลังรูก้นยาวไปทางครีบหาง ปกติมีครีบเดียว ยกเว้นปลาซิวแก้ว
(Corica spp.) ขนาดและความยาวขึ้นอยู่กับชนิดของปลา บางชนิดส่วนต้นๆของครีบเป็นก้านครีบแข็ง เช่น ปลานิลบางชนิด
ส่วนท้ายมีครีบฝอย เช่น ปลาทู ปลาโอ ในปลาสอด ปลาหางนกยูง ตอนต้นของครีบเปลี่ยนเป็นอวัยวะช่วยสืบพันธุ์
ค. ครีบหาง (Caudal Fin, C) ตั้งอยู่ท้ายสุดของส่วนหาง ใหญ่กว่าครีบอื่นๆ แบ่งเป็นแบบต่างๆ ตาม
โครงสร้างของกระดูกภายใน ดังนี้
1. ครีบหางไดฟิเซอคอล (Diphycercal Caudal Fin) มีลักษณะปลายของกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายเหยียดตรง
และสิ้นสุดลงบริเวณเกือบปลายสุดของครีบหางและแบ่งครีบหางออกเป็นสองส่วน เท่าๆ กัน พบในปลาปากกลม และตัว
อ่อน (Larvae) ของปลาทุกชนิด
2. ครีบหางแบบเฮเทอโรเซอคอล (Heterocercal Caudal Fin) มีลักษณะปลายของกระดูกสันหลังข้อสุดท้าย
ยกเชิดขึ้น และโค้งไปตามขอบบนของครีบหางจนสุดปลายครีบ ทำให้แพนบนของครีบหางใหญ่และยาวกว่าแพนล่าง ได้แก่
หางปลาฉลาม ปลาการ์
3. ครีบหางแบบไฮโปเซอคอล (Hypocercal Caudal Fin) ลักษณะหางตรงข้ามกับแบบเฮเทอโรเซอคอล
โดยครีบหางแพนล่างใหญ่กว่าแพนบน พบในปลาโบราณที่สูญพันธุ์แล้ว
4. ครีบหางแบบไจฟิโรเซอคอล (Gyphyrocercal Caudal Fin) ครีบหางแพนบนและแพนล่างมีลักษณะเหมือนกัน
แต่ไม่มีครีบหางที่แท้จริง เนื่องจากปลายสุดของกระดูกันหลังข้อสุดท้าย (Hypural Bone) มีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ มี 2
แบบ คือ
4.1 ไอโซเซอคลอ (Isocercal) ลักษณะครีบหางจะแยกจากครีบหลัง และครีบก้น พบในปลาคอด
ปลาพระอาทิตย์
4.2 เลพโตเซอคลอ (Leptocercal) ครีบหางจะติดต่อกับครีบหลังและครีบก้น พบในปลาปอด ปลากระเบน
และปลากระต่าย (Ratfish)
5. ครีบหางแบบโฮโมเซอคอล (Homocercal Caudal Fin) พบในปลาชั้นสูงโดยทั่วไป โดยมีกระดูกยูโรสไตส์
(Urostyle) ที่ต่อออกมาจากกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายโค้งขึ้นข้างบน และมีกระดูกไฮพูรอล (Hypural Plate) อยู่ด้านล่าง
ก้านครีบหางจะต่อออกมาจากกระดูกไฮพูรอลล์ (Hypurals หรือ Hypural Plate) ครีบหางชนิดนี้มี 6 แบบ โดยแบ่งตาม
ลักษณะรูปร่างที่ทองเห็นภายนอก คือ
5.1 รูปส้อม (Forked Tail) ปลายหางมีลักษณะเป็นหยักเว้าลึกตรงกลาง ทำให้ครีบหางมี 2 แฉกคล้ายส้อม
พบในปลาทู ปลานวลจันทร์ทะเล เป็นต้น
5.2 รูปเคียวหรือพระจันทร์เสี้ยว (Lunate หรือ Concave Tail) ปลายหางมีลักษณะเป็นรูปเคียว โดยเว้าเข้า
ไปคล้ายพระจันทร์เสี้ยว พบใน ปลาโอ ปลาทูน่า เป็นต้น
5.3 รูปเว้าเล็กน้อย (Emarginate) ปลายหางเว้าเล็กน้อย พบในปลาเห็ดโคน ปลาข้างลาย เป็นต้น
5.4 รูปตัดตรง (Truncate หรือ Straight) ส่วนท้ายของครีบหางตัดตรงหรือเกือบตรง ได้แก่ หางปลาตะกรับ
ปลาเสือตอ ปลาหูช้าง ปลาลิ้นหมาบางชนิด เป็นต้น
5.5 รูปกลม (Rounded Tail) ปลายครีบหางกลม พบในปลาช่อน ปลาหมอไทย เป็นต้น
5.6 รูปใบโพ (Pointed Tail) ส่วนปลายหางแหลมคล้ายใบโพ เช่น หางปลาบู่ ปลาเขือ
ครีบคู่
ครีบคู่มีชื่อตามตำแหน่งที่ตั้ง มีหน้าที่ช่วยทรงตัว ว่ายน้ำขึ้นลงในแนวดิ่ง
ก. ครีบอกหรือครีบหู (Pectoral Fin, P1) เป็นครีบคู่ที่มีตำแหน่งอยู่หลังช่องเหงือก รูปร่างของครีบอก
แตกต่างกันออกไป ปลาบางชนิดไม่มีครีบอก บางชนิดเป็นเส้น เช่น ปลาสลิด บางชนิดเปลี่ยนรูป เช่น ปลากระเบน
ครีบจะแผ่กว้างคล้ายจาน บางชนิดเปลี่ยนไปเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ เช่น ปลานกกระจอกใช้โผบิน ในปลาหนวดพราหมณ์
ส่วนล่างของครีบอกแยกออกเป็นเส้นๆ คล้ายหนวด
ข. ครีบท้อง (Pelvic Fin, P2 หรือ Ventral Fin, V) ลักษณะและตำแหน่งของครีบท้องแตกต่างกันไป เช่น
- ตำแหน่งอยู่ที่ท้อง อยู่ใกล้รูทวาร ได้แก่ ปลาดุก ปลาไน ปลาหลังเขียว เป็นพวกมีวิวัฒนาการต่ำ
- ตำแหน่งอยู่บริเวณทรวงอก บริเวณใต้ครีบอก ได้แก่ ปลาช่อน ปลาทู ปลาทูน่า เป็นต้น
- ตำแหน่งบริเวณคอเกือบถึงบริเวณคอคอด (isthmus) ได้แก่ ปลาลิ้นหมา
หน้าที่ของครีบ
นอกจากทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวว่ายน้ำ ทรงตัวแล้ว ยังอาจทำหน้าที่อื่นๆ เช่น
ก. ใช้เคลื่อนที่บนบกแทนเท้า พบในปลาตีน โดยใช้ครีบคู่ คือ ครีบอกซึ่งมีกล้ามเนื้อแข็งแรงช่วย
ข. ใช้ร่อนไปในอากาศ โดยใช้ครีบหางช่วยดันลำตัวให้พ้นจากน้ำ แล้วจึงใช้ครีบอกร่อนไปในอากาศ
ช่วยให้หนีศัตรูได้เร็ว พบในปลานกกระจอก และปลาผีเสื้อกลางคืน
ค. ทำหน้าที่เป็นเครื่องดูดเกาะ โดยใช้ครีบท้องที่เปลี่ยนรูปไปใช้เกาะติดก้อนหินที่อยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ
โดยครีบท้องมารวมกันมีเยื่อบางๆ ยึด พบในปลาบู่ ปลาที่หากินตามลำธารน้ำไหล ในปลาติตใช้ครีบหลังตอนแรก
เปลี่ยนเป็นอวัยวะเกาะติด
ง. ช่วยในการบังคับทิศทาง โดยมากใช้ครีบหาง
จ. ช่วยในการผสมพันธุ์ โดยใช้ครีบท้องและครีบก้น พบในปลาที่มีการผสมภายในและออกลูกเป็นตัว
ได้แก่
- คลาสเปอร์ (Clasper) เกิดจากครีบท้องเปลี่ยนรูป พบในปลากระดูกอ่อนพวกปลาฉลาม กระเบนเพศผู้
- โกโนโปเดียม (Gonopodium หรือ Intromittent Organ) เกิดจากก้านครีบอันแรกของครีบก้นขยายใหญ่
ขึ้นเป็นท่อทางส่งน้ำเชื้อในเพศผู้ พบในปลาสอด หางดาบ หางนกยูง
- ไพรอะเพียม (Priapium) เกิดจากครีบท้อง พบในปลาบู่ใสเพศผู้ เป็นทางส่งน้ำเชื้อเวลาผสมพันธุ์และ
ใช้ขับถ่ายปัสสาวะอีกด้วย
ชนิดและหน้าที่ของหนวด
หนวด (Barbels) ปลาบางชนิดมีหนวดบางชนิดไม่มี เป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm)
หนวดทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัส และช่วยในการหาอาหาร ปลาที่ไม่มีเกล็ดมีหนวดเจริญดีกว่าปลาที่มีเกล็ด จำนวนคู่
ความยาวและรูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิดของปลา ชื่อของหนวดมักตั้งตามตำแหน่งที่ตั้งเป็นสำคัญ คือ
ก. หนวดแมกซิลลารี (Maxillary Barbel) เป็นหนวดคู่ใหญ่ตั้งอยู่บนกระดูกแมกซิลลาของขากรรไกรบน
พบในปลาดุก ปลากด ปลาแขยง เป็นต้น
ข. หนวดแมนดิเบิล (Mandible หรือ Mandibulary Barbel) เป็นคู่ที่อยู่บนกระดูกแมนดิเบิลของขากรรไกร
ล่าง พบในปลาดุก ปลากด ปลาแขยง เป็นต้น
ค. หนวดจะงอยปาก (Snout Barbel) เป็นคู่อยู่ตรงส่วนจะงอยปาก ถ้าอยู่ตรงฐานรูจมูกเรียกว่าหนวดจมูก
(Nasal Barbel) พบในปลากด เป็นต้น
ง. หนวดบนรอสทรัม (Rostral Barbel) เป็นคู่อยู่บนส่วนจะงอยปากตรงร่องระหว่างรอยต่อของกระดูก
พรีแมกซิลลากับแมก ซิลลลา พบในปลาตะเพียนขาว เป็นต้น
จ. หนวดที่คาง (Mental หรือ Chin Barbel) อาจเป็นคู่หรือเส้นเดี่ยวหรือมากกว่า 1 คู่ อยู่บริเวณใต้คาง
พบในปลาจวด ปลาแพะ ปลาคอด เป็นต้น
อวัยวะภายในของปลา
เมื่อเปิดช่องท้องของปลาจะพบอวัยวะภายในดังนี้
- หัวใจ ตั้งอยู่ในช่องรอบหัวใจบริเวณใต้เหงือก
- ตับ เป็นพูใหญ่เหลือง อยู่เหนือหัวใจคล้อยไปด้านหลัง
- ถุงน้ำดี เป็นถุงรูปร่างกลมหรือรีฝังอยู่ในพูของตับมีสีเขียวหรือเขียวอมฟ้า ถุงนี้มีท่อซิสติค(Cystic Duct)
ติดต่อกับตับ และมีท่อน้ำดี (Common Bile Duct) ติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น
- ตับอ่อน เป็นอวัยวะสีเหลืองอ่อน ในปลากระดูกแข็งมักกระจัดกระจายไม่รวมกันเป็นก้อน ส่วนในปลา
ฉลามจะพบเป็นก้อนติดอยู่ปลายม้าม
- ม้าม มีสีแดงเข้มติดอยู่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย
- กระเพาะอาหาร ต่อออกมาจากหลอดคอ มีขนาดใหญ่ เห็นได้ชัดอยู่บริเวณใต้ตับ
- ลำไส้ ต่อออกมาจากกระเพาะอาหาร ส่วนต้นเป็นลำไส้เล็ก ส่วนปลายก่อนเปิดเข้ารูทวารเป็นลำไส้ใหญ่
- ไส้ติ่ง พบในปลากระดูกแข็ง บางชนิดไม่มีพบอยู่ส่วนต้น ของลำไส้เล็ก บางชนิดมีจำนวนมาก เช่น
ปลาทู บางชนิดมีน้อย เช่น ปลาช่อน
- รังไข่ พบในปลาเพศเมีย มีลักษณะเป็นฝักคู่ทอดขนานตามความยาวของช่องท้องด้านบน
- อัณฑะ พบในปลาเพศผู้ ในตำแหน่งเดียวกับรังไข่
- ไต มีสีแดงเข้ม เป็นคู่ทอดตามยาวเหนือช่องตัวติดใต้กระดูกสันหลัง
- กระเพาะลม พบในปลากระดูกแข็งบางชนิด เป็นถุงสีขาวนวลเหลือบเงาทอดอยู่ด้านบนตามยาวของช่องตัว
มีท่อติดต่อกับทางเดินอาหารเรียกท่อนิวมาติค (Pneumatic Duct)
2. ปาก (Mouth) ปากของปลาประกอบไปด้วยขากรรไกรบนและล่าง ขากรรไกรบนประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น คือ
ก. กระดูกพรีแมกซิลลารี (Premaxillary Bone) อยู่หน้าสุด
ข. กระดูกแมกซิลลารี (Maxillary Bone) ชิ้นกลาง
ค. กระดูกซัพพลิเมนทารี แมกซิลลารี (Supplementary Maxillary Bone) เป็นชิ้นท้ายสุด กระดูกทั้ง 3 ชิ้น
มีขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของปลา ในปลาบางชนิดกระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่งอาจลดขนาดเสื่อมลงหรือหายไป
ส่วนขากรรไกรล่างประกอบด้วย กระดูกเดนทารี (Dentary) และอาร์ทิคูลา (Articula)
ปากของปลามีรูปทรง ตำแหน่ง และขนาดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยการกินอาหารและชนิดของ
อาหารที่ชอบกิน บางชนิดปากเล็กชอบกินพืช แพลงก์ตอน ไรน้ำ เช่น ปลากระดี่
จาก : http://media.photobucket.com/
บางชนิดปากปานกลางชอบกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น ปลาสวาย
จาก : www.arowanacafe.com/
บางชนิดปากใหญ่ชอบกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน
ตำแหน่งที่ตั้งของปากโดยทั่วไปแบ่งได้ 4 แบบ คือ
ก. ปากอยู่ด้านหน้า (Anterior หรือ Terminal) คือปากอยู่ด้านหน้าสุดของหัวหรือหน้าสุดของจะงอยปาก
พบในปลาทั่วไปซึ่งมักหากินระดับกลางน้ำ เช่น ปลาสลิด ปลาตะเพียน ปลากระบอก เป็นต้น
จาก : www.siamfishing.com/
ข. ปากอยู่ด้านล่าง (Inferior) ปากอยู่ในระดับต่ำทางด้านล่างตอนหน้าของส่วนหัว มักเป็นปลาที่หากิน
ตามพื้นท้องน้ำ เช่น ปลากระเบน หรือปลาที่กินเหยื่อทางด้านล่างของลำตัว เช่น ปลาฉลาม
ค. ปากอยู่ด้านบนในแนวนอน (Superior Horizontal) ปากอยู่ทางด้านหน้าตอนบนของส่วนหัว มักเป็น
ปลาที่หากินบริเวณผิวน้ำ เช่น ปลาเข็ม
ง. ปากอยู่ด้านบนในแนวเฉียงขึ้น (Superior Oblique) ปากอยู่ทางด้านหน้าตอนบนของส่วนหัวและเฉียงขึ้น
เช่น ปลาคางเบือน
จาก : http://panutta307.igetweb.com/index.php?mo=3&art=227853
รูปทรงปากของปลา
มีรูปทรงธรรมดา มีขากรรไกรบนและล่างปกติ แต่ก็มีปลาบางชนิดปากมีการดัดแปลงรูปร่างให้เหมาะสมกับนิสัย
การกินอาหารและ ชนิดของอาหารที่ชอบกิน รวมทั้งแหล่งของอาหาร จึงมีปากที่แปลกออกไปจากธรรมดา 5 แบบ คือ
ก. ปากคล้ายกล้องยาสูบ (Tube-like or Pipe-like Mouth) ปากมีลักษณะเป็นท่อหรือหลอดยื่นยาวออกไป
โดยมีช่องเปิดของปากอยู่ที่ส่วนปลายของท่อ มักเป็นปลาที่ชอบแทะเล็มของเล็กๆ ที่ติดอยู่กับปะการัง ซอกหิน เช่น
ปลาปากแตร ปลาม้าน้ำ ปลาจิ้มฟันจระเข้ ปลาผีเสื้อบางชนิด
จาก : http://surat.stkc.go.th/Butterflyfishes_2
ข. ปากแบบฟันเลื่อย (Saw-like Mouth) เกิดจากการเจริญของจะงอยปากที่ยื่นยาวออกไปที่เรียกว่า
รอสทรัม บนรอสทรัมนี้จะมีซี่ฟันคมแข็งคล้ายฟันเลื่อยยื่นยาวออกไปทั้งสองข้าง ใช้ป้องกันตัว ได้แก่ ปลาฉนาก
(Saw Fish)
จาก : http://commons.wikimedia.org/
ค. ปากแบบปากนก (Beak-like Mouth) เกิดจากจะงอยปากยื่นยาวออกไปและมีปลายแหลม เกิด
จากกระดูกขากรรไกรบนและล่างยื่นยาวออกไป มักเป็นปลากินเนื้อ มีฟันยาวบนขากรรไกร ขากรรไกรบนสั้นและ
ขากรรไกรล่างยาว ได้แก่ ปลากระทุงเหว ปลาเข็ม ขากรรไกรบนยาวและขากรรไกรล่างสั้นกว่า ได้แก่ ปลากระโทงแทง
จาก : http://seafoodaroidee.exteen.com/20090114/entry-1
ง. ปากยืดหดได้ (Protractile Mouth) เกิดจากกระดูกขากรรไกรบนมีเพดดิเซล (Pedicel) ยาว ลักษณะ
การยืดนี้อาจจะทำให้ปากชี้ขึ้นบน ชี้ลงล่าง หรือชี้ตรงออกไป พบในพวกปลาแป้น ปลาหมอตาล เป็นต้น
จ. ปากดูด (Sucking Mouth) พวกนี้มักมีตำแหน่งปากด้านล่าง มีขากรรไกรล่างแข็งแรง เนื้อเยื่อที่คลุม
ขอบขากรรไกรแข็งเป็นสันใช้สำหรับตัดหรือขูดตะไคร่น้ำที่ ขึ้นตามก้อนหิน รอบปากมีเนื้อนิ่มๆ ย่นๆ ยืดหดได้ ใช้ในการ
เกาะติดก้อนหิน เช่น ปลาเลียหิน ปลาลูกผึ้งหรือรากกล้วย เป็นต้น
3. จมูก (Nostrils, Nares or Nasal Opening) จมูกของปลามีลักษณะเป็นถุงตัน ภายในมีเยื่อบุและเซลล์ประสาท
รับกลิ่น (Olfactory Cell) ดังนั้นจมูกของปลาจึงทำหน้าที่ในการดมกลิ่นเท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการหายใจ ปลาปากกลม
มีรูจมูกรูเดียวตรงกลางระหว่างตา ส่วนปลาทั่วไปมีรูจมูก 1 - 2 คู่ ส่วนใหญ่มี 2 คู่ ยกเว้นปลาในวงศ์ซิคลิดี (Cichlidae)
ได้แก่ ปลานิล ปลาหมอเทศ และวงศ์โปมาเซนทริตี (Pomacentridae) เช่น ปลาสลิดหิน ปลาการ์ตูน มีรูจมูกเพียง 1 คู่
ในปลาฉลามมีเซลล์ประสาทจมูกเจริญดีมากจึงรับกลิ่นได้ดี
4. ตา (Eye) มีขนาด รูปทรง ตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันไปตามชนิดของปลา
ก. ขนาด - ปลาที่อยู่ในน้ำลึกหรือในถ้ำมืด ตาใช้งานน้อยจะมีขนาดเล็ก ส่วนพวกหากินบริเวณน้ำลึกหรือ
หากินเวลากลางคืนตาใช้งานมากจะมีขนาดใหญ่ แต่ในปลาดุกชอบหากินในที่มืดสลัวและน้ำขุ่นตาใช้งานน้อยจึงมีขนาด
เล็ก ใช้หนวดในการหาอาหารแทน
ข. รูปทรง - ปลาที่ว่ายน้ำช้าๆ มักมีตารูปกลม เช่น ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาที่ว่ายน้ำเร็วมักมีตารี เช่น ปลาโอ
ปลาทูน่า ส่วนปลาตีนมีตาโปนขึ้นมาเพราะมีก้านตาเป็นพวกอืดอาดเชื่องช้า
ค. ตำแหน่ง - ปลาขนาดเล็กที่เป็นเหยื่อของปลาใหญ่มักมีตาอยู่สองข้างของหัว เพื่อหลบหลีกภัยเพราะ
มองเห็นได้กว้าง ปลาที่ดุร้ายและล่าเหยื่อมีนัยน์ตาค่อนไปข้างหน้า การรับภาพจะแคบลงแต่ชัดเจน เช่น ปลาช่อน
ปลากะพง ปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ตาจะอยู่ด้านบน พวกหากินบริเวณผิวน้ำตาจะเชิดขึ้น
ปกติตาของปลาจะไม่มีเปลือกตา ยกเว้นในปลาฉลามหนูมีเปลือกตาปิดจากด้านล่างขึ้นไป เรียกว่า เยื่อนิคติเตติ้ง
(Nictitating Membrane) ส่วนปลาทู ปลานวลจันทร์ทะเล มีเยื่อไขมันเคลือบตาไว้ (Adipose Eyelid)
5. หู (Auditory Organ หรือ Inner Ear) ตั้งอยู่ในส่วนหัว เป็นหูชั้นในทำหน้าที่ทรงตัว
6. ช่องหายใจหรือสไปราเคิล (Spiracle) พบอยู่ด้านหลังตาในปลากระดูกอ่อน เช่น ปลากระเบนและปลาฉลาม
บางชนิด ช่วยในการหายใจ โดยมีช่องเปิดตรงช่องคอให้น้ำไหลผ่านไปยังเหงือก
7. หนวด (Barbells) ปลาบางชนิดมีหนวดบางชนิดไม่มี เป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm)
หนวดทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัส และช่วยในการหาอาหาร ปลาที่ไม่มีเกล็ดมีหนวดเจริญดีกว่าปลาที่มีเกล็ด จำนวนคู่
ความยาวและรูปร่างแตกต่างกันไปตามชนิดของปลา ชื่อของหนวดมักตั้งตามตำแหน่งที่ตั้งเป็นสำคัญ คือ
ก. หนวดแมกซิลลารี (Maxillary Barbell) เป็นหนวดคู่ใหญ่ตั้งอยู่บนกระดูกแมกซิลลาของขากรรไกรบน
พบในปลาดุก ปลากด ปลาแขยง เป็นต้น
ข. หนวดแมนดิเบิล (Mandible หรือ Mandibulary Barbell) เป็นคู่ที่อยู่บนกระดูกแมนดิเบิลของขากรรไกร
ล่าง พบในปลาดุก ปลากด ปลาแขยง เป็นต้น
ค. หนวดจะงอยปาก (Snout Barbell) เป็นคู่อยู่ตรงส่วนจะงอยปาก ถ้าอยู่ตรงฐานจมูกเรียกหนวดจมูก
(Nasal Barbell) พบในปลากด เป็นต้น
ง. หนวดบนรอสทรัม (Rostrum barbell) เป็นคู่บนส่วนจะงอยปากตรงร่องระหว่างรอยต่อของกระดูกพรีแมก
ซิลลากับแมกซิ ลลลา พบในปลาตะเพียนขาว เป็นต้น
จ. หนวดที่คาง (Mental หรือ Chin Barbell) อาจเป็นคู่หรือเส้นเดี่ยวหรือมากกว่า 1 คู่ อยู่บริเวณใต้คาง
พบในปลาจวด ปลาแพะ ปลาคอด เป็นต้น
ความคิดเห็น