ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ★— มหัศจรรย์เรื่องปลา —★

    ลำดับตอนที่ #2 : ลักษณะของปลา

    • อัปเดตล่าสุด 12 ส.ค. 52


    ลักษณะของปลา

    ลักษณะภายนอก
             การแบ่งสัดส่วนบนตัวปลา
                      ปลาโดยทั่วไปมีลำตัวสมมาตรด้านข้าง(Bilateral Symmetry) ยกเว้นปลาในอันดับเฮเทอโรโซมาตา
    (Order Heterosomata หรือ Pleuronectiformes) ได้แก่ ปลาลิ้นหมา ยอดม่วง จักรผาน ในระยะตัวอ่อนตาจะอยู่คน
    ละด้าน แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งตาจะย้ายไปอยู่กับอีกด้านหนึ่งอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือ ขวาก็ได้ โดยทั่วไปแบ่งตัวปลาออก
    เป็น 3 ส่วน คือ
                      1. ส่วนหัว (Head) นับจากปลายสุดของจะงอยปาก(Snout) ไปจนถึงขอบสุดของกระพุ้งแก้ม(Operculum)
     เป็นที่ตั้งของอวัยวะรับความรู้สึกเกือบทุกชนิด ได้แก่ ตา ปาก จมูก หนวด เป็นที่ตั้งของสมองและเส้นประสาทต่างๆ รวมทั้ง
    ระบบหายใจและบางส่วนของระบบย่อยอาหาร

                          จาก : http://www.dreamstime.com/royalty-free-stock-photo-fish-snout-image2889285

                      2. ลำตัว (Trunk หรือ Body) เป็นส่วนที่นับจากขอบสุดของกระดูกกระพุ้งแก้มไปจนถึงเส้นดิ่งที่ลากผ่าน
    รูทวาร(Anus)เป็นส่วนที่สำคัญรองจากหัว เป็นที่ตั้งของครีบ ยกเว้นครีบก้นและครีบหาง เป็นส่วนที่มีเกล็ดและต่อมเมือก
    ใช้ป้องกันตัว มีเส้นข้างตัว เป็นที่ตั้งของระบบย่อยอาหาร ขับถ่าย และสืบพันธุ์
                      3.หาง (Tail) เป็นส่วนที่นับจากเส้นติ่งที่ลากผ่านทวารไปจนถึงสุดปลายครีบหาง เป็นส่วนที่มีเกล็ด
    เป็นที่ตั้งของครีบก้นและครีบหาง ใช้ในการบังคับทิศทางและพยุงลำตัวให้ลอยขึ้นลงในระดับที่ต้องการ ปลาไม่มีคอ
    แต่มีส่วนที่เรียกว่าคอคอด (Isthmus)เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างเหงือกทั้งสองข้าง

         

                                                        จาก : www.hickerphoto.com/whale-tail-3319-pictures.htm

    รูปร่างรูปทรงของปลา
                      เนื่องจากปลามีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในสิ่งแวดล้อมต่างกัน จึงมีวิวัฒนาการเกี่ยวกับรูปทรงเพื่อ
    ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ให้อยู่รอดดีที่สุดในสภาพแวดล้อมนั้นๆ รูปทรงของปลาสามารถจำแนกได้ดังนี้
                      1. แบบกระสวย (Fusiform) เมื่อมองจากด้านข้างคล้ายกระสวยหรือลูกตอร์ปิโด (Torpedo-shape)
    ถ้ามองด้านหน้าตัดจะเป็นรูปกลมหรือรีเล็กน้อย ด้านหน้าจะหนาและเรียวเล็กลงไปทางหาง ถือเป็นรูปทรงของปลาโดย
    ทั่วไป เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ว่องไว มักหากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาฉลาม เป็นต้น

                       จาก : http://www.seaworld.org/animal-info/info-books/sharks-&-rays/physical-characteristics.htm

                      2. แบบลูกศร (Arrow-shape) คล้ายแบบกระสวยแต่ลำตัวยาวกว่า เช่น ปลาการ์ (Gar) ปลาน้ำดอกไม้

                                                จาก : www.reefblue.net/th/photo_of_species/37

                      3. แบบกลม (Globiform) รูปทรงมีลักษณะกลมคล้ายลูกบอล ว่ายน้ำช้า เช่น ปลาปักเป้าหนามทุเรียนมี
    หนามเป็นเกราะป้องกันตัว

                                            จาก : www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=593

                      4.แบบงู (Anguilliform, Snake-shape, Serpentile-shape) รูปร่างเรียวยาวคล้ายงู มองหน้าตัดจะเป็น
    วงกลม ในส่วนหน้าและค่อยๆแบนลงไปทางหาง การเคลื่อนไหวอาศัยกล้ามเนื้อลำตัวเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลาไหลทั่วๆ ไป

                                                         จาก : http://www.komchadluek.net/

                      5.แบบเส้นด้าย (Filiform) เป็นรูปทรงที่มีลักษณะเรียวยาและเล็กคล้ายเส้นด้าย ได้แก่ ปลาไหลน้ำลึก
    ชนิดหนึ่ง(Snipe Eel)

                                           จาก : www.exploretheabyss.com/.../snipe_eel_hand.htm

                      6.แบบริบบิ้น (Trachipterform) เป็นรูปทรงที่มีลักษณะยาวและแบนข้างมากแบบริบบิ้น ว่ายน้ำไม่เก่ง
    การเคลื่อนไหว อาศัยกล้ามเนื้อลำตัวและครีบ ได้แก่ ปลาดาบเงิน ดาบลาว

                                                          จาก : www.burapha.net/~edd/?p=58

                      7.แบบทรงกระบอก (Cylindrical) ลำตัวเมื่อมองด้านหน้าหรือภาคตัดขวางจะเป็นวงกลมหรือเกือบกลม
                      8.แบบแบนข้าง (Compressed) ลำตัวแบนข้างเมื่อมองภาคตัดขวาง จะเห็นลำตัวด้านซ้ายและด้านขวา
    แบนเข้าหากัน ได้แก่ ปลาทั่วๆ ไป เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน

                                       จาก : http://teerapong-tongbai.exteen.com/20081126/entry

                      9.แบบแบนลง (Depressed) ลำตัวจะแบนลง เมื่อมองภาคตัดขวางจะเห็นลำตัวด้านล่างแบนเข้าหากัน
    ได้แก่ ปลากระเบน เป็นต้น 

                            จาก :http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/119/kingdon_animalia
    /Class%20Chondricthyes.htm


                      นอกจากมองดูด้านข้างหรือภาคตัดขวางของลำตัวในการดูรูปทรงแล้ว ยังมีการแบ่งรูปทรงได้อีกโดยเทียบ
    สัดส่วนระหว่างความยาวและความลึกของตัวปลา เพื่อให้เห็นภาพพจน์ได้ดียิ่งขึ้น คือ

                      10.แบบยาวเรียว (Elongate) ลำตัวยาว เมื่อเทียบความยาวมาตรฐานจะมากกว่าความลึก 4.1 เท่าขึ้นไป
     ได้แก่ปลาดาบลาว ดาบเงิน ปลาน้ำดอกไม้
                      11.แบบป้อมสั้น (Oblong) ลำตัวค่อนข้างสั้น ความยาวมาตรฐานมากกว่าความลึก 2.1 - 4 เท่า ได้แก่
    ปลาสีกุน ปลาใบขนุน ปลาโอ เป็นต้น

                   จาก : http://cybersea.pattaya.go.th/PattayaWeb/getdoc/257042c8-445e-4682-92e8-4b8bee57730a/Gorgonian-Shrimp-(23).aspx

                      12.แบบ พระจันทร์หรือรูปไข่ (Ovate) ลำตัวรูปไข่ ความยาวมาตรฐานมากกว่าความลึก 1 - 2 เท่า เช่น
    ปลาพระจันทร์ ปลาลิ้นหมาสกุล Synaptura เป็นต้น

                                           จาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=292290

                      ในการกล่าวถึงรูปทรงของปลามักจะบอกรายละเอียดลักษณะรูปทรงที่มองด้าน ข้างและภาคตัดขวาง
    ประกอบกันเพื่อให้เห็นภาพพจน์ได้ดียิ่งขึ้น เช่น เมื่อกล่าวถึงรูปร่างลักษณะของปลาสีกุนจะบอกว่าปลาสีกุนมีลำตัวค่อนข้าง
    สั้น และแบนข้าง(Oblong and Compressed) 
                       รูปทรงของปลามีแปลกออกไปอีกมากจนบางครั้งอาจคิดว่าไม่ใช่ปลาก็ได้ เช่น ปลาม้าน้ำ ปลาจิ้มฟันจระเข้
     ปลาผีเสื้อ กลางคืน เป็นต้น

          

    จาก : http://www.yimsiam.com/club/board/topicRead.asp?wbID=yselse&id=001502&page=1&order=desc
            http://gaptel.spaces.live.com/

    สิ่งปกคลุมร่างกายปลา 
             โครงสร้างและหน้าที่ของผิวหนัง
                      ผิวหนังปลาทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
    เป็นที่รวมประสาทรับความรูสึก ช่วยในการหายใจ ขับถ่ายของเสีย และควบคุมการรับและการขับน้ำออกจากตัว
    นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของต่อมเมือกต่อมสร้างสี ต่อมพิษ และต่อมเรืองแสง 
                      โครงสร้างของผิวหนังประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือผิวหนังชั้นนอกหรือหนังกำพร้า (Epidermis)
    ซึ่งเจริญมาจากเยื่อเอ็กโทเดิร์ม (Ectoderm) เป็นเซลล์หลายชั้น จำนวนชั้นขึ้นอยู่กับบริเวณและอายุของปลา ชั้นที่อยู่ลึก
    ลงไปจะเป็นชั้นที่มีชีวิตสามารถเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้ เรียกชั้นนี้ว่า สตราตัม เจอร์มินาทิวัม
    (Stratum Germinativum)    
                      ซึ่งสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์ชั้นนอกที่ตายแล้วและหลุดออกไป ในผิวหนังชั้นนี้มีต่อมเมือก
    ช่วยให้ความชุ่มชื้นและลดแรงต้านทานน้ำ ปลามีเกล็ดจะมีเมือกน้อยกว่าปลาที่ไม่มีเกล็ด นอกจากนี้ยังมีเซลล์สร้างสีอยู่ใน
    ชั้นนี้ด้วย ผิวหนังชั้นในหรือหนังแท้ (Dermis หรือ Corium) เจริญมาจากเยื่อมีโซเดิร์ม (Mesoderm) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ
    เกี่ยวพัน โดยตอนบนจะเป็นเยื่อหลวมๆ(Stratum Vasculare หรือ Spongiosum) และตอนล่างเป็นส่วนที่หนาแน่น
     (Stratum Compactum) ชั้นนี้มีเส้นเลือด เส้นประสาทอวัยวะรับความรู้สึกสัมผัส และเป็นชั้นที่ช่วยในการสร้างเกล็ด
    ส่วนประกอบอื่นๆ ของผิวหนัง ปลาที่เจริญเต็มวัยแล้วชั้นในนี้จะหนากว่าผิวหนังชั้นนอก 

    ต่อมต่างๆ ในชั้นผิวหนัง
             ในชั้นของผิวหนังมีอวัยวะที่กำเนิดมาจากเซลล์ของชั้นผิวหนัง (Dermal Derivatives) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญได้แก่
                      ก. ต่อมเมือก (Mucous Gland) อยู่ในผิวหนังชั้นนอกหรือหนังกำพร้า มีหน้าที่สร้างเมือกปกคลุมผิวหนัง 
                      ข. ต่อมพิษ (Poison Gland) อยู่ในผิวหนังชั้นนอก สร้างน้ำพิษเก็บไว้ในถุงพบมากบริเวณฐานของ
    เงี่ยง (Spine) 

                                           จาก : www.siamfishing.com/board/view.php?tid=59837

                      ค. เซลล์ให้แสงเรือง (Photophore) อยู่ในผิวหนังชั้นนอก พบในปลาบางชนิดที่สร้างแสงเรืองได้ 

                                             จาก : http://crazydeepseacreatures.wordpress.com/

                      ง. เซลล์สร้างสี (Chromatophore หรือ Pigment Cell) อยู่ในผิวหนังชั้นนอกและชั้นใน เป็นเซลล์สร้างสีต่างๆ
     เช่น สีดำ สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน เป็นต้น 
                      จ. ไอริโดฟอร์ (Iridophor) เป็นเซลล์สร้างผลึกเงินสะท้อนแสง (Guanine) มักจะอยู่ด้านท้องของปลา 
                      ฉ. เกล็ด (Scale, Plate และ Denticle) อยู่ในผิวหนังชั้นใน ถือเป็นโครงกระดูกภายนอก (Dermal Skeleton
     หรือ Exoskeleton)

    ต่อมเมือก
                      ต่อมเมือกเกิดจากการรวมกลุ่มของเซลล์ที่สร้างสารมิวซิน (Mucin) พบที่ผิวหนังชั้นนอก
    ประโยชน์ของเมือกคือ 
                      1. ลดแรงเสียดทานในการว่ายน้ำ 
                      2. ป้องกันการเกาะของแบคทีเรียและตัวเบียน 
                      3. ใช้ในการสร้างรังวางไข่ พบในปลากัด กระดี่ สลิด 
                      4. ใช้เมือกผสมโคลนเป็นเกราะป้องกันตัว ฝังอยู่ในโคลนในฤดูน้ำแห้งในปลาบางชนิด

    ต่อมพิษ
                      พบในปลาหลายชนิด มีกำเนิดมาจากผิวหนัง จัดเป็นพวกเดียวกับต่อมเมือก ต่อมเหล่านี้ขับพิษที่เรียกว่า
    อิ๊กทิโอท็อกซิน(Ichthyotoxin) เมื่อเงี่ยงตำหรือแทงทำให้เกิดความเจ็บปวดถึงตายได้ การศึกษาเกี่ยวกับพิษและสารที่
    ปลาสร้างขึ้นมาเรียกว่า Ichthyotoxism รวมถึงพิษที่เกิดจากการบริโภคปลาที่เป็นพิษและการถูกเงี่ยงตำ 
                      การบริโภคปลาแล้วเกิดพิษนั้นเนื่องจากพิษที่แฝงอยู่ในเนื้อ ผิวหนัง เมือก และอวัยวะภายใน พิษแบบนี้
    ไม่ได้เกิดจากต่อมพิษ สำหรับพิษที่เกิดจากต่อมพิษนั้นจะเกิดจากการถูกเงี่ยงตำและปล่อยสารพิษเข้า สู่ร่างกาย
    โดยสารพิษจะถูกสร้างขึ้นในต่อมที่อยู่ใกล้ฐานของเงี่ยง ลักษณะของพิษจะมีผลต่อระบบประสาทและเส้นเลือดเช่นเดียวกับ
    พิษของงู เมื่อถูกแทงหรือตำพิษจะไหลมาตามร่องภายในเงี่ยงเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล

    ตัวอย่างของปลาที่มีต่อมพิษ ได้แก่ 
                      1.ปลากระเบน วงศ์ดาซิอาทิดี (Dasyatidae) และไมลิโอบาทิดี (Myliobatidae) เช่น สกุลดาซิอาทีส
     (Dasyatis)
    ไมลิโอบาทีส (Myliobatis) พวกนี้มีเงี่ยงขนาดใหญ่อยู่ที่โคนหาง (Caudal Spine) ต่อมพิษอยู่ใต้ผิวหนัง
    น้ำพิษมีสีเทาซีดๆหรือใส มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6 มีพิษรุนแรงมาก

                                        จาก : http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5313078.stm


                      2. ปลาฉลามพวกสไปนีด็อกฟิช (Spiny Dogfish) จะมีต่อมพิษที่เงี่ยงของครีบหลัง

                             จาก : http://www.elasmodiver.com/Spectacular%20Spiny%20Dogfish.htm

                      3. พวกปลาดุก ปลากดทุกชนิดจะมีต่อมพิษใกล้ฐานของเงี่ยงที่ครีบหลังและครีบอก
                      4. ปลาขี้ตังเบ็ด มีหนามแหลมตรงคอดหาง มีต่อมพิษภายในเยื่อหุ้ม
                      5. ปลาสลิดหินวงศ์ ซิกะนิดี (Siganidae) มีต่อมพิษที่เงี่ยงของครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้อง
                      6. ปลามังกร ปลากะรังหัวโขน ปลาหินในวงศ์ สคอร์พีนิดี (Scorpaenidae) เป็นวงศ์ที่มีพิษร้ายแรงมาก
    อาจทำให้ถึงชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว มีต่อมพิษในทุกเงี่ยงที่พบในตัวปลา
                      7. ปลาคางคก ปลากบ ในวงศ์บาทราซอยดิดี (Batrachoididae) จะมีต่อมพิษที่โคนเงี่ยงของครีบหลัง
    และหนามแหลมตรงกระดูกปิดเหงือก

                                                 จาก : www.siamensis.org/oldboard/3939.html

                      8. ปลากระต่าย มีต่อมพิษที่โคนเงี่ยงของครีบหลัง



    จาก :
    www.krunok.net/index2.php/?page_id=726

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×