ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเรียนวิชาศาสตราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #8 : ห้องเรียนที่4 : วิชาว่าด้วยเรื่องของทวนและหอก

    • อัปเดตล่าสุด 16 ต.ค. 52


            ทวน
             ทวน คือ อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก

    ทวน เป็นอาวุธอีกชนิดหนึ่งที่ใกล้เคียงกับหอก แต่ต่างกันตรงที่ทวนเป็นอาวุธที่ใช้แทงโดยเฉพาะ และมีความยาวกว่าหอก โดยทวนจะใช้บนหลังม้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ความเร็วของม้าเพิ่มความแรงในการแทง (เกราะยังทะลุ) เพราะทวนหากใช้บนพื้นมันจะเก้งกางเอาการอยู่ และมันคงไม่สะดวกนักถ้าต้องมาเจอกับการเข้าประชิดตัวของอาวุธแบบอื่นอย่าง ดาบเป็นต้น

           หอก
           หอกเป็นอาวุธ ชนิดหนึ่ง ถูกใช้มานานมากในหลายที่ในโลก

           หอกในยุคโบราณ

    ในยุคแรกๆจะพบหอกเป็นเพียงไม้แหลมๆในยุคต่อๆมานั้นเราจะพบหอกส่วนมากเป็น หินปลายแหลมนำมาผูกติดกับท่อนไม้ ซึ่งจะพบในยุคหินเก่า ในขณะที่ในยุคหินใหม่นั้นจะมีการเหลาปลายหอกให้แหลมขึ้น ใช้ในการล่าสัตว์ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่

    หอกในช่วงสงครามมีหลายแบบ และใช้กันมากอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับทวนแต่หอกจะมีความยาวด้ามจับสั้นกว่า และใช้ต่อสู้กันบนภาคพื้นดิน หอกนั้นมีหลายแบบ เช่น หัวหอกแบบกางเขน หัวหอกแบบ L

    หัวหอกแบบกางเขน เรียกกันแบบสั้นๆ ว่า หอกกางเขน มีลักษณะหัวหอกคล้ายสัญลักษณ์กางเขน เป็นอาวุธที่มีอณุภาพสูงกว่าหัวหอกแบบธรรมดามาก ทำให้มีประโยชน์มากในการรบ เพราะจุดเสียเปรียบของอาวุธประเภทหอกก็คือ หากใช้การโจมตีโดยการแทง จะสร้างบาดแผลกับคู่ต่อสู้ได้น้อยมาก หรือเพียงคู่ต่อสู้ปัดเบี่ยงการโจมตีได้เพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถทำอันตราย ใดๆได้แล้ว จึงมีการพัฒนาหัวหอกแบบใหม่โดยการทำหัวหอกให้เป็นรูปสัญลักษณ์กางเขน ซึ่งทำให้สามารถสร้างบาดแผลหรือความเสียหายได้มาก เพราะส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามานั้นมีความคมพอๆกับมีด ทำให้สามารถแทงและสร้างบาดแผลได้มากมาย เช่นการแทงโดยใช้หอก การแทงโดยใช้คมหอกกางเขน(ส่วนที่เพิ่มเข้ามา) หรือแม้แต่การใช้คมหอกกางเขนเชือดเฉือนศัตรู รับคมดาบของศัตรู เป็นต้น

    ส่วนหัวหอกแบบ L มีลักษณะใกล้เคียงกับหอกกางเขน เพียงแต่ตัดส่วนคมด้านหนึ่งออกเท่านั้น แต่ส่วนเรื่องการใช้งานนั้นก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก

    ลงนาม

    ศาสตราจารย์ ไซเลนซ์ เดียโวโล ไครซินฟอรดส์
    วิชาศาสตราศาสตร์


    * 16 ต.ค. 2009 *

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×