ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    งานส่งครู

    ลำดับตอนที่ #37 : บอร์ดหลังห้อง(อีกละหรอ…)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 25
      0
      8 มิ.ย. 62

    หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล เป็นพระธิดาองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กับหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ( สกุลเดิม สุจริตกุล ) ประสูติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ณ วังสะพานถ่าน ( ปัจจุบัน เป็น ตลาดบำเพ็ญบุญ ) ได้รับพระราชทานพระนาม "พิจิตรจิราภา" จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เมื่อทรงพระเยาว์  สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาหนังสือไทย จนเมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยขึ้น พระบิดาจึงส่งไปศึกษา จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 5 แต่ยังไม่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 ก็ต้องทรงลาออก เพราะสมัยนั้นไม่นิยมให้กุลสตรีเรียนในชั้นสูง แต่ทรงมีอุตสาหะ ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเสมอ จึงทรงมีความรู้แตกฉานทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ภายหลังสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ โปรดฯ ให้เป็นผู้ถวายพระอักษรแก่พระราชธิดา ตลอดจนพระญาติในสำนักของพระองค์

    ในปี พ.ศ. 2450 ภายหลังการจัดตั้งโรงเรียนราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดฯให้ท่านรับหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2450 และต่อมาเมื่อมีตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนขึ้น ก็ได้ทรงรับตำแหน่งนี้ด้วย ซึ่งได้ทรงดำรงตำแหน่งทั้งสองนี้มาตลอดจนสิ้นชีพิตักษัย

    หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล โปรดที่จะสอนประจำชั้นเองบ้างในบางวิชา เช่น ภาษาอังกฤษ และการเรือน ในบางคราวถึงกับเสด็จไปประทับประจำในโรงเรียน เพื่อที่จะทรงทำหน้าที่"ครู"ได้อย่างเต็มที่ ได้ทรงสั่งสอนนักเรียนหญิงหลายคนด้วยพระวิริยะอุตสาหะ จนเป็นกำลังสร้างนักเรียนให้สามารถเรียนจนจบและไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ

    ต่อมาเมื่อ สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงจัดตั้งโรงเรียนราชินีบน ก็ได้ทรงรับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และผู้จัดการโรงเรียนจนถึง พ.ศ. 2480 

    ทรงมีพระอัจฉริยะภาพ และก้าวหน้า ได้ทรงจัดตั้งสมาคมนักเรียนเก่าราชินีขึ้น โดยมีพระประสงค์ ให้เป็นที่ประสานสามัคคีของนักเรียนทุกรุ่น นับว่าเป็นสมาคมนักเรียนเก่าแห่งแรก ของไทยด้วย

    พระปรีชาสามารถของพระองค์อีกสิ่งที่สำคัญคือด้านกวีนิพนธ์  โดยได้ทรงพระนิพนธ์ กาพย์ กลอน ไว้มากมาย ทั้งที่เป็นบทดอกสร้อย บทเพลง บทละครตลอดจนคำอวยพรที่ประทานให้นักเรียนอีกมาก พระนิพนธ์ที่สำคัญชิ้นหนึ่ง คือ พระนิพนธ์ " เรื่องการศึกษาของโรงเรียนผู้หญิง " ลงพิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ

    นอกจากนี้ ยังได้ทรงริเริ่มให้มีการออกหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน ชื่อ "สตรีพจน์" ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2456 เพื่อให้นักเรียนหญิง มีความชำนาญในการเขียน ทั้งร้อยแก้วร้อยกรอง และฝึกฝนให้รักการอ่าน ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "ราชินีบำรุง" หนังสือพิมพ์นี้ได้ทรงประทานบทความลงแทบจะทุกฉบับ โดยมีพระนามแฝงว่า " พ.จ." และ " คนครึ " และคงออกเรื่อยมาจนสงครามโลกครั้งที่ 2 

    หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่  19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ด้วยอาการหทัยวายเฉียบพลัน ณ บ้านตากอากาศของคุณหญิงสวาท โทณวณิกมนตรี อำเภอบางแสน จังหวัดชลบุรี สิริชันษา 62 ปี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×