ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    งานส่งครู

    ลำดับตอนที่ #14 : มรดกโลกในอาเซียน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 81
      5
      14 ส.ค. 61

    แหล่งมรดกโลกในอาเซียน

       1.อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปูเวร์โดปรินเซซา - ฟิลิปปินส์
       ณ ที่นี้ถือเป็นแม่น้ำใต้ดินที่มีความยาวที่สุดในโลก (ประมาณ 8.2 กิโลเมตร) ลอดผ่านถ้ำหินปูนของทิวเขาเซนต์พอล ที่มีอายุกำเนิดมานานกว่า 20 ล้านปี ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ โดยในภายในถ้ำจะประกอบด้วยหินงอกหินย้อยต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้พบเห็น เช่น หัวสิงโต, เห็ด, เทียนไขเล่มยักษ์ หรือพระแม่มารี ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของการเข้าชม การเข้าชมต้องใช้วิธีการล่องเรือพายเข้าไป และใช้ไฟฉายส่อง เพราะภายในถ้ำไม่มีการติดตั้งไฟอย่างถาวร เป็นอุทยานแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 1992 และได้รับการจัดเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในปี ค.ศ. 1999

       2.กลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู - พม่า
       ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งกลุ่มเมืองโบราณอาณาจักรพยู จะรวมไปถึงพื้นที่ของเมืองโบราณศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ที่สร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 4 ถือเป็นมรดกโลกแห่งแรกที่อยู่ในพม่า

       3.ปราสาทพระวิหาร - กัมพูชา
       ปราสาทพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท (ดู คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา[5]

       4.เมืองหลวงพระบาง - ลาว
       หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม

       5.อุทยานกีนาบาลู - มาเลเซีย
       เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ๆ ในมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 และเป็นสถานที่แห่งแรกในมาเลเซียที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 เนื่องจากถือว่าเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
       ภายในอุทยานเป็นแหล่งที่อยู่ของพันธุ์พืชและสัตว์หลากหลายชนิด โดยแบ่งเขตแหล่งที่อยู่ออกตามสภาพทางภูมิศาสตร์ออกได้เป็น 4 เขต ได้แก่ ป่า lowland dipterocarp ป่าสนเขา ทุ่งหญ้าบนที่สูง และพุ่มไม้บนยอดเขา บริเวณภูเขาเป็นแหล่งที่พบกล้วยไม้และพืชกินแมลงหลายสายพันธุ์ ที่มีชื่อเสียงคือสายพันธุ์ Nepenthes rajah และยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ประจำถิ่นอีกมากมาย เช่น ปลิงแดงยักษ์กีนาบาลู ไส้เดือนยักษ์กีนาบาลู นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้ากีนาบาลู

       6.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทิวเขาฮามีกีตัน - ฟิลิปปินส์
       เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียน "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทิวเขาฮามีกีตัน" เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้[2][3

       7.กลุ่มวัดบรมพุทโธ - อินโดนีเซีย
    บูโรบูดูร์ หรือ กลุ่มวัดบุโรพุทโธ  (Borobudur Temple Compounds) คือ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน เป็นสถานที่สำคัญและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอินโดนีเซีย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ประมาณปี พ.ศ. 1293-1393 ในช่วงรัชสมัยของราชวงศ์เลนทราแห่งชวา สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของชนชาวศรีวิชัย ประติมากรรมแต่ละชิ้นได้รับการจัดวางอย่างงดงามลงตัวและมีความหมายอันมีนัยถึงธรรม ธรรมชาติ หรือจักรวาล โบโรบูดูร์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดบรมพุทโธ" เมื่อปี พ.ศ. 2534

       8.เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร - ไทย
       เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร เป็น 1 ใน 3 แหล่งมรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทย ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย หลังผ่านเกณฑ์ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก โดยเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปีพ.ศ.2534

       9.สวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ - สิงคโปร์
       สวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ เป็นมรดกโลกแห่งแรกของสิงคโปร์ และเป็นสวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกในทวีปเอเชียและเป็นแห่งที่ 3 ของโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ต่อจากสวนพฤกษศาสตร์แพดัว (Orto Botanico di Padova) ในประเทศอิตาลี และ Royal Botanic Gardens ในเขตคีว (Kew) ของประเทศอังกฤษ โดยสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ เป็นสวนสไตล์อังกฤษเพียงแห่งเดียวในโซนภูมิประเทศเขตร้อนและตั้งอยู่กลางใจเมืองของประเทศสิงคโปร์ ด้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 39 ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2558 

       10.อ่าวหะล็อง - เวียดนาม
       นอ่าวหะล็องมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าวคือ ถ้ำเสาไม้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×