ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทความคณิตศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #98 : เอกนาม และ พหุนาม

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.59K
      6
      28 ส.ค. 52

    นิยามคือเอกนามหรือผลบวกของเอกนามตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไปโดยถือเอาดีกรีที่สูงที่สุดของเอกนามใน
    พหุนามชุดนั้น ๆ เป็นดีกรีของพหุนาม


    เอกนามคือจำนวนที่เขียนในรูปการคูณของค่าคงที่กับตัวแปรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป โดยที่เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก


    จำนวนที่เป็นเอกนาม เช่น 5X3Y , 3-2AB , ab2c3 , 7

    จำนวนที่ไม่ใช่เอกนาม เช่น 4X-3Y , n + 6 , 2a/3b

    ดังนั้น เอกนามมี 2 ส่วน มี 1.ค่าคงที่ เรียกว่า สัมประสิทธิ์ของเอกนาม 2.ส่วนที่อยู่ในรูปการคูณของตัวแปร โดยเลขชี้กำลังของตัวแปร แต่ละตัวเป็นศูนย์ หรือจำนวนเต็มบวกเรียกผลบวกของเลขชี้กำลัง ของตัวแปรทั้งหมดในเอกนามว่า ดีกรีของเอกนาม เช่น ดีกรี คือ 10 ( เลขชี้กำลังของ X คือ 5, Y คือ 4 , Z คือ 1 ) และสัมประสิทธิ์คือ 29

    แต่เอกนาม 0 จะบอกได้ไม่แน่นอน เนื่องจาก 0 = 0Xn โดยที่ X ไม่เท่ากับศูนย์ และ n เป็นจำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ ดังนั้น ไม่กล่าวถึงดีกรีของ 0

    เอกนามคล้าย คือ เอกนามตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป ที่ตัวแปรเหมือนกัน และเลขชี้กำลังของตัวแปรทุกตัวเท่ากัน

    การบวกและการลบเอกนาม
    เอกนามที่จะนำมาบวกหรือลบกันจะต้องเป็นเอกนามคล้าย และจะนำเฉพาะสัมประสิทธิ์เท่านั้นมาบวกหรือลบกัน

    เอกนามที่คล้ายกันสามารถนำมาบวกลบกันได้โดยสมบัติแจกแจง ดังนี้

    ผลบวกของเอกนามคล้ายเท่ากับ (ผลบวกของสัมประสิทธิ์)ตัวแปรชุดเดิม

    ผลลบของเอกนามคล้ายเท่ากับ (ผลลบของสัมประสิทธิ์)ตัวแปรชุดเดิม

    การคูณหรือการหารเอกนาม
    การคูณหรือการหารเอกนาม ใช้หลักการเดียวกันกับการคูณหรือการหารเลขยกกำลัง



    กล้วยนั้นหากมีชิ้นเดียวเราเรียกว่าผล หากมีหลายผลก็เรียกว่าหวี เช่นเดียวกับ เอกนามด้วย 1 เอกนาม(ต่อไปนี้ของเรียกว่าพจน์) เรียกว่าเอกนาม หากหลายเอกนาม(พจน์)ก็เรียกว่าพหุนามนั่นเอง เช่น


    จะเห็นไดว่าพหุนามเกิดจากผลบวกหรือลบของเอกนามไม่คล้า(หากคล้ายจะเป็นเอกนามชัวร์ๆ)

    ดังนั้น เอกนามก็คือพหุนาม

    ใน 1 พหุนามจะมีพจน์คล้ายๆ กัน เรียกว่าพจน์คล้านโดยนับที่จำนวนพจน์ หากเป็นวงเล็บก็นับเป็น 1 พจน์ โดยต้องอยู่ในรูปบวกและลบกันเท่านั้น เราเรียกพหุนามที่ไมีมีพจน์คล้ายว่า พหุนามในรูปผลสำเร็จ และถือว่าดีกรีสูงสุดของพจน์ในพหุนามถือว่าเป็น ดีกรีของพหุนาม ส่วนมากแล้วนิยมเรียงดีกรีจากมากไปหาน้อยและไม่นิยมให้ติดลบ

    การคูณพหุนาม
    1. การคูณเอกนามกับเอกนาม สามารถทำได้โดยใช้หลักเดียวกับการคูณเลขยกกำลัง เช่น (3x2y)(7xy) , (5xy2)(-2xyz)

    2. การคูณเอกนามกับพหุนาม สามารถทำได้โดยการใช้คุณสมบัติการกระจาย
    3.การคูณพหุนามด้วยพหุนามสามารถทำได้โดยการคูณทุกๆพจน์ของพหุนามหนึ่งด้วยทุกพจน์ของอีกพหุนามหนึ่ง แล้วนำผลคูณที่ได้มารวมกัน
    รูปการคูณพหุนามที่สำคัญ

    1. (หน้า + หน้า)2 = (หน้า)2 + 2(หน้า) * (หลัง) + (หลัง)2
    2. (หน้า + หลัง)2 = (หน้า)2 – 2(หน้า) * (หลัง) + (หลัง)2

    3. (หน้า + หลัง)3 = (หน้า)3 + 3(หน้า)2 (หลัง) + 3(หน้า) * (หลัง)2 + (หลัง)3
    4. (หน้า – หลัง)3 = (หน้า)3 – 3(หน้า)2 (หลัง) + 3(หน้า) * (หลัง)2 – (หลัง)3
    5. (หน้า + กลาง + หลัง)2 = (หน้า)2 + (กลาง)2 + (หลัง)2 + 2(หน้า) * (กลาง) +2(หน้า) * (หลัง) + 2(กลาง) * (หลัง)

    การหารพหุนาม
    1. การหารพหุนามด้วยเอกนาม สามารถทำได้โดยการใช้หลักการหารเลขยกกำลัง
    1.1การหารพหุนามด้วยพหุนาม มีหลายวิธีดังนี้

    วิธีที่ 1 วิธีตั้งหาร มีหลักดังนี้
    1.เรียงกำลังของพหุนามทั้งตัวตั้งและตัวหารจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก       2.นำพจน์แรกของตัวหารไปหารพจน์แรกของตัวตั้ง
    3.นำผลลัพธ์จากข้อ 2 ไปคูณตัวหาร ได้เท่าไรเอาไปลบออกจากตัวตั้ง
    4.นำพจน์แรกของตัวตั้งไปหารพจน์แรกของผลลัพธ์ที่ได้ในข้อ3       
    5.นำผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ4ไปคูณตัวหารแล้วนำไปลบออกจากผลลัพธ์ที่ได้ในข้อ3
    ทำกระบวนเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่สามารถหาผลหารที่เป็นเอกนามได้จึงจะถือว่าการหาร
    เสร็จสิ้นแล้ว

    วิธีที่ 2 วิธีหารแบบสังเคราะห               2.นำสัมประสิทธิ์ของตัวตั้งเขียนเรียงตามกำลัง

    ทำตัวหารเท่ากับศูนย์ หาค่า x

           3. ดึงสัมประสิทธิ์ตัวแรกของตัวตั้งที่เรียงไว้ในข้อ2ลงมา

           4.นำค่า x จากข้อ 3 ไปคูณข้อ 4 นำผลลัพธ์ที่ได้ใส่ให้ตรงกับสัมประสิทธิ์ตัวถัดไป

    5. นำค่า x จากข้อ 3 ไปคูณผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ 5 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ใส่ให้ตรงกับสัมประสิทธิ์ตัวถัดไป แล้วรวมค่าทั้งสองเข้าด้วยกัน

    6. ทำกระบวนการเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อย ๆ ตัวเลขตัวสุดท้ายที่ได้คือ เศษของการหาร และตัวเลขก่อนหน้านี้คือ สัมประสิทธิ์ของผลลัพธ์

    การหาเศษของการหารพหุนาม P(x) ด้วย x – a มีขั้นตอนดังนี้

    1. นำตัวหาร X – a = 0 แก้สมการหาค่า x
    2. นำค่า x = a จากข้อ 1 แทนใน P(x) ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เศษของการหาร

    ทำแบบทดสอบเรื่องพหุนาม (click)

    http://ecurriculum.mv.ac.th/math/m1/basic/unit6/202/test.html

    http://www.mc41.com/quickmath2/q_math53.htm


    img3[2].gif (5196 bytes)


    http://www.geocities.com/pong_s3/m3.html
    http://ecurriculum.mv.ac.th/math/m1/basic/unit6/202/math4.htm

    พหุนาม

    เอกนาม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×