ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บทความคณิตศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #78 : เชื่อหรือไม่...ปัจจุบันเด็กไทยโง่ลง !!! โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 488
      0
      1 ส.ค. 52

    เชื่อหรือไม่...ปัจจุบันเด็กไทยโง่ลง !!! โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์

         ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยการศึกษาก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนไทยทุกคน ใครที่ได้รับการศึกษา ก็จะมีโอกาส ที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  เป็นที่ยอมรับ และ  ชื่นชมของคนในสังคม ยิ่งมีโอกาส ได้ร่ำเรียนระดับสูงเท่าไรก็จะเป็น ที่ยินดีของครอบครัวและ  สังคมรอบข้างแต่ก็ยังมีอีกหลายคน ที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือซึ่งก็มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งฐานะทางครอบครัว ไม่ได้รับโอกาสที่คนอื่นหยิบยื่นให้ สิ่งแวดล้อมต่างๆในสังคม และอีกหลายๆ ปัจจัยทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ก็ได้มีการสำรวจและประเมินผลการเรียนของเด็กๆซึ่งก็ทำให้รู้ว่าเด็กไทยเรียนอ่อนลงแทบทุกวิชาด้านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( กพฐ.)  ดร.สมเกียรติ ชอบผล  เปิดเผยใน เรื่องนี้ว่า  จากการที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)   ดำเนินกาประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับชาติหรือ National Test (NT)  ชั้น ป.6 และ ม.3 ประจำปีการศึกษา 2549 โดยทำการสุ่มสอบ นักเรียนจากทุกโรงเรียนและ ทุกสังกัดทั่วประเทศ ใน  ส่วนของชั้น ป.6  มีนักเรียนเข้าสอบ  447,248 คน จากเด็กทั้งหมด กว่า  900,000 คน และ ม.3 จำนวน  196,436 คนจากเด็ก 700,000 คนนั้น สพฐ. ได้สรุปค่าสถิติภาพรวมระดับประเทศ 

     
     

     ชั้น ป.6    

     

     ชั้น ม.3 

    วิชา

    คะแนน(ค่าเฉลี่ย)

    ร้อยละ 

    วิชา

    คะแนน(ค่าเฉลี่ย)

    ร้อยละ 

    ภาษาไทย 

    17.10

    42.74

     ภาษาไทย 

    17.58

    43.94

    คณิตศาสตร์ 

    15.55

    38.86

     คณิตศาสตร์ 

    12.46

    31.15

    วิทยาศาสตร์ 

    17.27

    43.17

     วิทยาศาสตร์ 

    15.74

    39.34

    ภาษาอังกฤษ

    13.81

    34.51

    ภาษาอังกฤษ

    16.67

    41.68

           
    โดยส่วนใหญ่กว่าครึ่งมีคะแนนระหว่าง  11-20  คะแนน       

         
          ดร.สมเกียรติ กล่าวต่ออีกว่า ยอมรับว่าเมื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน ปี 2546   ปี 2547 และ  ปี 2549
    พบว่า  ค่าเฉลี่ยลดลง สาเหตุ ที่ทำให้คะแนนค่าเฉลี่ยลดลงในเกือบทุกรายวิชา ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ อาจเป็นเพราะ การสุ่มสอบในปีการศึกษา 2549 แตกต่างจาก  ปีที่ผ่านมาที่ให้เขตพื้นที่เป็นผู้สุ่มเลือกโรงเรียน แต่ในปีนี้ สพฐ. สุ่มสอบทุกโรงเรียน และโรงเรียนส่วนใหญ่กว่าร้อย ละ 46 เป็นโรง  เรียนขนาดเล็ก ประกอบกับมีเด็กพิเศษที่มาเรียนร่วมเข้าสอบกับเด็กปกติด้วย  ส่วนที่คะแนนวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่ม ขึ้นนั้นอาจเป็นเพราะเด็กทำข้อสอบคิดวิเคราะห์ได้ดีขึ้น   
          ซึ่งจากการนำผล NT ของปี 2549 มาเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2546 และ 2547 พบว่า ชั้น ป.6 ค่าเฉลี่ยลดลงเกือบทุกวิชา มีเพียงวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนชั้น ม.3 วิชาที่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปี 2547 คือ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ ส่วนคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมลดลง
          ในที่ประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้หารือถึงผลประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติหรือ  National Test (NT) ประจำปีการศึกษา 2549 ที่ สพฐ.ได้สุ่มทดสอบนักเรียน ชั้น ป.6 และ ม.3 ในทุกสังกัดซึ่งในภาพรวมพบว่าเด็กชั้น ป.6 ทำคะแนนค่าเฉลี่ยได้ลดลงเกือบทุกรายวิชา ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นจากการสอบ NT เมื่อปีการศึกษา 2547 ส่วนชั้น ม.3 ก็ทำคะแนนค่าเฉลี่ยได้ลดลงในเกือบทุกรายวิชาเช่นกัน ยกเว้นวิชาภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ โดยการพิจารณาในเบื้องต้นแล้วเห็นว่าค่าคะแนนเฉลี่ยที่เด็กทำได้ลดลงน่าจะมีสาเหตุมาจากหลายส่วนทั้งขนาดของโรงเรียน,  พื้นที่ , เวลาเรียน, คุณภาพสื่อ, คุณภาพครูผู้สอน,  การจัดสอบ ตลอดจนความพร้อมของเด็ก
     อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มอบหมายให้  สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) ทำการวิจัยให้ชัดเจนว่าในแต่ละรายวิชา  มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อคุณภาพการ
      ศึกษาของเด็กจากนั้นให้นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุง พัฒนาและยกระดับโรงเรียนในกลุ่มตัวอย่าง เพื่อพิสูจน์ว่าหากแก้ไขใน จุดต่างๆ แล้ว คุณภาพการศึกษาของเด็กจะดีขึ้นจริงหรือไม่ แล้วจึงค่อยขยายผลต่อไป 
           เมื่อวิเคราะห์ในเชิงลึกพบว่า บางวิชาเด็กทำคะแนนต่ำสุดได้ 0 คะแนนบ้าง 1 คะแนน หรือ 2 คะแนนบ้าง ซึ่งจากการตรวจสอบ ก็พบว่า ที่เด็กได้คะแนนต่ำ เพราะไม่ตั้งใจสอบ  ส่วนที่ได้ 0 เพราะเด็กไม่เข้าสอบ หรือเป็นเด็กพิเศษที่มาเรียนร่วม อีกทั้งผลการสอบ NT  ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการเข้าเรียนต่อ  อย่างไรก็ตาม ได้มีเสียงเรียกร้องจากผู้ปกครองว่า อยากให้มีการสอบ NT เด็กชั้น ป.6 ทุกคน และให้มีผลในการนำไปศึกษาต่อชั้น ม.1ซึ่งตนจะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในการประชุมของ  สพฐ.ต่อไป รวมทั้งจะส่งผลคะแนนรายเขตพื้นที่ฯ  ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.)  เพื่อให้จำแนกออกเป็นรายโรงเรียน เพื่อนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดี ขึ้นด้วย
          ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้เด็กนักเรียน แต่ละโรงเรียนมีผลประเมินทางการศึกษาของวิชาพื้นฐานต่างๆ ออกมามีค่าเฉลี่ยต่ำลงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้หลายๆ มองว่าการศึกษาของเด็กไทยด้อยลง บางคน ถึงกับมองว่า “เด็กไทยโง่ลง” ทำให้หลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยว ข้องต้องหันมาดูแลเอาใจใส่ในเรื่องนี้อย่างเข้มงวดมากขึ้น เพราะเด็กๆ เหล่านี้ จะต้องเป็นกำลังสำคัญของประเทศ3ชาติในอนาคตต่อไป

     

    บทความนี้มาจาก .:: Uchallengeclub ::.
    http://www.uchallengeclub.com

    (เมื่อ อังคาร มิถุนายน 2550)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×