Ep. 29 คนที่ฆ่าฉัน - นิยาย Ep. 29 คนที่ฆ่าฉัน : Dek-D.com - Writer
×

    Ep. 29 คนที่ฆ่าฉัน

    " จิตวิทยาสี" หรือ Color Psychology เป็นสิ่งเร้าทำให้เกิดการตอบสนอง ก่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ผู้หญิงมีความรู้สึกต่อสีมากกว่าผู้ชาย สียังถูกใช้เพื่อการบำบัดร่างกาย จิตใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์

    ผู้เข้าชมรวม

    141

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    14

    ผู้เข้าชมรวม


    141

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    หมวด :  รักสีเทา
    จำนวนตอน :  4 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  13 ก.ค. 67 / 09:01 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    Ep. 29 > 0 สีขาว


    สี และการสื่อความหมาย อาจดูเหมือนเรื่องไร้หลักการ แต่ Andrew Elliot และ Markus Maier นักวิจัยกล่าวในการทบทวนงานวิจัยเชิงทฤษฎี และเชิงประจักษ์ เรื่อง ‘Color and psychological functioning’ 2558 ว่า ความรู้สึกของมนุษย์ กับสีมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แม้จะยังหาข้อสรุปไม่ได้ 100% แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ศิลปะ การออกแบบ และอื่นๆ กลับให้ความสนใจเรื่องของความหมายของแต่ละสีมาก เพราะสี กับความรู้สึกของมนุษย์มีความเกี่ยวข้อง เช่น ไฟถนนสีฟ้าลดโอกาสเกิดอาชญากรรมได้มากกว่า

    [1] ความหมายของสี – แต่ละสีมีความหมายและผลเชิงจิตวิทยา


    จิตวิทยาสี (Color Psychology) มีผลต่อการรับรู้ทางจิตใจของมนุษย์ สีกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการตลาด ซึ่งหากเลือกสีที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้การสื่อสารทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสินค้า ผลิตภัณฑ์ อาคารสถานที่ สื่อ ไปจนถึงใช้เพื่อการบำบัดร่างกายและจิตใจ

    [2]จิตวิทยาของสี (Color Psychology) ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรบ้าง?


    “สี” ส่งผลต่อการรับรู้ของมนุษย์ ไม่ว่าจะด้านความรู้สึก หรือความหมายที่ซ่อนอยู่ เป็นสิ่งเร้าทำให้เกิดการตอบสนอง กระบวนการของสิ่งเร้านี้ มีอิทธิพลต่อระบบประสาทของมนุษย์ สามารถเปลี่ยนอารมณ์ นิสัยใจคอ ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์


    “สีขาว” เป็นสีที่สว่าง นุ่มนวล ให้ความรู้สึกในทางบวก ในทางทฤษฎีไม่จัดว่าเป็นสี แต่ยังมีอิทธิพลต่อสภาวะอารมณ์ สัญลักษณ์ของความสะอาด ความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา และสันติภาพ บางครั้งก็อาจจะหมายถึง การยอมแพ้ การสงบศึก เป็นสีในอุดมคติที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ และข้อโต้แย้งใด ๆ

    [3] สีในแง่จิตวิทยา – Psychological aspects of color


    อายุ 18-35 ปี วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เพราะความรับผิดชอบมีการจำกัด ชีวิตล้วนมีแต่ความสนุกสนานรื่นรมย์ แม้จะเริ่มมีภาระความรับผิดชอบ แต่ก็ยังไม่มากเท่ากับภาระของวัยกลางคน ที่สำคัญคือช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่มีความใฝ่ฝันทะเยอทะยาน และมุ่งมั่นในการสร้างจุดมุ่งหมายให้กับชีวิตของตนเอง

    อายุ 18-23 ปี ช่วง 5 ปีแรก ถือเป็นระยะเริ่มแรกที่มนุษย์เริ่มมองหาอาชีพการงานของตนในอนาคต แสวงหารูปแบบของตนเองในแง่มุมต่าง ๆ เช่น เรื่องของค่านิยม (value) หน้าที่ ภาพพจน์

    อายุ 24-34 ปี เป็นการเริ่มต้นงานอาชีพอย่างแท้จริง เริ่มต้นชีวิตแต่งงาน และเริ่มต้นการเป็นพ่อแม่ สร้างฐานะครอบครัวต่อไป

    อายุ 30 ปีจะเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ และพร้อมจะรับภาระต่าง ๆ

    อายุ 35-45 ปี เข้ารักษาในโรงพยาบาลทางจิตเวชมากที่สุด หลายคนล้มเหลวไม่พอใจจากชีวิตครอบครัว การงาน ส่วนหนึ่งของปัญหาการปรับตัวนี้มาจากการเปลี่ยนแปลงของครอบครัว เช่น ลูกโตและเริ่มแยกออกไป กำลังต้องออกจากงาน  “ฉันน่าจะเป็นคนกลุ่มนี้”

    อายุ 60 ปี โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ข้ออักเสบ โรคหัวใจ ปัญหาทางเพศ ปัญหาการหมดประจำเดือนในผู้หญิง การสูญเสียความสามารถในเรื่องของการทำงาน การใช้ความคิด (cognitive skills) ความสามารถที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ก็ลดลง

    [4] วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว (young adult)


    “ความรุนแรง” หลายคนอาจจะนึกถึงเพียงความรุนแรงที่ปรากฏให้เห็นร่างกายเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีการทำร้ายอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า “การทำร้ายทางจิตใจ หรือ การล่วงละเมิดทางอารมณ์” (Emotional Abuse / Psychological Abuse) เป็นความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกความสัมพันธ์ บาดแผลจากการถูกทำร้ายทางจิตใจที่ฝังลึก และใช้เวลาดูแลรักษายาวนานกว่าบาดแผลภายนอก

    “การทำร้ายทางจิตใจ หรือ การล่วงละเมิดทางอารมณ์” ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ขายหน้า เสียศักดิ์ศรี ลดทอนคุณค่า ทอดทิ้ง โดดเดี่ยว กลั่นแกล้ง บงการ ไม่ให้ความรัก การดูแลที่ไม่เหมาะสม การเปรียบเทียบ ประชด ดุด่าหยาบคาย ตะโกน ตะคอก ปิดปาก ทำให้กลัว ทำให้ผู้ถูกกระทำอ่อนแอ รู้สึกไร้ความสามารถ

    เป้าหมายของการทำร้ายจิตใจคือ ต้องการ "ควบคุมผู้อื่น" แสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมี "อำนาจเหนือกว่า" เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ควรหนีออกมาให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะเกิดบาดแผลในจิตใจ พบได้บ่อยที่สุดในความสัมพันธ์ของ "คู่รัก" ทั้งช่วงคบหาดูใจกัน หรือแต่งงานกันไปแล้ว

    [5] Emotional Abuse: การทำร้ายทางจิตใจที่ไม่มีใครควรเผชิญ


    ปี 2551

    “มึง ๆ คนนั้น ๆ ซ้ายสุด ๆ ไปขอเบอร์โทรศัพท์มาให้กูหน่อย” ดีพูดบอกเพื่อน ขณะที่อีกมือถือไมโครโฟนร้องเพลงในห้องคาราโอเกะ ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

    “มึงไม่เกรงใจเมียบ้างเหรอว่ะ” เอเพื่อนดีปรามเพื่อน แม้จะดูไม่ได้ผล และช้าเกินไปก็เถอะ

    เพื่อนทุกคนมองมายังฉันที่ตักอาหารใส่ปาก ฉันเงยหน้ากวาดตาไปที่เพื่อนทุกคน แล้วหันไปมองดี ที่นั่งยิ้มมุมปากอย่างคนมีกลอุบาย ดีกำลังมองมาที่ฉันเช่นกัน สายตาแบบนั้นแปลว่าสายตาของผู้มีชัยหรือเปล่านะ

    “..........” ฉันเงียบ หันหน้ามองเด็กผู้หญิงพวกนั้นที่ดีต้องการขอหมายเลขโทรศัพท์ แล้วก้มหน้ากินยำต่อ ตั้งแต่รู้ว่าแพ้ท้องถ้าฉันกินอะไรได้ฉันจะรีบกินทันที  เพราะอีกสักพักฉันต้องอยากอาเจียน แพทย์ที่ฝากครรภ์บอกว่า ฉันแพ้ท้องหนักต้องกินถี่ขึ้น การแบ่งมื้อกินขะช่วยได้ ถ้ากินแล้วอาเจียนเสร็จ ถ้ากินได้ก็กินเข้าไปอีก ลูกฉันจะได้แข็งแรง


    หลังการสู่ขอระหว่างครอบครัวฉันและครอบครัวดี ฉันกับดีไปเที่ยวบ้านแนน ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงครามกับเพื่อนๆ ของดี รวมผู้หญิง และผู้ชาย ประมาณ 8-10 คน

    ช่วงค่ำคืนที่ 2 ดีเป็นตัวตั้งตัวตีอยากไปเที่ยวกลางคืน จะไปคาราโอเกะ ฉันที่กำลังท้อง 4 เดือน ก็อยากออกไปข้างนอกด้วยเช่นกัน เพราะฉันเบื่อที่ต้องนั่งในวงเหล้า บางครั้งฉันแอบหนีดีขึ้นไปนอนก่อน พอดีรู้ตัวดีก็จะเดินวนไปมาตรงที่ฉันนอนอยู่บ่อยครั้ง แล้วพูดทำนองว่าอยากให้ฉันไปนั่งด้วยที่วงเหล้า ฉันที่ไม่ได้ดื่ม ไม่สูบบุหรี่แล้ว ฉันเบื่อ เหม็นกลิ่นบุหรี่ ยุงกัดและเมื่อยหลัง แขน ขา ก้น แต่ฉันก็ต้องลุกจากที่นอนตามดีไป ฉันไม่อยากขัดใจ ไม่อยากเป็นฉนวนทะเลาะ เพราะฉันต้องดูแลสุขภาพจิต ฉันห่วงลูก


    พวกเราจึงออกไปเที่ยวกลางคืน ดีเลือกไปร้านคาราโอเกะ ระหว่างที่ดีร้องเพลงข้างนอกมีผู้หญิงวัยรุ่น 2-3 คน เดินผ่านห้องที่พวกเรานั่งกันอยู่ จังหวะนั้นเพื่อนดีเปิดประตูเข้ามาในห้องคาราโอเกะ ดีตะโกนขอหมายเลขโทรศัพท์ของผู้หญิง 1 ใน 3 คนนั้น ออกไมโครโฟนที่ดีถืออยู่ ดีจีบผู้หญิงอื่นต่อหน้าฉัน และเพื่อน ๆ ทั้งหมด เพื่อนผู้ชายบางคนมองมาที่ฉัน ในสายตาที่เพื่อน ๆ ของดีมองมา อาจมีนัยยะนึกสงสารฉันอยู่กระมัง


    ดีทำพฤติกรรมแบบนี้กับฉันมาหลายครั้งหลายคราแล้ว ดีมักจะพูดทะลุกลางป้องถึงบันดาแฟนเก่า ๆ ของตัวเองหลายหน เพราะแฟนเก่าดีหลายคนคือเพื่อนของเพื่อนในกลุ่ม ไม่ก็พี่สาว

     เพื่อน ๆ ของดีแต่ละคนเริ่มสีหน้าเจื่อน มองมาที่ฉันทำนองปลอบใจ แต่ฉันไม่เป็นอะไร เพราะฉันมองว่าพฤติกรรมที่ดีทำมันตลก ไร้สาระ ไม่ได้แสดงออกถึงความเจ้าชู้ มักมากหรือหลายใจ แต่มันคือการเรียกร้องความสนใจจากฉัน ซึ่งยิ่งดีทำมากครั้งเท่าไร ดีจะได้รับความสนใจจากฉันน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น

    ดีไม่รู้เลยว่ายิ่งท้องฉันโต ยิ่งผ่านคืนผ่านวันมากขึ้นเท่าไร ความรักที่ฉันเคยให้ดีดูมันเหมือนจะน้อยลงไปทุกที ๆ มันลดลงอย่างช้า ๆ ทำไมฉันถึงไม่บอกดี ไม่คุยกันดี ๆ นะหรอ เพราะทุกวันที่ความรักของฉันที่มีต่อดีลดลง มันทำให้ตาฉัน สมองของฉันมันสว่างขึ้น ฉันรู้สึกว่าฉันรู้จักตัวเองมากขึ้น

    ฉันเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพราะดีทำทุกอย่างต่อหน้าฉัน จะเรียกว่าเป็นคนเปิดเผยหรือเป็นคนไร้มารยาทกันแน่ ฉันก็ไม่รู้ได้ ฉันจึงโบกไม้โบกมือเรียกพนักงานขอรายการอาหาร และสั่งอาหารเพิ่มแบบไม่เกรงใจมากขึ้น เพราะอย่างไรเสีย ดีก็เป็นผู้จ่ายค่าอาหารทุกมื้อ สำหรับเพื่อนทุกคนอยู่แล้วนี่ จ่ายเพิ่มอีกนิดจะเป็นอะไรไป

    ดร. จันทนี ทักไนต์ นักจิตอายุรเวทกล่าวว่า “การทำร้ายจิตใจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและตรวจพบได้ยาก อันตรายไม่ต่างจากการล่วงละเมิดรูปแบบอื่น ๆ โดยการทำร้ายจิตใจเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการดูถูกเหยียดหยาม การข่มขู่ การโยนความผิด ด้อยค่า ปั่นหัว การชักจูงทางจิตวิทยา ควบคุมพฤติกรรมเหยื่อ ไม่ให้ไปเจอเพื่อนหรือครอบครัว”

    ไม่ว่าจะถูกทำร้ายจิตใจด้วยวิธีใด แต่สุดท้ายจะลงเอยด้วยการเกิด “แผลในใจ” จนเกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)

    สุดท้าย “วงจรอุบาทว์” ในความสัมพันธ์นี้ก็เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา

    [6] เช็กสัญญาณเตือน ‘การทำร้ายจิตใจ’ ภัยร้ายที่คาดไม่ถึง

    ปี 2552

    “ทำอะไรอยู่” ดีโทรฯ หาฉันตอนประมาณ 3.00 น.

    “จะป้อนนมลูก” ฉันตอบ พรางมือไม้ขวักไขว่ ตรวจน้ำเผื่อร้อนเกินไป เตรียมนมผง กวาดสายตารอบที่นอนเคนว่ามีมด ยุง แมลงหรือไม่ ขวดนมสะอาดไหม เปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูป

    “หนูทายสิ พี่ดีอยู่ไหน” ดีถามฉันทำเสียงทะเล้น จากเสียงของดีที่โทรฯ เข้ามาฉันรู้ได้เลยว่ามุมปากของดีกำลังมีรอยยิ้ม

    “อยู่กับผู้หญิงที่คาราโอเกะ” ฉันตอบ

    “เฮ้ย รู้ได้ไง” ดีถามฉันทำเสียงทะเล้นหัวเราะร่า

    “เดา ตามสันดานน่ะ ผู้หญิงอายุเท่าไร” ฉันถาม

    “ไม่รู้สิ แต่เด็กน่ะ” ดีตอบฉัน

    “อยากมีลูกสาวไม่ใช่หรอ ถ้ามีลูกสาวแล้วมีลุงแก่ ๆ มาทำกับลูกแบบที่ดีทำกับลูกหลานเขาตอนนี้ รับได้หรอ” ฉันย้อนถาม ฉันไม่ได้หึงหวง แต่ฉันฝากให้คิด

    “โห อย่าพูดแบบนี้ดิ เสียอารมณ์หมด” ดีตอบฉัน

    “เออ สู้ ๆ นะ” ฉันตอบพร้อมตัดสาย

    ฉันไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างฉันกับดี ฉันไม่โกรธ ไม่หึง ไม่หวง ไม่ห่วง และเริ่มไม่รัก ฉันคิดแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไรกันนะ! ฉันใช้ความอดทนกับความสัมพันธ์สถานะครอบครัวกับดีหรือยัง? ฉันกำลังอดทนหรือยังไม่เคยอดทนเลยกันนะ? หรือความอดทนมันสิ้นสุดแล้ว? ฉันเองก็ไม่แน่ใจ!!

    “พ่อ มันไม่หึงดีเลยอ่ะ ดูมันดิ ขนาดบอกว่านอนกับผู้หญิงอื่น มันก็ไม่ว่าอะไรสักคำ” ดีฟ้องพ่อกับแม่ของเขาอย่างหัวเสีย ระหว่างกินข้าวช่วงค่ำหลังจากที่อดีตแม่สามีของฉันกลับจากทำงาน บนโต๊ะอาหารมี อดีตพ่อ แม่ สามี เคนและฉัน รวม 5 คน

    “แล้วทำไมไม่หึงมันบ้างเล่า ตอบสิ แบบนี้มันไม่ดีนะ” พ่ออดีตสามีว่ากล่าว พร้อมส่งสายตาตำหนิฉัน

    “ค่ะ ไม่หึง” ฉันตอบอดีตพ่อสามีตามความรู้สึกที่แท้จริง

    “มันเอาแต่ลูกอะพ่อ นอนก็นอนกับลูก ตั้งแต่มีลูกมันไม่สนใจดีเลยพ่อ แม่ดูดิ ไม่ได้นอนด้วยกันเลย ดีก็ต้องไปมีคนอื่นสิพ่อ” ดีฟ้องพ่อ แม่ที่กำลังนั่งกินข้าวด้วยกันด้วยเสียงดังสนั่น เคนสะดุ้งเอาหน้าแนบอกฉันเกือบทุกครั้งที่ดีพูด จะเป็นไปได้ไหมนะว่าอดีตพ่อ แม่สามีของฉันเริ่มจะหูตึง หรือหูหนวกไปแล้วนะ

    “ถ้าดีมีเมียน้อยจะทำไง” อดีตพ่อสามีถามฉัน

    “ไม่ทำไงค่ะ แต่ควรทำงานก่อนมีเมียน้อยค่ะ” ฉันตอบอดีตพอสามี ยกจานข้าวไปเก็บล้าง อุ้มลูกเดินขึ้นห้องนอนเล่นกับลูก

    เวลานั้นเคนลูกชายของฉันคือ ความสุข ความรัก และความสบายใจอย่างเดียวของฉัน ตั้งแต่ฉันรู้ว่าฉันตั้งครรภ์ นาทีนั้นเด็กในท้องของฉันก็คือโลกทั้งใบของฉัน

    “gaslighting” คือพฤติกรรมสุดคลาสสิกของคน toxic เรียกว่า “การปั่นหัว” ให้อีกฝ่ายสับสนกับสิ่งที่ตัวเองคิด สามารถโยนความผิดให้อีกฝ่ายได้อย่างหน้าเฉยๆ โดยจะปฏิเสธทุกอย่าง แล้วหันมาพูดถึงความบกพร่องของคนอื่นแทน และพยายามพูดให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าตัวเองต่างหากที่เป็นฝ่ายผิด

    [7] คุณกำลังถูกแฟน gaslighting อยู่หรือไม่ และทำยังไงหากอยากจะเลิกกับแฟนแบบนี้

    ปี 2560

    “รู้จักหม่าม้าตั้งแต่เมื่อไรหรือคะ” ฉันถามเคน ตอนเขากำลังใส่กางเกง

    “5 ขวบครับ” เคนเงยหน้าจากกระดุมกางเกงแล้วตอบฉัน

    “แล้วรู้ความหมายหรือคะ ว่าไม่มีแม่คืออะไร” ฉันถามเคน ฉันคิดอยู่หลายนาทีว่าจะถามดีไหม

    “ไม่ครับ เฉย ๆ แต่ตอน 7 ขวบมันไม่เฉยแล้วครับ” เคนตอบฉัน

    “หมายถึงอะไรคะ” ฉันถาม

    “ตอน 5 ขวบ พ่อบอกเรื่องหม่าม้า เอาจริง ๆ พ่อก็บอกมาตลอด แต่ก็รู้สึกเฉย ๆ ไม่รู้สึกอะไร แต่ตอน 6-7 ขวบ มันรู้สึกขึ้นมาเองครับ” เคนตอบฉัน

    “รู้สึกอะไรหรือคะ” ฉันถามเคน ฉันกำลังควบคุมเสียงตัวฉันเองที่เริ่มสั่น ฉันสงสารลูกจับหัวใจ

    “มันมีวันแม่ปีนึงครับ ประมาณ 6-7 ขวบ งานวันแม่ที่โรงเรียนบางคนมีแม่ไป ของเคนย่าไปแทนครับ เพื่อนถามเคนว่าทำไมผิวแม่เป็นแบบนั้น ตอนนั้นเลยรู้สึกขาด รู้ตอนนั้นเลยครับว่าเคนไม่มีแม่” เคนบอกฉัน

    “ปีนี้อยากให้หม่าม้าไปที่โรงเรียนไหมคะ” ฉันถามเคน พร้อมกับเดินไปนั่งใกล้ ๆ ทันทีที่ลูกพูดจบฉันแทบกลั้นน้ำตาไม่ไหว

    “อยากๆๆๆๆๆไป ๆๆ” เคนยิ้มตอบ ตัวกระโดดเหยง ๆ พรางเอามือตีขาตัวเอง

    11 สิงหาคม 2556 ฉันไปร่วมงานโรงเรียนเคน ที่จัดขึ้นเนื่องในวโรกาส[8] วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นวันแม่ และวันผ้าไทยแห่งชาติ “ทั้งยังเป็นวันที่ฉันไปงานโรงเรียนลูกครั้งแรกในชีวิตของฉัน และก็เป็นครั้งแรกของเคนที่มีแม่ที่ให้กำเนิดจริง ๆ” ไปร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น เคนขวยเขิน ใบหน้าเปื้อนยิ้มตลอดเวลา สายตาแวววาวสดใส เพราะเพื่อน ๆ ของเคนมองฉันทุกคน แล้วแซวเคน ฉันไม่ไปนั่งรอ ฉันจะยืนดูลูกฉันใกล้ ๆ ตลอดเวลา ฉันจะมองลูกที่ฉันรักให้นานที่สุด เผื่อมันจะชดเชยตลอด 10 ปี ที่ผ่านมาได้บ้าง ฉันชอบไปงานโรงเรียนลูกจัง

    กันยายน 2017

    “หม่าม้าคิดถึงครับ” เคนส่งข้อความมาบอกฉัน ช่วงค่ำ ๆ ประมาณวันจันทร์ ฉันเพิ่งไปรับเคนเมื่อคืนวันศุกร์ และไปส่งเคนที่บ้านพ่อเขาวันอาทิตย์ช่วงเย็น

    “หม่าม้าก็คิดถึงลูกมาก ๆ เลยค่ะ ศุกร์นี้หม่าม้าจะไปรับนะคะ อย่าลืมขอพ่อด้วย” ฉันพิมพ์ตอบลูก (เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เคนบอกคิดถึงฉัน ถ้าตอบตามความเป็นจริง ตั้งแต่นาทีที่ฉันรู้มีเคนบนโลกใบนี้ ไม่มีนาทีใดที่ฉันไม่คิดถึงลูก)

    “ครับ” เคนส่งข้อความกลับมา

    “หม่าม้า พ่อไม่ให้ไปครับ” เคนส่งข้อความมาบอกฉัน กลางคืนวันพฤหัสบดี (วันนั้นฉันรู้สึกรังเกียจดี และครอบครัวเขาเสียจริง เห็นแก่ตัว ใจแคบ และเป็นมารความสุขของฉัน แต่ฉันต้องเสแสร้งทำเป็นคนดีพูดถึงอีกฝ่ายดีต่อหน้าลูก)

    “ไม่เป็นไรนะคะ เสียใจไหมคะ” ฉันถามเคน (ความใจแคบของดี ทำให้ทุกคนไม่มีความสุข ทั้ง ๆ ที่วันนี้ทุกฝ่ายควรจะยิ้มได้แล้ว)

    “เสียใจมากครับ” เคนส่งข้อความตอบกลับมา

    เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ที่ฉันรอคอย “ที่ฉันรับรู้ว่าในสมองของลูกฉัน ยังมีเนื้อที่เพียงพอที่จะคิดถึงฉันบ้าง” และ “นั่นก็เป็นครั้งสุดท้ายที่เขาบอกคิดถึงฉันเช่นกัน” เคนไม่เคยส่งข้อความมาหาฉันอีกเลยนับแต่วันนั้น

    “เคนบอกว่าไม่มีอะไรจะคุยด้วย จะให้บังคับยังไง” ดีบอกฉัน และนั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ฉันและลูกได้คุยกันทางเสียง

    ฉันแอบไปเจอเคนที่โรงเรียน เดินเข้าขอพบผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมหลักฐานที่ต้องมาเจอลูกชายที่โรงเรียนเผื่อโรงเรียนต้องการทราบ ฉันไม่รู้ว่าลูกชายอยู่ชั้นอะไร ห้องที่เท่าไร ฉันรู้เพียงชื่อ และนามสกุล เพราะชื่อของลูกฉันเป็นผู้ตั้งชื่อให้ลูก

    “หนูรู้ใช่ไหมคะ ว่าพ่อไม่ให้หนูเจอกับหม่าม้า” ฉันถามลูก

    “รู้ครับ” เคนตอบฉัน พรางนั่งมองหน้าฉันแล้วยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ตลอดเวลา

    “หนูหรือหรือเปล่าว่าที่ไม่ฟ้องศาลเอาลูกคืน เพราะไม่อยากให้หนูเสียใจ” ฉันอยากรู้

    “รู้ครับ” เคนตอบฉัน พรางมองหน้าฉัน และยิ้มน้อยยิ้มใหญ่เช่นเดิม

    ฉันอ้าแขนไปกอดลูก เคนรีบเอามือเขามาทับมือฉันอย่างรวดเร็ว และกอดรัดแน่นพอสมควร คำตอบที่ลูกฉันตอบ เป็นคำตอบที่ฉันต้องการ แล้ว แค่เคนรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นระหว่างพวกเราบ้าง ฉันก็พอใจ เพียงพอแล้วจริง ๆ สำหรับฉัน

    ฉันซื้อหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ เป็นรายเดือน ในชื่อของฉันให้เคน ฉันเป็นผู้จ่ายเงินค่าโทรฯ โดยแต่ละเดือนจะมีประวัติการโทรออกเต็มวงเงินอย่างไม่ขาดไม่เกิน เหมือนว่าถูกบริหารจัดการวงเงินค่าโทรฯ มาเป็นอย่างดี ฉันลองพิจารณาในส่วนเวลาการโทรฯ เป็นช่วงกลางวัน และหมายเลขโทรศัพท์ที่โทรฯ ออกไปเป็นหมายเลขซ้ำๆ กัน

    ในช่วงกลางวัน ฉันจะได้รับข้อความจากลูกส่งมาให้ แต่ไม่ใช่เคนเป็นผู้ส่งอย่างแน่นอน หากแต่เป็นพ่อของเขา เพราะเวลาที่เคนส่งข้อความหาฉัน มันใกล้เคียงกับเวลาที่โทรฯ ออกบ่อยๆ ทั้งยังเป็นเวลาที่เคนอยู่ที่โรงเรียน

    ซึ่งโรงเรียนก็มีกฎระเบียบว่า ห้ามนักเรียนใช้โทรศัพท์ภายในโรงเรียน เว้นแต่มีกรณีฉุกเฉิน ถ้าต้องการใช้โทรศัพท์ ต้องแจ้งคุณครูก่อน โรงเรียนต้องป้องกันความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การขโมย การเป็นแบบอย่าง การปกครอง (ฉันทราบกฎจากผู้อำนวยการโรงเรียน และขณะที่ฉันกำลังคุยกับผู้อำนวยการ มีข้อความจากเคนส่งมาพอดี ฉันจึงมั่นใจมาก)

    หลังเลิกเรียนเคนจะไม่มีการส่งข้อความตอบกลับมาถึงฉัน เป็นแบบนี้นานพักใหญ่ จนฉันไปหาลูกที่โรงเรียนจึงกระจ่างว่าสิ่งที่เดาไว้ถูกต้องแล้ว ว่าคนที่พิมพ์ข้อความมาหาฉันทุกวันคือ พ่อของเขา

    สมัยโบราณส่วนใหญ่การมีครอบครัว พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่จะเป็นผู้เลือกคู่ครองให้ลูก แต่ในปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนไป ชายและหญิงมักจะตัดสินใจเลือกคู่ครองด้วยตนเอง โดยขอคำปรึกษาจากพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ การเลือกคู่ครองเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของชีวิตคู่ นับเป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของชีวิต ถ้าเลือกคู่ครองที่ดีแล้วก็เท่ากับชีวิตครอบครัวได้ประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

    [9] การเลือกคู่ครอง

    การที่ร่างกายของชาย และหญิงเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่และพร้อมที่จะให้กำเนิดบุตรได้ มิได้หมายความว่า บุคคลผู้นั้นพร้อมที่จะแต่งงาน หรือมีครอบครัวได้ การแต่งงานหรือการสมรสจำเป็นต้องอาศัยความเจริญเติบโตของจิตใจ หรือความมีวุฒิภาวะทางอารมณ์เป็นหลักสำคัญประกอบด้วย เพราะผู้ที่บรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์ย่อมเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวให้มีความสุขกับครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ความสามารถในการปรับตัวนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จ

    [10] การเลือกคู่ครอง

    ฉันคงไม่มีหน้าจะสอนใครในการเลือกคู่ครอง แต่สามารถเตือนผู้หญิงทั้งหลายในการเลือกคู่ครองได้ “คนที่ฆ่าฉัน” ไม่ใช่คนอื่นที่ฉันไม่รู้จัก “หากแต่เป็นคนที่ฉันเคยรัก” ช่างน่าสังเวชตัวเองเสียจริง

    พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา

    สายดิ่งทอดทิ้งมา หยั่งได้

    เขาสูงอาจวัดวา กำหนด

    จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง

    [11]ข้อคิดจากโคลงโลกนิติ

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น