ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สัตว์โลกล้านปี

    ลำดับตอนที่ #7 : นักวิทยาศาสตร์พ่อลูก Alvarez ได้ค้นพบชั้นดิน

    • อัปเดตล่าสุด 27 มิ.ย. 49


                                       ในปี 1980 นักวิทยาศาสตร์พ่อลูก Alvarez แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ค้นพบว่าชั้นดินในช่วงยุคครีเตเชียสต่อกับยุคเทอร์เทียรี่ อายุ 65 ล้านปี มีปริมาณธาตุอิริเดียม(Iridium) อยู่มากมาย แม้อิริเดียมจะมีอยู่บนโลกก็ตามแต่ก็จะจมลงไปสู่ใจกลางโลกตั้งแต่โลกยังพึ่งเกิดใหม่ๆ จึงทำให้คิดว่าอิริเดียมที่เจอนั้น อาจจะมาจากดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อย นอกจากนี้ ยังสามารถบอกได้ว่า ดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่ตกใส่โลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ตกลงบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน(Yucatan) ของเมกซิโก เกิดเป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่ถึง 200 กิโลเมตร ที่เรียกว่า Chicxulub นักโบราณชีววิทยาหลายคนเชื่อในทฤษฏีการสูญพันธุ์จากดาวเคราะห์น้อย แต่จากการศึกษาฟอสซิลก่อนหน้านี้กลับบอกว่า การตายเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ไม่ได้ตายเฉียบพลันเหมือนเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อย แต่การค้นพบนี้กลับไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิกได้ เมื่อไม่พบทั้งอิริเดียมและผลึกควอร์ทซ์ที่จะบอกถึงการชนของดาวเคราะห์น้อย การพิสูจน์ก่อนหน้านี้ถึงแม้จะมีประโยชน์ต่อวงการโบราณวิทยา แต่เมื่อเทียบกับวิธีการของเบคเคอร์แล้ว จะให้ความเชื่อถือมากกว่าและตรงกว่า ลึกลงไปในชั้นหินเปอร์เมียน-ไทรแอสสิก ทีมของเบคเคอร์ได้พบโมเลกุลที่มีลักษณะคล้ายลูกบอล ที่ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 60- 200 อะตอม ที่เรียกว่า ฟูลเลอรีน (fullerenes) หรือบัคกี้บอล(buckyballs) กับฮีเลียมและอาร์กอนอีกนิดหน่อย กักเก็บไว้ภายในโมเลกุลดังกล่าว ฟูลเลอรีนนี้จะจับฮีเลียมและอาร์กอนชนิดพิเศษที่เป็น ฮีเลียม-3 และอาร์กอน-36 ไว้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณไอโซโทปแล้วพบว่า เป็นไอโซโทปที่มาจากอวกาศมากกว่าจะอยู่บนโลก ซึ่งบางสิ่งอาจจะเป็นดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อย
    ทีมของเบคเคอร์ค้นพบว่า มีบัคกี้บอลที่จับก๊าซไว้ในชั้นหิน เกี่ยงเนื่องกับเหตุการณ์การชน 2 ครั้งด้วยกัน คือ การชนยุคครีเตเชียส-เทอร์เทียรี่เมื่อ 65 ล้านปี กับการชนเมื่อ 1.8 พันล้านปีที่ทำให้เกิดหลุมที่ออนตาริโอของแคนาดา และยังพบฟูลเลอรีนที่กักก๊าซคล้ายๆกันในสะเก็ดดาวประเภท carbonaceous chondrites ด้วย เมื่อนำข้อมูลมารวมกันก็บอกได้ว่า มีก้อนหินจากอวกาศตกลงมาบนโลกในช่วงเวลาที่มีการตายหมู่ครั้งใหญ่ แต่ดาวเคราะห์น้อยนั้นเป็นฆาตกรจริงหรือ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าชีวิตเกือบถูกล้างจนหมดเมื่อมีหินอวกาศตกลงมา แต่โลกของเราก็เคยเกิดการระเบิดของภูเขาไฟครั้งร้ายแรงหลายครั้ง ในอาณาเขตที่เรียกว่า ไซบีเรีย มีเถ้าลาวากว่า 1.5 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรปกคลุม เปรียบเทียบกับการระเบิดของภูเขาไฟ เซนต์เฮเลนในปี 1980 ซึ่งมีเถ้าประมาณ 1 ลูกบาศก์กิโลเมตร การประทุนี้เผาพื้นแผ่นดินใกล้เคียง พ่นเถ้าลงมาปกคลุมบรรยากาศ และปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และการสันนิษฐานนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยของทีมงานจากมหาวิทยาลัยโตโฮคุ ญี่ปุ่น ที่ศึกษาปริมาณไอโซโทปของกำมะถันในหินยุค เปอร์เมียน-ไทรแอสสิก (P-T boundary)พบว่ามีกำมะถันเบา ที่เกิดจากชั้นหินหลอมใต้เปลือกโลก แสดงว่าเมื่อ 250 ล้านปีก่อน เกิดการประทุของลาวาออกมาปกคลุมแผ่นดิน ซึ่งข้อมูลบอกว่าดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางตกลงในมหาสมุทรและทำให้เกิดการปลดปล่อยกำมะถันอย่างรวดเร็ว จากหินหลอมสู่ท้องทะเล แต่ไม่ได้ทำให้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ เพียงแต่เหตุการณ์ทั้ง 2 อย่างนี้อาจจะบังเอิญเกิดขึ้นพร้อมกัน
                                                 จบบทความ 4-7 ครับ บทความนี้นำมาจากเว็บๆหนึ่ง
                                                        เห็นบทความน่าสนใจจึงนำมาเผยแพร่ครับ

    1980 นักวิทยาศาสตร์พ่อลูก Alvarez แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ค้นพบว่าชั้นดินในช่วงยุคครีเตเชียสต่อกับยุคเทอร์เทียรี่ อายุ 65 ล้านปี มีปริมาณธาตุอิริเดียม(Iridium) อยู่มากมาย แม้อิริเดียมจะมีอยู่บนโลกก็ตามแต่ก็จะจมลงไปสู่ใจกลางโลกตั้งแต่โลกยังพึ่งเกิดใหม่ๆ จึงทำให้คิดว่าอิริเดียมที่เจอนั้น อาจจะมาจากดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อย นอกจากนี้ ยังสามารถบอกได้ว่า ดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยที่ตกใส่โลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ตกลงบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน(Yucatan) ของเมกซิโก เกิดเป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่ถึง 200 กิโลเมตร ที่เรียกว่า Chicxulub นักโบราณชีววิทยาหลายคนเชื่อในทฤษฏีการสูญพันธุ์จากดาวเคราะห์น้อย แต่จากการศึกษาฟอสซิลก่อนหน้านี้กลับบอกว่า การตายเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ไม่ได้ตายเฉียบพลันเหมือนเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อย แต่การค้นพบนี้กลับไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิกได้ เมื่อไม่พบทั้งอิริเดียมและผลึกควอร์ทซ์ที่จะบอกถึงการชนของดาวเคราะห์น้อย การพิสูจน์ก่อนหน้านี้ถึงแม้จะมีประโยชน์ต่อวงการโบราณวิทยา แต่เมื่อเทียบกับวิธีการของเบคเคอร์แล้ว จะให้ความเชื่อถือมากกว่าและตรงกว่า ลึกลงไปในชั้นหินเปอร์เมียน-ไทรแอสสิก ทีมของเบคเคอร์ได้พบโมเลกุลที่มีลักษณะคล้ายลูกบอล ที่ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนตั้งแต่ 60- 200 อะตอม ที่เรียกว่า ฟูลเลอรีน (fullerenes) หรือบัคกี้บอล(buckyballs) กับฮีเลียมและอาร์กอนอีกนิดหน่อย กักเก็บไว้ภายในโมเลกุลดังกล่าว ฟูลเลอรีนนี้จะจับฮีเลียมและอาร์กอนชนิดพิเศษที่เป็น ฮีเลียม-3 และอาร์กอน-36 ไว้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณไอโซโทปแล้วพบว่า เป็นไอโซโทปที่มาจากอวกาศมากกว่าจะอยู่บนโลก ซึ่งบางสิ่งอาจจะเป็นดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อย
    ทีมของเบคเคอร์ค้นพบว่า มีบัคกี้บอลที่จับก๊าซไว้ในชั้นหิน เกี่ยงเนื่องกับเหตุการณ์การชน 2 ครั้งด้วยกัน คือ การชนยุคครีเตเชียส-เทอร์เทียรี่เมื่อ 65 ล้านปี กับการชนเมื่อ 1.8 พันล้านปีที่ทำให้เกิดหลุมที่ออนตาริโอของแคนาดา และยังพบฟูลเลอรีนที่กักก๊าซคล้ายๆกันในสะเก็ดดาวประเภท carbonaceous chondrites ด้วย เมื่อนำข้อมูลมารวมกันก็บอกได้ว่า มีก้อนหินจากอวกาศตกลงมาบนโลกในช่วงเวลาที่มีการตายหมู่ครั้งใหญ่ แต่ดาวเคราะห์น้อยนั้นเป็นฆาตกรจริงหรือ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าชีวิตเกือบถูกล้างจนหมดเมื่อมีหินอวกาศตกลงมา แต่โลกของเราก็เคยเกิดการระเบิดของภูเขาไฟครั้งร้ายแรงหลายครั้ง ในอาณาเขตที่เรียกว่า ไซบีเรีย มีเถ้าลาวากว่า 1.5 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรปกคลุม เปรียบเทียบกับการระเบิดของภูเขาไฟ เซนต์เฮเลนในปี 1980 ซึ่งมีเถ้าประมาณ 1 ลูกบาศก์กิโลเมตร การประทุนี้เผาพื้นแผ่นดินใกล้เคียง พ่นเถ้าลงมาปกคลุมบรรยากาศ และปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และการสันนิษฐานนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยของทีมงานจากมหาวิทยาลัยโตโฮคุ ญี่ปุ่น ที่ศึกษาปริมาณไอโซโทปของกำมะถันในหินยุค เปอร์เมียน-ไทรแอสสิก (P-T boundary)พบว่ามีกำมะถันเบา ที่เกิดจากชั้นหินหลอมใต้เปลือกโลก แสดงว่าเมื่อ 250 ล้านปีก่อน เกิดการประทุของลาวาออกมาปกคลุมแผ่นดิน ซึ่งข้อมูลบอกว่าดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางตกลงในมหาสมุทรและทำให้เกิดการปลดปล่อยกำมะถันอย่างรวดเร็ว จากหินหลอมสู่ท้องทะเล แต่ไม่ได้ทำให้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ เพียงแต่เหตุการณ์ทั้ง 2 อย่างนี้อาจจะบังเอิญเกิดขึ้นพร้อมกัน
                                                 จบบทความ 4-7 ครับ บทความนี้นำมาจากเว็บๆหนึ่ง
                                                        เห็นบทความน่าสนใจจึงนำมาเผยแพร่ครับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×