ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : จิปาถะเคล็ดลับ :: การเขียนบทย่อเรื่องส่งบรรณาธิการ
จิปาถะเคล็ดลับ :: การเขียนเรื่องย่อส่งบรรณาธิการ
อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเลยเอามาให้ลองอ่านดู ^^
เงาเห็นว่านักเขียนหลาย ๆ ท่านต้องการส่งเรื่องย่อให้สำนักพิมพ์ แต่!!! จะเขียนยังไงล่ะ? คำตอบง่าย ๆ ก็คือ...
ก็เขียนให้น่าสนใจซะเซ่!!!
บางคนก็อาจถามกลับมาอีก... แล้วทำให้น่าสนใจมันยังไงล่ะ? มันต้องใส่อะไรลงไปบ้าง? บรรยายยังไง รูปแบบล่ะ? ด้วยประการฉะนี้จึงลองเอามาให้อ่านกันดู หากมีเพิ่มเติมก็แสดงความเห็นมาได้เลยนะ ^^
======================
....ต่อไปนี้คือ 16 ขั้นตอนในการเขียนบทสรุปต้นฉบับนวนิยายของคุณ (12 ขั้นตอนแรก คุณต้องทำ แต่อีก 14 ขั้นตอนหลัง เป็นทางเลือกของคุณ)
1.ฉากและชื่อเรื่อง
เรื่องราวเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไร คุณควรเขียนได้ในความยาวเพียงประโยคเดียว เพื่อตอบคำถามนี้
2.พระเอก นางเอกและตัวละครสำคัญ
แนะนำตัวละครดังกล่าว ชื่อ อายุ อาชีพ ภูมิหลัง เขียนให้พวกเขาดูมีความสำคัญและมีชีวิต รวมถึงตัวละครรองต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในโครงเรื่อง ความยาวสัก 2 ย่อหน้าก็พอ
3.เสริมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของภูมิหลังของครอบครัว ทรัพย์สมบัติ สถานภาพ
ความยาวประมาณ 1 ย่อหน้าก็พอ
4.สถานการณ์อันเป็นจุดวิกฤติในตอนเปิดเรื่องของนวนิยายของคุณ
เขียนสั้น ๆ สัก 1 ประโยค
5.อารมณ์และน้ำเสียงของเรื่อง
พยายามสร้างบรรยายกาศของเรื่องด้วยความยาวเพียง 1 ประโยค
6.ส่วนพิเศษของเรื่อง
หากเรื่องของคุณมีอะไรที่เป็นจุดเด่นพิเศษอย่างไร ให้เขียนถึงมันอีก 1 ประโยค
7.ปมขัดแย้งหรือความหักเหในเรื่อง
เขียนความยาว 1 ย่อหน้า
คุณคงเห็นแล้วว่า 7 ข้อข้างต้นนั้นล้วนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของนวนิยายของคุณ และพวกมันทั้งหมดล้วนเป็นสาระที่อยู่ในสองบทแรกของคุณ
คุณอาจตั้งคำถามว่า แล้วทำไมจึงต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้ในบทย่อ หากเมื่อทั้งหมดบรรจุอยู่ในสองบทแรกแล้ว
คำตอบก็คือ บรรณาธิการจะรับรู้เรื่องราวทั้งหมดจากเรื่องของคุณผ่านบทย่อ ตัวอย่างของบทต่างๆ จะเป็นการแสดงให้เห็นความสามารถของคุณ บรรณาธิการอาจวางเรื่องราวทั้งหมด หากบทย่อไม่ท่าเข้าที
8.ฉากเด็ดๆ
เขียนรายการฉากเด็ด ๆ ที่สำคัญ ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนทั้งหมดที่มี เขียนพอเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ฉากเหล่านี้ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน อาจคล้าย ๆ รายการโทรทัศน์ เขียนความยาวสัก 2 ย่อหน้าก็พอ
9.การเคลื่อนไหวทั้งเดินหน้าและถอยหลังของเรื่องที่เกิดขึ้นจากตัวละคร
อะไรคือจุดขึ้นจุดลงของเรื่อง ทั้งด้านลบและด้านบวก โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เข้มข้นที่สุด และตัวละครสำคัญได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เขียนความยาว 1 ย่อหน้า
10.ฉากตัดสินชะตาชีวิต
ตอนนี้เราเข้าใกล้ตอนจบแล้ว ฉากไหนคือฉากที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง จุดหักเหต้องเด่นชัดใน 1 ประโยค
11.ความสำคัญของฉากสุดท้าย
จุดไคลแม็กซ์ของเรื่อง เขียนถึงการสะเทือนอารมณ์ที่ค่อย ๆ ทวีขึ้นจนถึงขีดสูงด้วยภาษาที่สละสลวยชัดเจนสัก 1 ประโยค
12.บทสรุปสั้นๆ
เขียนให้ครอบคลุมด้วยภาษาที่งดงาม
ยาวแค่ไหน?
ทั้ง 12 ขั้นตอนดังกล่าวจะบอกทุกๆสิ่งให้บรรณาธิการรู้เกี่ยวกับเรื่องของคุณ รวมถึงบอกตัวคุณด้วย ดังนั้นคุณจึงต้องตั้งใจเขียนมันให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ อย่ากังวลใจหากขั้นตอนที่ 5 และ 9 ยากที่จะสรุปความได้ และหากมันยากนัก ก็ข้ามมันไปเสียเลยก็ได้
โดยทั่วไปการเขียนบทย่อ หากเขียนได้สั้นเท่าไรก็จะดีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องครอบคลุมขั้นตอนสำคัญต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ต้องนึกถึงหัวอกบรรณาธิการที่เขา/เธอต้องทนนั่งอ่านบทสรุปของเราด้วย
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ บรรณาธิการจะไม่แปลกใจไปกับคุณด้วยหรอก หากคุณคิดจะซ่อนปมประหลาดไว้ไม่เขียนให้เขารู้
คุณจะต้องเล่าให้เขาฟังว่าคุณจะหักมุมอย่างไรในตอนจบ รับรองว่าบรรณาธิการไม่นำไปบอกผู้อ่านของคุณแน่!
ทางเลือกอีก 4 ขั้นตอน
13.ประโยคคำพูด 1 ประโยคของนางเอกหรือตัวละครสำคัญ
การเพิ่มส่วนนี้เข้าไปจะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของตัวละคร ท่าทีเขา/เธอพูด เขียน ให้มันมีชีวิตชีวา
14.ตัวอย่างบทสนทนาของพระเอกหรือตัวละครอื่นๆ
นี่ก็เป็นอีกส่วงนที่ทำให้ตัวละครได้ก้าวออกมานอกกระดาษ ปล่อยให้บรรณาธิการได้ยินเสียงของพวกเขา ด้วยความพึงพอใจกับประโยคสักประโยคที่ตรงกับโครงเรื่อง
15.ยกตัวอย่างการเขียนที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกที่เข้ามากับเรื่องราว
เป็นการแสดงความสามารถในการใช้ภาษาของคุณ โดยเฉพาะเรื่องแนวโรมานซ์ หรือแนวเรื่องหวาดผวา
16.ใช้ภาษาสวยๆ แบบกวีที่จะสร้างสีสันให้กับเรื่อง
เพียงถ้อยคำ 2-3 คำ หรือวลีเพียง 1 วลี ทำให้บทสรุปของคุณดูมีมิติพิเศษ
ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้สามารถใส่ในบทสรุปของคุณตรงจุดไหนก็ได้ ที่ดูแล้วเป็นธรรมชาติมากที่สุด เช่น คุณอาจเสริมบทสนทนาลงไปหลังขั้นตอนที่ 4 (สถานการณ์อันเป็นวิกฤติในตอนเปิดเรื่องของนวนิยายของคุณ) หรือขั้นตอนที่ 7 (ปมขัดแย้งหรือความหักเหในเรื่อง) เป็นต้น
ขอให้คุณโชคดีกับการขายผลงานของคุณ
=====================
คู่มือนักเขียน โดย บงกช
อ่านหนังสือเล่มหนึ่งเลยเอามาให้ลองอ่านดู ^^
เงาเห็นว่านักเขียนหลาย ๆ ท่านต้องการส่งเรื่องย่อให้สำนักพิมพ์ แต่!!! จะเขียนยังไงล่ะ? คำตอบง่าย ๆ ก็คือ...
ก็เขียนให้น่าสนใจซะเซ่!!!
บางคนก็อาจถามกลับมาอีก... แล้วทำให้น่าสนใจมันยังไงล่ะ? มันต้องใส่อะไรลงไปบ้าง? บรรยายยังไง รูปแบบล่ะ? ด้วยประการฉะนี้จึงลองเอามาให้อ่านกันดู หากมีเพิ่มเติมก็แสดงความเห็นมาได้เลยนะ ^^
======================
....ต่อไปนี้คือ 16 ขั้นตอนในการเขียนบทสรุปต้นฉบับนวนิยายของคุณ (12 ขั้นตอนแรก คุณต้องทำ แต่อีก 14 ขั้นตอนหลัง เป็นทางเลือกของคุณ)
1.ฉากและชื่อเรื่อง
เรื่องราวเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไร คุณควรเขียนได้ในความยาวเพียงประโยคเดียว เพื่อตอบคำถามนี้
2.พระเอก นางเอกและตัวละครสำคัญ
แนะนำตัวละครดังกล่าว ชื่อ อายุ อาชีพ ภูมิหลัง เขียนให้พวกเขาดูมีความสำคัญและมีชีวิต รวมถึงตัวละครรองต่าง ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในโครงเรื่อง ความยาวสัก 2 ย่อหน้าก็พอ
3.เสริมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของภูมิหลังของครอบครัว ทรัพย์สมบัติ สถานภาพ
ความยาวประมาณ 1 ย่อหน้าก็พอ
4.สถานการณ์อันเป็นจุดวิกฤติในตอนเปิดเรื่องของนวนิยายของคุณ
เขียนสั้น ๆ สัก 1 ประโยค
5.อารมณ์และน้ำเสียงของเรื่อง
พยายามสร้างบรรยายกาศของเรื่องด้วยความยาวเพียง 1 ประโยค
6.ส่วนพิเศษของเรื่อง
หากเรื่องของคุณมีอะไรที่เป็นจุดเด่นพิเศษอย่างไร ให้เขียนถึงมันอีก 1 ประโยค
7.ปมขัดแย้งหรือความหักเหในเรื่อง
เขียนความยาว 1 ย่อหน้า
คุณคงเห็นแล้วว่า 7 ข้อข้างต้นนั้นล้วนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของนวนิยายของคุณ และพวกมันทั้งหมดล้วนเป็นสาระที่อยู่ในสองบทแรกของคุณ
คุณอาจตั้งคำถามว่า แล้วทำไมจึงต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้ในบทย่อ หากเมื่อทั้งหมดบรรจุอยู่ในสองบทแรกแล้ว
คำตอบก็คือ บรรณาธิการจะรับรู้เรื่องราวทั้งหมดจากเรื่องของคุณผ่านบทย่อ ตัวอย่างของบทต่างๆ จะเป็นการแสดงให้เห็นความสามารถของคุณ บรรณาธิการอาจวางเรื่องราวทั้งหมด หากบทย่อไม่ท่าเข้าที
8.ฉากเด็ดๆ
เขียนรายการฉากเด็ด ๆ ที่สำคัญ ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเขียนทั้งหมดที่มี เขียนพอเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ฉากเหล่านี้ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน อาจคล้าย ๆ รายการโทรทัศน์ เขียนความยาวสัก 2 ย่อหน้าก็พอ
9.การเคลื่อนไหวทั้งเดินหน้าและถอยหลังของเรื่องที่เกิดขึ้นจากตัวละคร
อะไรคือจุดขึ้นจุดลงของเรื่อง ทั้งด้านลบและด้านบวก โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เข้มข้นที่สุด และตัวละครสำคัญได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เขียนความยาว 1 ย่อหน้า
10.ฉากตัดสินชะตาชีวิต
ตอนนี้เราเข้าใกล้ตอนจบแล้ว ฉากไหนคือฉากที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง จุดหักเหต้องเด่นชัดใน 1 ประโยค
11.ความสำคัญของฉากสุดท้าย
จุดไคลแม็กซ์ของเรื่อง เขียนถึงการสะเทือนอารมณ์ที่ค่อย ๆ ทวีขึ้นจนถึงขีดสูงด้วยภาษาที่สละสลวยชัดเจนสัก 1 ประโยค
12.บทสรุปสั้นๆ
เขียนให้ครอบคลุมด้วยภาษาที่งดงาม
ยาวแค่ไหน?
ทั้ง 12 ขั้นตอนดังกล่าวจะบอกทุกๆสิ่งให้บรรณาธิการรู้เกี่ยวกับเรื่องของคุณ รวมถึงบอกตัวคุณด้วย ดังนั้นคุณจึงต้องตั้งใจเขียนมันให้ดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ อย่ากังวลใจหากขั้นตอนที่ 5 และ 9 ยากที่จะสรุปความได้ และหากมันยากนัก ก็ข้ามมันไปเสียเลยก็ได้
โดยทั่วไปการเขียนบทย่อ หากเขียนได้สั้นเท่าไรก็จะดีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องครอบคลุมขั้นตอนสำคัญต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ต้องนึกถึงหัวอกบรรณาธิการที่เขา/เธอต้องทนนั่งอ่านบทสรุปของเราด้วย
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ บรรณาธิการจะไม่แปลกใจไปกับคุณด้วยหรอก หากคุณคิดจะซ่อนปมประหลาดไว้ไม่เขียนให้เขารู้
คุณจะต้องเล่าให้เขาฟังว่าคุณจะหักมุมอย่างไรในตอนจบ รับรองว่าบรรณาธิการไม่นำไปบอกผู้อ่านของคุณแน่!
ทางเลือกอีก 4 ขั้นตอน
13.ประโยคคำพูด 1 ประโยคของนางเอกหรือตัวละครสำคัญ
การเพิ่มส่วนนี้เข้าไปจะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของตัวละคร ท่าทีเขา/เธอพูด เขียน ให้มันมีชีวิตชีวา
14.ตัวอย่างบทสนทนาของพระเอกหรือตัวละครอื่นๆ
นี่ก็เป็นอีกส่วงนที่ทำให้ตัวละครได้ก้าวออกมานอกกระดาษ ปล่อยให้บรรณาธิการได้ยินเสียงของพวกเขา ด้วยความพึงพอใจกับประโยคสักประโยคที่ตรงกับโครงเรื่อง
15.ยกตัวอย่างการเขียนที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกที่เข้ามากับเรื่องราว
เป็นการแสดงความสามารถในการใช้ภาษาของคุณ โดยเฉพาะเรื่องแนวโรมานซ์ หรือแนวเรื่องหวาดผวา
16.ใช้ภาษาสวยๆ แบบกวีที่จะสร้างสีสันให้กับเรื่อง
เพียงถ้อยคำ 2-3 คำ หรือวลีเพียง 1 วลี ทำให้บทสรุปของคุณดูมีมิติพิเศษ
ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้สามารถใส่ในบทสรุปของคุณตรงจุดไหนก็ได้ ที่ดูแล้วเป็นธรรมชาติมากที่สุด เช่น คุณอาจเสริมบทสนทนาลงไปหลังขั้นตอนที่ 4 (สถานการณ์อันเป็นวิกฤติในตอนเปิดเรื่องของนวนิยายของคุณ) หรือขั้นตอนที่ 7 (ปมขัดแย้งหรือความหักเหในเรื่อง) เป็นต้น
ขอให้คุณโชคดีกับการขายผลงานของคุณ
=====================
คู่มือนักเขียน โดย บงกช
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น