ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เสียงธรรมประทับใจ

    ลำดับตอนที่ #1 : ลีลากรรมของสตรีสมัยพุทธกาล : กีสาโคตมี

    • อัปเดตล่าสุด 17 ก.ค. 52


    ลีลากรรมของสตรีสมัยพุทธกาล : กีสาโคตมี

    อาจารย์วศิน อินทสระ

     

    พูดถึงความตาย อย่างไรแล้วก็เป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับมนุษย์ โดยทั่วไปคนเราก็เข้าใจกันดีอยู่แล้วโดยธรรมชาติว่า ความตายเป็นธรรมดา และเข้าใจดีว่ามนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตายในวันหนึ่ง แต่หากเมื่อความตายได้ใกล้เข้ามาถึงตัว หรือความตายเกิดขึ้นกับคนที่เรารัก ความเศร้าโศก เสียใจ รำพัน ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นเรื่องที่แน่แท้ว่า เราจะหนีความจริงข้อนี้ไปไม่พ้น เรื่องของนางกีสาโคตมีให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เป็นตัวอย่างความรู้สึกของผู้เป็นแม่ที่มีต่อลูกน้อยที่จากไปถึงแม้จะเข้าใจธรรมชาติของความตาย แต่เมื่อถึงคราวที่ความทุกข์เข้ามาเยือนจริงๆ กลับคร่ำครวญเสียใจ หวังจะหายาที่ช่วยให้ลูกฟื้น จนถูกผู้คนด่าว่าเป็นบ้าไป

     

    นางกีสาโคตมีซึ่งเศร้าโศกกับความตายของลูกน้อย ได้อุ้มศพลูกเพื่อถามหายาที่จะช่วยให้ลูกฟื้นคืนชีพ จนมีบัณฑิตบอกให้นางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสแก่นางว่าให้นำเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนที่ไม่มีคนตายเพื่อมาทำยา จนในที่สุดนางจึงได้เข้าใจว่าความตายนั้นเป็นธรรมดา

     

    เรื่องราวของนางกีสาโคตมีได้ถูกเรียบเรียงเป็นธรรมนิยายโดยอาจารย์วศิน อินทสระ รวมอยู่ในหนังสือลีลากรรมของสตรีสมัยพุทธกาล ท่านได้เรียบเรียงไว้ด้วยสำนวนภาษาที่สละสลวย และได้มีการจัดทำเป็นเสียงอ่าน ซึ่งอ่านโดย คุณมนัส ทองเพชรนิล ด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะ เกื้อต่อการฟัง ฟังแล้วชวนให้สังเวชใจ

     

    เรื่องราวเกี่ยวกับความตายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้นั้น ยังมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสตรีสมัยพุทธกาลท่านอื่นๆ อีก เช่นนางปฏาจารา และนางวิสาขา ซึ่งได้เศร้าโศกกับการจากไปของคนเป็นที่รักเช่นเดียวกัน และเรื่องของธิดาช่างหูก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับมรณานุสสติ โดยเรื่องราวเหล่านี้สามารถหาอ่านได้ในหนังสือลีลากรรมของสตรีสมัยพุทธกาลนี้ ส่วนเสียงอ่านธรรมนั้นสามารถ DOWNLOAD ไปฟังได้

     

    DOWNLAND เสียงธรรมนี้ได้ไปฟังได้ที่

    http://www.fungdham.com/book/wasin-sateeputtakarn.html

    http://www.jozho.net/index.php?mo=3&art=271076

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×