ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    History around the world (Here and There)

    ลำดับตอนที่ #2 : การก่อตั้งอิสราเอล (The creation of Israel)

    • อัปเดตล่าสุด 4 พ.ค. 52


    การก่อตั้งอิสราเอล

                    การสิ้นสุดสงครามโลกภายหลังการผ่ายแพ้ของเยอรมนีในปีค.ศ.1945 พร้อมทั้งชัยชนะของพรรคกรรมกรในอังกฤษ ( British Labour Party) จากการเลือกตั้งทั่วไปได้ให้ความหวัง ใหม่แก่พวกไซออนนิสท์ (Zionist) เพราะพรรคนี้เป็นพรรคที่สนับสนุนขบวนการไซออนนิสท์และได้โจมตีรัฐบาลอนุรักษ์นิยมที่ตีพิมพ์สมุดปกขาว (White Paper) ในปีค.ศ.1939 ซึ่งได้จำกัดการอพยพของชาวยิวเข้ามาในปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตามพวกไซออนนิสท์ก็ต้องผิดหวังเมื่อนายเออร์เนส เบวิน (Ernest Bevin) ในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมฝ่ายค้านได้พยายามปกป้องสิทธิของพวกไซออนนิสต์ แต่ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลอังกฤษ เขาก็ต้องคำนึงถึงชาวอาหรับด้วยเช่นกัน

                    ในเดือนสิงหาคมค.ศ. 1945 ประธานาธิปดีทรูแมน เรียกร้องให้นายเคลมองท์ อัตลี(Clement Atlee) รับผู้ลี้ภัยชาวยิวจำนวน 100,000 คนเข้ามายังปาเลสไตน์ Atlee โต้ตอบโดยการเชิญให้อเมริกาเข้ามาร่วมในการแก้ปัญหาปาเลสไตน์ สหรัฐอเมริกายอมรับข้อเสนอและ Anglo-America Commission จึงได้ถูกส่งไปยังลอนดอน เยอรมนี ออสเตรีย และปาเลสไตน์เพื่อช่วยกันศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น ในขณะนั้น สภาพของชาวยิวในยุโรปกลางและเยอรมนีตะวันออกนั้นเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ชาวไซออนนิสต์ถูกจับในการที่ใช้ผู้ลี้ภัยชาวยิวในฐานะอาวุธขยายการเมืองออกไปโดยปราศจากการตรวจสอบ  5 ปีต่อมาในวิธีเดียวกันรัฐอาหรับถูกกล่าวหาว่าใช้ผู้ลี้ภัยชาวอาหรับในการสร้างความกดดันให้กับอิสราเอล 

                    ถ้าท่าทีของรัฐบาลกรรมกรแห่งอังกฤษสร้างความผิดหวังให้กับผู้นำไซออนนิสต์ สิ่งนี้กลับได้สร้างความโกรธเคืองให้กับขบวนการใต้ดิน Irgun และ Stern ในเวลาที่ผู้นำทางการเมืองของไซออนนิสท์ประกาศการก่อการร้าย ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้ได้รับเงินจากสหรัฐอเมริกาเพื่อซื้ออาวุธและใช้ในการร่วมมือกับกองกำลังกึ่งทางการของไซออนนิสต์ ซึ่งก็คือ Haganah อย่างไรก็ตามกิจกรรมก่อการร้ายเหล่านี้ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1944 พวกเขาได้ระเบิดสถานีตำรวจของอังกฤษและฆ่าทั้งประชาชนธรรมดาและทหาร ในเดือนพฤศจิกายนปี 1944 สมาชิกในกลุ่ม Stern ได้ก็ลอบฆ่านายกรัฐมนตรีชาวอังกฤษในไคโร

    The Anglo-American Commission

                การทำงานของคณะกรรมาธิการของอังกฤษและอเมริกานั้นอยู่ในบรรยากาศขอการต่อต้านและความไม่มั่นคง ในช่วงปลายปี 1945 หน่วยคอมแมนโดที่ได้รับการฝึกโดยกลุ่มฮากานาห์ Haganah trained commandos (Palmach) ได้เข้ามาร่วมในกิจกรรมต่อต้านอังกฤษด้วย และได้โจมตีค่ายทหารและปลดปล่อยผู้อพยพชาวยิว 200 คนซึ่งแอบเข้าประเทศอย่างประเทศอย่างผิดกฎหมายตามข้อกำหนดของ White Paper ต่อมาก็ได้จมเรืออังกฤษอีก 3 ลำ ในปีเดียวกันนั้นกลุ่มใต้ดิน Irgun และ Stern ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วยเช่นกัน อังกฤษได้ทำการตอบโต้แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะชาวยิวคอยให้ความช่วยเหลือพวกใต้ดินอยู่

                    คณะกรรมาธิการแห่งอังกฤษและฝรั่งเศสได้แถลงรายงานในปีต่อมา ปาเลสไตน์จะต้องไม่ใช่ทั้งรัฐยิวหรือรัฐอาหรับ ไม่ให้มีการแบ่งแยก และสนับสนุนการเป็นรัฐ 2 ชาติ 2 ภาษา โดยให้มีการคุ้มครองสิทธิของชาวอาหรับชาวยิวเท่ากัน แต่ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะเป็นรัฐอิสระ ทั้งยังเสนอว่าเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ของผู้อพยพชาวยิวในยุโรป คณะกรรมาธิการได้เสนอให้มีการรับชาวยิวเข้าไปในปาเลสไตน์อีก 100,000 คน ประธานาธิบดีทรูแมนก็เห็นด้วยกับการให้รับชาวยิวเข้าไปยังปาเลสไตน์ แต่นายกรัฐมนตรี Atlee ไม่เห็นด้วย

                    อังกฤษได้เชิญให้ผู้แทนของชาวอาหรับและพวกไซออนนิสต์เข้ามาประชุมกันที่ลอนดอนในเดือนกันยายน ค.ศ. 1946 เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่าจะไม่มีผลใดๆเกิดขึ้น แต่สถานการณ์นั้นก็ได้เอื้อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ Bevin กล่าวโทษว่าเป็นความล้มเหลวของอเมริกาได้ อังกฤษต้องอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ต่อมากลุ่มใต้ดิน Irgun และ Stern ได้ทำสงครามอย่างเปิดเผยกับอังกฤษในปาเลสไตน์ 

    The United Nations Commission

                ในบรรยากาศของความไม่ไว้วางใจ การกล่าวหา การฆาตกรรม สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือความไม่สามารถของอังกฤษในการแก้ไขปัญหา ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1947Bevin ได้ประกาศถึงการตัดสินใจของอังกฤษในการที่จะเสนอปัญหาปาเลสไตน์ให้กับสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อศึกษาสถานการณ์ในปาเลสไตน์ (The United States special Committee on Palestine (UNSCOP) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจาก 11 ประเทศได้แก่ ออสเตรีย แคนาดา เชคโกสโลวาเกีย กัวเตมาลา อินเดีย อิหร่าน เนเธอร์แลนด์ เปรู สวีเดน อุรุกวัย และ ยูโกสลาเวียเมื่อคณะกรรมาธิการเหล่านี้เข้าไปยังปาเลสไตน์ กลุ่ม Irgun            ได้โจมตีคุกที่ Acre อย่างอุกอาจและปลดปล่อยนักโทษชาวยิวออกไปเป็นจำนวนมาก

                    UNSCOP ไม่สามารถที่จะเสนอรายงานที่เป็นเอกฉันท์ได้ อินเดีย อิหร่านและยูโกสลาเวียสนับสนุน สมาพันธรัฐปาเลสไตน์(Federated Palestine) ประเทศที่เหลือสนับสนุนการแบ่งแยกปาเลสไตน์เป็นรัฐอาหรับและรัฐยิว พวกไซออนนิสท์ก็สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน ในขณะที่อาหรับปฏิเสธทั้ง 2 ข้อเสนอ ผลที่ตามมาคือ คณะกรรมการด้านการเมืองของสหประชาชาติ (Political committee) ตัดสินใจเลือกการแบ่งแยกดินแดน ปาเลสไตน์จึงถูกแบ่งออกเป็น 6 ส่วน 3 ส่วนสำหรับชาวอาหรับและอีก 3 ส่วนสำหรับชาวยิว เยรูซาเล็มและเบธเลเฮ็มต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของนานาชาติ ต่อมาได้มีการเพิ่ม Ten-years economic union เข้ามาในแผน ในเศรษฐกิจแบบร่วมกันนี้ รัฐยิวถูกกำหนดให้ช่วยเหลือรัฐอาหรับ แต่ภายใต้ความขัดแย้งอันรุนแรงที่ตามมา แผนนี้ก็ไม่มีการเอ่ยถึงอีก อย่างไรก็ดีปัญหาที่ตามมาก็คือความเป็นไปไม่ได้ในการที่แผนการแบ่งแยกดินแดนจะได้รับเสียง 2 ใน 3 ในการที่เสนอแก่สมัชชาใหญ่ได้ เพราะบางประเทศไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ จึงได้มีการโหวตครั้งสุดท้ายขึ้น แต่ก็มีการเลื่อนออกเพราะติดวัน Thanksgiving day ในช่วงที่เลื่อนการโหวตออกไปนั้นประเทศที่คิดจะปฏิเสธแผนการนี้ก็ได้รับความกดดันอย่างหนัก จนสุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนการโหวต เพราะความจริงอย่างหนึ่งที่ว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกถาวรของสภาความมั่นคงของสหประชาชาตินั้นสนับสนุนแผนการแบ่งแยกดินแดนเพื่อช่วยพวกไซออนนิสต์ ส่วนอีก  2 ประเทศคือ อังกฤษและจีนไม่ลงคะแนน เมื่อสมัชชาจัดประชุมในวันที่ 29 พฤศจิกายน แผนการแบ่งแยกดินแดนมีท่าทีว่าจะผ่านมติ ต่อมาผู้แทนของอาหรับก็ออกมาเสนอแผนการร่วมรัฐ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ปฏิเสธ แต่ผลก็คือแผนการแบ่งแยกดินแดนได้มติเป็นเอกฉันท์จากการโหวต 33 เสียงต่อ 13 เสียง ไม่ลงคะแนน 11 เสียง อังกฤษประกาศว่าจะมีการตัดสินคำสั่งการในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1948 และจะถอนกำลังออกจากปาเลสไตน์ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม

     สงครามกลางเมืองในปาเลสไตน์

                    ทันทีหลังจากการโหวตของสหประชาชาติ สงครามกลางเมืองระหว่างอาหรับปาเลสไตน์กับไซออนนิสท์ก็ได้เริ่มขึ้น กองกำลังของอังกฤษก็ไม่ได้เข้ามาแทรกแซง ชาวอาหรับนั้นได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์จากรัฐอาหรับเพื่อนบ้าน และพวกไซออนนิสท์ก็จัดหาอาวุธจากอเมริกาและเชกโกสโลวาเกีย ส่วนกลุ่มกองทัพใต้ดิน Haganah Irgun และ Stern ก็ยังทำการจู่โจมโกดังของอังกฤษเพื่อนำอาวุธมาเพิ่ม ชาวอาหรับนั้นมีกำลังทหารเพียงประมาณ 5,000 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์น้อย ในขณะที่พวกไซออนนิสท์มีทั้งอาวุธและประสบการณ์ที่ดีกว่า เจ้าหน้าที่และทหารจำนวนมากของพวกไซออนนิสท์ล้วนเป็นพวกทหารผ่านศึกจากสงครามโลกครั้งที่  

                    ทั้ง 2 ฝ่ายต่างปฏิบัติการที่รุนแรงต่อกัน พวก Irgun ก็ได้ทำการระเบิดโรงแรม Semiramis ซึ่งชาวอาหรับเป็นเจ้าของ ฝ่ายาหรับก็ตอบโต้โดยระเบิดไปรษณีย์ที่ชาวยิวเป็นเจ้าของ เมื่อเกิดระเบิดขึ้นในตลาดในเมือง Ramleh2 วันต่อมา พวกอาหรับก็ตอบโต้โดยการระเบิดในหมู่ชนที่ Tel Aviv เหตุการณ์ที่น่าตื่นตระหนกที่สุดกรฆาตกรรมหมู่ในหมู่บ้านอาหรับใน Deir Yassin ซึ่งต่อมาก็ได้มีการจับผู้กระทำผิดโดยกลุ่ม Haganah และได้ส่งต่อมายังกลุ่ม Irgun-Stern เพื่อส่งต่อไปยังตำรวจ แต่กลุ่ม Irgun-Stern ได้ทำการฆาตกรรมชาวอาหรับ 254 คน ทั้งชายหญิงและเด็กอย่างทารุณ 2-3 วันต่อมา ชาวอาหรับแก้แค้นโดยซุ่มโจมตีกลับ คร่าชีวิตแพทย์ พยาบาลและนักศึกษา 80 คน

                    เหตุการณ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนธรรมดาทั่วไปทั้งชาวยิว และอาหรับ แต่ชาวยิวนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ออกมาจากบ้านโดยไม่ได้รับคำอนุญาตพิเศษจากกลุ่ม Haganah ในขณะที่ชาวอาหรับไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ   เมื่อถึงวันออกคำสั่งการในวันที่ 15  ก็มีผู้อพยพชาวอาหรับประมาณ 150,000 คนซึ่งต้องการหนีไปจากสงครามและการนองเลือดนี้ในช่วงกลางของการนองเลือดนี้ได้เกิด 2 สิ่งที่ไม่ลงรอยกันก็คือในที่ประชุมของสหประชาชาติในสหรัฐอเมริกาได้แสดงให้เห็นเด่นชัดถึงการเปลี่ยนแปลงความคิด ซึ่งเสนอว่าการแบ่งแยกดินแดนนั้นเป็นการยากและสหประชาชาติควรจะเข้าควบคุมดินแดนในอาณัติของปาเลสไตน์ ในที่ประชุมพิเศษของสมัชชาใหญ่ในวันที่ 16 เมษายนละ 15 พฤษภาคมได้มีการพิจารณาข้อเสนอนี้ท่ามกลางการวิจารณ์ที่รุนแรงจากไซออนนิสท์และผู้สนับสนุน ในขณะที่ตัวแทนของสหประชาชาติกำลังอภิปรายถึงชะตากรรมของแผนแบ่งแยกดินแดน นายเบน กูเรียน (Ben Gurion) และสมาชิกของคณะที่ปรึกษาแห่งชาติของรัฐยิวในปาเลสไตน์ได้รวมตัวกันที่ Tel Aviv ในวันที่14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 และประกาศการก่อตั้งรัฐแห่งอิสราเอลขึ้นมา ในเวลาไม่นานประธานาธิบดีทรูแมนก็ได้ประกาศการยอมรับรัฐใหม่นี้  Dr.Chaim Weizman ได้ถูกเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐใหม่นี้โดยมี Ben Gurion เป็นนายกรัฐมนตรี

    สงครามอาหรับ- อิสราเอล

                ในตอนเช้าของวันที่ 15 เดือนเมษายน รัฐอาหรับ 6 รัฐ ได้แก่ อียิปต์ อีรัก จอร์แดน เลบานอน ซาอุดิอาระเบีย และซีเรีย ได้ร่วมกันโจมตีอิสราเอล เพื่อพิจารณาถึงว่าการที่ชาติๆหนึ่งซึ่งมีประชากรแค่ 650,000 คน จะสามารถเอาชนะ รัฐร่วมอาหรับซึ่งมีประชากรถึง 40,000,000 คน ก็ดูจะเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อนำจำนวนกองกำลังที่เข้าต่อสู้มาพิจารณาแล้ว ก็จะเห็นภาพที่แตกต่างออกไป เพราะว่า กองกำลังที่ร่วมจากรัฐอาหรับ 6 รัฐนั้น แท้จริงไม่ได้มีจำนวนเกินกว่า 70,000 คน และที่สำคัญมีแค่ประมาณ 10,000 คนที่ได้รับการฝึกฝนมาเพียงพอ และจำนวนนี้ก็ได้รวมคน 6,000 คนจากกองกำลังทหารอาหรับจอร์แดนแล้ว

                    อิสราเอลเผชิญหน้ากับกองทัพอาหรับด้วยทหารอย่างน้อย 60,000 คน จากกลุ่ม Haganah กองทัพนี้ประกอบไปด้วยทหารอังกฤษ 300 คน ทหารผ่านศึกจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน20,000 คน และหน่วยคอมแมนโดที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษราว 3,000 คน และนักรบจากกลุ่ม Irgun-Stern เกือบ 1,000 คน สำหรับชาวอิสราเอลนั้นไม่มีใครจะมาลดความกล้าและความยืนหยัดต่อสู้ของพวกเขา ผู้ซึ่งมีขวัญกำลังใจอย่างมากและต่อสู้เพื่อการมีตัวตนของชาติของตน ในทางตรงกันข้ามชาวอาหรับไม่มีทั้งจุดหมายเดียวกันและการสั่งการที่สอดคล้องกัน ชาวอาหรับส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังต่อสู้เพื่ออะไร 

                    กองทัพทั้ง 2 ฝ่ายนั้น แรกเริ่มมีอาวุธต่างๆไม่มากนัก แต่ชาวอิสราเอลก็ได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นซึ่งจัดหามาโดยพวกไซออนนิสท์ในอเมริกาและยุโรป อีกทั้งยังมีอาสาสมัครนักบินชาวยิวในอังกฤษ อเมริกาและซาอุดิอาระเบียเข้ามาสมทบด้วย อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนั้นอาหรับดูเหมือนว่าจะเหนือกว่า อียิปต์สามารถยึด Negev จอร์แดนได้ควบคุมเยรูซาเล็มเก่า และทหารอิรักก็อยู่ภายใน 15 ไมล์จาก Haifa เมื่อมีการพักรบครั้งแรกในวันที่ 11 มิถุนายน โดยสหประชาชาติ  อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ฝ่ายกลับเมินเฉยต่อข้อตกลงในส่วนที่ 2 แต่ชาวอาหรับก็ไม่สามารถล้อมกำลังไว้ทั่วพื้นที่ได้ในขณะที่ชาวอิสราเอลสามารถจัดซื้ออาวุธชั้นยอดจากเชคโกสโลวาเกียได้ 

                    Court Folke Bernadotta แห่งสวีเดนได้ถูกส่งมาโดยสหประชาชาติเพื่อไกล่เกลี่ยการพักรบนี้ โดยมีแผนว่าเยรูซาเล็มและเนเกฟจะเป็นของอาหรับและ Galilee ทั้งหมดจะเป็นของอิสราเอล ทั้งอาหรับและอิสราเอลปฏิเสธแผนนี้และเริ่มต่อสู้กันในวันที่ 9 กรกฎาคมเกิดการต่อสู้ขึ้น 10 วันโดยที่อิสราเอลเป็นฝ่ายเหนือกว่า การพักรบครั้งที่ 2 ถูกจัดขึ้นโดยสหประชาชาติในวันที่ 19 กรกฎาคม เยรูซาเล็มเก่านั้นถูกครอบครองโดยกองทหารอาหรับและเยรูซาเล็มใหม่ถูกครอบครองโดยอิสราเอล 

                    การพักรบครั้งที่ 2 นี้ก็ไม่ต่างจากครั้งแรกอิสราเอลได้นำกองทัพเข้าโจมตี Negav และ Galilee  และในวันที่ 31 ตุลาคม กองทัพอิสราเอลพร้อมทั้งกำลังทางอากาศที่เหนือกว่าได้ผลักชาวอียิปต์ออกไปจาก Negev และกองกำลังอาหรับอิสระออกไปจากตอนเหนือของ Galilee สหประชาชาติได้ให้รวมตัวแทนชาวอาหรับและอิสราเอลไว้คนละห้องและเข้าไปประชุมไปมาระหว่างสองห้องนี้ จนกระทั่งได้รับการสงบศึกครั้งแรกระหว่างอิสราเอลและอียิปต์ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1949 และการมาด้วยการสงบศึกกับชาติอื่นๆ เช่นเลบานอน จอร์แดน และซีเรีย

    เยรูซาเล็ม

                    ปัญหาที่ยังคงอยู่ก็คือปัญหาเรื่องเยรูซาเล็มเก่าและใหม่ จากที่เป็นพื้นที่ภายใต้การควบคุมของนานาชาติ สงครามได้เปลี่ยนสถานะของเมืองๆนี้เป็นเมืองที่ถูกแบ่งแยก โดยชาวจอร์แดนได้ควบคุมเยรูซาเล็มเก่า และเบธเลเฮ็ม ส่วนอิสราเอลถือครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยรูซาเล็มใหม่ ผลก็คือพื้นที่ๆถูกถือครองโดยอิสราเอลและจอร์แดนกลายเป็นอาณาเขตที่แบ่งแยก และเยรูซาเล็มก็ยังคงเป็นเมืองที่แบ่งแยก การอยู่ภายใต้การควบคุมของนานาชาติของเยรูซาเล็มนั้นยังคงอยู่ภายใต้การตัดสินใจของสหประชาชาติ ในปี1949 อิสราเอลเรียกร้องให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงและให้ย้ายรัฐสภา Knesset พร้อมทั้งรัฐมนตรีทุกคนในสภาออกไป แต่นักการทูตที่ได้รับมอบหมายงานในอิสราเอลก็ไม่ได้ยอมรับความจริงนี้และยังคงสถานทูตของพวกเขาไว้ใน Tel Aviv นอกจากนี้อิสราเอลก็เมินเฉยต่อความจริงที่ว่าเยรูซาเล็มนั้นควรจะเป็นเขตปลอดทหารและได้จัดการเดินขบวนทหารในเมืองประจำปีขึ้น หลังจากสงคราม 6 วัน (Six days war) ในเดือนมิถุนายนค.ศ.1967 และผนวกเยรูซาเล็มเก่าเข้ามายังอิสราเอลแล้ว ดังนั้นความเป็นไปได้ของการจะให้เมืองนี้เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของนานาชาติจึงไม่มีเลย 

    ผู้ลี้ภัยชาวอาหรับ

                    ปัญหาที่ 3  ซึ่งยังเป็นปัญหาหนักที่สุดที่ตามมาหลังจากการพักรบระหว่างรัฐอิสราเอลกับรัฐอาหรับก็คือปัญหาเรื่องผู้ลี้ภัยชาวอาหรับ ช่วงหลังการสิ้นสุดการสู้รบในต้นปี 1949 มีผู้ลี้ภัยราว 750,000 คนกระจัดกระจายอยู่ทั่วอียิปต์ จอร์แดน เลบานอนและซีเรีย เหตุผลว่าทำไมจึงมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากเช่นนี้นั้นมีอยู่หลายประการ ประการหนึ่งก็คือชาวอิสราเอลและกลุ่มผู้สนับสนุนมักจะอ้างว่าชาวอาหรับถูกปลุกเร้าผ่านทางวิทยุโดยรัฐอาหรับที่กล่าวถึงการให้ที่พำนักและเข้าร่วมกับกองทัพเพื่อเอาชนะอิสราเอล ชาวอาหรับก็อ้างว่าทหารอิสราเอลได้ไล่ต้อนชาวอาหรับทั้งชาย หญิงและเด็กออกไป เพื่อสร้างที่ว่างสำหรับผู้ลี้ภัยชาวยิวผู้ซึ่งกำลังเข้ามาในประเทศ แม้ว่าจะพิสูจน์ข้ออ้างของชาวอิสราเอลไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ ชาวอาหรับคงจะได้ยินรายงานในแง่ดีทางวิทยุถึงชัยชนะของอาหรับ จึงคิดว่าควรที่จะออกจากประเทศไปก่อนและกลับมาพร้อมกับชัยชนะที่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้ามได้มีการยืนยันว่าใน Haifa ละเมืองใหญ่อื่นๆ โฆษกชาวยิวได้กระตุ้นให้ชาวอาหรับออกไปและในหมู่บ้านบ้านแห่งทหารอิสราเอลก็ได้ทำลายที่พักอาศัยของชาวอาหรับรวมทั้งสถานที่อื่นๆ จนชาวอาหรับต้องออกนอกประเทศในที่สุด

                    ชาวอาหรับต่างกังวลกับชีวิตของตน พยายามหาที่หลบภัยและหวังว่าจะได้กลับไปเมื่อสงครามจบลง อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามสิ้นสุดลง กองกำลังของอิสราเอลก็ไม่อนุญาตให้ชาวอาหรับเข้าประเทศ บ้านของชาวอาหรับถูกยึดครองโดยชาวยิวนับพันคน นอกจากจะไม่ยอมให้ชาวอาหรับเข้ามาแล้ว อิสราเอลก็ยังไม่ให้ค่าชดเชยสำหรับที่ดินและทรัพย์สินที่ถูกยึดไปแก่ชาวอาหรับ ยกเว้นเสียแต่ว่าอาหรับจะยอมเซ็นท์สนธิสัญญาสันติภาพ ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในค่ายซึ่งได้รับการจัดหามาจากUnited Nation Relief and Work Agency (UNRWA) องค์กร Friends Service Committee World Church Service และองค์กรการกุศลอื่นๆ อียิปต์นั้นกักตัวผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ไว้ที่ Gaza Strip ส่วนในซีเรีย-เลบานอนนั้นผู้ลี้ภัยแม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นคนต่างด้าว แต่การศึกษาที่พวกเขาได้รับก็ทำให้สามารถหางานและได้รับสัญชาติ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ลี้ภัยจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีการศึกษาก็ได้ไปประกอบอาชีพครูในคูเวตและซาอุดิอาระเบีย มีแต่ในจอร์แดนเท่านั้นที่ผู้ลี้ภัยจะได้รับสถานภาพการเป็นพลเมืองเต็มขั้น อย่างไรก็ตามผู้ลี้ภัยที่อยู่ในค่ายนั้นยังคงมีชีวิตที่ไร้จุดหมาย

    รัฐไซออนนิสท์ (A Zionist State)

                อิสราเอลนั้นเป็นรัฐที่ต่างจากรัฐอื่นๆในโลก สิงที่ทำให้อิสราเอลนั้นแตกต่างก็คืออิสราเอลเป็นที่สำหรับผู้ลี้ภัยเฉพาะกลุ่ม ซึ่งก็คือกลุ่มชาวยิวเท่านั้น เพราะไซออนนิสท์ได้ทำงานเพื่อบ้านของชาวยิวและก็รัฐของชาวยิว ซึ่งสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คืออิสราเอลนั้นควรที่จะเตรียมพร้อมสำหรับการรวบรวมชาวยิวทุกคนในโลก รัฐอิสราเอล(The State of Israel) นั้นไม่เคยปฏิเสธการรับพวกที่ไม่ใช่ชาวยิวเข้ามา แต่ความเป็นยิวของพวกเขานั้นก็เด่นชัดมากเสียจนทำให้พวกที่ไม่ใช่ยิวรู้สึกว่าตนเองไม่เป็นส่วนหนึ่งของที่นี่แล้ว 

                    คำถามที่ตามมาก็คือใครคือ ยิว ชาวยิวจำนวนมากเห็นด้วยว่าความคิด ความเชื่อ ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินว่าใครเป็นยิว ในอิสราเอลนั้นมีความศรัทธาในพระเจ้าและความศรัทธาใน Torah ทั้งที่ไม่เชื่อในพระเจ้าเลย แต่ทุกคนก็คือยิว สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าเป็นยิวก็คือ ชาติกำเนิด ศาลในอิสราเอลได้ตัดสินว่าบุคคลที่มีมารดาเป็นชาวยิวก็จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นยิว สิ่งนี้เป็นการเน้นความเป็นยิวซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในหลักการของไซออนิสท์ แต่ดูจะปรากฏขึ้นผิดยุคในรัฐสมัยใหม่แบบนี้ ผู้ที่อพยพมายังอิสราเอลหากไม่สามารถพิสูจน์ถึงเชื้อสายยิวได้นั้นก็จะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นยิว ดังนั้นก็จะไม่ได้มีส่วนร่วมในสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิพิเศษใดๆดังที่ชาวยิวได้รับ

                    ในขณะที่ชาวยิวที่กระจัดการจายอยู่ทั่วไปนั้นอยู่ภายใต้อำนาจของพวกที่ไม่ใช่ยิวในทุกด้าน มีเพียงในอิสราเอลที่ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งดินที่ชาวอิสราเอลเดินผ่าน ต้นไม้ที่ให้ผลไม้แก่เขา โรงเรียนที่เด็กๆเข้าเรียน พื้นที่ทุกแห่ง ทั้งหมดนี้คือยิว ด้วยแนวคิดแบบรัฐยิวแบบนี้ จึงเป็นที่สงสัยว่าพวกที่ไม่ใช่ยิว แม้ในที่ๆมีประชาธิปไตยเช่นนี้ จะสามารถรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้านได้หรือ 

     
    รัฐบาลอิสราเอล

                    อย่างไรก็ตม ไม่ได้หมายความว่าในอิสราเอลไม่มีประชาธิปไตยหรือิสรภาพแก่ประชาชน แต่ว่าสังคมอิสราเอลนั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นสังคมที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในโลก รัฐบาลของอิสราเอลวางอยู่บนหลักการของประชาธิปไตย พวกผู้อพยพเข้ามาใหม่ได้นำหลักการอันหลากหลายทางการเมืองจากยุโรปตะวันออกและได้รวมเข้ากับแนวทางเกี่ยวกับรัฐสภาของอังกฤษเข้ามาในประเทศ ในการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 1949 มีพรรคการเมือง 21 พรรคที่ต้องสู้กันเพื่อ 120 ที่นั่งในสภา Knesset ใน 21 พรรค มีเพียง 9 พรรคที่ได้รับการโหวตมากพอที่จะถือครองอย่างน้อยหนึ่งที่นั่งในสภา พรรคที่สำคัญก็มีพรรคMapai พรรคMapam พรรคGeneral Zionists พรรคherut และ พรรคMizachi

                    Mapai หรือพรรคกรรมกรอิสราเอล (Israel Worker Party) เป็นพรรคที่มีอิทธิพลที่สุดในประเทศ พรรคนี้เป็นพรรคแรงงานที่มีแนวคิดแบบสังคมนิยมมาร์กซิสต์ ฝั่งซ้ายของพรรคนี้ก็คือพรรคสหพันธ์แรงงานหรือ Mapam ซึ่งเป็นพวกถือทฤษฎีของมาร์ซิสต์และทำให้พวกไซออนนิสท์สนับสนุนแนวคิดสังคมนิยม นอกจากนี้พรรคนี้ได้สนับสุนนการรวมรัฐอาหรับ-ยิว และต่อต้านโครงการ Biltmore ฝั่งขวาของMapai ก็คือ Liberal Party ซึ่งเป็นพรรคที่มีการรวมกันจากหลายกลุ่ม พรรคนี้ไม่รับแนวคิดอื่นๆนอกจากแนวคิดของไซออนนิสท์ ในช่วงแรกๆพรรคนี้เป็นพรรคที่ใหญ่เป็นอันดับสอง แต่ต่อมาก็ต้องยกตำแหน่งนี้ให้พรรค Heirut ซึ่งเป็นพวกฝ่ายขวาสาขาหนึ่งของ Liberal Party พรรคนี้นำโดยผู้นำบางคนจากกลุ่ม Irgun เป็นพรรคที่มีแนวคิดรักชาติอย่างรุนแรงและสนับสนุนการขยายอาณาเขตของอิสราเอลและป้องกันสงครามกับรัฐอาหรับ

                    พรรคที่สำคัญในหมู่พรรคทางศาสนาก็คือพรรค Mizrachi และพรรค Mizrachi Workers พวกเขาเชื่อว่าลัทธิไซออนนิสต์มีรากฐานมาจากศาสนายิว ดังนั้นศาสนายิวจึงไม่ควรถูกแยกออกจากชาวยิว นอกจากนี้เพราะไม่มีพรรคใดในอิสราเอลที่จะมีที่นั่งส่วนใหญ่ในสภา Knesset ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น

    การรวมตัวทางสังคม (Social Integration)

                เพราะธรรมชาติของรัฐอิสราเอลและสถานการณ์ที่รัฐถูกก่อตั้งขึ้น จึงเต็มไปด้วยปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในปี 1948 จำนวนประชาชนในอิสราเอลมีอยู่ประมาณ 650,000 คน ภายในช่วง 18 เดือนแรกของการก่อตั้งอิสราเอลจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นกว่า 300,00 คน ผู้อพยพเกือบจะทั้งหมดล้วนเป็นผู้ลี้ภัยซึ่งไม่มีทรัพย์สมบัติตัดตัว ปัญหาเรื่องการจัดสรรที่อยู่อาศัย อาชีพ และการรวมตัวทางสังคมนั้นก็ยังไม่มั่นคง หลังจากปี 1950 เมื่อผู้อพยพชาวยิวจากยุโรปเริ่มเฉื่อยลง จึงได้มีความพยายามที่จะนำชาวยิวทางตะวันออกจากประเทศที่พูดภาษาอาหรับเช่น อิหร่าน ตุรกี อินเดียและที่อื่นๆ ขบวนการ Magic Carpet พรมวิเศษ ได้รับชาวยิวYamani45,000 คนเข้ามา และขบวนการAli baba ได้รับชาวยิว 114,000 คนจากอิรักเข้ามา ภายในปี 1962 ชาวยิวจากตะวันออกมีประมาณ 55% ของจำนวนประชากรในอิสราเอล

                    ผู้อพยพได้นำวัฒนธรรม ภาษา อคติ ความเชื่อทางศาสนา และแม้กระทั่งรูปลักษณะที่แตกต่างมายังอิสราเอล ผู้อพยพได้เรียนรู้ภาษาใหม่ ทั้งการดำเนินชีวิตการทำงานร่วมกันในฐานะชาติเดียวกัน ในประเทศบ้านเกิดนั้นพวกเขาเป็นที่รู้จักในฐานะ ชาวยิวแต่เมื่อมาอยู่ในอิสราเอลพวกเขาคือชาวโปลส์ ชาวโรมาเนีย ชาวอิรัก ยามานิ อียิปต์หรืออเมริกา ชาวเยอรมันก็ไม่ชอบชาวโปลส์ และพวกยุโรปก็เหยียดพวกที่มาจากตะวันออก จุดมุ่งหมายของนโยบายการรวมกันของยิวของรัฐบาลอิสราเอลนั้นก็เพื่อสร้างความร่วมมือกัน แต่ก็ต้องยอมแพ้เพราะความแตกต่างทางสังคมนี้ได้นำสู่การทะเลาะวิวาทหรือแม้กระทั่งยิงกัน

                    โดยรวมก็คือชาวยิวตะวันออกซึ่งเป็นผู้ที่มาที่หลัง มีการศึกษาและทักษะน้อย จึงถูกแบ่งแยกทางสังคมทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ งานที่ได้เงินดีส่วนใหญ่จะเป็นของพวกยิวที่มาจากยุโรป ซึ่งคิดถึงความจริงที่ว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในคนที่ก่อตั้งรัฐ ผ่านปีแห่งการทำงานและการเสียสละของพวกเขาเอง พวกนี้จึงเชื่อว่าพวกยิวตะวันออกก็ควรที่จะได้พบกับประสบการณ์แบบนี้เช่นกัน และไม่ควรที่จะคาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ผลที่สุดก็คือชาวยิวที่ไม่ได้มาจากประเทศอาหรับและยุโรปจำนวนหนึ่งได้ออกจากอิสราเอล แม้ว่าสงครามกับรัฐอาหรับได้นำปัจจัยสำคัญต่างๆที่แตกต่างกันเข้ามารวมกัน แต่การรวมตัวกันทางสังคมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่จำกัดเช่นนี้ก็เป็นกระบวนการที่ยากและจำต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน

    เศรษฐกิจของอิสราเอล

                เศรษฐกิจของอิสราเอลมักจะอยู่ในสภาพที่ไม่มั่นคง เพราะการที่เป็นประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยในด้านต่าง      ๆ ถ้ามีน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้มากพอหรือถ้ามีการค้นพบแหล่งน้ำใหม่จากการน้ำเกลืออกจากน้ำทะเล พื้นที่ 5,000,000 เอเคอร์ก็จะสามารถใช้เพาะปลูกได้ แต่ก็ยังคงจะไม่เพียงพอสำหรับประชาชน 4,000,000 คนอยู่ดี อิสราเอลต้องอาศัยเงินกู้ และความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งมาจากสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติ ค่าชดเชยจากเยอรมนีสำหรับการสูญเสียทรัพย์สินของชาวยิว ความช่วยเหลือจากยิวในอเมริกา และการขายสนธิสัญญาต่างๆ 

                    เพื่อชดเชยความยากลำบากทางเศรษฐกิจ อิสราเอลได้ใช้ขั้นตอนที่ก้าวกระโดด ซึ่งได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับเศรษฐกิจอย่างมาก พวกเขาได้นำน้ำจากทะเลสาบ Gailee มาใช้โดยส่งผ่านท่อไปยัง Negev และได้สร้างโงงานกว่า 9,000 โรงงาน และมีการจ้างคนถึง 100,000 คน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเมืองท่า Eilat บนอ่าว Aqaba เพื่อการค้าขายกับเอเชียโดยได้สร้างท่อน้ำมันจาก Eilat ไปยัง Haifu ซึ่งอยู่บนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีการส่งงออกผลไม้ไปยังตลาดในยุโรป มีการพัฒนาการท่องเที่ยว อิสราเอลยังคงมีโครงการอีกมากมายที่เตรียมไว้สำหรับอนาคต แต่ว่าอิสราเอลจะยังคงมีเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงเช่นนี้นานเท่าที่อิสราเอลยังอยู่ในสงครามกับรัฐอาหรับ

    อิสราเอลและรัฐอาหรับ

                    ปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจของอิสราเอลนั้นถูกผูกติดไว้กับความสัมพันธ์ของอิสราเอลกับรัฐอาหรับ เช่นปัญหาเรื่องเส้นทางผ่านคลองสุเอซหรือการใช้อ่าว Aqaba บางทีถ้าชาวอาหรับสามารถคิดว่าอิสราเอลเป็นเพียงชาติเล็กๆที่มีความเป็นมิตร และจะต้องไม่มีความต้องการประเทศเพื่อนบ้านของตนเอง การประนีประนอมระหว่างกันคงจะประสบผลสำเร็จ แต่ความสัมพันธ์ของอิสราเอลกับชาวยิวทั้งโลกและความหวังของไซออนนิสท์ที่จะนำชาวยิวทุกคนมายังอิสราเอล ได้เปลี่ยนให้อิสราเอลดูจะกลายเป็นสิ่งใหญ่โตในสายตาของอาหรับ สำหรับอาหรับไซออนนิสท์โลกนั้นอันตรายกว่าคอมมิวนิสต์ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องต่อสู้และตัดสัมพันธ์ ขณะเดียวกันก็กลัวอิสราเอลด้วยเช่นกัน ผลของสงคราม 3 ครั้งใน 20 ปีก็คืออิสราเอลกลายเป็นประเทศผู้นำของปาเลสไตน์ คาบสมุทรซีไน(Sinai Pensuala) และพื้นที่ยุทธศาสตร์ในซีเรีย จึงไม่แปลกว่าทำไมอาหรับจึงไม่สามารถถือได้ว่าอิสราเอลเป็นแค่ประเทศเล็กๆประเทศหนึ่ง แต่ในทางตรงกันข้าม การที่อิสราเอลถูกล้อมไปด้วยอาหรับทั้ง 3 ด้าน ก็ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในด้านการเมือง ซึ่งได้เพิ่มความไม่มั่นคงในด้านเศรษฐกิจไปด้วย

                    สิ่งที่จะทำให้อิสราเอลนั้นเป็น คำอวยพรที่ยิ่งใหญ่ สำหรับประเทศเพื่อนบ้านในดินแดนแถบนี้นั้นก็คือการแก้ไขแนวคิดของไซออนนิสท์ซึ่งจะเปลี่ยนอิสราเอลเป็นรัฐยิวเท่านั้นให้กลายเป็นรัฐที่มีความหลากหลายที่ซึ่ง เชื้อชาติ หรือศาสนาไม่ถูกตัดสินเป็นบรรทัดฐานสำหรับสถานะภาพของประชาชน และการละทิ้งท่าทางที่ว่าตนเหนือกว่าของชาวยิวจากยุโรปต่อชาวยิวที่มาจากตะวันออกนั่นเอง




    ไม่รู้ว่าอ่านแล้วจางงหรือเปล่านะคะ เพราะอันนี้แปลมาจากภาษาอังกฤษอ่ะค่ะ
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×