ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สัตวแพทย์ มหานคร

    ลำดับตอนที่ #6 : ชั้นปีที่ 2 แห่งรั้วดอกพิกุล

    • อัปเดตล่าสุด 12 เม.ย. 51


    ครับ สวัสดีอีกครั้งครับสำหรับผู้ที่อ่านบทความนี้ ทั้งที่ตั้งใจ และอาจจะเข้ามาอ่านโดบไม่ได้ตั้งใจ ช่วงนี้สอบ Admission เสร็จกันไปแล้วนะครับสำหรับน้องๆชั้นม.6 ตอนนี้ก็ถึงขั้นตอนที่จะต้องเลือกแล้วครับว่าเราอยากเรียนอะไรโดยมีคะแนนที่เราทำได้เป็นข้อจำกัดสำหรับการเลือก  

    คนที่ได้คะแนนดีก็คงไม่ต้องเป็นห่วงอะไรนะครับ  ส่วนคนที่คะแนนไม่ดีแต่ไม่ย่อท้อ ก็คงต้องหาโอกาสต่อๆไป โอกาสมีมากมายครับ   อากาศก็มีพอๆกับอากาศหละคับ เวลาเราสูดอากาศเข้าไปก็จงสูดโอกาสเข้าไปด้วยและกัน

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก็ถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งครับที่มอบให้กับสังคมด้านการศึกษา คนที่ไม่สามารถเข้า ม.รัฐได้โดยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณของรัฐ เอกชนอย่างเราๆก็ถือเป็นทางเลือกครับ  ไม่เสียหายอะไร ไม่ตาย เรียนได้เหมือนกัน ข้อดีมีมากมาย ข้อเสียก็มีมากไม่แพ้กัน  ฉะนั้นเรียนที่ไหน คงขึ้นอยู่กับตัวเรา ไม่ใช่หากินกับชื่อสถาบัน

    ชี้แจงอีกครั้งครับ จุดประสงค์ของผมที่ได้เขียนบทความนี้
    1. บทความเหล่านี้ ผมเขียนในฐานะที่เป็นนักศึกษา ในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นบทความที่เป็นความคิดส่วนบุคคลของผมเองครับ ไม่ใช่ความคิดของบุคคลทุกคนในองค์กร
    2. จุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความเป็นไปเป็นมาขององค์กร เพื่อเป็นที่ประจักษ์กับสังคม ในฐานะที่เป็นสถาบันทางด้านสัตวแพทย์ที่ได้รับการเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    3.เพื่อให้เพื่อนนักศึกษาและนักศึกษารุ่นน้อง ได้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นของคณะ


    ครับ เปิดเทอมอีกครั้งกับการใช้ชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทุกสิ่งทุกอย่างก็คงจะลงตัวกันหมดแล้วหล่ะครับ จากชีวิตที่แปลกใหม่ กลายเป็นชีวิตที่ประจำวัน  เหล่านักศึกษาที่นี่ เรียนกันวันละ 6 ชม. เรียนทั้งหมด 5 วัน ซึ่งถือว่าเบากว่าตอนเรียนมัธยมในเรื่องเวลานะครับ แต่มันหนักด้านเนื้อหาวิชาที่เราต้องเรียน  ชีวิตแบบ ชิวๆเมื่อตอนปี 1 คงไม่เห็นอีกต่อไป ..

    เทอมนี้พวกเราเรียนกัน 8 วิชาครับ

    1. การผลิตสัตว์ปีก ผู้สอน อ.ทัศนีย์ ตรัยรัตน์อภิวัน  รศ.ดร.สุชีพ สุขสุแพทย์
        วิชานี้ก็เรียนเกี่ยวกับการผลิตสัตว์ปีกครับ ไก่ เป็ด นกกระจอกเทศ ห่าน และเพื่อนฝูง แต่เราจะเน้นไก่เป็นพิเศษครับเนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่สุด  เรียนกันตั้งแต่ไข่ออกมาจากตูดไก่ จนกระทั้งอยู่ในหม้อซุปไก่ของเรา !!

    2. การผลิตสุกร  ผู้สอน  อ.ธีรวัฒน์ พัฒนรัชต์  รศ.ดร.รณชัย สิทธิไกรพงศ์
        วิชานี้ก็เรียนเกี่ยวกับการผลิตสุกรตามชื่ออะครับ เรียนคล้ายๆกับสัตว์ปีก แต่ในความรู้สึกยากกว่าเยอะ แต่รู้สึกดีที่มีอาจาย์เก่งๆหลายๆคนมาสอน ส่วนมากก็รับเชิญมาจาก สถาบันพี่น้องอย่างลาดกระบัง ค่อยรู้สึกเทพขึ้นหน่อย

    3. วิชาการจัดการทุ่งหญ้า   ผู้สอน  ศ.ดร.สายัณต์ ทัดศรี
       วิชานี้เป็นตัวนำเสนอเลยครับ เพราะมีไม่กี่สถาบันที่เรียน วิชาการจัดการทุ่งหญ้าแบบเต็มคอร์ส เรียนกับอาจาย์สายัณต์นักวิชาการผู้เชียวชาญในสาขานี้เพียงไม่กี่คนในประเทศ อาจารย์สอนเป็นธรรมชาติมาก ระหว่างสอนก็เอาต้นหญ้า ต้นถั่วมาให้ดู บางคนลืมตัวเกือบกินเข้าไปแล้ว เหอะๆ สลับกับเปิด วีดีโอ  ย้ำ   วีดีโอ  คือแบบยุคโบราณมาก  ตื่นเต้นดี 

    4. วิชาอาหารและการให้อาหารสัตว์   ผุ้สอน   รศ.ศรีสกุล วรจันทรา
       วิชานี้เรียนไป ง่วงไป หลับไป  บรรยากาศแอร์เย็นๆ เสียงของอาจารย์ที่นิ่มนวลชวนหลับ ทำให้พวกเราเรียนกันแบบทรมานมาก  เรียนแบบยากโคด ข้อสอบมีแต่เขียน มีการแจกวีซีดีไปเรียนที่บ้านด้วย เรียนพวกวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ ข้าวโพด พลังงานสูงงงงง ความชื้นไม่เกิน 3 เปอร์เซ้นต์ ประมาณนี้  

    5. วิชาโภชนะในสัตว์  รศ.ดร.สุชีพ สุขสุแพทย์
       วิชานี้เรียนแบบวุ่นวายครับ เนื้อหามันเยอะมากๆๆ เรียนเกี่ยวกับพวกสารอาหาร โภชนศาสตร์ในสัตว์ โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ น้ำ วิตามิน เยอะแยะเลย   ข้อสอบเป็นถูกผิดประมาณ 100 ข้อ ทำกันจนตาลาย

    6. วิชาคัพภะวิทยาทางสัตวแพทย์  ผุ้สอน  อ.สพ.ญ.พินิดดา ชะอุ่มผล (อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ )  
    อ.น.สพ.ดร.เอกชาติ พรหมดิเรก อ.น.สพ.สิทธิชน รัตนจันทร์
       วิชานี้เป็นวิชาในชั้น  พรีคลินิค ตัวแรกเลยก็ว่าได้ที่เราต้องเรียนกัน เรียน บรรยาย และ Lab อาจาย์สอนมันส์มาก สอดแทรกวิชาการอื่นๆไว้ด้วยตอนเรียน อาจาย์เป็นกันเอง สอนแบบเข้าในนักศึกษาแบบมองตากันรู้ไจประมาณนี้ 

    7. วิชาชีวะเคมีทางสัตวแพทย์  ผู้สอน ดร.สายสนม ธรรมพิทักษ์ อ.พนอ อัศวรุจานนท์
       เป็นวิชาเคมีที่ต่อมาจาก Or Chem เมื่อเทอมที่แล้วหล่ะคับ  โหยย วิชานี้ต้องใช้ตัวอักษรสีแดงเลยครับ เรียนแบบยากสุดแรงเกิด ไม่รุ้เรื่องเลย พยายามตั้งสติ ยิ่งกว่าเมาแล้วขับรถอีกนะครับ แต่ไม่ได้ผล อาจาย์แบบเก่งมากครับ อาจาย์สายสนมนี่จบจากอังกฤษ อาจารย์พนอ นี่มาจาก มศว.  ส่วนเรียน lab ก็เรียนกันแบบแบ่ง sec เรียนกันน้อยๆได้เนื้อแน่นๆ อาจารย์ 5-6 คนมาคุมแล็ป ทำไม่เส็ดไม่ให้กลับ ทำผิดไม่ให้เส็ด  โอ้ยย  เรียนกันเข้มงวดจิงๆ

    8. วิชาปรับปรุงพันธุ์สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม  ผู้สอน อ.ดร.นภาพันธ์ ปิยะเสถียร
        วิชานี้เรียนโดยเหมือนนำวิชา พันธุศาสตร์และสถิติ มารวมกันครับ ฉะนั้นวิชาทั้งสองที่เราเคยได้เรียนมาและได้ลืมไปหมดแล้วจึงได้ถูกนำมาใช้ในวิชานี้   วิชานี้เรียนเป็นภาษาอังกฤษครับ เรียนสนุกดี อาจารย์เน้นให้นักศึกษาทุกคนทำโจทย์ได้และเข้าใจในเนื้อหา แต่น่าเสียดายครับที่มีนักศึกษาบางคนไม่ชอบเรียนด้วยวิธีนี้ อ.ดร.นภาพันธ์ เป็นคนที่เก่งมากครับจบทางด้านนี้มาจาก อเมริกา ปัจจุบันก็เป็นอาจารย์อยู่ที่ ม.เกษตร เรียกว่าได้เรียนกับตัวจริงกันเลยหล่ะคับ


    ก็หมดไปแล้วครับสำหรับวิชาที่ต้องเจอกันในเทอมนี้ รู้สึกหนักกว่าปีก่อนจริงๆ แต่คงไม่เท่ากับในเทอมหน้า เทอมหน้าเรียกว่าเรียนกันในนรภก็ว่าได้ เทอมนี้เน้นสัตวบาล  หลายคนสงสัยว่าเรียนไปทำไม เป็นคุณหมอแล้วจะไปสนใจการเลี้ยงดูทำไมกัน    ก็อยากจะฝากคำนี้ไว้นะครับ      สัตวแพทย์ที่ดีต้องเป็นสัตวบาลที่ดี  เป็นคำพูดของคุณหมอท่านหนึ่งที่จังหวัดสระบุรี
    ตอนที่ผมไปฝึกงาน   บทความในตอนที่ 6 นี้ก็ขอจบไว้เท่านี้แล้วกันนะครับ หวังว่าทุกคนที่อ่านคงได้รับความรู้จากประสบการณ์ของผมนะครับ  สว้สดี
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×