ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อิเหนา : ศึกกะหมังกุหนิง

    ลำดับตอนที่ #5 : คำอธิบายศัพท์และข้อความ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.93K
      16
      28 ก.ค. 53

    คำอธิบายศัพท์และข้อความ

    กระทรวง                       หมู่

    กระยาหงัน                     สวรรค์

    กราย                             เคลื่อนไหวอย่างมีท่าที  คำว่า กรายพระแสง” “กรายทวน  กรายกริช  หมายความว่า  แสดงลีลาในการใช้อาวุธดังกล่าว ก่อนเข้าประชิดตัวฝ่ายตรงข้าม

    กลับกลอก                     พลิกไปพลิกมา  ในที่นี้หมายถึง  ท่วงทีในการใช้อาวุธต่อสู้กันด้วยการพลิกหรือขยับอาวุธไปมา

    กล่าว                            ในที่นี้หมายถึงสู่ขอ  ในความว่า  พอกะหมังกุหนิงรู้ไป ก็ซ้ำให้มากล่าวกัลยา  ใช้ว่า  กล่าวขาน, ว่า ขาน ก็มี

    กะระตะ                        กระตุ้นให้ม้าเดินหรือวิ่ง

    กั้นหยั่น                         อาวุธสำหรับเหน็บติดตัว ใบมีดตั้งแต่กั่น (ส่วนที่ถัดจากโคนอาวุธสำหรับหยั่งลงในด้ามอาวุธ) ถึงปลายนั้นเท่ากัน มีคมทั้งสองข้าง

    กัลเม็ด                          ปุ่มที่ฝักอาวุธเช่นกั้นหยั่นสำหรับคล้องห่วงเพื่อยึดตัวอาวุธไว้กับฝัก เมื่อจะชักออกมาจึงจะปลดห่วงที่คล้องออกจากปุ่มนั้น

    กิริณี                             ช้างเพศเมีย

    เกย                               ที่สำหรับกษัตริย์เสด็จขึ้นช้างทรงหรือม้าทรง

    แก้วพุกาม                      แก้วมณีอันมีค่าจากเมืองพุกามในพม่า

    เขนงปืน                         เขาสัตว์ที่ใช้ใส่ดินปืน

    โขลนทวาร                     ประตูป่า  เมื่อจะออกศึกมีการทำพิธีตามตำราพราหมณ์เพื่อความเป็นชัยมงคล โดยทำเป็นกรอบประตูสะด้วยใบไม้ สองข้างประตูมีพราหมณ์นั่งประพรมน้ำมนตร์ให้ทหารที่เดินลอดประตูออกไป

    งาแซง                           ไม้เสี้ยมปลายแหลม วางเอนเรียงเป็นลำดับสำหรับป้องกันข้าศึก

    จตุรงค์                          กองทัพสี่เหล่า  คือกองทักช้าง ม้า รถ และพลเดินเท้า

    ช่วงชิงกันดังผลไม้           ผลไม้ในที่นี้หมายถึงนารีผล  ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ในป่าหิมพานต์ มีผลเป็นรูปสตรี  เหล่าวิทยาธรมักจะมาแย่งชิงกันเก็บ  บางทีถึงขนาดสู้รบฆ่าฟันกัน

    ชักปีกกา                        จัดทัพให้มีกองขวาและกองซ้ายคล้ายปีกกา

    ชีพ่อ                              นักบวช ในที่นี้คือ พราหมณ์ผู้ทำพิธี

    ดวงยิหวา                       ดวงชีวาหรือดวงใจ  หมายถึง ผู้เป็นที่รักยิ่ง

    ดะหมัง                          เป็นชื่อหนึ่งในตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ในชวา  มี ๔ ตำแหน่งคือ ยาสา ตำมะหงง ปูนตา และดะหมัง

    ดัสกร                            ศัตรู

    ดูผี                                หมายถึงเยี่ยมเคารพศพ ในความว่า  ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี

    ตรัสเตร็จ                       สว่างเป็นประกายงดงาม

    ตรึกไตร                         คิดใครครวญ

    ตุนาหงัน                        หมั้นหมาย

    แต่ปืนตึงก็ถึงทันควัน       เมื่อได้ยินเสียงปืนก็ไปถึงที่นั่นทันที  ยังมิทันที่ควันปืนจะจาง หมายความว่า มีความกล้าหาญและพร้อมจะสู้รบ

    ถอดโกลน                      ชักเท้าออกมาจากโกลนซึ่งเป็นห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้าสำหรับสอดเท้ายันเวลาขึ้นหรือลงจากหลังม้า

    ไถ้                                 ถุงสำหรับใส่เงินและสิ่งของ โดยมากมักใช้คาดไว้ที่เอว

    ทนาย                            สมัยก่อนหมายถึงผู้รับใช้ของเจ้านายและขุนนาง

    ท่า                                คอย ในความว่า  น้องจะนับวันท่าภูวไนย

    นามครุฑปักษา               ครุฑนาม การตั้งค่ายเป็นรูปครุฑ

    บทจร                            ไป

    บุหรง                            นก

    เบาความ                       ไม่คิดให้รอบคอบ

    ประเจียด                       ผ้าที่ลงอาคม ใช้ป้องกันอันตรายในการสู้รบ

    ประเสบัน                       ตำหนัก

    ป่วยขา                          บาดเจ็บที่ขา

    ปักมาหงัน                      ชื่อเมืองของระตูผู้เป็นบิดาของสังคามาระตา

    พหลพลขันธ์                  กองทัพใหญ่

    ฟันไม้ข่มหนาม               พิธีที่ทำก่อนออกรบเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหาร  โดยนำเอาต้นไม้ที่มีชื่อร่วมตัวอักษรกับชื่อข้าศึกมาทำพิธีฟันให้ขาด ประหนึ่งว่าได้ฟันข้าศึก

    มุรธาวารีภิเษก                น้ำที่ผ่านพิธีกรรมเพื่อทำให้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์

    ย่างทีสะเทิน                   การเดินอย่างเร็วของช้าง

    ระเด่นมนตรี                   เป็นคำเรียกอิเหนา  ระเด่นเป็นคำเรียนโอรสหรือธิดากษัตริย์

    ระตู                              เป็นคำเรียกเจ้าเมืองที่มิใช่วงศ์เทวัญ

    ลักษณ์                          จดหมาย ใช้ว่า  สาร  หรือ  สารา  ก็มี

    ล่าสำ                            ชื่อระตูผู้เป็นพี่ชายของจรกา

    เลี้ยง                             ในที่นี้หมายถึงรับเป็นภรรยา  ในความว่า  ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว

    วงศ์เทวัญอสัญหยา         เชื้อสายกษัตริย์ที่สืบวงศ์มาจากเทวดา

    วิหลั่น                            ค่ายที่ทำให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ ใช้ว่า  ปิหลั่น  ก็มี

    ศรีปัตหรา                      กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ ในที่นี้หมายถึง ท้าวดาหา

    ศัสตรา                          อาวุธ

    สองไข                           ม่าน    ชาย  ที่แหวกกลางรวบชายไปผูกไว้ที่ด้านข้างทั้งสอง

    ส่งสการ                         คือสังสการ  พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ

    เสาตะลุง                       เสาใหญ่สำหรับผูกช้าง

    อะหนะ                          ลูก

    อัธยา                            มาจากอัธยาศัย หมายถึง ความประสงค์ ในความว่า  ก็ตามใจไม่ขัดอัธยา  ใช้ว่า  อัชฌา  ซึ่งมาจาก อัชฌาสัย  ก็มี

    อัปรา                             มาจากคำว่า  อัปราชัย  หมายความว่า ยอมแพ้

    อาสัตย์                          ไม่ซื่อตรง

    อึงอุตม์                          เสียงดังมาก

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×