ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~:+:โลกลูกหนัง:+:~

    ลำดับตอนที่ #4 : ตำนาน Trophies World Cup

    • อัปเดตล่าสุด 23 พ.ค. 50




           ความเป็นมาของถ้วยฟุตบอลโลกที่นับเป็นแรงบันดาลใจให้นักเตะทีมต่างๆต่อสู้เพื่อพิสูจน์ฝีมือและศักดิ์ศรีของประเทศนั้นมีด้วยกันสองรุ่น โดยรุ่นล่าสุดนี้เป็นถ้วยรางวัลที่มีน้ำหนักถึง 4,970 กรัม ทำด้วยทองแท้ 18 กะรัต สูง 36 เซนติเมตร เรียกว่าถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัพ (FIFA World Cup Trophy) ออกแบบโดยประติมากรรมชาวอิตาเลียน ซิลวิโอ กาซซานิก้า ในปีค.ศ.1971 โดยเส้นของรูปปั้นบิดขึ้นมาจากฐานเป็นรูปนักกีฬาสองคนยืนหันหลังยกโลก ดูมีพลังเคลื่อนไหวในตัวเพื่อเป็นจังหวะแห่งการฉลองชัยชนะ

           ถ้วยเวิลด์คัพใบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในการแข่งขันปีค.ศ.1974 ที่ประเทศเยอรมนีเป็นเจ้าภาพ และเยอรมนีก็คว้าถ้วยใบนี้สำเร็จครอบครองไว้นาน 4 ปี จากนั้นจึงลงไปอยู่อเมริกาใต้ แล้วกลับขึ้นมายุโรป สลับกัน 2 ทวีป อย่างนี้ในทุก 4 ปี เพราะประเทศที่ได้แชมป์จากเยอรมนีก็คือ อาร์เจนตินา (1978) อิตาลี (1982) เยอรมนี (1990) แล้วก็ล่าสุดคือบราซิล (1994)
           
           แต่ถ้วยฟีฟ่าไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะฟีฟ่า หรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ถือว่าถ้วยนี้จะต้องอยู่ถาวรกับฟีฟ่า ผู้ชนะจะได้รับถ้วยจำลองที่ทำจากทองผสม ส่วนที่ฐานซึ่งมีแหวนคาดสองเส้น มีพื้นที่ไว้สลักชื่อผู้ชนะ 17 ช่อง ซึ่งเมื่อถึงปีค.ศ.2038 ชื่อก็จะเต็มช่องเหล่านี้ จากนั้นจะทำอย่างไรต่อไป ฟีฟ่าก็คงต้องปรึกษากัน

           สำหรับถ้วยเดิมชื่อถ้วยจูลส์ ริเมต์ ซึ่งเป็นชื่อของประธานฟีฟ่าชาวฝรั่งเศสที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกสำเร็จในปีค.ศ.1930 ถ้วยแรกทำจากเงินและทองหนัก 3.8 กิโลกรัม สูง 38 เซนติเมตร ฐานทำด้วยหินล้ำค่าสีฟ้า หรือไพฑูรย์ (Lapislazule) เป็นรูปเทพธิดาแห่งชัยชนะ (Goddess of Victory) ตรงเหลี่ยม 4 ด้านของฐาน สลักชื่อประเทศที่ได้แชมป์ที่ 9 ราย ชื่อนับตั้งแต่ปี 1930-1970
           
           ถ้วยจูลส์ ริเมต์ หายไปถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในปีค.ศ.1966 ช่วงที่อังกฤษได้แชมป์ มีคนมาพบว่าถูกฝังอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง โดยฝีมือการดมหาของเจ้าสุนัขตัวเล็กชื่อพิกเกิ้ลส์ แต่ถ้วยมาหายจริงๆในปีค.ศ.1983 ช่วงบราซิลได้สิทธิ์ครอบครองถ้วยนี้อย่างถาวร หลังจากคว้าแชมป์ 3 สมัยได้สำเร็จ โดยขโมยมือดีฉกจากที่เก็บในนครริโอ เดอจาเนโร
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×