ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~:+:สโมสร:+:~

    ลำดับตอนที่ #1 : 1881 นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 109
      0
      23 พ.ค. 50

    ประวัติสโมสรฟุตบอล นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด

    1881 - 1939


    ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 1881 สโมสรรักบี้ฟุตบอลสแตนลีย์ แห่งเซาท์ ไบเกอร์ ได้ตัดสินในที่จะก่อตั้งสโมสรฟุตบอล

    ขึ้นมา โดยในการแข่งขันนัดแรกของพวกเขานั้น พวกเขาชนะทีมเอลส์วิค เลเธอร์ เวิร์ก ที่ 2 อีเลฟเว่นซ์ ไปได้ 5-0 หลัง

    จากนั้น 1 ปีถัดมา ในเดือนตุลาคม 1882 พวกเขาก็ได้เปลี่ยนชื่อของสโมสรไปเป็น อีส เอนด์ เอฟซี (East End FC) เพื่อ

    หลีกเลี่ยงความสับสนระหว่างทีมสโมสรคริกเก็ตในเมืองสแตนลีย์ โค เดอร์แฮม และก็ไม่นานหลังจากนั้น อีกทีมในเมือง

    ไบเกอร์ สโมสรโรสวู้ด เอฟซี ก็ได้ยุบมารวมกับ อีส เอนด์ เอฟซี เพื่อความแข็งแกร่งของสโมสร ในช่วงเวลานั้นเอง ในอีก

    เมืองหนึ่ง ทีมสโมสรคริกเก็ตอีกทีมก็มีความสนใจในกีฬาฟุตบอล จนได้ก่อตั้งสโมสร เวสต์ เอนด์ เอฟซี ขึ้นในเดือน

    สิงหาคม 1882 โดยใช้สนามคริกเก็ตของพวกเขาเป็นที่แข่งขัน แต่หลังจากนั้นก็ได้ย้ายไปเตะกันที่สนาม เซนต์ เจมส์ พาร์ค

    ในเวลาไม่นานนัก ทีมเวสต์ เอนด์ ก็ได้กลายเป็นทีมหลักของเมือง ในฝั่งของทีมอีส เอนด์ นั้นเริ่มกังวลและไม่ต้องการที่จะ

    เป็นรองและถูกทิ้งห่างไป จึงได้ดึงตัว ทอม วัตสัน มารับตำแหน่งเลขาธิการ และ ผู้จัดการทีม ในช่วงปิดฤดูกาลปี 1888

    และจากจุดนั้นนั่นเอง วัตสัน ได้ทำการเซ็นสัญญาที่เป็นประโยชน์กับทีมหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเซ็นสัญญา

    กลับทีมฮีตตัน จากสก็อตแลนด์ ทำให้ทีมแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในขณะที่ทีมเวสต์ เอนด์ กลับเริ่มตกต่ำลง

    ในปี 1889 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกของท้องถิ่นเป็นครั้งแรก และฟุตบอลเอฟ เอ คัพ ได้เริ่มต้นขึ้นเช่นกัน ด้วย

    ความทะเยอทะยานของทีมอีสต์ เอนด์ ทำให้ทีมได้กลายเป็นทีมฟุตบอลอาชีพที่แท้จริงในปีเดียวกันนั้นเอง ซึ่งนับว่าเป็น

    ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของสโมสรท้องถิ่น ในเดือนมีนาคม 1890 พวกเขาก็ได้แปรสภาพไปเป็นบริษัทจำกัด ด้วยเงินทุน 1000 ปอนด์
    แต่ในระหว่างฤดูใบไม้ผลิของปี 1892 นั้น กลับกลายเป็นฤดูกาลที่ตกต่ำของเวสต์ เอนด์ โดยเป็นผลงานที่ย่ำแย่ที่สุดด้วย

    โดยเฉพาะการที่ต้องพ่ายแพ้ต่อทีมคู่ปรับอย่าง อีสต์ เอนด์ ถึง 5 ครั้ง ทำให้เวสต์ เอนด์ ตกอยู่ในสภาพที่ลำบากอย่างยิ่ง

    ทำให้ผู้บริหารของสโมสรต้องตัดสินใจให้ อีสต์ เอนด์ เข้ามาซื้อกิจการไปในที่สุด

    ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นคือ เวสต์ เอนด์ มีผลงานที่ย่ำแย่ เหล่านักเตะรวมไปถึงทีมงานผู้ฝึกสอนหลายคน

    ได้ย้ายไปอยู่กับ อีสต์ เอนด์ อย่างไม่ค่อยถูกต้องนัก ทำให้เวสต์ เอนด์ไม่สามารถดำเนินอยู่ได้อีกต่อไป นอกจากการเข้า

    มาซื้อกิจการแล้ว อีสต์ เอนด์ ยังได้เช่าซื้อสนาม เซนต์ เจมส์ พาร์ค ด้วย ต่อมาในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน พวกเขาได้

    ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชื่อของสโมสรใหม่ เพื่อเปลี่ยนภาพลักษณ์ ซึ่งจากการประชุม มีหลายๆชื่อถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุม รวม

    ไปถึงชื่อ นิวคาสเซิล เรนเจอร์ และ นิวคาสเซิล ซิตี้ ก่อนที่จะมีความเห็นชอบด้วยกันกับชื่อ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดย

    สมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟ เอ) ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม แต่ชื่อใหม่จะมีผลทางกฏหมายในวันที่ 6 กันยายน 1895

    เมื่อบริษัทนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ฟุตบอลคลับ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้น

    ยูไนเต็ด ได้เริ่มสร้างตัว ผ่านช่วงที่น่ากังวลจากการที่ไม่มีผู้ให้การสนับสนุนทีม หรือขาดเงินหมุนเวียนในธนาคาร แต่จาก

    การช่วยเหลือค้ำจุนของผู้บริหารสโมสร ทำให้สโมสรสามารถดำรงอยู่ได้

    นิวคาสเซิล ได้เริ่มซื้อตัวนักเตะที่มีความสามารถเข้าสู่ทีม โดยเฉพาะจาก สก็อตแลนด์ และในที่สุดก็เป็นทีมที่สามารถแข่ง

    ขันได้กับทุกทีมในอังกฤษ ด้วยผู้เล่นอย่าง โคลิ เวียช, แจ็คกี้ รูเธอร์ฟอร์ด, จิมมี่ ลอเรนซ์ และ อัลเบิร์ต เชฟเฟิร์ด ทำให้

    ทีมขาวดำ (แบล็ก แอนด์ ไวท์) เต็มไปด้วยผู้เล่นพรสวรรค์จากนานาชาติ นอกจากนี้ยังมี บิล แม็คแครคเก็น, จิมมี ฮาววี่, ปี

    เตอร์ แม็ควิลเลียม และ แอนดี้ เอตเคน ด้วย อย่างไรก็ตาม ในปี 1908 ในเกมส์ที่พบกับทีมซันเดอร์แลนด์คู่ปรับ พวกเขา

    กลับพบกับความพ่ายแพ้ยับเยินถึง 9-1 ในบ้านของตัวเอง และยังเป็นสถิติพ่ายแพ้ในบ้านด้วยจำนวนประตูสูงสุดของ

    อังกฤษมาจนถึงทุกวันนี้

    ทีมสาลิกาดง จบฤดูกาลด้วยอันดับ 1 ของลีกได้ถึง 3 ครั้งและเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ ได้ถึง 5 ครั้งในช่วงก่อน

    สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914 ชาวจอร์ดี้ ต่างมีความสุขกับทีมของพวกเขา ทีมที่ทีมอื่นๆ ต้องการโค่นล้ม ยูไนเต็ดใน

    ช่วงนั้นเล่นฟุตบอลในรูปแบบที่เร้าใจ เน้นการบุกและครองบอลเพื่อให้แฟนบอลสนุกสนานกับเกมฟุตบอล

    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกเขายังได้แชมป์ เอฟเอ คัพ ที่สนามเวมบลีย์ ในปี 1924 ด้วยการชนะทีมแอสตัน วิลลา

    ซึ่งในครั้งนั้นถือเป็นครั้งที่ 2 เท่านั้นที่เอฟเอ คัพ ถูกจัดขึ้นที่สนามเวมบลีย์ หลังจากนั้น 3 ปี ในปี 1927 หลังจากการเซ็น

    สัญญากับศูนย์หน้าทีมชาติสก็อตแลนด์ ฮิวกี้ กัลลาเกอร์ ทำให้ทีมได้ตำแหน่งชนะเลิศอีกครั้ง

    นักเตะที่มีชื่อเสียงต่างทยอยเข้ามาสวมเสื้อลายทางของนิวคาสเซิล โดยหลังจากนักเตะในตำนาน กัลลาเกอร์ แล้ว เหล่า

    สาลิกาดงยังได้ต้อนรับ นีล แฮริส, สแตน เซย์มัวร์ และ แฟรงค์ ฮุดสเป็ทซ์ โดยที่ เซย์มัวร์ ได้กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพล

    สำคัญต่อทีมถึง 40 ปีจากการเป็นนักเตะ ผู้จัดการทีม และผู้บริหารสโมสร

    หากย้อนกลับที่สนามเวมบลีย์ในปี 1932 ปีนั้นเกิดประตูที่เป็นที่น่ากังขาขึ้นในเกมเอฟเอ คัพ รอบชิงชนะเลิศระหว่าง นิ

    วคาสเซิล ยูไนเต็ด กับ อาร์เซนอล โดยที่ยูไนเต็ด เป็นฝ่ายชนะไปด้วยประตูที่ไม่น่าจะนับเป็นประตู และสุดท้ายยูไนเต็ด

    ชนะไปด้วยประตู 2-1 จากประตูที่ได้จากการโยนบอลโดย จิมมี ริชาร์ดสัน ซึ่งลูกฟุตบอลได้ออกจากเส้นไปก่อนแล้ว แต่

    ผู้ตัดสินได้เป่าให้เป็นลูกได้ประตู ประเด็นนี้จึงกลายเป็นอีกหัวข้อที่พูดถึงในศึกเอฟเอ คัพ มาจนถึงทุกวันนี้

    นิวคาสเซิล ยังได้เสริมทีมอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้เล่นหลักอย่าง แซมมี เวฟเวอร์ และ แจ็ค อัลเลน เช่นเดียวกับผู้เล่น-ผู้

    จัดการทีมคนแรกในลีกสูงสุด นั่นก็คือ แอนดี คันนิงแฮม นักเตะทีมชาติสก็อตแลนด์ แต่หลังจากชัยชนะที่สนามหอคอยคู่

    เวมบลีย์แล้ว ฟอร์มการเล่นของทีมก็เริ่มตกต่ำลง โดยในปี 1934 พวกเขากลับต้องตกชั้นไป ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติ

    ศาสตร์ของพวกเขาเลยทีเดียว

    และเป็นที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง ในฤดูกาลเดียวกันนี้เองที่พวกเขาต้องลงไปเล่นในดิวิชัน 2 ยูไนเต็ดกลับคว้าชัยชนะ

    เหนือทีมลิเวอร์พูลถึง 9-2 และ ชนะทีมเอฟเวอร์ตันถึง 7-3 ในระยะเวลาเพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้น ! การสร้างทีมให้กลับมา

    เข้มแข็งได้เริ่มขึ้นก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้นได้ไม่นาน ซึ่งในเวลานั้นมีอดีตดาวดัง สแตน เซย์มัวร์เป็นผู้บริหาร
    หลังจากนั้น ยูไนเต็ดก็เริ่มต้นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง

    1945 - 1979

    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง สันติสุขกลับคืนสู่โลกอีกครั้งในปี 1945 เซย์มัวร์ เป็นตัวตั้งตัวตีทุกๆอย่างของสโมสร

    เขาทำให้ทีมเต็มไปด้วยผู้เล่นที่มีชื่อเสียง และเล่นฟุตบอลอย่างเร้าใจ จากผู้เล่นในถิ่นกำเนิดแห่งนี้ เช่น แจ็กกี้ มิลเบิร์น,

    บ็อบบี้ โคเวลล์ และ เอิร์นนี เทย์เลอร์ และผู้เล่นที่ถูกซื้อตัวมาอย่าง จอร์จ โรเบิลโด, บ็อบบี้ มิทเชลล์, โจ ฮาร์วี, เลน ชา

    คเกิลตัน และ แฟรงก์ เบรนนัน

    นิวคาสเซิล ได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชันสูงสุดอีกครั้งอย่างรวดเร็วในปี 1948 ต่อหน้าแฟนบอลล้นหลาม โดยเฉลี่ยแล้ว มีแฟนบอล

    เข้าชมเกมเกือบ 57000 คนในเกมเหย้าของปีนั้น เป็นสถิติสูงสุดของประเทศ นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาแห่ง

    ความสำเร็จอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น

    ในช่วงยุค 50 ยูไนเต็ดได้แชมป์เอฟเอคัพ ถึง 3 ครั้งในระยะเวลา 5 ปี ในปี 1951 พวกเขาชนะแบล็กพูล 2-0 ปีถัดมา ชนะ

    อาร์เซนอลไป 1-0 และในปี 1955 ยูไนเต็ดก็เอาชนะแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ไปอีก 3-1 ในช่วงเวลานั้น ทีมสาลิกาดงเป็นที่

    กล่าวขวัญ มีชื่อเสียงไปทั่วทุกหัวระแหง นักเตะอย่าง "วอร์ แจ็กกี" มิลเบิร์น และ บ็อบบี้ "แดชชเลอร์" มิชเชลล์ กลายเป็น

    นักเตะระดับซูเปอร์สตาร์

    แต่แม้ว่าทีมจะเต็มไปด้วยผู้เล่นระดับคุณภาพตลอดในยุคนั้น เช่น อิวอร์ ออลเชิร์ช, จอร์จ อีสแฮม และ เลน ไวท์ ยูไนเต็ด

    ก็ยังมีอันต้องตกชั้นจากดิวิชัน 1 ในปี 1961 ภายใต้การบริหารที่ย่ำแย่ของ ชาร์ลี มิทเทน อดีตนักเตะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
    นำมาซึ่งความเสียหายของสโมสร

    และจากการกลับมากอบกู้สถานการณ์ของสโมสรของอดีตม้าศึกเก่าของทีม โจ ฮาร์วี เขาได้ปรับปรุงทีมร่วมกับ สแตน เซ

    ย์มัวร์ เพื่อที่จะสร้างให้ยูไนเต็ดกลับคืนสู่ดิวิชันสูงสุดอีกครั้ง และเขาทั้งสองก็ทำสำเร็จด้วยการเป็นแชมป์ดิวิชัน 2 ในปี

    1965 ทำให้ยูไนเต็ดกลายเป็นทีมที่ไม่สามารถคาดเดาได้

    ทีมของโจ ฮาร์วี ได้ผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลยุโรปเป็นครั้งแรกในปี 1968 และทำให้ทุกคนต่างตกตะลึงในปีถัดมาด้วย

    การคว้าแชมป์อินเตอร์ ซิตี้ แฟรส์ คัพ หรือถ้วย ยูเอฟ่า คัพ ในปัจจุบัน ยูไนเต็ดในช่วงนั้นมีทีมที่แข็งแกร่ง และตาม

    ธรรมเนียมของทีม เสื้อหมายเลข 9 จะถูกมอบให้กับนักเตะในตำแหน่งศูนย์หน้ายังคงสืบทอดมา วิน เดวีย์ เป็นนักเตะคนนั้น

    ผู้ซึ่งถูกยกย่องในระดับเดียวกับ ไบรอัน "ป็อป" ร็อบสัน, บ็อบบี้ มองเคอร์ และ แฟรงก์ คาร์ก

    ในปีหลังจากประสบความสำเร็จในถ้วยยุโรป ผู้จัดการทีม ฮาร์วี ได้ซื้อนักเตะใหม่ๆ ที่มีพรสวรรค์เข้ามาอีก เช่น จิมมี สมิทธ์,

    โทนี กรีน, เทอร์รี ฮิบบิตต์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองหน้าของทีมคนใหม่ มัลคอล์ม แมคโดนัลด์ หรือฉายา ซูเปอร์แมค

    เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดของยูไนเต็ด ด้วยความปราดเปรียวและเด็ดขาดในการยิงประตูของเขา ทำให้เขานำ

    ทีมเข้าไปสู่สนามเวมบลีย์ได้อีกถึง 2 ครั้งในปี 1974 และ 1976 ในการพบกับลิเวอร์พูล ในเอฟเอ คัพ และพบกับแมนเชส

    เตอร์ ซิตี้ ในลีก คัพ แต่ก็ไม่สามารถนำถ้วยแชมป์กลับไปสู่ไทน์ไซด์ได้ทั้ง 2 ครั้ง

    1980 - 1992

    ในช่วงต้นของยุค 80 เป็นช่วงเวลาที่ยูไนเต็ดกำลังร่วงโรยอยู่ในดิวิชัน 2 กอร์ดอน ลี ได้เข้ามาแทนที่ตำแหน่งของฮาร์วี
    โดยถัดจากลี ก็ตามมาด้วย ริชาร์ด ดินนิส และบิล แมคแกร์รี แต่ก็เป็น อาร์เธอร์ คอกซ์ ที่สามารถทำให้ยูไนเต็ดเลื่อนชั้น

    ขึ้นมาเตะในดิวิชัน 1 ได้อีกครั้ง พร้อมด้วยนักเตะอย่าง เควิน คีแกน อดีตศูนย์หน้าทีมชาติอังกฤษ ผู้ซึ่งย้ายมาร่วมงานกับ

    สาลิกาดงด้วยสัญญาอื้อฉาว ในปี 1982

    การเล่นฟุตบอลที่เกิดจากแรงบันดาลใจของคีแกนในดิวิชันสูงสุดกลายเป็นสิ่งที่ติดตัวดั
    ่งเครื่องหมายการค้าของเขาไปใน

    การเป็นผู้จัดการทีมในยุค 90 คีแกนในฐานะนักเตะนั้นลงเล่นเคียงข้างกับดาวรุ่งอย่าง ปีเตอร์ เบียร์ดส์ลีย์ และ คริส วอด

    เดิล เช่นเดียวกับ เทอร์รี แมคเดอร์มอตต์ และ เดวิ แมคครีรีย์

    หนึ่งในนักเตะอังกฤษที่มีพรสวรรค์มากที่สุดคนหนึ่ง พอล แกสคอยน์ หรือ แกสซ่า ก็ได้แจ้งเกิดในฐานะดาวรุ่งของสโมสร

    ในช่วงเวลานี้เอง ภายใต้การคุมทีมของ แจ็ค ชาร์ลตัน (ผู้ซึ่งพาทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์เข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศของ

    ฟุตบอลโลก ถึง 2 ครั้ง) นิวคาสเซิลสามารถรักษาระดับในการเล่นในดิวิชัน 1 ไว้ได้ แต่หลังจากนั้นพวกเขาได้ขายผู้เล่นที่

    ดีที่สุดหลายคนออกไป เช่น เบียร์ดส์ลีย์ ไปลิเวอร์พูล วอดเดิล กับ แกสซ่า ไปทอตแนม ฮอต สเปอร์ ทำให้สโมสรระส่ำ

    ระส่ายเป็นอย่างมาก กองเชียร์ลดน้อยลงและมีความขัดแย้งในการบริหารสโมสร

    ในที่สุด เจ้าสาลิกาดงก็ต้องตกชั้นลงไปสู่ดิวิชัน 2 อีกครั้ง และถัดไป 2-3 ฤดูกาล พวกเขาก็พบว่าพวกเขากำลังตกอยู่ใน

    สภาวะอันตราย พวกเขาเหลือเงินเพียงน้อยนิด นักเตะดังๆ ย้ายทีม กองเชียร์ยิ่งลดน้อยถอยลง นั่นทำให้เกิดการเปลี่ยน

    แปลงในการบริหารสโมสรอีกครั้ง จิม สมิทธ์ และ ออสซี อาร์ดิลีย์ส ไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายครั้งนั้นได้อีกแล้ว
    ในสภาพของสโมสรที่กำลังร่อแร่ และมีโอกาสประสบกับความหายนะอย่างที่สุด ผลักดันให้นิวคาสเซิล ยูไนเต็ดต้องการผู้

    ที่จะเข้ามาช่วยฉุดสถานการณ์ของสโมสรไม่ให้ตกต่ำย่ำแย่ไปกว่านี้ และพวกเขาก็พบ ไม่เพียงแค่หนึ่งคนแต่เป็นสอง นั่น

    คือ เซอร์ จอห์น ฮอลล์ และ เควิน คีแกน สองคนผู้เข้ามาช่วยกอบกู้สถานการณ์และชื่อเสียงของทีม

    1992 - 1997 (ยุคของคีแกน)

    หลังจาก เควิน คีแกน กลับมาสู่ถิ่นไทน์ไซด์ เพื่อแทนที่ ออสซี อาร์ดิลีย์ส ในตำแหน่งผู้จัดการทีม ด้วยสัญญาระยะสั้นในปี

    1992 ซึ่งเขากล่าวว่าเป็นเพียงงานที่ทำให้เขากลับมามามีชีวิตวงการลูกหนังอีกครั้ง ขณะนั้นยูไนเต็ดที่กำลังดิ้นรนหนีการ

    ตกชั้นอยู่ในดิวิชัน 2 เซอร์ จอห์น ฮอลล์ ต้องการเพียงปาฏิหาริย์เล็กๆ ที่จะช่วยหยุดยั้งไม่ให้ทีมสาลิกาดงต้องตกชั้นลงไป

    สู่ดิวิชัน 3 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร

    ถ้า เซอร์ จอห์น ฮอลล์ ต้องการที่จะกอบกู้สถานการณ์ในระดับใกล้ล้มละลายของสโมสรแล้วละก็ สิ่งเดียวที่ง่ายที่สุดคือ

    การที่ต้องอยู่รอดในดิวิชัน 2 ให้ได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นคีแกน เป็นที่รักใคร่ ชื่นชอบของแฟนบอลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ความไม่

    พอใจในการทำทีมของเหล่าแฟนๆ จึงได้แปรเปลี่ยนเป็นความตื่นเต้น และความหวังในเวลาแค่เพียงชั่วข้ามคืน พวกเขายก

    พลเข้าไปเชียร์ทีมของตัวเองใน เซนต์ เจมส์ พาร์ค อีกครั้ง และในที่สุด ยูไนเต็ดก็ทำได้สำเร็จ พวกเขาได้อยู่รอดต่อไป

    ในดิวิชัน 2 ในการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาลนั่นเอง ฮอลล์ จึงได้เริ่มวางแผนแม่บทเพื่อที่จะนำนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด

    กลับไปเป็นสโมสรชั้นนำที่ยิ่งใหญ่ของทวีปยุโรป และเควิน คีแกนตัดสินใจที่จะอยู่คุมทีมต่อไป ทั้งสองคนกำลังนำพานิ

    วคาสเซิลไปสู่จุดที่ตั้งเป้าหมายไว้

    ฐานะทางการเงินของสโมสรได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สนามเซนต์ เจมส์ พาร์ค ได้ถูกปรับปรุงใหม่ให้ดีที่สุดเท่า

    ที่จะเป็นไปได้ โดยสามารถมีความจุผู้ชมได้ถึง 52000 คน คีแกนได้ซื้อนักเตะใหม่ๆ หลายคนเข้าสู่ทีม รวมซูเปอร์สตาร์

    ชาวต่างชาติ ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ 5 ปีอันพิเศษสุดของแฟนๆ และสโมสร ภายใต้การคุมทีมของ เควิน คีแกน

    ด้วยทีมที่มีคู่หัวหอกอย่าง แอนดี โคล และ เดวิด เคลลี ผู้ได้รับการสนับสนุนจากแผงกองกลางอย่าง พอบ แบรชเวลล์, รู

    เอล ฟอกซ์, เกวิน พีคอกค์, โรเบิร์ต ลี และ ไบรอัน "คิลเลอร์" คิลคลินน์ (กองหลังที่เหนียวแน่น ย้ายมาแบบไม่มีค่าตัว ผู้

    ซึ่งคีแกนกล่าวภายหลังว่าเป็นการเซ็นสัญญาซื้อตัวที่ดีที่สุดของเขา) นิวคาสเซิลทำตำแหน่งในดิวิชัน 1 จนได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่

    พรีเมียร์ลีกอย่างแน่นอนก่อนจบฤดูกาล และสุดท้ายนิวคาสเซิลได้แชมป์ของดิวิชัน 1 ด้วย มีชัยชนะมากมายที่เกิดขึ้นใน

    ฤดูกาลนั้น หนึ่งในนั้นเป็นการชนะเลสเตอร์ ซิตี้ ถึง 7-1 ซึ่งยังคงเป็นที่จดจำของแฟนบอลได้เป็นอย่างดี นิวคาสเซิลจึงได้

    ลงเล่นในพรีเมียร์ลีกครั้งแรกในฤดูกาล 1993-94 ในฐานะแชมป์ดิวิชัน 1 และด้วยความรวดเร็ว ยูไนเต็ด กลายเป็นทีมที่ได้

    รับการยอมรับว่ายากที่จะต่อกร ด้วยการจบฤดูกาลด้วยอันดับรองแชมป์พรีเมียร์ลีกถึง 2 ฤดูกาล

    เซอร์ จอห์น ฮอลล์ ทุ่มเงินจำนวนมากในการซื้อนักเตะ จนทำให้รายชื่อนักเตะของทีมกลายเป็นทีมรวมดารานานาชาติที่

    เต็มไปด้วยนักเตะชื่อดังทั่วโลกอย่าง ดาวิด จิโนลา และ ฟาอุสติโน อัสพริญญา ร่วมด้วยนักเตะชื่อดังของอังกฤษเองอย่าง

    ปีเตอร์ เบียร์ดส์ลีย์, เลส เฟอร์ดินานด์ ศูนย์หน้า และสุดยอดหัวหอกทีมชาติอังกฤษ อลัน เชียร์เรอร์ นักเตะเหล่านี้นำพา

    ความน่าตื่นเต้นของเกมฟุตบอลกลับมาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษอีกครั้ง

    ทีมชุดนี้สร้างชื่อเสียงในด้านเกมบุก การเล่นฟุตบอลที่น่าตื่นตาตื่นใจแก่แฟนบอลภายใต้การคุมทีมของคีแกน แม้พวกเขา

    จะเสียประตูอยู่บ่อยๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะตราบใดที่ทีมสามารถที่จะทำประตูคู่แข่งได้มากกว่า พวกเขาก็จะกำ

    ชัยชนะออกไปจากสนาม จนมาถึงช่วงคริสต์มาสของฤดูกาล 1995 นิวคาสเซิลทำแต้มนำโด่งคู่แข่งอย่างไม่เห็นฝุ่นถึง 15

    แต้ม นำเป็นจ่าฝูงของพรีเมียร์ลีกอังกฤษ แต่ด้วยความโชคร้ายหรืออะไรไม่อาจทราบได้ 15 แต้มไม่เพียงพอที่จะทำให้

    กองเชียร์ และตัวคีแกนเองเป็นแชมป์อย่างที่ตั้งความหวังไว้ได้

    แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้แชมป์ไปในฤดูกาลนั้น (1995/96) โดยนำนิวคาสเซิลไป 4 แต้มในท้ายที่สุด เกมสงคราม

    ประสาท ของผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด - อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ผล แมนยูมีผลงานที่ดีหลังช่วงคริสต์มาส

    ประกอบกับการเล่นเกมบุกของนิวคาสเซิล, อารมณ์ของผู้จัดการทีม, ฟอร์มการเล่นที่ขึ้นๆลงๆ ของอัสพริญญาที่กองเชียร์

    ต่างบ่น, การแพ้ในเกมที่น่าจะชนะ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลที่เสียแชมป์ไปในฤดูกาลนั้น

    แต้มที่นำคู่แข่งในช่วงคริสต์มาสนั้น ทำให้กองเชียร์นิวคาสเซิล ยูไนเต็ดได้เริงร่า เป็นการพ่ายแพ้ที่มากที่สุดในพรีเมียร์ชิพที่เสียแชมป์ให้กับทีมที่ไล่ตาม และนิวคาสเซิลก็ไม่สามารถทำแบบนั้นได้อีกเลย แม้ว่าพวกเขาจะพยายามเล่นให้ดีอย่าง

    ต่อเนื่อง แต่ก็ต้องจบด้วยอันดับที่สอง รองแชมป์ไปอีกครั้งในฤดูกาลถัดมา อย่างไรก็ตาม การที่ไม่ประสบความสำเร็จในลี

    กอังกฤษ และในระดับยุโรป ทำให้สโมสรรอคอยความสำเร็จมานานมากเกินไปแล้ว และคีแกนไม่สามารถที่จะทำให้ทีม

    คว้าถ้วยใบใดใบหนึ่งมาครองได้ ความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้นในสโมสรในปี 1996 และท้ายที่สุด เฟรดดี้ เชฟเฟิร์ด ได้เข้ามา

    เป็นประธานสโมสร

    การลาออกของคีแกนในเดือนมกราคม 1997 เป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง หลังจากชัยชนะต่อทอตแนม ฮอต สเปอร์ อันท่วมท้นถึง

    7-1 และที่ลืมไม่ลงคือ การชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถึง 5-0 ในเดือนตุลาคม 1996
    1997 - 2004 (ยุคหลังคีแกน และยุคของเซอร์ บ็อบบี้ ร็อบสัน)

    ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งแทนคีแกน คือ เคนนี ดัลกลิช ผู้ซึ่งจะเข้ามาทำให้แนวรับของทีมแข็งแกร่งขึ้น ในฤดูกาลแรกของเขา

    ทีมสามารถผ่านเข้าไปเป็นแชมเปียน ลีกได้ นอกจากนั้นยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ก็พ่ายแพ้ต่ออาร์เซนอล

    อย่างไรก็ตาม สไตล์การทำทีมของดัลกลิชไม่เป็นที่ถูกใจของเหล่ากองเชียร์เท่าไหร่นัก เนื่องจากทุกคนอย่างเห็นเกมบุกที่

    เมามันอย่างยุคของคีแกน และสิ่งที่สำคัญกว่านั่นคือ รูปแบบของดัลกลิชก็ไม่สามารถทำให้ทีมจบด้วยการชนะอีกด้วย

    และจากความล้มเหลวในการซื้อตัวนักเตะหลายๆ คน รวมไปถึงผลงานของทีมที่ย่ำแย่ในฤดูกาล 1998/99 ส่งผลให้ดัลกลิ

    ชถูกไล่ออก

    รุด กุลลิท อดีตผู้จัดการทีมเชลซีหลายปีก่อน ถูกวางตัวให้เป็นผู้ที่จะนำเอา เซ็กซี ฟุตบอล กลับคืนมาสู่นิวคาสเซิล และ

    ทีมก็ทำท่าที่จะไปได้สวย สามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพได้อีกครั้งในฤดูกาลนั้น แต่ก็โชคร้ายอีกครั้งเช่นกันพวก

    เขาพ่ายแพ้ต่อแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และกุลลิทก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ซื้อตัวนักเตะผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น มาร์เซลิโน

    ปราการหลังชาวสเปน และศูนย์หน้า ซิลวิโญ มาริช สร้างความผิดหวังแก่แฟนบอลเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นเขายังสร้าง

    ความไม่พอใจให้กับเหล่าผู้เล่นตัวหลักของทีมอย่าง อลัน เชียร์เรอร์ และกัปตันทีม โรเบิร์ต ลี ผู้ซึ่งเป็นหัวใจหลักของทีม

    ในช่วงที่ผ่านมา และจากการพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งตัวฉกาจ ซันเดอร์แลนด์ ทำให้ทีมไม่มีแต้มแม้แต่แต้มเดียวในช่วงเริ่มฤดูกาล

    1999/00 ก็เพียงพอต่อการที่เขาประกาศลาออก

    เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน อดีตผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ มือเก๋า และมีพื้นเพเดิมอยู่ในนิวคาสเซิล ก็ได้ก้าวเข้ามาแทนที่กุลลิ

    ทในตำแหน่งผู้จัดการทีม งานแรกของเขาคือ ลืมผลงานของทีมที่ผ่านมาทั้งหมด และทำให้นิวคาสเซิลอยู่รอดต่อไปได้ใน

    พรีเมียร์ชิพ และเขาก็ทำได้สำเร็จ ผ่านไป 2-3 ฤดูกาล ร็อบสันได้สร้างทีมใหม่ขึ้นมาพร้อมกับดาวรุ่งมากมาย นักเตะอย่าง

    คีรอน ดายเออร์ (กุลลิทเป็นคนซื้อมา), เครก เบลามี และ โรลองค์ โรแบร์ ทำให้ทีมแข็งแกร่งและต่อสู้กับทีมต่างๆได้อีก

    ครั้ง การต่อสู้เพื่อตำแหน่งแชมป์พรีเมียร์ลีกได้เริ่มขึ้นอีกครั้งในฤดูกาล 2002/03 แม้ไม่ได้แชมป์แต่ก็ทำให้นิวคาสเซิลผ่าน

    เข้าไปเล่นในศึก ยูเอฟา แชมเปียนลีก

    ในฤดูกาล 2002/03 เป็นอีกฤดูกาลหนึ่งที่นิวคาสเซิลได้สร้างสีสันในศึกระดับยุโรป ในรอบแบ่งกลุ่มรอบแรก 3 นัดแรก

    ของนิวคาสเซิลประสบกับความพ่ายแพ้ 3 นัดรวด แต่หลังจากนั้นปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น พวกเขาทำให้คนอิตาเลียนช็อกด้วย

    การน็อกยักษ์ใหญ่ ยูเวนตุส 1-0 ใน เซนต์ เจมส์ พาร์ก จากนั้นก็สยบดินาโม เคียพ 2-1 และในนัดสุดท้ายของรอบแรกนิ

    วคาสเซิลไปชนะเฟเยนูร์ด ถึงถิ่น 3-2 ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บจากการทำประตูชัยของเครก เบลามี และจากการที่ดินาโม

    เคียพไปพ่ายต่อยูเวนตุสที่ตูริน ส่งผลให้เจ้าสาลิกาดง โบยบินตีปีกเข้าสู่รอบสองต่อไป

    แต่แล้วเครก เบลามีก็ไปก่อเรื่อง วิวาทกับ มาร์โค มาเตราซซี กองหลังอินเตอร์มิลาน เบลามีโดนใบแดงไล่ออกจากสนาม

    และถูกแบนห้ามลงสนาม 3 นัดถัดไป ประกอบกับความโชคร้าย นิวคาสเซิลมีปัญหาเดียวกันกับกัปตันทีม อลัน เชียร์เรอร์

    ถูกแบน 2 นัด และท้ายสุดนิวคาสเซิลแพ้คาบ้าน 1-4

    เชียร์เรอร์ ได้กลับมาลงเล่นในเกมที่ 4 ของรอบ 2 และสามารถทำแฮตทริกได้ในชัยชนะต่อไบเออร์ เลเวอร์คูเซน 3-1 ใน

    เซนต์ เจมส์ พาร์ก แต่แม้ว่าทีมจะมีผลงานอันยอดเยี่ยมจากการไปเสมอกับอินเตอร์มิลานถึงถิ่นซานซิโร 2-2 แต่นิวคาส

    เซิลก็ต้องพับเสื่อจากการปีกหักในบ้านตัวเอง ต่อ บาร์เซโลนา ไป 2-0

    ฤดูกาล 2003/04 นิวคาสเซิลต้องม้วนเสื่อตั้งแต่ด่านแรก เมื่อพวกเขาไปชนะปาร์ติซาน เบลเกรด 1-0 และกลับมาแพ้ใน

    บ้าน 0-1 ทำให้ต้องดวลลูกโทษที่จุดโทษและพ่ายแพ้ไป ส่งผลให้พวกเขากระเด็นจากแชมเปียนลีก ไปเล่นยูเอฟาคัพ

    รอบแรกแทน และนิวคาสเซิลก็ไปได้ไกลถึงรอบ 4 ทีมสุดท้าย ด้วยการฝ่าฟันทีมต่างๆ เช่น เอ็นเอซี เบรดา, เอฟซี บาเซล,

    วาเลเรนกา, มาญอร์กา และ พีเอสวี ไอด์โฮเฟนน์ ก่อนที่จะถูก โอลิมปิก มาร์กเซยย์ เขี่ยตกรอบไป 2-0 รวม 2 นัด

    นิวคาสเซิลจบฤดูกาล 2003/04 ด้วยอันดับ 5 ในตารางพรีเมียร์ชิพ ได้สิทธิ์ไปเล่นยูเอฟา คัพ อีกครั้งในฤดูกาล 2004/05

    2005 - ปัจจุบัน

    หลังจากเวลาผ่านไปเกือบ 5 ปี เซอร์ บ็อบบี ร็อบสันก็ถูกบอกเลิกจ้างในวันที่ 30 สิงหาคม 2004 จากการที่เริ่มต้นได้

    อย่างย่ำแย่ในฤดูกาล 2004/05 และมีเหตุการณ์โต้เถียงกันในห้องแต่งตัวนักเตะ ความแตกแยกเริ่มก่อตัวขึ้นระหว่างร็อบสัน

    กับ เจ้าของสโมสร หลังจากพวกเขาเซ็นสัญญาซื้อตัวกับนักเตะชื่อดังหลายคน โดยไม่ปรึกษากับร็อบสัน โดยเฉพาะกรณี

    พาทริค ไคลเวิร์ต ร็อบสันมีตัวเลือกอยู่ในใจและอยากได้ เวย์น รูนนีย์มากกว่า ก่อนที่เขาจะย้ายไปแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

    ร็อบสันเปิดเผยภายหลังว่า เขารู้สึกตกใจที่หลายๆสโมสรยอมที่จะจ่ายค่าตัวที่สูงให้กับผู้เล่นที่ยังเด็กโดยปราศ
    จากการ

    พิสูจน์ความสามารถเสียก่อน ในที่สุด ในช่วงท้ายฤดูกาล ร็อบสันก็จำเป็นต้องเปิดหมวกร่ำลา โดยเขาได้ค่าชดเชยเป็นเงิน 1

    ล้านปอนด์

    แกรม ซูเนสต์ เป็นผู้ได้รับเลือกให้เข้ามาแทนร็อบสันในวันที่ 13 กันยายน 2 วันหลังจากการพบกันของสาลิกาดง กับ อดีต

    ทีมของเขาเอง แบล็กเบิร์น โรเวอร์ส การเข้ามาของซูเนสนั้น ทำให้ความคิดเห็นของแฟนบอลเกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป

    ทั้งทางดีและไม่ดี

    หลังจากนั้น นิวคาสเซิลก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยตัวหนึ่งในนักเตะตัวหลัก เครก เบลามี ในช่วงเวลาที่ทีมกำลังมีผลงานตกต่ำ

    จากการขาด อลัน เชียร์เรอร์ ซึ่งมีอาการบาดเจ็บ แม้ว่าจะมีการลงทุนซื้อตัวผู้เล่นชื่อดังมากมายใน 10 ปีหลังนี้ นิวคาสเซิล

    กลับล้มเหลวในการคว้าถ้วยรางวัลมาครอบครอง นอกจากนั้น ช่องว่างระหว่างทีมอย่างนิวคาสเซิล กับทีมหัวแถวอย่างอา

    ร์เซนอล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และเชลซี ก็เริ่มห่างกันออกไปเรื่อยๆ ทำให้ไม่เห็นทางที่สโมสรจะไขว่คว้าความสำเร็จที่

    ทีมรอคอยได้ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน

    ในเมษายน 2005 คีรอน ดายเออร์ และลี โบว์เยอร์ ก่อเรื่องชกต่อยกันในสนามระหว่างการแข่งขันพรีเมียร์ชิพ ในนัดที่พบ

    กับแอสตัน วิลลา โดยเหตุการณ์นี้เชฟเฟิร์ดอธิบายว่าเป็น "วันที่มืดมนที่สุด" โบว์เยอร์ถูกสโมสรปรับค่าเหนื่อยถึง 6 สัปดาห์

    (ประมาณ 200000 ปอนด์) และนักเตะทั้งสองยังถูกแบบพักการแข่งขันอีกโดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ อีกเหตุการณ์ที่เกิด

    ขึ้นคือ อลัน เชียร์เรอร์ ได้ออกมาประกาศยืดระยะเวลาการค้าแข้งของเขาออกไปอีก 1 ฤดูกาล หลังจากนั้นเขาจะผันตัว

    เองไปเป็นผู้ฝึกสอนหรือผู้จัดการทีมของสโมสร

    นิวคาสเซิลได้รับชัยชนะเกมเหย้าในการแข่งขัน ยูเอฟา คัพ รอบ 8 ทีมสุดท้าย กับสปอร์ติง ลิสบอนในเดือนเมษายน แต่

    กลับไปแพ้ในการแข่งนัดเยือนถึง 1-4 จากการที่มีนักเตะในทีมบาดเจ็บหลายคน ในสัปดาห์เดียวกันนั้น พวกเขาก็กลับมา

    พ่ายแพ้ให้แก่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในเอฟเอ คัพ รอบ 4 ทีมสุดท้ายที่สนามมิลเลนเนียม สเตเดียม เมืองคาร์ดิฟ ด้วย

    สกอร์ 1-4 เช่นเดียวกัน สิ่งนี้ทำให้ถ้วย อินเตอร์โตโต คัพ เป็นเพียงหนทางเดียวของทีมที่จะได้เข้าไปเล่นในถ้วยยุโรป ใน

    ฤดูกาลหน้า 2005/06

    ในเดือนกรกฏา 2005 ข่าวลือมากมายเกี่ยวกับการซื้อขายตัวผู้เล่นเกิดขึ้นล้อมรอบสโมสรแห่งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2005

    พวกเขาก็ตกรอบอินเตอร์โตโต คัพ หลังแพ้ต่อ เดปอร์ติโว ลา คอรุญญา ด้วยสกอร์รวม 4-2 ส่งผลให้นิวคาสเซิลหลุดวง

    โคจรการแข่งขันฟุตบอลยุโรปในฤดูกาลนี้

    ในเดือนนี้เอง สโมสรได้เซ็นสัญญาคว้าตัว ไมเคิล โอเวน จากทีมเรอัล มาดริด ด้วยค่าตัวสถิติสโมสร 17 ล้านปอนด์ พัง

    สถิติ 15 ล้านปอนด์ของอลัน เชียร์เรอร์ ที่สโมสรจ่ายให้กับแบล็กเบิร์น โรเวอร์ส อย่างราบคาบ ซึ่งนับเป็นการซื้อตัวที่ยิ่ง

    ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ก่อนหน้านี้การย้ายทีมในครั้งนี้เป็นที่คาดเดาไปต่างๆ นานา เนื่องจากมีหลายทีมให้ความสนใจ โดย

    เฉพาะ ต้นสังกัดเก่าลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าอาจเป็นจุดหมายถัดไป

    รายชื่อผู้เล่นชุดปัจจุบัน

    1 Shay Given
    2 Stephen Carr
    3 Robbie Elliott
    4 Nolberto Solano
    5 Emre Belözoğlu
    6 Jean-Alain Boumsong
    8 Kieron Dyer
    9 Alan Shearer
    10 Michael Owen
    11 Lee Bowyer
    12 Steve Harper
    14 Charles N'Zogbia
    15 Amdy Faye
    17 Scott Parker
    18 Craig Moore
    19 Titus Bramble
    20 Albert Luque
    21 Lee Clark
    23 Shola Ameobi
    24 Tony Caig
    26 Peter Ramage
    27 Steven Taylor
    28 Michael Chopra
    33 Celestine Babayaro
    36 Kris Gate
    39 Martin Brittain
    54 Paul Huntington
    TBC Tim Krul

    รายชื่อผู้เล่นถูกยืมตัว 16 James Milner (แอสตัน วิลลา)
    32 Laurent Robert (ปอร์ทมัธ)
    37 Alan O'Brien (คาร์ไลส์ ยูไนเต็ด)
    TBC Nicky Butt (เบอร์มิงแฮม ซิตี)
    TBC Hugo Viana (วาเลนเซีย)

    ผู้เล่นในอดีต Philippe Albert
    Peter Beardsley
    Andy Cole
    Les Ferdinand
    Hughie Gallacher
    Paul Gascoigne
    David Ginola
    Kevin Keegan
    Robert Lee
    Malcolm Macdonald
    Jackie Milburn
    Michael Owen
    Laurent Robert
    Len Shackleton
    Alan Shearer
    Nolberto Solano
    Chris Waddle

    ทำเนียบผู้จัดการทีม 2004 - ปัจจุบัน Graeme Souness
    2004 John Carver (1 นัด - รักษาการ)
    1999-2004 Sir Bobby Robson
    1999 Steve Clarke (1 นัด - รักษาการ)
    1998-1999 Ruud Gullit
    1997-1998 Kenny Dalglish
    1997 Terry McDermott (1 นัด - รักษาการ)
    1992-1997 Kevin Keegan
    1991-1992 Osvaldo Ardiles
    1988-1991 Jim Smith
    1988 Colin Suggett (5 นัด - รักษาการ)
    1985-1988 Willie McFaul
    1984 Jack Charlton
    1980-1984 Arthur Cox
    1977-1980 Bill McGarry
    1977 Richard Dinnis
    1975-1977 Gordon Lee
    1962-1975 Joe Harvey
    1961-1962 Norman Smith
    1958-1961 Charlie Mitten
    1956-1958 Stan Seymour
    1954-1956 Duggie Livingstone
    1950-1954 Stan Seymour
    1947-1950 George Martin
    1939-1947 Stan Seymour
    1935-1939 Tom Mather
    1930-1935 Andy Cunningham
    1895-1932 Frank Watt

    แฟนนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดที่มีชื่อเสียง Ant & Dec
    Donna Air
    Tony Blair
    Chris Eubank
    Robson Green
    Gabby Logan
    Jimmy Nail
    Sting
    Peter Taylor, Baron Taylor of Gosforth
    Steve Harmison


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×