ย่อสอบวิทย์! เรื่องปิโตรเลียม ปลายภาค ม.5 - ย่อสอบวิทย์! เรื่องปิโตรเลียม ปลายภาค ม.5 นิยาย ย่อสอบวิทย์! เรื่องปิโตรเลียม ปลายภาค ม.5 : Dek-D.com - Writer

    ย่อสอบวิทย์! เรื่องปิโตรเลียม ปลายภาค ม.5

    เรื่องปิโตรเลี่ยม

    ผู้เข้าชมรวม

    11,878

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    11.87K

    ความคิดเห็น


    13

    คนติดตาม


    15
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ก.ย. 53 / 15:43 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
     ไหนๆ พวกเราหอวังก็จะสอบปลายภาคกันพรุ่งนี้ ย่อวันนี้จะทัยไหมเนี่ยยย!!
    นิยายแฟร์ 2024
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ปิโตรเลี่ยม : เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งชนิดอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว    

                                 โมเลกุลเล็กจนถึงโมเลกุลใหญ่

      เกิดจาก: ซากพืชซากสัตว์ทับถมในชั้นกรวด ทรายและโคลนล้านๆ ปี //  

                     ความกดดัน+ความร้อนใต้โลก+ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรีย

                      แบบไม่ใช้ออกซิเจน

          *น้ำมันดิบ+หินน้ำมัน เป็นปิโตรเลียมเชื้อเพลิงฟอสซิล  

          *ถ่านหินไม่จัดเป็นปิโตรเลียม      *ปิโตรเลียมอยู่ระหว่างชั้น 

            หินดินดาน

           โครงสร้างของชั้นหินที่พบปิโตรเลียม: มีลักษณะโค้งคล้ายรูปกระทะคว่ำ ชั้นบนเป็นหินทราย

          *น้ำมันจะแทรกอยู่ระหว่างหินที่มีรูพรุน ระหว่างชั้นหินดินดานกับหินดินดาน

          *ปิโตรเลียมจากแหล่งกำเนิดต่างกันจะมีปริมาณไฮโดรคาร์บอนต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของซากพืช-สัตว์ที่เป็นตัวกำเนิดของปิโตรเลียม

       

      การสำรวจปิโตรเลียม

      1.ทางธรณีวิทยา / ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่ และการเก็บวิเคราะห์ตัวอย่างหิน

      2.การสำรวจทางธรณีฟิสิกข์ / วัดค่าแรงดึงดูดของโลก ทำให้ได้ข้อมูลขอบเขตของแหล่งตะกอนฟอสซิล

          - การวัดค่าสนามแม่เหล็ก ทำให้ทราบความลึก+ลักษณะของชั้นหิน

          - การวัดคลื่นการสั่นสะเทือน / ทราบลักษณะชั้นหินอย่างละเอียด

       

      แก๊สธรรมชาติ : เกิดใต้พื้น บนบกหรือทะเล ในอ่าวไทยมีมีเทนเป็นส่วนใหญ่

          *แก๊สธรรมชาติพบมีเทนมากที่สุด คือ ร้อยละ 60-80 โดยปริมาตร

          *สารที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอน จะมี CO2 มากสุด

       

      องค์ประกอบของแก๊สธรรมชาติ

      1.ส่วนที่เป็นไฮโดนคาร์บอนหลายชนิด ได้แก่ มีเทน , อีเทน ,

      โพรเพน , บิวเทน และแก๊สเหลว

      2.ส่วนที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอน ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ , ไฮโดรเจนซัลไฟด์ , ไอปรอทและไอน้ำ

       

      หลักการแยกแก๊สธรรมชาติ

      1.แยกจากส่วนที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอน

      2.ลดอุณหภูมิ เพิ่มความดัน เพื่อให้เปลี่ยนเป็นของเหลว

      3.เพิ่มอุณหภูมิ ลดความดัน เพื่อให้เปลี่ยนเป็นแก๊ส

       

         ประโยชน์จากแก๊สธรรมชาติ

        1.มีเทน(CH4)>> ใช้เป็นเชื้อเพลิง // เป็นพลังงานสะอาด

        2.อีเทน(C2H6)>> ผลิตปุ๋ยไนโตรเจน , ผลิตแอลกอฮอล์, ผลิต LNG แก๊ส

        3.โพรเพน(C3H8)>> ใช้เป็นแก๊สหุงต้มในครัว , เชื้อเพลิงรถยนต์

      4.บิวเทน(C4H10)>> ผลิตสารเคมี, เป็นวัตถุดิบป้อนโรงกลั่น, แก๊สหุงต้ม

      5.เพนเทน(C5H12)>> เป็นวัตถุดิบป้อนโรงกลั่น, ผลิตสารเคมี

      6.เฮกเซน(C6H14)>> เป็นตัวทำละลาย

      7.คาร์บอนไดออกไซด์ >> ผลิตน้ำแข็งแห้ง , น้ำยาดับเพลิง

      8.ไนโตรเจน (N2)>>  ทำปุ๋ยไนโตรเจน

      9.ปรอท,ไอน้ำ,ฮีเลียม,ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไม่มีประโยชน์

       

        น้ำมันดิบ เกิดจากการทับถมของสารอินทรีย์ ถูกเก็บกักไว้ในชั้นหิน

      ดินดาน(หินตะกอน)

        *พบน้ำมันดิบครั้งแรกที่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

        *แหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญพบที่จังหวัดกำแพงเพชร

       

        การกลั่นน้ำมันดิบ : ต้องนำไปกลั่นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนออกเป็นกลุ่มๆ ตามช่วงจุดเดือด ทำให้น้ำมันดิบได้รับความร้อน 500 C

        *โดยสารที่มีจุดเดือดสูง+แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก จะควบเป็นของเหลวก่อน และอยู่ด้านล่างของหอกลั่น บนสุดเป็นแก๊ส

       

      จุดเดือดต่ำ >>> จุดเดือดสูง

      ก๊ากหุงต้ม>เบนซิน>น้ำมันก๊าด>ดีเซล>หล่อลื่น>น้ำมันเตา>ยางมะตอย

       

         *ยางมะตอย(บีทูเมน) ทำวัสดุกันรั่วซึม     *ไข ทำเครื่องสำอาง

         *น้ำมันก๊าด เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น

       

      โมเลกุลขนาดเล็ก                       โมเลกุลขนาดใหญ่

      -จุดเดือดต่ำ                                 -จุดเดือดสูง

      -สีอ่อน                                       -สีเข้ม

      -ติดไฟง่าย                                   -ติดไฟยาก

      -เหลว                                          -หนืด

       

        ผลกระทบจากปิโตรเลียม

      1.ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์(CO) เกิดจากท่อไอเสียรถ จากการเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ของเบนซินหรือดีเซล

         *มีผลต่อมนุษย์และสัตว์ เพราะ จับกับฮีโมโกลบินได้ดีกว่าออกซิเจน ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ ทำให้เวียนหัว อาจสลบและตายได้

           การลด

          - ปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้สูง เกิดปฏิกิริยาสันดาปสมบูรณ์ ไม่มีเขม่า ไอน้ำมัน และ CO

          - ติดตั้ง คะตะไลติกคอนเวอร์เตอร์ (ตัวแปลง) ช่วยเปลี่ยน CO

      เป็น CO2

          - ปรับปรุงค่างเลขออกเทนให้สูงขึ้น

          *เลขออกเทนสูง จะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบไม่สะดุด

          *น้ำมันไร้สารตะกั่วปรับปรุงคุณภาพโดยเติมสาร เอ็มทีบีอี

       

       

      2.สารตะกั่วจากท่อไอเสีย: นำสารเตตระเอธิลเลด เติมในน้ำมันเบนซิน เพื่อเพิ่มคุณภาพ

      3.ออกไซด์ของซัลเฟอร์: พบในรูปของ SO2 ทำให้เกิดฝนกรด ได้รับปริมาณน้อยจะปวดเมื่อย ถ้ารับ 20 ppm ทำให้ปอดอักเสบ,หลอดลมตีบ

         *เกิดจากภูเขาไฟระเบิด , การเน่าเปื่อยของสิ่งมีชีวิต , ส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและรถยนต์

         *SO2 ละลายในน้ำฝนจะได้กรดซัลฟิวริก ทำให้เกิดฝนกรด

      4.ไฮโดรคาร์บอน ได้แก่ มีเทน อีเทน ไอของเฮกเซน เฮปเทน ออกเทน เบนซิน อัยตรายต่อเยื่อตา , ระคายเคืองระบบหายใจ

      5.ทางน้ำ มาจากการใช้ผลิตภัณปิโตรเคมีต่างๆ คราบร้ำมันที่ปกคลุมผิวน้ำ ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถละลายลงไปในน้ำได้

        *การวัดคุณภาพของน้ำ วัดจากปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำเรียกว่าค่า DO สูงแปลว่าน้ำดี

        *แหล่งน้ำธรรมชาตอควรมีค่า DO ไม่น้อยกว่า 3mg

        *BOD และ COD สูงเป็นน้ำเสีย

       

        สารประกอบไฮโดรคาร์บอน : ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลี่ยมและแก๊สธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว คือ พันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมด(ยกเว้นมีเทน)

         *ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวที่ประกอบด้วยคาร์บอน 3 อะตอม เรียกว่า

       โพรเพน(มีสูตรโครงสร้างแบบเดียว)

         *ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวที่ประกอบด้วยคาร์บอน 4 อะตอม เรียกว่า

        บิวเทน(มีแบบโซ่ตรงและโซ่กิ่ง)

         *ประกอบด้วยธาตุ C และ H เท่านั้น

         *โมเลกุลของสารที่เล็กที่สุด ประกอบด้วย C เพียง 1 อะตอม

         * เมื่อจำนวนคาร์บอนเพิ่มขึ้น การยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมคาร์บอนอาจเป็นโซ่ตรงหรือโซ่กิ่ง

         *โมเลกุลที่เล็กที่สุด คือ มีเทน(CH4)

         *ไฮโดรคาร์บอนไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์บางชนิด และเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ได้ดี

         *ปฏิกิริยาการเผาไหม้ >>  ไฮโดรคาร์บอน+ออกซิเจน = CO2และน้ำ

      จะเกิดสมบูรณ์ต่อเมื่อมีออกซิเจนเพียงพอ

         *การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ มักเกิดจากสัดส่วนที่ไม่ดีพอระหว่างไอของน้ำมันกับออกซิเจน

       

       เชื้อเพลิงในชีวิตประจำวัน

      - แก๊สหุงต้ม >> แก๊สโพรเพน+บิวเทน เมื่อถูกอัดลงไปในถังเหล็กภายใต้ความกดดันสูง จะเปลี่ยนเป็นของเหลว เรียกว่า LPG

      - เบนซิน >> เฮปเทน+ไอโซออกเทน เหมาะกับพาหนะที่ใช้แก๊สโซลีน เบนซินใช้กับรถที่มีเลจออกเทน 91 และ 95

       

       

      เลขออกเทน เป็นตัวบอกคุณภาพของน้ำมันเบนซิน

      คือ ไอโซออกเทน กับ นอร์มอลเฮปเทน

           *เบนซินที่เหมาะสมกับเครื่องยนตืแก๊สโซลีน มีเลขออกเทน 87

           *แต่เบนซินที่กลั่นได้จะมีเลขออกเทนต่ำกว่า 75 จึงต้องเติมสารเตตระเมทิลเลต หรือสารเตตระเอทิลเลต แต่ก็จะทำให้มีไอของสารตะกั่ว เกิดอันตราย

          *ดังนั้นจึงเปลี่ยนมาเติมเมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์(MTBE) แทน หรือเรียกว่าน้ำมันไร้สารตะกั่ว

          *คุณภาพของเบนซินบอกได้จากเลขออกเทน

          *คุณภาพของดีเซลบอกได้จากเลขซีเทน คือ เลขซีเทน และแอลฟา เมธิลแนฟทาลีน

          *เอทานอล+เบนซิน ในอัตราส่วน 1:9 เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ ให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับเบนซิน 95

      หมายเหตุ ย่อจาก 14 หน้า เหลือ 2 หน้าเอสี่ โชคดีน้า

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×