ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : นครแห่งความสงบสุขอันยาวนาน
ฉางอาน :
นครแห่งความสงบสุขอันยาวนาน
นครฉางอาน โดยตามศัพท์แล้วหมายถึง นครแห่งความสงบสุขอันยาวนาน
ได้รับการก่อตั้งเป็นราชธานีขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจ (ZHOU) (ปี ๑๑๐๐-๒๒๑ ก่อนคริสตกาล) หรือ เมื่อศตวรรษที่ ๑๑ ก่อนคริสตกาล ด้วยชัยภูมิเมืองที่ทิศตะวันตกมีแม่น้ำเว่ยเหอ (WEI HE) ไหลผ่านเป็นที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูก ทิศใต้อิงภูเขาจงหนานซาน (ZHONG NAN SHAN) ทิศตะวันออก มีภูเขาหลี่ซาน (LI SHAN) ล้อมรอบ จัดเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การก่อร่างสร้างเมือง ตามหลักฟงสุ่ย (ฮวงจุ้ย) คือ อิงเขาใกล้น้ำ และหลักการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ คือมีน้ำอุดมสมบูรณ์เพื่อการเพาะปลูกและบริโภค
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี ๒๒๑-๒๐๗ ก่อนคริสตกาล) จักรพรรดิฉินสื่อหวงตี้ (CHIN SHI HUANG TI) หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม จักรพรรดิจิ๋นซี ผู้รวบรวมแผ่นดินจีนขึ้นเป็นครั้งแรก และสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของแผ่นดินจีนพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ได้ตั้งราชธานีที่เมืองเสียนหยาง (XIAN YANG) ซึ่งห่างจากเมืองซีอานในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีพระราชวังหลวงอันยิ่งใหญ่โอฬาร ชื่อ อาฝางกง (A FANG GONG)
พระราชวังนี้ถูกเพลิงเผาทำลายเสียสิ้น ครั้นเมื่อสิ้นราชวงศ์ฉิน
ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (HAN) (ปี ๒๐๖ ก่อนคริสตกาล-ค.ศ. ๒๒๐) นครฉางอานมีอาณาบริเวณกว้างถึง ๓๖ ตารางกิโลเมตร มีกำแพงเมืองล้อมรอบถึง ๓๒.๕ กิโลเมตร มีประชากรกว่า ๒๕๐,๐๐๐ คน ใหญ่กว่ากรุงโรมในขณะนั้นถึง ๓ เท่า มีพระราชวังหลวงชื่อ เว่ยยางกง (WEI YANG GONG) ปัจจุบันยังปรากฏแนวซากพระราชวังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง (TANG) (ค.ศ. ๖๑๘-๙๐๗) นครฉางอานได้เจริญขึ้นถึงขีดสุด มีอาณาบริเวณกว้างขวางขึ้นเป็น ๔๘ ตารางกิโลเมตร มีกำแพงเมืองล้อมรอบถึง ๔๐ กิโลเมตร โดยเฉพาะในสมัยจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน (WU ZHE TIAN) หรือที่พวกเรารู้จักกันดีในนาม บูเช็คเทียน ราชวงศ์ถังได้เจริญไพบูลย์อย่างถึงที่สุดทั้งทางด้านการเมืองอันสงบสุข และการค้าเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู มีพ่อค้าวาณิชทั้งชาวตะวันตกจากยุโรป และเปอร์เซีย ฯลฯ ได้เดินทางเข้ามาตามเส้นทางสายแพรไหมอันยาวไกลกว่าเจ็ดพันกิโลเมตรเพื่อทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า พร้อมนำเอาวัฒนธรรมจากแดนไกลเข้ามาเสนอในราชสำนักถัง และในขณะเดียวกัน สินค้าของจีนที่ขึ้นชื่อและมีราคาค่างวด คือ ผ้าแพรและผ้าไหม อันเป็นที่ต้องการของชาวตะวันตก พร้อมด้วยอารยธรรมของจีนก็แพร่หลายตามเหล่าพ่อค้าวาณิชเหล่านั้นเข้าสู่ดินแดนทางตะวันตก โดยมีจุดหมายปลายทางที่อาณาจักรโรมันตะวันออก (หรือ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในปัจจุบัน)
กล่าวกันว่าในสมัยนี้ นครฉางอาน ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่พระราชวังต้าหมิงกง (TA MING GONG) (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกำแพงเมืองซีอานในปัจจุบัน) มีประชากรกว่า ๑ ล้านคน คลาคล่ำไปด้วยชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อขายและเปลี่ยนสินค้า จึงทำให้นครฉางอานมิเพียงแต่เป็นมหานครของจีนในราชวงศ์ถังเท่านั้น หากแต่ยังเป็นมหานครศูนย์กลางทางการค้าของนานาชาติ และอารยธรรมของโลกในยุคนั้นทีเดียว!
แต่นับจากสิ้นสุดราชวงศ์ถังลงในปี ค.ศ. ๙๐๗ ประเทศจีนก็แตกแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย เรียกช่วงนี้ว่าเป็นยุค ๕ ราชวงศ์ ๑๐ อาณาจักร อยู่ถึงกว่า ๕๐ ปี และแผ่นดินจีนได้ถูกรวบรวมขึ้นมาอีกครั้งในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง (BIE SONG) (ค.ศ. ๙๖๐-๑๑๒๖) หรือซ่งเหนือ ราชธานีของราชวงศ์นี้ได้ย้ายไปอยู่เมืองไคเฟิง (KAI FENG) ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของนครฉางอานแทน (อยู่ในมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ครั้นพอถึงในราชวงศ์หนานซ่ง (NAN SONG) (ค.ศ. ๑๑๒๗-๑๒๗๙) หรือซ่งใต้ ซึ่งอาณาจักรมงโกลเริ่มแผ่ขยายอำนาจทางตอนเหนือ ราชสำนักหนานซ่งจึงได้ย้ายราชธานีลงมาทางใต้มากขึ้น โดยมาอยู่ที่เมืองหังโจว (HANG ZHOU) แทน
นครฉางอานได้กลับมาเป็นราชธานีของแผ่นดินจีนเป็นครั้งสุดท้าย ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของช่วงก่อตั้งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. ๑๓๖๘) คือ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ (MING TAI ZHU) จูหยวนจาง (JU YUAN ZHANG) ผู้ล้มราชวงศ์หยวน (YUAN) ของชาวมงโกลที่มาปกครองจีน และสถาปนาราชวงศ์หมิง (MING) ของชาวฮั่นขึ้นใหม่ ก่อนที่ราชวงศ์หมิงจะย้ายราชธานีไปเมืองนานจิง (นานกิง) และย้ายไปเมืองปักกิ่ง และสร้างพระราชวังโบราณกู่กงขึ้นในกาลต่อมา
และนับจากบัดนั้น ปักกิ่งก็เป็นราชธานีและเมืองหลวงของจีนมาจนถึงปัจจุบัน
ผมมาถึงเมืองซีอานในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นช่วงที่พายุทรายจากมองโกเลียเพิ่งพัดผ่านไป
หลินเจี๋ย (LIN JIE) ไกด์ร่วมทางของพวกเรา ซึ่งเพิ่งบินจากปักกิ่งมาสมทบ เธอบอกว่า ๒-๓ วันก่อนที่ปักกิ่งมีพายุทรายโถมพัดเข้ามาทำให้ท้องฟ้ามืดมิดไปถึง ๒ วัน จนเครื่องบินไม่สามารถลงจอดได้ ประตูหน้าต่างมีฝุ่นทรายปกคลุมจนดำมืดไปหมด พายุทรายนี้พัดจากเหนือลงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๑ ใน ๔ ของประเทศจีน อยู่ถึง ๕ วันเต็มๆ จึงค่อยบรรเทาลง
พวกเรานับว่าโชคดีมาก ที่มาถึงพายุทรายนี้ได้สงบลงแล้ว คงเหลือสภาพท้องฟ้าที่ยังขมุกขมัวอยู่เท่านั้น
หลินเจี๋ยบอกว่า สภาพพายุทรายรุนแรงเช่นนี้ เธอไม่เคยประสบพบมาก่อนในชีวิตเลย ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะสภาวะแวดล้อมได้เลวร้ายลงเรื่อยๆ ในกรุงปักกิ่งได้มีการรณรงค์ปลูกต้นไม้เพื่อรักษาสภาพหน้าดิน และกันลมฝุ่นทรายมานานเกือบ ๒๐ ปีแล้ว แต่ในประเทศมองโกเลียยังขาดจิตสำนึกในเรื่องนี้มาก และเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมา มีข่าวว่าประเทศมองโกเลียได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้เกิดโรคระบาด สัตว์ล้มตายเป็นจำนวนมาก ครั้นพอมีลมพายุพัดขึ้น จึงหอบเอาทราย ฝุ่น และรวมถึงเชื้อโรคข้ามมายังประเทศจีนอย่างที่เป็นอยู่
ธรรมชาตินั้นช่างไร้พรมแดนจริงๆ
นอกจากหลินเจี๋ยแล้ว พวกเรายังได้อาจารย์โจวปังฮุ่ย (ZHOU BAN HUI) ศาสตราจารย์แห่งภาควิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ แห่งเมืองซีอาน เป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์ในการนำชมมหานครโบราณแห่งนี้
อาจารย์โจวในวันนี้มีอายุ ๕๖ ปี เป็นชาวเซี่ยงไฮ้โดยกำเนิด และได้มาศึกษาภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศที่กรุงปักกิ่ง เคยทำงานสอนหนังสืออยู่ที่เมืองลั่วหยางมานาน แล้วย้ายมาสอนวิชาการท่องเที่ยวที่เมืองซีอาน อาจารย์โจวมีบุตรสาว ๑ คน มีอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ (ภาษาไทย) เช่นเดียวกับอาจารย์
อาจารย์โจวเล่าว่าในเมืองซีอานนี้ นักศึกษาวิชาการท่องเที่ยวไม่ค่อยนิยมเรียนภาษาไทย เพื่อเป็นมัคคุเทศก์แบบที่ปักกิ่งหรือคุนหมิง เพราะนักท่องเที่ยวชาวไทยมาเที่ยวซีอานน้อยมาก ที่มาเที่ยวมากที่สุดเห็นจะเป็นชาวญี่ปุ่น ยุโรป และชาวจีนโพ้นทะเล ดังนั้น ภาษาญี่ปุ่น และอังกฤษจึงเป็นที่นิยมเรียนกันอย่างมาก และนักศึกษาจะต้องศึกษาประวัติศาสตร์จีนอย่างหนัก เพราะซีอานมีประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่ยาวนานกว่า ๓,๐๐๐ ปีนั่นเอง
สนามบินนานาชาติเมืองซีอาน ตั้งอยู่ในเขตเมืองเสียนหยาง (XIAN YANG) (ที่ตั้งอดีตราชธานีของจักรพรรดิจิ๋นซีผู้โด่งดัง) สองข้างทางจากสนามบินถึงตัวเมือง จะเป็นไร่ข้าวสาลี โดยชาวบ้านจะเริ่มปลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (กุมภาพันธ์) และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูร้อน (มิถุนายน) จากนั้นจะปลูกข้าวโพดต่อ และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (ตุลาคม) จากนั้นจะหยุดเพาะปลูกในฤดูหนาวที่หนาวจัดถึง -๑๕ องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย
ปัจจุบันเมืองซีอานเป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี (SHAAN XI) มณฑลทางตอนกลางของประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ ๓๖ ล้านคน ส่วนใหญ่มีอาชีพกสิกรรม เพราะได้น้ำจากแม่น้ำเว่ยเหอ และหวงเหอ (แม่น้ำเหลือง) มาหล่อเลี้ยง
จุดขายสำคัญของเมืองซีอานในปัจจุบัน คือ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยมีสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่สำคัญคือ กองทหารม้าดินเผาของจักรพรรดิจิ๋นซี, อุทยานน้ำพุร้อนหัวชิงฉือ, เจดีย์ต้าเอี้ยน, เสี่ยวเอี้ยน, ในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีกลุ่มสุสานของจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น และราชวงศ์ถัง เรียงรายอยู่มากมาย ส่วนทางทิศตะวันออกมีวัดสำคัญทางพุทธศาสนา คือ วัดฝ่าเหมินซื่อ ทางตอนใต้มีภูเขาที่มีทิวทัศน์ทางธรรมชาติงดงาม คือ ฮวาซาน เป็นต้น
การเดินทางเพื่อเจาะเวลาย้อนอดีตในซีอานของเราในครั้งนี้เริ่มต้นที่อุทยานน้ำพุร้อนหัวชิงฉือก่อน
นครแห่งความสงบสุขอันยาวนาน
นครฉางอาน โดยตามศัพท์แล้วหมายถึง นครแห่งความสงบสุขอันยาวนาน
ได้รับการก่อตั้งเป็นราชธานีขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจ (ZHOU) (ปี ๑๑๐๐-๒๒๑ ก่อนคริสตกาล) หรือ เมื่อศตวรรษที่ ๑๑ ก่อนคริสตกาล ด้วยชัยภูมิเมืองที่ทิศตะวันตกมีแม่น้ำเว่ยเหอ (WEI HE) ไหลผ่านเป็นที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูก ทิศใต้อิงภูเขาจงหนานซาน (ZHONG NAN SHAN) ทิศตะวันออก มีภูเขาหลี่ซาน (LI SHAN) ล้อมรอบ จัดเป็นชัยภูมิที่เหมาะแก่การก่อร่างสร้างเมือง ตามหลักฟงสุ่ย (ฮวงจุ้ย) คือ อิงเขาใกล้น้ำ และหลักการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ คือมีน้ำอุดมสมบูรณ์เพื่อการเพาะปลูกและบริโภค
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี ๒๒๑-๒๐๗ ก่อนคริสตกาล) จักรพรรดิฉินสื่อหวงตี้ (CHIN SHI HUANG TI) หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม จักรพรรดิจิ๋นซี ผู้รวบรวมแผ่นดินจีนขึ้นเป็นครั้งแรก และสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิของแผ่นดินจีนพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ได้ตั้งราชธานีที่เมืองเสียนหยาง (XIAN YANG) ซึ่งห่างจากเมืองซีอานในปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีพระราชวังหลวงอันยิ่งใหญ่โอฬาร ชื่อ อาฝางกง (A FANG GONG)
พระราชวังนี้ถูกเพลิงเผาทำลายเสียสิ้น ครั้นเมื่อสิ้นราชวงศ์ฉิน
ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (HAN) (ปี ๒๐๖ ก่อนคริสตกาล-ค.ศ. ๒๒๐) นครฉางอานมีอาณาบริเวณกว้างถึง ๓๖ ตารางกิโลเมตร มีกำแพงเมืองล้อมรอบถึง ๓๒.๕ กิโลเมตร มีประชากรกว่า ๒๕๐,๐๐๐ คน ใหญ่กว่ากรุงโรมในขณะนั้นถึง ๓ เท่า มีพระราชวังหลวงชื่อ เว่ยยางกง (WEI YANG GONG) ปัจจุบันยังปรากฏแนวซากพระราชวังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซีอาน
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ถัง (TANG) (ค.ศ. ๖๑๘-๙๐๗) นครฉางอานได้เจริญขึ้นถึงขีดสุด มีอาณาบริเวณกว้างขวางขึ้นเป็น ๔๘ ตารางกิโลเมตร มีกำแพงเมืองล้อมรอบถึง ๔๐ กิโลเมตร โดยเฉพาะในสมัยจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน (WU ZHE TIAN) หรือที่พวกเรารู้จักกันดีในนาม บูเช็คเทียน ราชวงศ์ถังได้เจริญไพบูลย์อย่างถึงที่สุดทั้งทางด้านการเมืองอันสงบสุข และการค้าเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู มีพ่อค้าวาณิชทั้งชาวตะวันตกจากยุโรป และเปอร์เซีย ฯลฯ ได้เดินทางเข้ามาตามเส้นทางสายแพรไหมอันยาวไกลกว่าเจ็ดพันกิโลเมตรเพื่อทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า พร้อมนำเอาวัฒนธรรมจากแดนไกลเข้ามาเสนอในราชสำนักถัง และในขณะเดียวกัน สินค้าของจีนที่ขึ้นชื่อและมีราคาค่างวด คือ ผ้าแพรและผ้าไหม อันเป็นที่ต้องการของชาวตะวันตก พร้อมด้วยอารยธรรมของจีนก็แพร่หลายตามเหล่าพ่อค้าวาณิชเหล่านั้นเข้าสู่ดินแดนทางตะวันตก โดยมีจุดหมายปลายทางที่อาณาจักรโรมันตะวันออก (หรือ กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในปัจจุบัน)
กล่าวกันว่าในสมัยนี้ นครฉางอาน ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่พระราชวังต้าหมิงกง (TA MING GONG) (ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกำแพงเมืองซีอานในปัจจุบัน) มีประชากรกว่า ๑ ล้านคน คลาคล่ำไปด้วยชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อขายและเปลี่ยนสินค้า จึงทำให้นครฉางอานมิเพียงแต่เป็นมหานครของจีนในราชวงศ์ถังเท่านั้น หากแต่ยังเป็นมหานครศูนย์กลางทางการค้าของนานาชาติ และอารยธรรมของโลกในยุคนั้นทีเดียว!
แต่นับจากสิ้นสุดราชวงศ์ถังลงในปี ค.ศ. ๙๐๗ ประเทศจีนก็แตกแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย เรียกช่วงนี้ว่าเป็นยุค ๕ ราชวงศ์ ๑๐ อาณาจักร อยู่ถึงกว่า ๕๐ ปี และแผ่นดินจีนได้ถูกรวบรวมขึ้นมาอีกครั้งในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง (BIE SONG) (ค.ศ. ๙๖๐-๑๑๒๖) หรือซ่งเหนือ ราชธานีของราชวงศ์นี้ได้ย้ายไปอยู่เมืองไคเฟิง (KAI FENG) ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของนครฉางอานแทน (อยู่ในมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) ครั้นพอถึงในราชวงศ์หนานซ่ง (NAN SONG) (ค.ศ. ๑๑๒๗-๑๒๗๙) หรือซ่งใต้ ซึ่งอาณาจักรมงโกลเริ่มแผ่ขยายอำนาจทางตอนเหนือ ราชสำนักหนานซ่งจึงได้ย้ายราชธานีลงมาทางใต้มากขึ้น โดยมาอยู่ที่เมืองหังโจว (HANG ZHOU) แทน
นครฉางอานได้กลับมาเป็นราชธานีของแผ่นดินจีนเป็นครั้งสุดท้าย ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของช่วงก่อตั้งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. ๑๓๖๘) คือ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ (MING TAI ZHU) จูหยวนจาง (JU YUAN ZHANG) ผู้ล้มราชวงศ์หยวน (YUAN) ของชาวมงโกลที่มาปกครองจีน และสถาปนาราชวงศ์หมิง (MING) ของชาวฮั่นขึ้นใหม่ ก่อนที่ราชวงศ์หมิงจะย้ายราชธานีไปเมืองนานจิง (นานกิง) และย้ายไปเมืองปักกิ่ง และสร้างพระราชวังโบราณกู่กงขึ้นในกาลต่อมา
และนับจากบัดนั้น ปักกิ่งก็เป็นราชธานีและเมืองหลวงของจีนมาจนถึงปัจจุบัน
ผมมาถึงเมืองซีอานในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นช่วงที่พายุทรายจากมองโกเลียเพิ่งพัดผ่านไป
หลินเจี๋ย (LIN JIE) ไกด์ร่วมทางของพวกเรา ซึ่งเพิ่งบินจากปักกิ่งมาสมทบ เธอบอกว่า ๒-๓ วันก่อนที่ปักกิ่งมีพายุทรายโถมพัดเข้ามาทำให้ท้องฟ้ามืดมิดไปถึง ๒ วัน จนเครื่องบินไม่สามารถลงจอดได้ ประตูหน้าต่างมีฝุ่นทรายปกคลุมจนดำมืดไปหมด พายุทรายนี้พัดจากเหนือลงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ถึง ๑ ใน ๔ ของประเทศจีน อยู่ถึง ๕ วันเต็มๆ จึงค่อยบรรเทาลง
พวกเรานับว่าโชคดีมาก ที่มาถึงพายุทรายนี้ได้สงบลงแล้ว คงเหลือสภาพท้องฟ้าที่ยังขมุกขมัวอยู่เท่านั้น
หลินเจี๋ยบอกว่า สภาพพายุทรายรุนแรงเช่นนี้ เธอไม่เคยประสบพบมาก่อนในชีวิตเลย ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะสภาวะแวดล้อมได้เลวร้ายลงเรื่อยๆ ในกรุงปักกิ่งได้มีการรณรงค์ปลูกต้นไม้เพื่อรักษาสภาพหน้าดิน และกันลมฝุ่นทรายมานานเกือบ ๒๐ ปีแล้ว แต่ในประเทศมองโกเลียยังขาดจิตสำนึกในเรื่องนี้มาก และเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมา มีข่าวว่าประเทศมองโกเลียได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้เกิดโรคระบาด สัตว์ล้มตายเป็นจำนวนมาก ครั้นพอมีลมพายุพัดขึ้น จึงหอบเอาทราย ฝุ่น และรวมถึงเชื้อโรคข้ามมายังประเทศจีนอย่างที่เป็นอยู่
ธรรมชาตินั้นช่างไร้พรมแดนจริงๆ
นอกจากหลินเจี๋ยแล้ว พวกเรายังได้อาจารย์โจวปังฮุ่ย (ZHOU BAN HUI) ศาสตราจารย์แห่งภาควิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ แห่งเมืองซีอาน เป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์ในการนำชมมหานครโบราณแห่งนี้
อาจารย์โจวในวันนี้มีอายุ ๕๖ ปี เป็นชาวเซี่ยงไฮ้โดยกำเนิด และได้มาศึกษาภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศที่กรุงปักกิ่ง เคยทำงานสอนหนังสืออยู่ที่เมืองลั่วหยางมานาน แล้วย้ายมาสอนวิชาการท่องเที่ยวที่เมืองซีอาน อาจารย์โจวมีบุตรสาว ๑ คน มีอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ (ภาษาไทย) เช่นเดียวกับอาจารย์
อาจารย์โจวเล่าว่าในเมืองซีอานนี้ นักศึกษาวิชาการท่องเที่ยวไม่ค่อยนิยมเรียนภาษาไทย เพื่อเป็นมัคคุเทศก์แบบที่ปักกิ่งหรือคุนหมิง เพราะนักท่องเที่ยวชาวไทยมาเที่ยวซีอานน้อยมาก ที่มาเที่ยวมากที่สุดเห็นจะเป็นชาวญี่ปุ่น ยุโรป และชาวจีนโพ้นทะเล ดังนั้น ภาษาญี่ปุ่น และอังกฤษจึงเป็นที่นิยมเรียนกันอย่างมาก และนักศึกษาจะต้องศึกษาประวัติศาสตร์จีนอย่างหนัก เพราะซีอานมีประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่ยาวนานกว่า ๓,๐๐๐ ปีนั่นเอง
สนามบินนานาชาติเมืองซีอาน ตั้งอยู่ในเขตเมืองเสียนหยาง (XIAN YANG) (ที่ตั้งอดีตราชธานีของจักรพรรดิจิ๋นซีผู้โด่งดัง) สองข้างทางจากสนามบินถึงตัวเมือง จะเป็นไร่ข้าวสาลี โดยชาวบ้านจะเริ่มปลูกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (กุมภาพันธ์) และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูร้อน (มิถุนายน) จากนั้นจะปลูกข้าวโพดต่อ และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (ตุลาคม) จากนั้นจะหยุดเพาะปลูกในฤดูหนาวที่หนาวจัดถึง -๑๕ องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย
ปัจจุบันเมืองซีอานเป็นเมืองหลวงของมณฑลส่านซี (SHAAN XI) มณฑลทางตอนกลางของประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ ๓๖ ล้านคน ส่วนใหญ่มีอาชีพกสิกรรม เพราะได้น้ำจากแม่น้ำเว่ยเหอ และหวงเหอ (แม่น้ำเหลือง) มาหล่อเลี้ยง
จุดขายสำคัญของเมืองซีอานในปัจจุบัน คือ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยมีสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่สำคัญคือ กองทหารม้าดินเผาของจักรพรรดิจิ๋นซี, อุทยานน้ำพุร้อนหัวชิงฉือ, เจดีย์ต้าเอี้ยน, เสี่ยวเอี้ยน, ในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีกลุ่มสุสานของจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น และราชวงศ์ถัง เรียงรายอยู่มากมาย ส่วนทางทิศตะวันออกมีวัดสำคัญทางพุทธศาสนา คือ วัดฝ่าเหมินซื่อ ทางตอนใต้มีภูเขาที่มีทิวทัศน์ทางธรรมชาติงดงาม คือ ฮวาซาน เป็นต้น
การเดินทางเพื่อเจาะเวลาย้อนอดีตในซีอานของเราในครั้งนี้เริ่มต้นที่อุทยานน้ำพุร้อนหัวชิงฉือก่อน
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น