ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ,,__[Go to Korea!!!] ไปเที่ยวเกาหลีกันเถอะ!!

    ลำดับตอนที่ #2 : ,,__[$Korea$] - การทำหนังสือเดินทาง

    • อัปเดตล่าสุด 5 มี.ค. 50





    สถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง      

    กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ   
         - ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
         - โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 โทรสาร 0-2981-7256

    สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา   
         - ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลซิตี้ บางนา บริเวณลานจอดรถ ชั้น P9
         - โทรศัพท์ 0-2383-8401-3  โทรสาร 0-2383-8398
     
    สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า  
         - ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า ชั้น 8 ถนนบรมราชชนนี
         - โทรศัพท์ 0-2884-8831 , 0-2884-8838 โทรสาร 0-2884-8825

    สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น 
         - ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ จังหวัดขอนแก่น
         - โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441
     
     สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่  
         - ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
         - โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534

    สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา  
         - ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 9000
         - โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506

    ระเบียบการขอหนังสือเดินทาง
    ผู้ร้องขอทำหนังสือเดินทางจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางกระทรวงฯ ที่ได้กำหนดไว้ คือ ผู้ร้องขอทำหนังสือเดินทางจะต้องยื่นคิวที่กระทรวงฯ ด้วยตนเองพร้อมเอกสารและขอรับใบเสร็จมาจึงเป็นอันเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นอีก 7 วันราชการ ก็ให้มารับหนังสือเดินทางได้ที่กองหนังสือเดินทาง
    เอกสารที่ใช้ประกอบในการขอหนังสือเดินทาง
    กรณีบุคคลทั่วไป

    1. ทะเบียนบ้าน ถ้าทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัดต้องมีประทับตราของอำเภอหรือเทศบาลด้วย
    2. บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ถ้าเป็นใบเหลืองต้องมีรูปติดหน้า หรือด้านหลังใบเหลือง และให้ทางอำเภอประทับตรารูปถ่ายด้วย แต่ในกรณีมีบัตรประชาชนเก่า ให้ใช้คู่กันได้เลย)
    3. ทะเบียนทหาร ในกรณีผู้ร้องขอเป็นชายอายุระหว่าง17-45 ปีบริบูรณ์ ต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับทหาร เช่น สด.9,สด.43 หรืออื่น ๆ
    4. ทะเบียนสมรส ในกรณีผู้ร้องขอเป็นหญิงที่ทำการสมรสแล้ว
    5. ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้าเคยเปลี่ยน)
    6. ใบแปลงสัญชาติและราชกิจจานุเบกษา (ในกรณีที่ผู้ร้องเกิดในต่างประเทศ แล้วมีการแปลงสัญชาติเป็นไทย)
    7. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดาและมารดา (ในกรณีที่ผู้ร้องอายุยังไม่เกิน 20 ปี และมีบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว หรือถ้าบิดามารดาเสียชีวิต ให้นำใบมรณะบัตรมาแทน)

    กรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์

    1. ทะเบียนบ้าน ของบิดามารดา และผู้เยาว์
    2. บัตรประชาชน บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจของบิดา มารดา (ถ้าบิดาหรือมารดาเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจให้นำใบรับรองการทำงานมาแสดงด้วย)
    3. สูติบัตรของผู้เยาว์
    4. ทะเบียนสมรสของบิดามารดา
    5. ในกรณีที่บิดา มารดาหย่าขาดจากกัน ต้องนำทะเบียนหย่าที่ระบุข้อตกลงในการปกครองบุตร
    6. ในกรณีที่บิดา มารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องมีใบรับรองบุตรจากทางอำเภอ
    7. ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้าเคยเปลี่ยน)
    8. ใบแปลงสัญชาติและราชกิจจานุเบกษาของบิดาและมารดาเซ็นให้ความยินยอมพร้อมกับนำบัตรประชาชนมาด้วย

    หมายเหตุ

    • เอกสารดังกล่าวข้างต้นนี้ให้นำต้นฉบับมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย
    • บุคคลที่อายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องให้บิดาและมารดาเซ็นให้ความยินยอมพร้อมกับนำบัตรประชาชนมาด้วย


      che ery che ery s cche ery
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×