ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กฎหมายอาญา

    ลำดับตอนที่ #19 : อายุความตามกฎหมายไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 289
      0
      14 ธ.ค. 52

     
    อายุความตามกฎหมายไทย
    อายุความสูงสุดตามกฎหมายไทยนั้นคือ ๒๐ ปี หากผู้ต้องหาหลบหนีไปจากกระบวนพิจารณา หรือ ระยะเวลาดังกล่าวได้ล่วงเลยไปโดยไม่มีการฟ้องร้องต่อศาล ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ต้องหามิต้องรับโทษ อายุความในคดีอาญาและคดีแพ่งมีสาระสำคัญต่างกันดังนี้

     
    อายุความในคดีอาญา
    ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๕)
    ความผิดต้องระวางโทษอายุความระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือ จำคุกยี่สิบปียี่สิบปีจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปีสิบห้าปีจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีสิบปีจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปีห้าปีจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่นหนึ่งปี

     
     
    ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็น อันขาดอายุความ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๖)
    เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษจะลงโทษผู้นั้นมิได้ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๘)
    ศาลพิพากษาลงโทษอายุความประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปียี่สิบปีจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปีสิบห้าปีจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีสิบปีจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่นห้าปี
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×