ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กฎหมายอาญา

    ลำดับตอนที่ #3 : เหตุลดโทษ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.56K
      9
      18 พ.ย. 52

     
    เหตุลดโทษ คือ เหตุที่อาจทำให้ผู้กระทำได้รับโทษน้อยลง ซึ่งขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของศาลที่จะลดโทษให้แก่ผู้กระทำหรือไม่ก็ได้ กฎหมายมักจะบัญญัติเกี่ยวกับการลดโทษไว้ในทำนองว่า “ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” (ดูตัวอย่างใน มาตรา 72) หรือบางกรณีก็จำกัดขอบเขตการลดโทษของศาลไว้เช่น “ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้” (มาตรา 78)

     
    การกระทำนั้นไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
    •กฎหมายที่ยกเว้นโทษให้แก่การกระทำต่าง ๆ ที่เป็นความผิดมีหลายกรณีด้วยกันเช่น
    •1. การกระทำความผิดโดยจำเป็น (มาตรา 67)
    •2. การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี และไม่เกิน14 ปี (มาตรา 73 และ74)
    •3. การกระทำความผิดของคนวิกลจริต (มาตรา65วรรคแรก)
    •4. การกระทำความของผู้มึนเมา (มาตรา66)
    •5. การกระทำความผิดตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน (มาตรา 70)
    •6. การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในบางความผิดระหว่างสามีภริยา(มาตรา 71 วรรคแรก)
     
    นอกจากนั้นกฎหมายยังยกเว้นโทษในกรณีที่ความผิดอยู่ในขั้นพยายาม แต่ผู้กระทำยับยั้งหรือกลับใจ (ตามมาตรา 82) หรือเป็นการพยายามทำแท้งตามมาตรา 301 และ 302 วรรคแรก (ดูมาตรา 304) และการพยายามกระทำความผิดลหุโทษ (มาตรา 105)
    การกระทำที่ครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติตามโครงสร้าง 1 แม้ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดตามโครงสร้างข้อ 2 แต่ถ้ามีกฎหมายเว้นโทษตามโครงสร้างข้อ 3 ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา เช่น ในกรณีแดงยิงดำที่ยกมาข้างต้น หากปรากฏว่าขณะที่แดงยิงดำนั้นแดงอายุเพียง 13 ปี 6 เดือน การกระทำความผิดของแดงมีกฎหมายยกเว้นโทษตามมาตรา 74 ซึ่งก็หมายความว่าแดงไม่ต้องรับผิดในทางอาญา แต่ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการอย่างใดก็ได้ตาม มาตรา 74 

     
    เหตุลดโทษที่บัญญัติไว้มีหลายกรณี

    1. ความไม่รู้กฎหมาย (มาตรา 64)
    2. คนวิกลจริตซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง (มาตรา 65 วรรคสอง)
    3. คนมึนเมา ซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือสามารถบังคับตนเองได้บ้าง (มาตรา 66)
    4. ป้องกัน จำเป็น เกินขอบเขต (มาตรา 67)
    5. การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน บางความผิดระหว่างญาติสนิท (มาตรา 71 วรรคสอง)
    6. ผู้กระทำอายุกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี (มาตรา 75) หรือกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20ปี (มาตรา 76)
    7. เหตุบรรเทาโทษ (มาตรา 78)
    8. บันดาลโทสะ (มาตรา 72) 

    ผู้กระทำซึ่งต้องรับผิดในทางอาญาแต่มีเหตุผลลดโทษตามที่กล่าว อาจได้รับการลดโทษจากศาล หากศาลเห็นเป็นการสมควรที่จะลดโทษให้ ตัวอย่าง กรณีแดงยิงตำ แม้แดงมีความผิดตามมาตรา 288 และจะต้องรับโทษขั้นต่ำ15 ปี แต่หากมีเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78 ก็อาจได้รับการลดโทษบ้าง หรือหากมีเหตุลดโทษอื่น ๆ เช่น เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตามมาตรา 72 ศาลก็อาจลดโทษจาก 15 ปีลงเพียงใดก็ได้ ซึ่งหากศาลลงโทษจำคุกแดงไม่เกิน 3 ปี ก็อาจได้รับการรอการลงอาญาตามมาตรา 56 หากเข้าเงื่อนไขของการรอการลงอาญา 

     
    เหตุบรรเทาโทษ
     
    เป็นการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเพื่อให้โอกาสผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี มีหลักคือ
    • ใช้หลังจากที่เพิ่มโทษแล้ว
    • เป็นดุลยพินิจของศาล
    • ลดได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลง
            เหตุบรรเทาโทษ ได้แก่ เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา อยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้าย หรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือมีเหตุอื่นๆที่สมควร
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×