ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ไต

    ลำดับตอนที่ #2 : หน้าที่ทั่วๆ ไปของไต

    • อัปเดตล่าสุด 21 มี.ค. 50



    หน้าที่ทั่วๆ ไปของไต

    1. สร้างปัสสาวะ ( Formation of urine ) เซลล์ต่างๆ จะผลิตของเสีย (Waste Products) จากการสลายตัวของสารอาหารหรือเนื้อเยื่อตลอดเวลาของเสียเหล่านี้เป็นอันตรายต่อการทำงานของเซลล์ จึงจำเป็นต้องขับออกนอกร่างกาย ของเสียนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
    ก) ก๊าซ ที่สำคัญคือ CO2 ถูกขับออกทางลมหายใจออก
    ข) Solid ซึ่งละลายอยู่ในของเหลวภายในร่างกาย โดยเฉพาะในเลือด เช่น Urea, Uric acid, Creatinine เป็นต้น ของเสียเหล่านี้จะถูกขับออกจากร่างกายทางไตโดยออกมากับปัสสาวะ
    2. ควบคุมความสมดุลของน้ำ (Water balance หรือ Water homeostasis) โดยทำหน้าที่ขับน้ำและ Sodium chloride ที่เกินความจำเป็นแก่ร่างกาย ให้ออกจากร่างกาย
    3. ควบคุมความสมดุลของสารพวกเกลือแร่ต่าง ๆ (Electrolyte balance) ในคนปกติปริมาณของเกลือแร่ต่าง ๆในร่างกายมีค่าค่อนข้างจะคงที่ เกลือแร่ที่สำคัญ Na +, K+ , Ca+ , HCO3 -, CI 2- , SO4 2- ถ้าความเข้มข้นของเกลือแร่เปลี่ยนแปลงไป ไตจะทำหน้าที่ขับส่วนที่เกินทิ้งไป หรือถ้าร่างกายขาดแคลน ไตจะทำหน้าที่เก็บเกลือแร่เหล่านี้เอาไว้

    4. ควบคุมสมดุลของความเป็นกรด - ด่าง ( Acid - base regulation ) ในสภาวะปกติร่างกายของเราจะสร้างกรดออกมาตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องขับกรดออกไปโดยไตซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกับกลไกอื่นๆ เซลล์ทุกเซลล์จะทำหน้าที่ได้ตามปกติ เมื่อร่างกายมี pH 7.4 ( 7.35 - 7.45 ) ถ้า pH ต่ำลง (Acidosis) หรือสูงขึ้น (Alkalosis) การทำงานของเซลล์ต่างๆ จะเสียไป
    5. สร้างและหลั่งฮอร์โมนบางชนิด เช่น Erythropoietin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้าง Red blood cell ออกสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้น
    6. ทำลายสารพิษ ( Detoxification ) ถ้าร่างกายได้รับการพิษเข้าไปสารบางอย่างจะถูกเปลี่ยนสภาพให้เป็นสารที่ไม่มีพิษได้โดยไต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×