มองโลกผ่าน “สี่แผ่นดิน”
ผู้เข้าชมรวม
22
ผู้เข้าชมเดือนนี้
18
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
“สี่แผ่นดิน” | ประพันธ์โดย : ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ | แสดงทรรศนะโดย : ธ.ปริทัศน์
“ แด่ยอดนักประพันธ์แห่งบ้านซอยสวนพลู ” 9 ตุลาคม 2538 | 29 ปีแห่งการจากไป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
- ธ.ปริทัศน์ -
9 ตุลาคม เป็นวันครบรอบมรณกาลแห่งนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน “ปัญญาชนสยาม” ผู้หนึ่งตามความเห็นของ สายชล สัตยานุรักษ์ ซึ่งได้ตีแผ่ไว้ในหนังสือ “10 ปัญญาชนสยาม” ที่ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งได้ให้นิยามหัวข้อในกาลกล่าวถึงท่านผู้นี้ว่า “การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมายของ "ชาติไทย และ "ความเป็นไทย" โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช” และในทรรศนะของผู้เขียนที่มีต่อ “คุณชายคึกฤทธิ์” หรือ “อาจารย์คึกฤทธิ์” ผ่านการได้สัมผัสงานเขียนที่ถือเป็นอมตะวรรณกรรมเรื่องหนึ่งของเมืองไทย คือ “4 แผ่นดิน” มองว่า คุณชายเองเป็นนักประพันธ์ที่เก่งกาจยิ่ง สมควรแก่สมสมัญญานามว่า “ปัญญาชนสยาม” เพราะได้สร้างงานเขียนที่ตราตรึงลงสู่หัวใจของผู้อ่านได้อย่างสนิทแน่น และทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ถือได้ว่าหาได้ยากยิ่งในหมู่ผู้ประพันธ์ทั้งหลาย
ดังนั้นแล้วในวาระโอกาส 29 ปี แห่งมรณกาล ผู้เขียนจึงได้อยากนำเสนอแนวความคิด หรือทรรศนะของผู้เขียนที่มีต่อ "สี่แผ่นดิน” ซึ่งเป็นงานชิ้นเอกที่คนมักจะกล่าวถึงคุณชายคึกฤทธิ์ ในฐานะของนักเขียนผู้มากความสามารถซึ่งได้ฝากตำนานไว้กับวงการการประพันธ์ไทยตราบนิรันดร์
อารัมภบท
หากกล่าวถึงนวนิยายไทยที่เรียกได้ว่ามีความอิงประวัติศาสตร์ หรือที่นิยมเรียกกันอย่างศัพท์สมัยใหม่ว่า “นิยายพีเรียด” ซึ่งมอบกลิ่นอายของวิถีชีวิตชาวรั้วชาววัง หรือชาวกรุงรัตนโกสินทร์ในช่วงกลางจนถึงยุคเกือบจะปัจจุบัน โดยผู้เขียนเชื่อว่าหนึ่งในเรื่องที่ยังคงติดตราตรึงอยู่ในดวงใจของเหล่านักอ่าน หรือแม้แต่ติดอยู่ในใจของผู้เขียนเอง คงจะหนีไม้พ้นเรื่อง “สี่แผ่นดิน” จากปลายปากกาของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งถูกนำมาผลิตซ้ำในรูปแบบต่าง ๆ และผู้เขียนเองก็ได้มีโอกาสอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ และได้ทราบซึ้งถึงในความเป็นไปของตัวละครทั้งหลายที่โล่นแล่นแสดงบทบาทผ่านอักขระบนแผ่นกระดาษ ทั้งตัวละคร “แม่พลอย” ผู้เป็นต้นมูลแห่งความเป็น “สี่แผ่นดิน” เอง หรือตัวละครอื่น ๆ อย่างช้อย คุณเปรม อั้น อ๊อด อ้น ฯลฯ ซึ่งมีมากมายเหลือที่จะกล่าวได้หมด แต่ในโอกาสนี้ ผู้เขียนจะขออนุญาตยกประเด็นที่เป็นมุมมองของผู้เขียนซึ่งมีต่อ “สี่แผ่นดิน” โดยเป็นการให้ข้อสังเกตเท่านั้น ซึ่งจะได้เสนอให้ท่านผู้อ่านได้อ่านตอนละ 1 บทความ เพื่อให้ท่านได้อ่านมุมมองที่มีการขยายความอย่างละเอียด และทำให้ท่านได้เห็นมุมมองของผู้เขียนอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นในประเด็นนั้น ๆ
ผลงานอื่นๆ ของ th.pharitat ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ th.pharitat
ความคิดเห็น