มวลอะตอม
หน้านี้จะพูดเกี่ยวกับเรื่องมวลอะตอมนะคะ
ผู้เข้าชมรวม
1,270
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ธาตทั้งหลายย่อมมีมวลเฉพาะตามแต่ละชนิดของธาตุ แต่เนื่องจากมวลของธาตุมีค่าน้อยมากไม่สะดวก ในการหามวลของแต่ละธาตุโดยตรง ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงหาธาตุมาเป็นหลักในการใช้เทียบ ว่าธาตุทั้งหลายมีมวลเป็นกี่เท่าของธาตุนี้ ธาตุแรกที่ใช้ได้แก่ ธาตุไฮโดรเจน โดยที่ ธาตุไฮโดรเจน 1 อะตอมมีมวล 1.66 x 10-24 g มวลของธาตุในตารางธาตุจึงเป็นจำนวนเท่าของมวลของธาตุไฮโดรเจน 1 อะตอม เรียกว่ามวลอะตอม( เปรียบทียบ)
ตัวอย่างเช่น Na = 23 หมายความว่ามวลของ โซเดียม (Na) หนักเป็น 23 เท่าของมวลของไฮโดรเจน
ถ้าต้องการทราบมวลที่แท้จริงของธาตุใดๆ ก็นำมวลที่ปรากฏในตารางธาตุ คูณด้วย 1.66 x 10-24 g เรียกว่ามวลอะตอม( แท้จริง)
ตัวอย่างเช่น มวลในตารางธาตุของ Na = 23 มวลที่แท้จริง คือ 23 x 1.66 x 10-24 g
ต่อมานักวิทยาศาสตร์เกิดความไม่สะดวกในการใช้ ธาตุ ไฮโดรเจน จึงเปลี่ยนมาใช้ ธาตุ ออกซิเจนโดยใช้เพียง 1/16 ของ ธาตุออกซิเจน แต่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ไอโซโทบของระหว่างนักเคมี และนักฟิสิกส์ ใช้กันคนละค่า ในปัจจุบันจึงใช้ 1/12 ของ C - 12 1 อะตอม
กล่าวโดยสรุป มวลอะตอม จะมี 2 ชนิด คือ มวลอะตอมที่แท้จริง กับมวลอะตอมเปรียบเทียบ แต่เนื่องจาก มวลอะตอมที่แท้จริงจะมีเลขจำนวนมาก ส่วนมากจึงใช้ มวลอะตอมเปรียบเทียบ
ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง มวลอะตอม จะหมายถึงมวลอะตอมเปรียบเทียบ เมื่อต้องการมวลอะตอมที่แท้จริงจะใช้คำว่า มวลอะตอมที่แท้จริง
ผลงานอื่นๆ ของ HeHa ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ HeHa
ความคิดเห็น