ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พิษภัยของโทรศัพท์มือถือ

    ลำดับตอนที่ #12 : แบตมือถืออันตรายใกล้ๆตัว

    • อัปเดตล่าสุด 9 ม.ค. 54


     
    แบตมือถือ อันตรายใกล้ ๆ ตัว
     

    ก่อนหน้านี้คาดว่าหลาย ๆ คนน่าจะได้ยินข่าวเรื่องการระเบิดของโทรศัพท์มือถือกันมาบ้างแล้ว ซึ่งข่าวนี้ก็ทำเอาบรรดาขาแชทช่างคุยทั้งหลายหวั่น ๆ ไปกันพักใหญ่เลยทีเดียว


    ซึ่งตัวการในเหตุคราวนี้คงหนีไม่พ้น "แบตเตอรี่" ในมือถือนั่นเอง เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับ "แบตเตอรี่" ที่ว่านี้หน่อยดีมั้ย


    แบตเตอรี่มือถือที่ใช้ทุกวันนี้ มีหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น 
    นิกเกิล แคดเมียม (NI-CD) นิกเกิล ไฮดราย (NI-MH)ลิเทียม โพลิเมอร์ (LI-POL) ลีด เอซิด (Lead Acid) และ "ลิเธียม - ไอออน" ซึ่งเป็นชนิดที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด และมีโอกาสระเบิดสูงสุดเช่นกัน 

    ทั้งนี้
    แบตเตอรี่ลิเธียม - 
    ไออนถูกประดิษฐ์ขึ้นมาแทนที่นิกเกิล ไฮดราย นั้นมีคุณสมบัติพิเศษ คือ น้ำหนักเบาและสะสมพลังงานได้หนาแน่นกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ แต่เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตลิเธียม - ไอออนมีส่วนผสมของ"โคบอลต์ออกไซด์" ทำให้เมื่อตัวแบตเตอรี่โดนความร้อนสูงในระดับหนึ่งจะเกิดปฏิกิริยาเร่งความร้อนเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้แบตเตอรี่ไหม้ หรือ ระเบิดในที่สุด


    แต่ก็ไม่ใช่ว่าสาเหตุที่มือถือระเบิดจะแบตเตอรี่เสียทั้งหมด เพราะบางครั้งก็มาจากความบกพร่องของอุปกรณ์ ชิ้นส่วน รวมทั้งระบบการทำงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การที่ชิ้นส่วนภายในเครื่องมือถือเกิด ไฟฟ้าลัดวงจรหรือ ชิ้นส่วนบางตัวในมือถือบกพร่องมาแล้วตั้งแต่ผลิตออกจากโรงงาน และอาจจะมาจากข้อบกพร่องของระบบชาร์จไฟในมือถือได้เช่นกัน


    นอกจากนี้การชาร์จแบตเตอรี่ให้ถูกวิธีก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถป้องกันมือถือระเบิดได้ โดย
    ขั้นตอนการชาร์จแบตเตอรี่นั้น ไม่ควรชาร์จนานเกิน 24 
    ชั่วโมง เพราะจะมีผลให้อุณหภูมิของแบตเตอรี่มีความร้อนสูงขึ้น แม้วงจรของแบต และเครื่องโทรศัพท์จะมีการสั่งให้หยุดชาร์จแล้วก็ตาม

    หากแบตเตอรี่ยังเหลืออยู่อีกเยอะก็ไม่ควรชาร์ตใหม่ ควรรอให้แบตหมดเสียก่อนจะดีกว่า และที่สำคัญก็คือแบตเตอรี่ของมือถือแต่ละยี่ห้อนั้นอาจจะผลิตออกมาเหมือน ๆ กัน แต่ก็อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องอ่านและปฏิบัติตามคู่มือดีที่สุด


    ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็มองข้ามไปไม่ได้เลยนะคะ เพราะอาจจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×