ลำดับตอนที่ #7
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #7 : "เด็กเกเร" โทษที่ดีเอ็นเอ
ที่ผ่านมาเราเชื่อกันว่า สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก แต่จากงานศึกษาล่าสุดกลับพบว่า ลักษณะต่างๆของความดื้อ เกเร ชอบโกหก หรือทะเลาะวิวาทในเด็กนั้น อาจถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม
งานวิจัยของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเวอร์จีเนีย สหรัฐฯ ระบุว่า เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมที่ดื้อ เกเร แม้ทางบ้านจะเลี้ยงดูด้วยความรักและความเอาใส่ใจก็ตาม ทั้งนั้ จากการศึกษาโดยเปรียบเทียบฝาแฝดแท้ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน และฝาแฝดเทียมซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันครึ่งเดียว เมื่อเปรียบเทียบระหว่างฝาแฝดกับลูกๆของพวกเขา พบว่าจะมีการถ่ายทอดยีนบางส่วนไปสู่ลูกๆขณะยีนบางส่วนไม่ได้ถูกถ่ายทอดไปด้วยและผลการศึกษาบ่งชี้ว่า มีแนวโน้มที่พฤติกรรมสามารถถ่ายทอดสู่กันได้เช่นเดียวกับสีตาและสีผม
งานวิจัยดังกล่าวเป็นการขยายผลจากการศึกษาของทีมนักวิจัยคณะเดียวกันเมื่อปี ค.ศ. 2004 ซึ่งการศึกษาในครั้งนั้นสรุปว่าการที่เด็กถูกปฏิบัติอย่างเลวร้าย ประกอบกับยีนบางตัว อาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมเมื่อโตขึ้นทั้งนี้ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเพศชาย 514คน อายุระหว่าง 8-17 ปี โดยพิจารณาสภาพแวดล้อมที่บ้านและองค์ประกอบทางดีเอ็นเอ ทำให้นักวิจัยพบว่ายีนที่ควบคุมเอนไซม์ โมโนเอมีน ออกซิ
เดส เอ มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมต่อต้านสังคม กล่าวคือ หากยีนดังกล่าวอ่อนแอ และเด็กถูกปฏิบัติอย่างเลวร้ายหรือถูกปลูกฝังให้ต่อต้านสังคมก็มีความเป็นไปได้สูงที่เด็กคนนั้นจะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา แต่หากยีนตัวนั้แข็งแรง เด็กก็มีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมน้อยลง ไม่ว่าสภาพแวดล้อมที่บ้านจะเป็นอย่างไรก็ตาม
งานวิจัยของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเวอร์จีเนีย สหรัฐฯ ระบุว่า เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมที่ดื้อ เกเร แม้ทางบ้านจะเลี้ยงดูด้วยความรักและความเอาใส่ใจก็ตาม ทั้งนั้ จากการศึกษาโดยเปรียบเทียบฝาแฝดแท้ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน และฝาแฝดเทียมซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันครึ่งเดียว เมื่อเปรียบเทียบระหว่างฝาแฝดกับลูกๆของพวกเขา พบว่าจะมีการถ่ายทอดยีนบางส่วนไปสู่ลูกๆขณะยีนบางส่วนไม่ได้ถูกถ่ายทอดไปด้วยและผลการศึกษาบ่งชี้ว่า มีแนวโน้มที่พฤติกรรมสามารถถ่ายทอดสู่กันได้เช่นเดียวกับสีตาและสีผม
งานวิจัยดังกล่าวเป็นการขยายผลจากการศึกษาของทีมนักวิจัยคณะเดียวกันเมื่อปี ค.ศ. 2004 ซึ่งการศึกษาในครั้งนั้นสรุปว่าการที่เด็กถูกปฏิบัติอย่างเลวร้าย ประกอบกับยีนบางตัว อาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมเมื่อโตขึ้นทั้งนี้ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างเพศชาย 514คน อายุระหว่าง 8-17 ปี โดยพิจารณาสภาพแวดล้อมที่บ้านและองค์ประกอบทางดีเอ็นเอ ทำให้นักวิจัยพบว่ายีนที่ควบคุมเอนไซม์ โมโนเอมีน ออกซิ
เดส เอ มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมต่อต้านสังคม กล่าวคือ หากยีนดังกล่าวอ่อนแอ และเด็กถูกปฏิบัติอย่างเลวร้ายหรือถูกปลูกฝังให้ต่อต้านสังคมก็มีความเป็นไปได้สูงที่เด็กคนนั้นจะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา แต่หากยีนตัวนั้แข็งแรง เด็กก็มีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมต่อต้านสังคมน้อยลง ไม่ว่าสภาพแวดล้อมที่บ้านจะเป็นอย่างไรก็ตาม
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น