ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้วิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #2 : "ไมราเอ" ดาวฤกษ์มีหาง

    • อัปเดตล่าสุด 10 ธ.ค. 50


            กล้องโทรทรรศน์อวกาศของนาซาที่มีชื่อว่า "กาเล็กซ์" ได้ส่องสำรวจท้องฟ้าและพบว่า ดาวยักษ์แดง ไมราเอ กำลังปล่อยกระแสมวลสารคล้ายหางดาวหางออกไปด้านหลังเป็นความยาว 13 ปีแสง  คำว่า "ไมรา" เป็นภาษาละตินแปลว่า "มหัศจรรย์" ดาวฤกษ์นี้เป็นดาวฤกษ์ระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 350 ปีแสงประกอบด้วยดาวฤกษ์ 2 ดวงที่อยู่ใกล้กันจนดูเหมือนเป็นดาวเดียว คือมีดาวยักษ์แดงดวงใหญ่ชื่อ "ไมราเอ" และดาวแคระขาวดวงเล็กชื่อ "ไมราบี" โคจรไปด้วยกัน
            ไมราเป็นดาวแปรแสงที่มีการยุบและพองตัวเป็นคาบ คาบละประมาณ 330 วันทำให้ความสว่างของมันเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดพื้นที่ผิวและอุณหภูมิพื้นผิวที่เปลี่ยนไปในแต่ละเวลา ซึ่งในเวลาที่มีความสว่างสูงสุด เราสามารถมองเห็นไมราเอได้ด้วยตาเปล่า ล่าสุด จากภาพที่บันทึกได้โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ GALEX ทำให้นักดาราศาสตร์พบว่า ไมราเอได้ปล่อยกระแสมวลสารคล้ายหางดาวหาง ซึ่งเป็นกระแสก๊าซที่บันทึกได้ภายในย่านรังสีอัลตราไวโอเลตเท่านั้น ไม่เห็นในย่านรังสีอื่น นั่นจึงเป็นการอธิบายว่าทำไมถึงไม่มีใครตรวจพบหางของไมราเอมาก่อนทั้งๆที่นักดาราศาสตร์รู้จักดาวไมราเอเป็นเวลากว่า 400 ปีแล้ว  
             สำหรับหางของไมราเอที่ถูกบันทึกภาพไว้ได้นั้นมีความยาวราว 13 ปีแสงหรือยาวเป็นพันเท่าของขนาดระบบสุริยะ ซึ่งหากมองเผินๆแล้ว ไมราเอจะคล้ายกับดาวหางยักษ์ที่มีส่วนหัวเป็นลูกไฟ สิ่งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ทางดาราศาสตร์ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนและนักดาราศาสตร์กำลังศึกษากันว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรทั้งนี้ นักดาราศาสตร์เชื่อว่า หางของไมราเอจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการศึกษาดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ของเราว่าจะมีจุดจบเช่นได และจะมีส่วนช่วยในการกำเนิดระบบสุริยะใหม่ได้อย่างไร

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×