ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #333 : สตางค์-บาท

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 231
      0
      16 พ.ย. 48





                                              สตางค์-บาท

                                        ที่มาของการใช้คำนี้



    อยากทราบว่าทำไมถึงใช้คำว่า สตางค์ บาท เป็นหน่วยเงิน อยากทราบที่มา/โอ





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



    ตอบ



    คำ \"สตางค์\" สืบเนื่องเกี่ยวข้องมาจากอังกฤษ พร้อมบรรณาการจากสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย และเกี่ยวเนื่องกับศัพท์ \"ทศางค์\" เดิมของเรา และกับมาตราวัดน้ำฝนก่อนจะถึงเงินตรา



    ราชบัณฑิต อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เปิด บทความตำนานการวัดตวงชั่ง ของขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งเขียนลงในวารสารจันทรเกษม ฉบับที่ 132 ประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ.2519 อรรถาธิบาย มาตราวัดน้ำฝน 10 สตางค์= 1 ทศางค์ 10 ทศางค์= 1 นิ้ว มาตรานี้บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เข้าใจว่าจะทรงบัญญัติคำว่า ทศางค์ ขึ้นก่อน คือแบ่งนิ้วไทยออกเป็น 10 ส่วน สำหรับวัดน้ำฝนให้ละเอียด





    ต่อมาใน พ.ศ.2400 สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียส่งเครื่องรองน้ำฝนมาถวายเป็นราชบรรณาการ เครื่องนี้แบ่งนิ้ว (อังกฤษ) ออกเป็น 100 ส่วน นับว่าละเอียดมาก จึงทรงบัญญัติชื่อส่วนหนึ่งใน 100 ของนิ้วนั้นให้เรียกว่า สตางค์Ž 10 สตางค์ให้เท่ากับ ทศางค์ 10 ทศางค์เป็นนิ้วหนึ่งตามที่ทรงบัญญัติไว้เดิม



    นอกจากนี้ยังพบประกาศ เครื่องมือที่มาแต่เมืองอังกฤษใหม่นี้ แบ่งนิ้วหนึ่งได้ถึง 100 ส่วน เรียกว่า สตางค์...จำชื่อไว้ให้แน่เทอญ



    สรุปก็คือ เดิมคำ สตางค์ เป็นมาตราวัดน้ำฝนซึ่งรับมาจากอังกฤษ หมายถึง 1 ใน 100 ของนิ้ว แต่ถ้าเป็นเงินตรา สตางค์ ก็เป็น 1 ใน 100 ของบาท



    มาตราเงินไทยยังมีแยกย่อยออกไปอีกเป็น 8 อัฐ เท่ากับ 1 เฟื้อง 2 เฟื้อง เท่ากับ 1 โสฬส ส่วน 1 สลึงเทียบเท่ากับ 3 เฟื้อง คือเมื่อก่อนโน้นค่าของเงินสูงมาก มาตราเงินไทยจึงแยกไปออกจะละเอียด อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเราได้เลิกใช้กันไปแล้วรวมทั้ง ตำลึง กับ ชั่ง ด้วย



    สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ ทรงมีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้นคือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ.2441 อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงทุกวันนี้



    ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการดังกล่าว คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญกษาปณ์



    เหรียญสตางค์เงินบาท (อังกฤษ: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ ; รหัสสากลตาม ISO 217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า \"บาท\" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริงๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นขณะนี้







    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×