ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #307 : การนับจำนวนของไทยจำนวนที่มากกว่า \"โกฏิ\"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 202
      0
      21 ต.ค. 48









                               การนับจำนวนของไทย

                              จำนวนที่มากกว่า \"โกฏิ\"





    อยากจะทราบการนับของคนไทย ของจีนมีแค่หนึ่งถึงหมื่น แต่ของไทยพอจะทราบมาบ้างว่ามีเกินล้านคือ 10 ล้าน=1 โกฏิ10 โกฎิ=อะไร ได้ยินมาว่ามีอสงขัย, กัปล์, กัลป์ และอื่นๆ อีกมาก ท่านผู้รู้กรุณาช่วยบอกด้วย ขอขอบคุณ

    /ตำแย





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++







    ตอบ



    เปิดตำรา\"สังขยา\"กันเถอะ สังขยาจริงๆ นา แต่ไม่ได้กินกะข้าวเหนียว เป็น \"สังขยาปกาสกปกรณ์และฎีกา: การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์\" วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของคุณบุญหนา สอนใจ ซึ่งอธิบายไว้ดังนี้...อ้อ คำเตือนจากน้าชาติคือระวังอาการเมาจนเสียสูญเพราะตัวศูนย์



    ระบบการนับจำนวน หรือภัณฑสังขยา ซึ่งเป็นระบบการนับของไทยนั้น เริ่มจาก เอก=1



    ทสะ=10



    สตะ=100



    สหัสสะ=1,000



    นยุตตะ=10,000



    ลักขะ=100,000



    ทสสตสหัสสะ=1,000,000



    โกฏิ=10,000,000



    ปโกฏิ=100,000,000



    โกฏิปโกฏิ=1,000,000,000



    นหุตะ=10,000,000,000



    นินนหุตะ=100,000,000,000



    อักโขภนี=1,000,000,000,000



    พินทุ=10,000,000,000,000



    อัพพุทะ=100,000,000,000,000



    นิรัพพุทะ=1,000,000,000,000,000





    อพพะ=10,000,000,000,000,000



    อฏฏะ=100,000,000,000,000,000





    อหหะ=1,000,000,000,000,000,000



    กุมุทะ=10,000,000,000,000,000,000



    โสคันธิกะ=100,000,000,000,000,000,000





    อุปปละ=1,000,000,000,000,000,000,000



    ปุณฑรีกะ=10,000,000,000,000,000,000,000



    ปทุมะ=100,000,000,000,000,000,000,000



    กถานะ=1,000,000,000,000,000,000,000,000



    มหากถานะ=10,000,000,000,000,000,000,000,000



    อสังเขยยะ=100,000,000,000,000,000,000,000,000



    มีข้อน่าสังเกตว่าระบบการนับที่เรียกว่าอักโขภินี มีการใช้กันในสำนวนไทยมาแต่โบราณ คำ \"มากอักโข\" ก็มาจากคำอักโขภินีนี่เอง จำนวนนับหลักอักโขภินีคือจำนวนหนึ่งล้านล้านนั่นเอง ครั้งหนึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์ความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยสามารถมีสินค้าส่งออกจำหน่ายไปต่างประเทศมีมูลค่าถึงหนึ่งล้านล้านบาท การประชาสัมพันธ์ครั้งนั้นมีปัญหาเรื่องภาษาที่จะใช้สื่อความ เพราะคำว่าล้านล้านเป็นคำซ้ำที่ก่อให้เกิดความสับสน (ต่อมาไม่นาน ประเทศไทยก็เป็นหนี้ต่างชาติด้วยจำนวนเป็นล้านล้านเช่นเดียวกัน) เรียว่าเป็นหนี้เขาอักโขภินีก็ได้เนาะ



    มาถึงคำ กัป และ กัลป์...\"กัป\"เป็นอายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม วันหนึ่งของพระพรหมคือ 1,000 มหายุค เท่ากับ 4,320,000,000 ปีมนุษย์) อุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 ก.ม.) ทุก 100 ปี มีเทวดานำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป ถือว่าเป็นกัปป์หนึ่ง



    คำว่า \"กัลป์\" หมายถึงเมื่อพระอิศวรล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมาจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม



    อายุของกัปป์มี 2 แบบ คือ 1.กำหนดอายุของโลกซึ่งอุปมามีอายุยาวนานดังความข้างต้น 2.กำหนดอายุของมนุษย์ในยุคนั้นๆ เรียกเต็มว่าอายุกัปป์ เช่นว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงคุณของอิทธิบาท 4 ให้พระอานนท์ทราบว่าผู้เจริญอิทธิบาท 4 แล้ว จะดำรงอยู่ได้ตลอดกัปป์หรือเกินกว่ากัปป์ก็ได้ แต่สิ่งที่พุทธองค์ได้ทรงตรัสนั้นหมายถึงอายุกัปป์ของมนุษย์ ไม่ได้หมายถึงอายุของโลก อายุกัปป์ของคนยุคนี้ประมาณ 80 ปี



    ส่วนอสงไขย (ไม่ใช่อสงขัย) หมายถึงจำนวนนับที่มากจนนับไม่ถ้วน เป็นชื่อของมาตรานับจำนวนใหญ่ที่สุดคือโกฏิยกกำลัง 20







    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×