ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #207 : ออกพรรษา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 462
      1
      13 มิ.ย. 48





                                                        ออกพรรษา



                           ********************************************





    ความหมาย



    วันออกพรรษา หมายถึง วันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่งเดียวตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝนกล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (หรือ เดือน ๙ กรณีเข้าพรรษาหลัง) แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๑ (หรือเดือน ๑๒ ในกรณี เข้าพรรษาหลัง) หลังจากนี้ก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ วันออกพรรษานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา คือวันที่พระสงฆ์ทำปวารณากรรม คือเปิดโอกาสให้เพื่อน พระภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันด้วยเมตตาจิตได้ เมื่อได้เห็นได้ฟังหรือ สงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน การกระทำมหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทุกๆ ๑๕ วันในช่วงเข้าพรรษา ภายหลังออกพรรษาแล้วการทำบุญเนื่องในวันสำคัญนี้ เหล่าพุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญกุศลเป็นกรณีพิเศษ เช่นตักบาตรในตอนเช้าหรือไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหารสังฆทาน ฟังพระธรรมเทศนาและมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น (วันแรม ๑ ค่ำ)



    ความสำคัญ



    วันออกพรรษานี้ นับเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้



    ๑. พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

    ๒. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นำความรู้จากหลักธรรม และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแพร่แก่ประชาชน

    ๓. ในวันออกพรรษา พระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้ เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ความเคารพนับถือ และความสามัคคีกันระหว่างสมาชิกของสงฆ์

    ๔.พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสให้ ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป



    ประวัติความเป็นมา



    ๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถีนั้น มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษาอยู่ตามอารามรอบ ๆ นคร พระภิกษุเหล่านั้น เกรงจะเกิดการขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เมื่อถึงวันออกพรรษา พระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้า จึงทรงตำหนิว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า \" อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง วุตถานัง ภิกขูนัง ตีหิ ฐาเนหิ ปะวาเรตุง ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา...\"แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากัน ในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วย การสงสัยก็ดี



    ๒. การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย วันออกพรรษานี้ เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์โดยตรงที่จะต้องประชุมกันทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สำหรับพุทธศาสนิกชน ฝ่ายคฤหัสถ์ ก็ถือว่าเป็นวันพระสำคัญ มักนิยมไปทำบุญทำทาน รักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ยังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ประเพณีตักบาตรเทโว คำว่า ตักบาตรเทโว มาจากคำเต็มว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ คือ การตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดง ยมกปฏิหารย์ (ปฏิหาริย์เป็นคู่ ๆ) ที่ต้นมะม่วง ใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไป จำพรรษาที่ ๗ บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรด พุทธมารดาเป็นเวลา ๓ เดือน ครั้นออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าจึง เสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ ในเทศกาลออกพรรษานี้ มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือปวารณา ปวารณา ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น ๒ ฝ่ายคือ



    ๑. ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตา ทางกาย ทางวาจาและทางใจพร้อมมูล

    ๒. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้ การปวารณานี้ จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและ ดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้านได้ด้วย เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัวในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยราชการ เป็นต้น





    ความหมายและความสำคัญทางพระพุทธศาสนาในบุญออกพรรษา



    คำว่า “ออกพรรษา” ในหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ ออกพรรษา” น. เรียกวันที่สิ้นการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ว่าวันออกพรรษา , วันปวารณา หรือวันมหาปวารณาจากความหมายที่ให้ไว้ข้างบนนั้นมีความชัดเจนมาก เมื่อดูพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคอีสานของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ และของพจนานุกรมของประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน ส่วนความสำคัญเป็นพิธีที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ที่สุดที่เป็นของพุทธ แต่มีพิธีกรรมบางอย่างที่เป็นของพราหมณ์มาแฝงเท่านั้น โดยเฉพาะด้านญาติโยมจะรอวันนี้กันมาก เพราะเชื่อกันว่าพระสงฆ์จะได้อยู่จำพรรษาเป็นเวลาไตรมาส (3 เดือน) ย่อมมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีจริยวัตรงดงามจะนำมาซึ่งบุญ หากได้ทำบุญกับพระในวันออกพรรษาจะได้บุญมาก ชาวอีสานสอนว่าเหมือนได้ทำบุญกับพระที่กำลังออกจากนิโรธสมาบัติ (การออกจากการพักผ่อนของ พระอรหันต์) ย่อมได้ผลานิสงส์มาก ดังนั้นลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นก็จะกลับคืนบ้านเกิดเพื่อมาทำบุญนี้ และจะได้ไปออกพรรษาจาก “พ่อธรรม” หรือ “ของฮักษา” ที่ตนเองได้ไปบอกกล่าวเข้าพรรษาไว้แล้วด้วย





    มูลเหตุและความเป็นมา



    ความเป็นมาของบุญนี้อาจแยกกล่าวได้เป็น ๒ นัย คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับพิธีของสงฆ์โดยตรงและพิธีทางฆราวาส พิธีทางสงฆ์นั้นดูเหมือนจะเป็นงานโดยตรงมากกว่าของพระ เพราะการออกพรรษาได้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยพระพุทธเจ้าทรงพุทธานุญาตให้ภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบไตรมาส สามารถจาริกไปในที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ เพราะในระหว่างนี้จะเป็นช่วงที่หมดฤดูฝนแล้ว การเดินทางย่อมมีความสะดวก ข้าวกล้าก็แก่ออกรวงจะเก็บเกี่ยวกันแล้ว ไม่เป็นอุปสรรคในการจาริกพระจะไปโปรดญาติโยมแสวงหาสักการะใด ๆ ย่อมได้ง่ายแต่ที่สำคัญที่สุดที่เป็นหัวใจของการออกพรรษา คือ พระภิกษุเมื่ออยู่ด้วยกันในที่แห่งเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกัน ไม่พอใจกัน ทำให้เกิดความขุ่นเคืองแก่กัน พระองค์จึงถือเอาวันออกพรรษาเป็นวันมหาปวารณา เพื่อให้พระสงฆ์ได้ปวารณาตนเอง คือ บอกแก่เพื่อน สหธรรมิก (เพื่อนนักบวช) ด้วยกันว่า ต่อไปน ี้หากฉันทำผิดพลาดอะไร บกพร่องตรงไหน ไม่ดีอย่างไรขอโปรดบอกกล่าวชี้แนะ (พระท่านเรียกว่า ชี้ขุมทรัพย์) ให้ฉันด้วย ฉันจะได้รู้ตัวเองจะได้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง ดังนั้น คำกล่าวออกพรรษาจึงมีว่า “สังฆัมภันเต ปวาเรมิ ทิฏเฐนวา สุเตน วา….” ซึ่งความหมายคือออกพรรษานี้ขอให้หมู่สงฆ์บอกกล่าวตักเตือนกันได้นั้นเองตามนัยที่2ในส่วนของฆราวาสญาติโยมนั้น เหตุที่ทำบุญประเพณีนั้นจะทำกันอย่างต่อเนื่อง เพราะต่างพากันเชื่อว่าทำบุญออกพรรษาแล้วจะได้บุญกุศลมาก เพราะเข้าใจว่าพระที่อยู่จำพรรษาจนครบถ้วนไตรมาสได้ย่อมไม่ใช่พระธรรมดาแนย่อมมีความมั่นคงในธรรมปฏิบัติได้ระดับหนึ่ง การทำบุญกับพระปฏิบัติได้ดีย่อมมีบุญมากตามความเชื่อเพื่อให้เหมาะสมกับการออกจากนิโรธสมาบัติของพระพุทธเจ้าจึงได้พากันจัดทำบุญตักบาตรเทโวขึ้นในวันออกพรรษาด้วยทำให้งานดูมีความขลัง ศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น ในแต่ละแห่งจะมีการทำบุญออกพรรษาและตักบาตรเทโวกันอย่างน่าชื่นชมและดูจะเป็นงานบุญจริง ๆเพราะงานนี้จะเน้นการที่การทำบุญทำทานเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีการละเล่นสนุกสนาน มหรสพอะไร แต่ก็มีบางแห่งที่มีการจัดงานลอยกระทงบ้าง แห่ปราสาทผึ้งบ้าง ไหลเรือไฟบ้าง แต่ก็เป็นบางท้องถิ่นเท่านั้นส่วนใหญ่แล้วจะเน้นที่การทำบุญทำทานและตักบาตรเทโวเหตุที่ต้องทำบุญตักบาตรเทโวในวันออกพรรษานั้น เพราะถือเอาเหตุการเสด็จลงจากสวรรค์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งตำนานเล่าว่าคราหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงมีความต้องการไปโปรดพระพุทธมารดา (โยมแม่) ที่สวรรคตไปอยู่เมืองสวรรค์แล้วและทรงไปจำพรรษาอยู่ที่นั่นจนครบไตรมาส พอออกพรรษาแล้วจึงเสด็จกลับจากเมืองมนุษย์ ขณะเสด็จกลับก็จะมีพุทธสาสนิกชนไปคอยต้อนรับและใส่บาตรมากมายด้วยมีทั้งพระภิกษุ ประชาชนที่โปรดใส่บาตรมาก ผู้ที่ไม่สามารถเข้าใกลแต่อยากใส่บาตรจึงโยนข้าวผลไม้เข้าใส่บาตรพระพุทธเจ้าและสาวก เป็นเหตุให้เกิดบุญประเพณี การตักบาตรเทโวและการโยนเครื่องไทยทานตามมาก่อนจะถึงวันงานผู้นำหมู่บ้านหรือผู้นำทางศาสนาจะประกาศให้ชาวบ้านทราบแต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะทราบก่อนแล้วเพราะงานที่จัดกันมาทุกปีชาวบ้านจะได้ตระเตรียมข้าวปลาอาหารและเครื่องไทยทานต่าง ๆ เพื่อมาร่วมทำบุญพอถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันงาน ชาวบ้านจะไปรวมกันทำบุญตักบาตรที่วัดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตักบาตรเทโวโรหน และจัดอาหารคาวหวานไปถวายแด่พระภิกษุสามเณรบางวัดมีการกวนข้าวทิพย์ถวาย มีการรับศีล สวดมนต์ทำวัดเช้า ฟังเทศน์ และผู้มีจิตศรัทธาที่จะถวายก็นำไปถวายแด่พระภิกษุด้วย



    ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ นี้พระสงฆ์จะรวมกันทำพิธีออกปวารณา คือการเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ต่อมาเจ้าอาวาสหรือผู้ใหญ่อาจให้โอวาทพระสงฆ์ด้วยและตอนค่ำมีการจุดไต้ประทีป การไต้ประทีปมีทั้งใช้ยางบงซึ่งผสมใบอ้มใบเนียมเพื่อให้มีกลิ่นหอม โดยใช้ไม้ไผ่ที่เหลาจุ่มยางบงหลาย ๆครั้ง ผึ่งแดดให้แห้ง เวลาจุดใช้เสียบกับต้นกล้วย นอกจากนี้ใช้น้ำมันเมล็ดกระบก หมากเยาน้ำมันมะพร้าว น้ำมันละหุ่ง และน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ การจุดไต้ประทีปอาจใช้ไม้ไผ่ ลูกมะตูมกา ขวด กระป๋อง กะลา มะพร้าวหรือสิ่งอื่นๆใส่น้ำมันแล้วใช้ฝ้ายหรือด้ายทำไส้ให้เป็นรูปตีนกาตั้งลงในภาชนะใส่น้ำมันประทีปที่จุดด้วยน้ำมันดังกล่าวเอาไปแขวนไว้ตามต้นไม้หรือวางไว้ตามร้านที่ทำขึ้นคามรั้วหรือกำแพงรอบบริเวณวัด ประทีปที่จุดแล้วนี้จะทำให้แลดูสว่างไสวไปทั้งวัดสวยงามมาก และตามหน้าบ้านของทุกบ้าน ก็นิยมจุดไต้ประทีปดังกล่าวไว้ด้วย ตอนกลางคืนบางแห่งมีมหรสพที่วัดอย่างสนุกสนาน บุญออกพรรษาถือเป็นประเพณีของชาวพุทธอีกหนึ่งพิธี เพราะเป็นเรื่องพระภิกษุโดยตรงแต่ที่บางแห่งมีการลอยกระทง ไหลเรือไฟและแห่ปราสาทผึ้งนั้น เป็นพิธีกรรมที่คิดกันขึ้นมาใหม่โดยมีคติพราหมณ์เข้ามาประสม คือ มีความเชื่อกันว่าวันออกพรรษาเป็นวันพระเจ้าและวันร่วมฉลองการ เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ของพระพุทธเจ้าส่วนความเชื่อที่ว่าการทำบุญในวันออกพรรษาจะได้บุญกุศลมาก เพราะพระที่เข้าพรรษาเป็นพระที่มีความเพียร ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ยึดมั่นในธรรม มั่นคงในคำสอน อันนี้หากพระได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ถือเป็นเนื้อนาบุญได้ แต่หากตรงกันข้ามแม้จะอยู่จำพรรษาจนครบไตรมาสก็ไม่เป็นหลักประกันในเรื่องบุญมากแต่อย่างไร การจะได้บุญมากหรือน้อยจึงอยู่ที่หลัก ๓ ประการ และอยู่ที่ตัวเรา เป็นสำคัญด้วย การบริสุทธิ์พระก็เป็นส่วนของพระย่อมได้แก่พระ แต่อาจส่งผลแก่ผู้มาทำบุญเพียงเล็กน้อย แท้จริงแล้ว ทั้งมวลจะอยู่จิต ปัจจัย องค์รวมและศรัทธาของผู้ที่ทำบุญเป็นที่ตั้งแม้ประเพณีนี้จะมีเปลือกกระพี่แอบแฝง และความเชื่อที่หันเหออกจากสาระหลักคำสอนของศาสนา ก็ควรสืบสานต่อไปดังคำสอนของปราชญ์อีสานที่ว่า“ฮีตหนึ่งนั้นเถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วกะเป็นแนวทางป่อง เป็นช่วงของพระเจ้าคนเข้าแล้วออกมา เถิงวิปัสสามาแล้วสามเดือนกะเลยออก เฮียกว่าออกพรรษาปวารณากล่าวไว้เฮาได้เล่ามา”หมายความว่าพอถึงเดือนสิบเอ็ดเป็นช่วงที่พระเข้าพรรษาแล้วก็ออกพรรษาชาวพุทธจะต้องร่วมกันทำบุญตามประเพณี



    ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา



    ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ



    ๑. ประเพณีตักบาตรเทโว (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจากออกพรรษาแล้ว ๑ วัน)



    ๒. พิธีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ กำหนด ๑ เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา)



    ๓. พิธีทอดผ้าป่า (ไม่จำกัดกาล)



    ๔. ประเพณีเทศน์มหาชาติ (นิยมทำกันในวันขึ้น ๘ ค่ำ หรือ วันแรม ๘ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ ในบางท้องถิ่นอาจนิยมทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ หรือในเดือน ๑๐)





    ประเพณีตักบาตรเทโว



    การตักบาตรเทโว จะกระทำในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ คือหลังออกพรรษาแล้ว ๑ วัน ประวัติความเป็นมาของประเพณีการตักบาตรเทโว ในสมัยพุทธกาล เมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า \"เทโวโรหณะ\"ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้





    พิธีทอดกฐิน



    ประวัติการทอดกฐิน



    ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาวา ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว ๖ โยชน์ภิกษุทั้ง ๓๐ รูป ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอแม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยฝน อย่างไรก็ไม่ย่อท้อ เมื่อภิกษุทั้ง ๓๐ รูป ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสรู้ถามจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถา ภิกษุเหล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ผลในลำดับนั้น พระบรมศาสดาดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ สำหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตและได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก



    ประเพณีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขื้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ มีเวลาจำกัดเพียง ๑ เดือน นับตั้งแต่วันออกพรรษา)สมัยต้นพุทธกาล พระสงฆ์ต้องเย็บจีวรใช้เอง ต่อมาทรงอนุญาตให้รับจีวรที่ชาวบ้านเย็บถวายได้ ที่เรียก ว่า ผ้ากฐิน คำว่า \"กฐิน\" มีความหมาย ๔ ประการคือ



    ๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ (สดึง) สำหรับขึงเจ็บผ้าจีวร



    ๒. เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวร



    ๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ



    ๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ตามพระวินัย





    กฐินแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ กฐินหลวง กับกฐิน ราษฎร์



    ๑. กฐินหลวง คือกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ด้วยพระองค์เองไม่ว่าจะเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ เรียกว่ากฐินหลวง



    ๒. กฐินราษฏร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปทอดถวาย ณ วัดต่างๆซึ่งมิใช่วัดหลวง ดังกล่าวข้างต้น









    พิธีทอดผ้าป่า



    ประวัติความเป็นมา



    ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่นผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าที่ห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากหรือเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐินครั้นชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ ก็นำเอามาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าก็มีความเป็นมาด้วยประการฉะนี้ สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา





    ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ



    ประเพณีการเทศน์มหาชาติจัดเป็นการทำบุญที่สำคัญและมีความหมายที่สุดในสังคมไทย เนื่องจากเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ทำสืบเนื่องมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้กุศลแรง และหากใครตั้งใจฟังให้จบในวันเดียวจะได้เกิดร่วมและพบพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต



    ในพระราชสำนัก ปรากฏเป็นราชพิธีในวังหลวงมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ถึงกับทรงโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งทรงธรรม ด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นที่ทรงธรรมในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติ พระราชพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนาคราวหนึ่ง แม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศก็ทรงหัดเทศน์กัณฑ์มัทรี จนกลายเป็นธรรมเนียมให้พระราชโอรสถวายเทศน์มหาชาติในวังหลวง



    ในท้องถิ่น โดยเฉพาะในเขตภาคอีสานถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำคัญที่สุดของปีจะจัดขึ้นในราวเดือน ๔ เรียกว่า บุญพระเวส ทั้งยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลนี้ด้วย เช่น พิธีแห่พระเวสเข้าเมืองและพิธีแห่ข้าวพันก้อนเพื่อบูชาคาถาพัน ทางภาคเหนือ ก็ให้ ความสำคัญกับการเทศน์มหาชาติมาก เห็นได้จากมีประเพณีสร้างหลาบเงินหรือแผ่นเงินแกะลาย แขวนห้อยรอบฉัตร ถวายเป็นเครื่องขันธ์ตั้งธรรมหลวงในงาน ทางภาคใต้นั้นประเพณีเทศน์มหาชาติได้คลี่คลายไป เป็นประเพณีสวดด้านซึ่งคล้ายคลึงกับการสวดโอ้เอ้วิหารรายอย่างกรุงเทพฯ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม





    การปฏิบัติตน



    แม้การปวารณาจะเป็นเรื่องระหว่างพระสงฆ์ด้วยกัน แต่การออกพรรษาก็เป็นวาระสำคัญอีกวาระหนึ่งที่ชาวบ้านจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน โดยในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ มีประเพณีทำบุญตักบาตร ที่เรียกกันว่า ทำบุญตักบาตรเทโว หรือเรียกเต็มๆ ว่า ตักบาตรเมโวโรหนะ สืบเนื่องจากความเชื่อตามตำนานที่ว่าวันนี้เป็นวันคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่ได้เสด็จกลับจากการไปโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์บางวัดอาจจัดพิธีทำบุญตักบาตรธรรมดา แต่บางวัดก็จัดเป็นงานใหญ่โต เสร็จจากการทำบุญตักบาตร พุทธศาสนิกชนจะไปฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล





    กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา



    ๑. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ



    ๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา



    ๓. ร่วมกุศลกรรม \"ตักบาตรเทโว\"



    ๔. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมต่างๆ



    ๕ ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย ฉายสไลด์ หรือบรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป



    กิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันออกพรรษา



    กิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว



    ๑.ทำความสะอาดบ้าน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งที่บูชาประจำบ้าน

    ๒. ศึกษาเอกสารและสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติในครอบครัว

    ๓. สมาชิกในครอบครัว ปรึกษา หารือ หาแนวทางในการป้องกันการแก้ปัญหา โดยใช้หลักธรรม คือ ปวารณา

    ๔. นำครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน

    ๕. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด

    ๖.กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม





    กิจกรรมเกี่ยวกับสถานศึกษา



    ๑. ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา

    ๒. ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาถึงความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติในสถานศึกษา

    ๓. ครูให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศ หรือจัดนิทรรศการ ประกวดเรียงความ ทำสมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม อภิปรายธรรม

    ๔. ครูให้นักเรียนจัดทำรายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีกับพฤติกรรมที่ไม่ดี และวางแผนพัฒนาพฤติกรรมของตน โดยมีเป้าหมายจะพัฒนาพฤติกรรมที่ดีให้มากขึ้น และลดพฤติกรรมไม่ดีให้น้อยลง

    ๕. ประกาศเกียรติคุณของนักเรียนที่ประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี

    ๖. ครูพานักเรียนไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม เจริญภาวนา ในกรณีที่เป็นวันหยุด

    ๗. กิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม





    กิจกรรมเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน



    ๑. ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ประดับธงชาติและธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชา

    ๒. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณาและแนวทางปฏิบัติในถานที่ทำงาน

    ๓. จัดให้มีการบรรยายธรรมและสนทนาธรรม

    ๔. ร่วมกับบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต

    ๕. หัวหน้าหน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นวันหยุด

    ๖. จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับอุดมการณ์ในการทำงาน โดยมีเป้าหมายจะละเว้นการกระทำชั่วในเรื่องใด ๆ

    ๗. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม





    กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม



    ๑. วัด สมาคม มูลนิธิ หน่วยงาน องค์กร สื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์เรื่องวันออกพรรษาโดยใช้สื่อทุกรูปแบบ



    ๒. จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรมเรื่อง ปวารณา และแนวทางปฏิบัติเพื่อเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น และตามสถานที่ชุมชน เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงธรรม ศูนย์การค้า รวมทั้งบนยานพาหนะต่าง ๆ



    ๓. เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรม ปฏิบัติธรรม และพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์



    ๔. รณรงค์ทางสื่อมวลชนต่าง ๆ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข และให้งดจำหน่ายสิ่งเสพติดทุกชนิด



    ๕. ประกาศเกียรติคุณสถาบัน หรือบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม



    ๖. รณรงค์ให้มีการรักษา สภาพแวดล้อม ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาด ที่สาธารณะ



    ๗. จัดประกวด สวดสรภัญญะ บรรยายธรรม คำขวัญ บทร้อยกรอง บทความเกี่ยวกับวันออกพรรษา



    ๘. กิจกรรมอื่นที่เหมาะสม





    ประโยชน์ที่จะได้รับ



    ๑. พระพุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้ง หลักธรรมเรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติ

    ๒. พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คือ ปวารณา

    ๓. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    ๔. พุทธศาสนิกเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง







    xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx







    อ้างอิง



    www.culture.go.th/oncc/knowledge/vid/outrain/01.htm



    www.geocities.com/sakyaputto/oukphansaday.htm



    www.heritage.thaigov.net/religion/daytime/index2.htm



    www.paisarn.com/aogpansa.htm



    www.banfun.com/culture/rainy-pass.html



    www.dhammathai.org/day/orkpansa.php



    http://www.tungsong.com/Modify-Lifetsgcity/LifeTsgCity/DigitalLibrary/Importantdays/Dayout/dayout1.html



    http://lbuddha.netfirms.com/vac_.htm



    http://www.thaipoet.org/outprasa.html



    www.mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/P-136.html



    www.onab.moe.go.th/buddhism_day7.htm









    ******  จากข้อความที่คุณ  ช่วยด้วย  โพสถามมาค่ะ ส่วนเรื่องที่บอกว่าต้องจุดประทัดก่อนนี่ ตามความคิดเห็นของตัวเอง

    มันคงขึ้นอยู่ที่แต่ละวัด แต่ละประเพณีของที่ต่าง ๆ มากกว่านะคะ เพราะแถวบ้านของตัวเองก็ไม่เห็นจะต้องจุดประัทัดก่อนเลยค่ะ****

































































    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×