ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #157 : ลมหายใจและพลังชีวิต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 214
      0
      23 เม.ย. 48



                ลมหายใจและพลังชีวิต



          คุณหมอวัดปริมาณลมหายใจของคนไข้ไปทำไม

        (อยากรู้ / กรุงเทพฯ)  





    +++++++++++++++++++++++++







        โดยเฉลี่ยปอดของคนเราสามารถบรรจุอากาศไว้ได้ประมาณ ๖ ลิตร หลังจากสูดหายใจเข้าลึก ๆ มักเข้าใจกันว่าปอดจะว่างเปล่าทุกครั้งเมื่อเราหายใจออก ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เวลาที่เรานั่งพักผ่อนอย่างสงบสบาย ๆ เราหายใจเอาอากาศประมาณครึ่งลิตรเข้าสู่ปอด  และหายใจเอาอากาศปริมาณเดียวกันกลับออกมา แต่ปริมาณอากาศราว ๓ ลิตรจะเหลือค้างอยู่ ในปอดหลังจากหายใจออก

        อากาศซึ่งสูดเข้าและปล่อยออก เมื่อเราหายใจเข้าออกแต่ละครั้งเรียกว่า \"ลมหายใจหมุนเวียน\" ส่วนปริมาณอากาศที่ตกค้างในปอดหลังการหายใจแต่ละครั้ง เรียกว่า \"ลมหายใจตกค้าง\" อากาศทั้งสองประเภทจะผสมปนเปกัน เพื่อให้ก๊าซออกซิเจนสดใหม่แทรกซึมเข้าสู่ปอดได้อย่างทั่วถึง

        ไม่ว่าคุณจะพยายามหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุดเพียงใด ปริมาณลมหายใจหมุนเวียนจะสูงไม่เกิน ๔.๕ ลิตร นั่นคือแม้คุณจะหายใจออกอย่างเต็มที่มากเท่าที่จะทำได้ ลมหายใจอีก ๑.๕ ลิตรยังคงหลงเหลืออยู่ในปอดเสมอ

        ปริมาณอากาศมากที่สุดเท่าที่สามารถหายใจออกมาได้เรียกว่า \"พลังชีวิต\" หรือ Vital Capacity และอาจวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่าสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) เด็กส่วนใหญ่มีพลังชีวิตประมาณ ๒ ลิตร ส่วนพลังชีวิตของผู้ใหญ่อยู่ที่ประมาณ ๓-๔ ลิตร ซึ่งผู้ชายโดยเฉลี่ย มีพลังชีวิตมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย การตรวจวัดพลังชีวิต ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย และบำบัดรักษาโรคหลายโรค อันเกิดจากความผิดปรกติของปอดและการหายใจ







    --------------------------------------------------------------------------------



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×