ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #4 : ฉีดยาประหารชีวิต

    • อัปเดตล่าสุด 16 ธ.ค. 47


                  

                   ฉีดยาประหารชีวิต



        ในประเทศไทย นอกจากการประหารชีวิตด้วยการนำไปยิงแล้ว มีการประหารชีวิตโดยการฉีดสารพิษ

    อย่างที่เห็นในภาพยนตร์ฮอลลีวูดหรือไม่



        (ปุณณ์ สุขสงค์ / กรุงเทพฯ)



    *****************





        แต่เดิมประเทศไทย ประหารชีวิตนักโทษ ด้วยการนำไปตัดศีรษะ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๗

    จึงมีกฎหมายให้เปลี่ยนมาใช้วิธียิงด้วยปืน ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน



        การประหารโดยการฉีดยา เริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรก เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประหารชีวิต

    โดยการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า ผู้ถูกประหาร มีอาการไหม้เกรียม และไม่ตายในทันทีทันใด ในขณะที่การประหารชีวิตด้วยแก๊ส

    ผู้ถูกประหารจะตายอย่างทรมาน เทกซัสเป็นรัฐแรก ที่เปลี่ยนมาใช้การฉีดยาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และต่อมาจึงมีรัฐอื่น ๆ

    หันมาใช้การประหารโดยการฉีดยา จนปัจจุบันมีรัฐต่าง ๆ ที่มีวิธีการประหาร โดยใช้การฉีดยาอยู่ ๒๖ รัฐ ใช้เก้าอี้ไฟฟ้า ๑๑ รัฐ

    ยิงเป้า ๒ รัฐ ใช้แก๊ส ๕ รัฐ และแขวนคอ ๒ รัฐ (บางรัฐมีวิธีการประหารหลายวิธี บางรัฐให้นักโทษประหาร เลือกวิธีประหารได้

    บางรัฐไม่ให้เลือก) และมีรัฐ ที่ไม่มีโทษประหารชีวิตอีก ๑๒ รัฐ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ฟิลิปปินส์ก็เริ่มแก้กฎหมาย

    ให้ใช้การฉีดยา ในการประหารชีวิต และปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จีนก็เริ่มมีการประหารชีวิต โดยการฉีดยาเช่นกัน



        เหตุที่มีการเปลี่ยน มาใช้การประหารด้วยวิธีฉีดยา ก็เพราะว่า การประหารโดยการฉีดยา ไม่ก่อให้เกิดการเปรอะเปื้อนเลือด

    ตามร่างกายของผู้ประหาร นอกจากนี้ ยังเป็นการตายทันที ผู้ถูกประหารไม่ทรมาน จึงดูเป็นการตาย ที่ไม่ทารุณโหดร้าย

    นอกจากนี้ยังเสียค่าใช้จ่าย ในการประหารแต่ละครั้งต่ำอีกด้วย



        ก่อนการประหารประมาณ ๑ ชั่วโมง นักโทษประหารจะได้รับยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้คลายเครียด

    และง่ายต่อการแทงเข็มเข้าเส้น



        เมื่อใกล้ถึงเวลาประหาร ประมาณครึ่งชั่วโมง เจ้าหน้าที่จะนำตัวนักโทษประหาร ออกจากห้องพิเศษ

    ไปที่ห้องประหาร ให้นอนบนเตียงประหาร ตรึงและผูกด้วยสายหนัง ทั้งที่เท้า ลำตัว และแขนทั้งสองข้างซึ่งอยู่ในท่ากางออก



        เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี จะมาติดเครื่องวัดการเต้นของหัวใจ เข้ากับตัวนักโทษ เพื่อตรวจสอบการตาย

    หลังการฉีดยา จากนั้นจึงแทงเข็ม เข้าเส้นเลือดใหญ่ ที่แขนหรือที่หลังมือทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งเป็นเข็มที่ใช้จริง

    อีกข้างหนึ่งเป็นเข็มสำรอง ในกรณีที่เข็มแรกมีปัญหา



        ในช่วงนี้จะเริ่มเปิดให้ประจักษ์พยาน เข้ามาสังเกตการณ์ ในห้องข้าง ๆ ห้องประหารได้

        จากนั้นผู้บัญชาการ จะอ่านคำสั่งประหาร แล้วถามนักโทษว่า มีอะไรจะพูดเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่

    ถ้ามี นักโทษจะพูดผ่านไมโครโฟน ให้ประจักษ์พยานในห้อง ได้ยินด้วย



        เมื่อถึงเวลาประหาร ถ้าไม่มีโทรศัพท์ยับยั้ง จากอัยการสูงสุด หรือผู้ว่าการรัฐ ผู้บัญชาการเรือนจำล

    ก็จะให้สัญญาณ ในการดำเนินการประหารได้ เจ้าหน้าที่ ที่ทำหน้าที่เพชฌฆาตสองคน (ไม่มีการเปิดเผยว่าเป็นใคร)

    ซึ่งอยู่ในห้องฉีดยาติดกัน ก็จะกดปุ่ม เพื่อปล่อยยาให้เข้าในร่าง ปุ่มปล่อยยาจะมีสองปุ่ม กดคนละปุ่ม แต่จะมีปุ่มเดียว

    ที่ปล่อยยาเข้าร่าง ดังนั้นเจ้าหน้าที่ทั้งสอง จึงไม่มีโอกาสรู้ว่า ใครเป็นผู้กดปุ่มปล่อยยาเข้าเส้น

      แต่สำหรับรัฐ ที่ไม่ใช้เครื่องฉีดยาอัตโนมัติ จะใช้เจ้าหน้าที่ฉีดยาด้วยมือ ซึ่งจะมีสองคนสลับกันฉีดเข้าเส้น

    (บางรัฐใช้สามคน สำหรับฉีดสารคนละชนิด) ฉีดเข้าแขนซ้าย ถ้ายังมีปัญหา ก็จะเปลี่ยนมาใช้เข็มที่เสียบอยู่ที่แขนขวา

    ฉีดเข้าแขนขวาอีกครั้ง การฉีดด้วยมือ หรือด้วยเครื่องอัตโนมัติก็ดี ปรกติจะมีสายยาว ต่อจากเข็มถึงที่ปล่อยน้ำยา

    ผู้ฉีดไม่ได้ฉีดที่แขน ดังเช่นการฉีดยาทั่วไป



        ยาที่ใช้ฉีดจะมี Sodium Pentothal ในสารละลาย ๒๐-๒๕ ซีซี Pancuronium bromide ๕๐ ซีซี

    และ Potassium chloride ๕๐ ซีซี ยาดังกล่าวนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทกซัส ได้วิจัยแล้วว่า

    ให้ผลอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด



        เริ่มแรกจะปล่อยยา Sodium Pentothal เข้าไปให้หลับก่อน จากนั้นจึงปล่อย Pancuronium bromide

    และ Potassium chloride ให้หัวใจหยุดสูบฉีดโลหิต ภายในไม่ถึงนาที เมื่อนักโทษแสดงอาการแน่นิ่งไป

    ผู้บัญชาการเรือนจำ จะขอให้นายแพทย์ของเรือนจำ เข้าตรวจยืนยันการตายของผู้ต้องขัง และประกาศการเวลาตาย

    ต่อหน้าพยาน รวมใช้เวลาในการดำเนินการ ตามขั้นตอนนี้ทั้งสิ้นประมาณ ๒๐-๓๐ นาที



        ข้อมูลนี้ \"ซองคำถาม\" ได้มาจาก จุลสารทัณฑวิทยา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒





    ......................

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×