ลำดับตอนที่ #37
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #37 : เจ้าแม่กวนอิม
            เจ้าแม่กวนอิม
      เจ้าแม่กวนอิมที่ชาวจีนเคารพกันนั้น อยู่ในสถานะใดครับ...เป็นเทพี นักบวช เจ้าแม่
หรือเป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง
    (ตี๋ใหญ่ / กรุงเทพฯ)
************
    คติพุทธศาสนานิกายมหายานนั้นนับถือพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ และนอกเหนือไปจากพระพุทธเจ้าแล้ว
ยังนับถือพระโพธิ์สัตว์ ซึ่งเป็นผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเบื้องหน้าอีกเป็นจำนวนมาก พระโพธิสัตว์นี้แม้ตรัสรู้แล้ว
จะยังไม่ยอมเข้าสู่พุทธภูมิ จนกว่าจะช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยากเสียก่อน ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนมหายาน
จึงบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม เพราะสามารถช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้โดยตรง
    ในบรรดาพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏพระนาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากพระองค์หนึ่ง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
หรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งแปลว่า พระผู้ได้ยินเสียงร้องทุกข์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
จะตรัสรู้สัมโพธิญาณภายหลังปรินิพพานของพระอมิตาภพุทธเจ้า และรับช่วงเป็นพระพุทธเจ้าต่อจากพระอมิตาภะ
ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในบรรดาพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ของมหายาน
    คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรของมหายานกล่าวว่า การที่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ได้ชื่อว่ากวนอิมนั้น
เพราะทรงช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ทั้งปวง โดยมิได้เลือกชนชั้นวรรณะ เพศ วัย และสถานภาพ
เพียงสรรพสัตว์ซึ่งตกอยู่ในห้วงทุกข์ ได้สวดพระนามของพระองค์ก็หลุดพ้นจากห้วงทุกข์
เท่ากับทรงช่วยเหลือตามกระแสเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ทรงโปรดเวไนยสัตว์ในพระรูปกายต่าง ๆ ถึง ๓๓ กาย
ตามโอกาสอันควรและเหมาะสมแก่ฐานานุรูป ผู้ใดควรได้รับการโปรดด้วยปางใดก็ปรากฏพระกายปางนั้น ๆ
อาทิ ปางพุทธกาย ปางเทพราช ปางขุนศึก ปางพระราชา ปางนาค ยักษ์ เป็นต้น พระโพธิสัตว์กวนอิม
จึงปรากฏพระกายทั้งในเพศบุรุษ และสตรี หรือรูปลักษณ์อื่น ๆ ในระยะแรก ๆ ของการเผยแผ่พุทธศาสนามหายาน
จะเห็นได้ว่าพระโพธิสัตว์กวนอิมมักเป็นบุรุษเพศ ดังจะเห็นได้จากภาพจิตรกรรม ประติมากรรม และเอกสารต่าง ๆ
ต่อมาจึงนิยมสร้างเป็นสตรีเพศ โดยมีข้อสนับสนุนว่า สตรีเพศย่อมแสดงถึงความอ่อนโยน ความมีเมตตากว่าบุรุษเพศ
ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้องกับคุณลักษณะ ของพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ได้ชื่อว่า เมตตามหาการุณย์ ดังนั้นปางสตรีเพศ
จึงได้รับความนิยมและแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ
    ท่านที่ต้องการอ่านประวัติพระโพธิสัตว์กวนอิมอย่างละเอียด ขอให้ดูเรื่อง \"พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
(พระโพธิสัตวืกวนอิม) โดย เบญจมาส แพทอง ใน นานาสาระวัฒนธรรมไทย เล่ม ๒ กองวรรณกรรมและ
ประว้ติศาสตร์ กรมศิลปากร
--------------------------------------------------------------------------------
      เจ้าแม่กวนอิมที่ชาวจีนเคารพกันนั้น อยู่ในสถานะใดครับ...เป็นเทพี นักบวช เจ้าแม่
หรือเป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง
    (ตี๋ใหญ่ / กรุงเทพฯ)
************
    คติพุทธศาสนานิกายมหายานนั้นนับถือพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ และนอกเหนือไปจากพระพุทธเจ้าแล้ว
ยังนับถือพระโพธิ์สัตว์ ซึ่งเป็นผู้จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเบื้องหน้าอีกเป็นจำนวนมาก พระโพธิสัตว์นี้แม้ตรัสรู้แล้ว
จะยังไม่ยอมเข้าสู่พุทธภูมิ จนกว่าจะช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยากเสียก่อน ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนมหายาน
จึงบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม เพราะสามารถช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้โดยตรง
    ในบรรดาพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏพระนาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากพระองค์หนึ่ง คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
หรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า กวนซีอิม หรือ กวนอิม ซึ่งแปลว่า พระผู้ได้ยินเสียงร้องทุกข์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
จะตรัสรู้สัมโพธิญาณภายหลังปรินิพพานของพระอมิตาภพุทธเจ้า และรับช่วงเป็นพระพุทธเจ้าต่อจากพระอมิตาภะ
ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในบรรดาพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ของมหายาน
    คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรของมหายานกล่าวว่า การที่พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ได้ชื่อว่ากวนอิมนั้น
เพราะทรงช่วยเหลือบรรดาสรรพสัตว์ทั้งปวง โดยมิได้เลือกชนชั้นวรรณะ เพศ วัย และสถานภาพ
เพียงสรรพสัตว์ซึ่งตกอยู่ในห้วงทุกข์ ได้สวดพระนามของพระองค์ก็หลุดพ้นจากห้วงทุกข์
เท่ากับทรงช่วยเหลือตามกระแสเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ทรงโปรดเวไนยสัตว์ในพระรูปกายต่าง ๆ ถึง ๓๓ กาย
ตามโอกาสอันควรและเหมาะสมแก่ฐานานุรูป ผู้ใดควรได้รับการโปรดด้วยปางใดก็ปรากฏพระกายปางนั้น ๆ
อาทิ ปางพุทธกาย ปางเทพราช ปางขุนศึก ปางพระราชา ปางนาค ยักษ์ เป็นต้น พระโพธิสัตว์กวนอิม
จึงปรากฏพระกายทั้งในเพศบุรุษ และสตรี หรือรูปลักษณ์อื่น ๆ ในระยะแรก ๆ ของการเผยแผ่พุทธศาสนามหายาน
จะเห็นได้ว่าพระโพธิสัตว์กวนอิมมักเป็นบุรุษเพศ ดังจะเห็นได้จากภาพจิตรกรรม ประติมากรรม และเอกสารต่าง ๆ
ต่อมาจึงนิยมสร้างเป็นสตรีเพศ โดยมีข้อสนับสนุนว่า สตรีเพศย่อมแสดงถึงความอ่อนโยน ความมีเมตตากว่าบุรุษเพศ
ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้องกับคุณลักษณะ ของพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ได้ชื่อว่า เมตตามหาการุณย์ ดังนั้นปางสตรีเพศ
จึงได้รับความนิยมและแพร่หลายมากกว่าปางอื่น ๆ
    ท่านที่ต้องการอ่านประวัติพระโพธิสัตว์กวนอิมอย่างละเอียด ขอให้ดูเรื่อง \"พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
(พระโพธิสัตวืกวนอิม) โดย เบญจมาส แพทอง ใน นานาสาระวัฒนธรรมไทย เล่ม ๒ กองวรรณกรรมและ
ประว้ติศาสตร์ กรมศิลปากร
--------------------------------------------------------------------------------
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น