ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #31 : พระจันทร์สีน้ำเงิน

    • อัปเดตล่าสุด 3 ม.ค. 48






                  พระจันทร์สีน้ำเงิน



        มีสำนวนฝรั่งอยู่สำนวนหนึ่งว่า once in a blue moon แปลว่า นาน ๆ ครั้ง อยากทราบว่า

    ในทางดาราศาสตร์มี blue moon หรือพระจันทร์สีน้ำเงินมีหรือไม่

    (เขียนถึงตรงนี้ก็นึกขึ้นมาได้ว่า มีนิยายของไทย อยู่เรื่องหนึ่งชื่อ พระจันทร์สีน้ำเงิน แต่งโดย สุวรรณี สุคนธา)

        (ไม่ลงชื่อ / กรุงเทพฯ)



    ***************



        สมาคมดาราศาสตร์ ให้คำอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า blue moon คือจันทร์เพ็ญครั้งที่ ๒ ของเดือน (ปฏิทิน)

    ในหนึ่งเดือนปฏิทินมี ๓๐-๓๑ วัน ส่วนเดือนจันทรคติ มีความยาว ๒๙.๕ วัน ซึ่งใกล้เคียงกัน เราจึงพบว่า

    ในหนึ่งเดือนปฏิทินนั้น มักจะมีหนึ่งเดือนมืด และหนึ่งเดือนเพ็ญเสมอ แต่เนื่องจากเดือนจันทรคติ

    สั้นกว่าเดือนปฏิทิน ทำให้วันที่เป็นเดือนเพ็ญ มีการเลื่อนไปในทางที่เร็วขึ้นทุก ๆ เดือน ดังนั้นจึงมีบางเดือน

    ที่เกิดจันทร์เพ็ญขึ้นสองครั้ง คือต้นเดือนครั้งหนึ่ง และปลายเดือนครั้งหนึ่ง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

    คงเป็นสาเหตุที่ฝรั่ง เอาไปพูดเป็นสำนวนว่า once in a blue moon ซึ่งหมายถึงนาน ๆ ครั้งนั่นเอง



        ถึงแม้คำว่า blue moon มิได้หมายถึง พระจันทร์เป็นสีน้ำเงิน แต่เหตุการณ์ที่พระจันทร์กลายเป็นสีน้ำเงินนั้น

    ก็มีจริงเหมือนกัน ครั้งที่โด่งดังมาก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งเกิดจากฝุ่นควัน

    ในบรรยากาศจำนวนมาก จากไฟป่าครั้งใหญ ่ในแคนาดา ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖

    เถ้าถ่านในบรรยากาศ จากการระเบิดของภูเขาไฟการากาตัว ในอินโดนีเซีย ก็ทำให้ดวงจันทร์กลายเป็นสีน้ำเงินเช่นกัน



    --------------------------------------------------------------------------------



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×